คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานสถานการณ์ภัยธรรมชาติในช่วงฤดูแล้งปี 2550 ครั้งที่ 5 ณ วันที่ 26 มีนาคม 2550 ประกอบด้วย สถานการณ์น้ำ ผลการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง
ผลกระทบด้านการเกษตร และการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร สรุปได้ดังนี้
สถานการณ์น้ำ
1. สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่
สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ ณ วันที่ 26 มีนาคม 2550 มีปริมาตรน้ำในอ่างฯทั้งหมด 50,957 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 74 ของความจุอ่างฯทั้งหมด มากกว่าปี 2549 (47,219 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 3,738 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 5 ของความจุอ่างฯทั้งหมด
อ่างเก็บน้ำภูมิพลและอ่างเก็บน้ำสิริกิติ์ มีปริมาตรน้ำในอ่างฯทั้งหมด 9,910 และ 6,674 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ คิดเป็นร้อยละ 74 และ 70 ของความจุอ่างฯทั้งหมด ตามลำดับ โดยมีปริมาตรน้ำทั้งสองอ่างฯรวมกัน จำนวน 16,584 ล้านลูกบาศก์เมตร
2. สภาพน้ำท่า
แม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำน่าน และแม่น้ำเจ้าพระยา สภาพน้ำท่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ
แม่น้ำยม สภาพน้ำท่า อยู่ในเกณฑ์น้อย และแม่น้ำมูล สภาพน้ำนอนคลอง
3. คุณภาพน้ำ
สภาพความเค็มในแม่น้ำสายหลัก ณ จุดเฝ้าระวังของแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำ แม่กลอง และแม่น้ำนครนายก อยู่ในเกณฑ์ปกติ ณ วันที่ 25 มีนาคม 2550 (เกณฑ์ค่าความเค็ม น้ำเพื่อการเกษตร ไม่เกิน 2.0 กรัม/ลิตร)
การเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง (วันที่ 1 พฤศจิกายน 2549 — 30 เมษายน 2550)
ผลการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ณ วันที่ 26 มีนาคม 2550 มีพื้นที่ปลูกทั้งประเทศ จำนวน 14.08 ล้านไร่ แยกเป็น ข้าวนาปรัง 11.56 ล้านไร่ มากกว่าเป้าหมายคิดเป็นร้อยละ 16 (ในเขตชลประทาน 8.43 ล้านไร่ นอกเขตชลประทาน 3.13 ล้านไร่) และพืชไร่-พืชผัก จำนวน 2.52 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 88 ของเป้าหมาย (ในเขตชลประทาน 0.75 ล้านไร่ นอกเขตชลประทาน 1.77 ล้านไร่)
พื้นที่การเกษตรประสบภัยแล้ง ณ วันที่ 22 มีนาคม 2550
พื้นที่ประสบภัยด้านการเกษตร 21 จังหวัด เป็น ภาคเหนือ 11 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 จังหวัด ภาคกลาง 2 จังหวัด ภาคตะวันออก 1 จังหวัด ภาคตะวันตก 1 จังหวัด ภาคใต้ 2 จังหวัด แบ่งเป็น
ด้านพืช ช่วงภัยระหว่างวันที่ 15 พฤศจิกายน 2549 ถึง 6 มีนาคม 2550 ได้รับรายงานพื้นที่ประสบภัยแล้ง จำนวน 11 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย ตาก พิจิตร แพร่ ลำปาง อุตรดิตถ์ อุทัยธานี หนองคาย หนองบัวลำภู นครราชสีมา และบุรีรัมย์ เกษตรกร 14,465 ราย พื้นที่ประสบภัย 149,195 ไร่ พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 114,949 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 33,028 ไร่ พืชไร่ 70,027 ไร่ พืชสวนและอื่นๆ 11,894 ไร่
พื้นที่การเกษตรเสียหายแล้ว 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย ตาก และลำปาง จำนวน 21,172 ไร่ โดยจังหวัดลำปางใช้เงินทดรองราชการของจังหวัดช่วยเหลือแล้วจำนวน 170,226 บาท
ด้านปศุสัตว์ ช่วงภัยระหว่างวันที่ 15 ธันวาคม 2549 ถึง 22 มีนาคม 2550 ได้รับรายงานพื้นที่ได้รับผลกระทบ 11 จังหวัด คือ จังหวัดชัยนาท ปราจีนบุรี เชียงใหม่ ลำพูน น่าน หนองบัวลำภู นครสวรรค์เพชรบูรณ์ เพชรบุรี ตรัง และนราธิวาส เกษตรกร 9,804 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 154,991 ตัว แยกเป็น โค 47,236 ตัว กระบือ 8,998 ตัว สุกร 14,967 ตัว แพะ 5,640 ตัว แกะ 98 ตัว และสัตว์ปีก 78,052 ตัว
ด้านประมง ยังไม่มีรายงานพื้นที่ประสบภัยแล้ง
การให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร
1. การจัดสรรน้ำเพื่อการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ณ วันที่ 25 มีนาคม 2550 ได้ระบายน้ำจากอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศแล้ว 14,117 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยเกษตรกรได้ปลูกข้าวนาปรังครั้งที่ 1 ไปแล้ว 8.12 ล้านไร่ (มากกว่าเป้าหมาย 4%) และปลูกข้าวนาปรังครั้งที่ 2 ไปแล้ว 0.06 ล้านไร่ สำหรับพืชไร่-พืชผัก ปลูกแล้ว 0.75 ล้านไร่ (86% ของเป้าหมาย)
2. การสนับสนุนเครื่องสูบน้ำและรถบรรทุกน้ำ
- เครื่องสูบน้ำ จำนวน 820 เครื่อง ในพื้นที่ 59 จังหวัด (เพื่อการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง จำนวน 767 เครื่อง และเพื่อการอุปโภคบริโภค จำนวน 53 เครื่อง)
- รถยนต์บรรทุกน้ำ ขนส่งน้ำช่วยเหลือ 4,072 เที่ยว คิดเป็น 24.43 ล้านลิตร
3. การปฏิบัติการฝนหลวง
- จัดตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2550 จำนวน 8 หน่วย และ 3 ฐานเติมสารฝนหลวง ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ พิษณุโลก นครสวรรค์ อุดรธานี นครราชสีมา ระยอง อ.หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และ สุราษฎร์ธานี และฐานเติมสารฝนหลวงจังหวัดตาก จันทบุรี และสระแก้ว
- เน้นปฏิบัติการฝนหลวงบริเวณจังหวัดต่างๆ ที่มีผู้ขอรับบริการฝนหลวงในช่วงฤดูแล้ง จำนวน 28 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงราย ตาก ลำปาง ลำพูน น่าน พิจิตร อุตรดิตถ์ ลพบุรี อุทัยธานี กาญจนบุรี ชัยนาท ยโสธร หนองคาย เลย นครราชสีมา อุบลราชธานี บุรีรัมย์ ชลบุรี สระแก้ว ตราด ปราจีนบุรี เพชรบุรี ราชบุรี สุราษฎร์ธานี กระบี่ สตูล และชุมพร
- ผลการปฏิบัติการ ระหว่างวันที่ 12 กุมภาพันธ์-22 มีนาคม 2550 ขึ้นปฏิบัติการ จำนวน 460 เที่ยวบิน มีฝนตกในพื้นที่ 54 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แม่ฮ่องสอน ตาก เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก ชัยนาท สุพรรณบุรี นครสวรรค์ กรุงเทพฯ อุทัยธานี ลพบุรี พระนครศรีอยุธยานครปฐม กาญจนบุรี นครพนม ขอนแก่น มุกดาหาร เลย กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ชัยภูมิ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ นครราชสีมา บุรีรัมย์ ระยอง ชลบุรี ตราด จันทบุรี ฉะเชิงเทรา สระแก้ว ปราจีนบุรี เพชรบุรี ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี ระนอง นครศรีธรรมราช พังงา ปัตตานี ภูเก็ต ตรัง กระบี่ สตูล สงขลา ชุมพร นราธิวาส พัทลุง และยะลา
4. การสนับสนุนเสบียงสัตว์ สนับสนุนพืชอาหารสัตว์ 326,645 กิโลกรัม (เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว 196,015 กิโลกรัม) แร่ธาตุ 126 ก้อน ดูแลสุขภาพสัตว์ 4,547 ตัว (เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว 217 ตัว)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 มีนาคม 2550--จบ--
ผลกระทบด้านการเกษตร และการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร สรุปได้ดังนี้
สถานการณ์น้ำ
1. สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่
สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ ณ วันที่ 26 มีนาคม 2550 มีปริมาตรน้ำในอ่างฯทั้งหมด 50,957 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 74 ของความจุอ่างฯทั้งหมด มากกว่าปี 2549 (47,219 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 3,738 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 5 ของความจุอ่างฯทั้งหมด
อ่างเก็บน้ำภูมิพลและอ่างเก็บน้ำสิริกิติ์ มีปริมาตรน้ำในอ่างฯทั้งหมด 9,910 และ 6,674 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ คิดเป็นร้อยละ 74 และ 70 ของความจุอ่างฯทั้งหมด ตามลำดับ โดยมีปริมาตรน้ำทั้งสองอ่างฯรวมกัน จำนวน 16,584 ล้านลูกบาศก์เมตร
2. สภาพน้ำท่า
แม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำน่าน และแม่น้ำเจ้าพระยา สภาพน้ำท่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ
แม่น้ำยม สภาพน้ำท่า อยู่ในเกณฑ์น้อย และแม่น้ำมูล สภาพน้ำนอนคลอง
3. คุณภาพน้ำ
สภาพความเค็มในแม่น้ำสายหลัก ณ จุดเฝ้าระวังของแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำ แม่กลอง และแม่น้ำนครนายก อยู่ในเกณฑ์ปกติ ณ วันที่ 25 มีนาคม 2550 (เกณฑ์ค่าความเค็ม น้ำเพื่อการเกษตร ไม่เกิน 2.0 กรัม/ลิตร)
การเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง (วันที่ 1 พฤศจิกายน 2549 — 30 เมษายน 2550)
ผลการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ณ วันที่ 26 มีนาคม 2550 มีพื้นที่ปลูกทั้งประเทศ จำนวน 14.08 ล้านไร่ แยกเป็น ข้าวนาปรัง 11.56 ล้านไร่ มากกว่าเป้าหมายคิดเป็นร้อยละ 16 (ในเขตชลประทาน 8.43 ล้านไร่ นอกเขตชลประทาน 3.13 ล้านไร่) และพืชไร่-พืชผัก จำนวน 2.52 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 88 ของเป้าหมาย (ในเขตชลประทาน 0.75 ล้านไร่ นอกเขตชลประทาน 1.77 ล้านไร่)
พื้นที่การเกษตรประสบภัยแล้ง ณ วันที่ 22 มีนาคม 2550
พื้นที่ประสบภัยด้านการเกษตร 21 จังหวัด เป็น ภาคเหนือ 11 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 จังหวัด ภาคกลาง 2 จังหวัด ภาคตะวันออก 1 จังหวัด ภาคตะวันตก 1 จังหวัด ภาคใต้ 2 จังหวัด แบ่งเป็น
ด้านพืช ช่วงภัยระหว่างวันที่ 15 พฤศจิกายน 2549 ถึง 6 มีนาคม 2550 ได้รับรายงานพื้นที่ประสบภัยแล้ง จำนวน 11 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย ตาก พิจิตร แพร่ ลำปาง อุตรดิตถ์ อุทัยธานี หนองคาย หนองบัวลำภู นครราชสีมา และบุรีรัมย์ เกษตรกร 14,465 ราย พื้นที่ประสบภัย 149,195 ไร่ พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 114,949 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 33,028 ไร่ พืชไร่ 70,027 ไร่ พืชสวนและอื่นๆ 11,894 ไร่
พื้นที่การเกษตรเสียหายแล้ว 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย ตาก และลำปาง จำนวน 21,172 ไร่ โดยจังหวัดลำปางใช้เงินทดรองราชการของจังหวัดช่วยเหลือแล้วจำนวน 170,226 บาท
ด้านปศุสัตว์ ช่วงภัยระหว่างวันที่ 15 ธันวาคม 2549 ถึง 22 มีนาคม 2550 ได้รับรายงานพื้นที่ได้รับผลกระทบ 11 จังหวัด คือ จังหวัดชัยนาท ปราจีนบุรี เชียงใหม่ ลำพูน น่าน หนองบัวลำภู นครสวรรค์เพชรบูรณ์ เพชรบุรี ตรัง และนราธิวาส เกษตรกร 9,804 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 154,991 ตัว แยกเป็น โค 47,236 ตัว กระบือ 8,998 ตัว สุกร 14,967 ตัว แพะ 5,640 ตัว แกะ 98 ตัว และสัตว์ปีก 78,052 ตัว
ด้านประมง ยังไม่มีรายงานพื้นที่ประสบภัยแล้ง
การให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร
1. การจัดสรรน้ำเพื่อการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ณ วันที่ 25 มีนาคม 2550 ได้ระบายน้ำจากอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศแล้ว 14,117 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยเกษตรกรได้ปลูกข้าวนาปรังครั้งที่ 1 ไปแล้ว 8.12 ล้านไร่ (มากกว่าเป้าหมาย 4%) และปลูกข้าวนาปรังครั้งที่ 2 ไปแล้ว 0.06 ล้านไร่ สำหรับพืชไร่-พืชผัก ปลูกแล้ว 0.75 ล้านไร่ (86% ของเป้าหมาย)
2. การสนับสนุนเครื่องสูบน้ำและรถบรรทุกน้ำ
- เครื่องสูบน้ำ จำนวน 820 เครื่อง ในพื้นที่ 59 จังหวัด (เพื่อการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง จำนวน 767 เครื่อง และเพื่อการอุปโภคบริโภค จำนวน 53 เครื่อง)
- รถยนต์บรรทุกน้ำ ขนส่งน้ำช่วยเหลือ 4,072 เที่ยว คิดเป็น 24.43 ล้านลิตร
3. การปฏิบัติการฝนหลวง
- จัดตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2550 จำนวน 8 หน่วย และ 3 ฐานเติมสารฝนหลวง ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ พิษณุโลก นครสวรรค์ อุดรธานี นครราชสีมา ระยอง อ.หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และ สุราษฎร์ธานี และฐานเติมสารฝนหลวงจังหวัดตาก จันทบุรี และสระแก้ว
- เน้นปฏิบัติการฝนหลวงบริเวณจังหวัดต่างๆ ที่มีผู้ขอรับบริการฝนหลวงในช่วงฤดูแล้ง จำนวน 28 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงราย ตาก ลำปาง ลำพูน น่าน พิจิตร อุตรดิตถ์ ลพบุรี อุทัยธานี กาญจนบุรี ชัยนาท ยโสธร หนองคาย เลย นครราชสีมา อุบลราชธานี บุรีรัมย์ ชลบุรี สระแก้ว ตราด ปราจีนบุรี เพชรบุรี ราชบุรี สุราษฎร์ธานี กระบี่ สตูล และชุมพร
- ผลการปฏิบัติการ ระหว่างวันที่ 12 กุมภาพันธ์-22 มีนาคม 2550 ขึ้นปฏิบัติการ จำนวน 460 เที่ยวบิน มีฝนตกในพื้นที่ 54 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แม่ฮ่องสอน ตาก เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก ชัยนาท สุพรรณบุรี นครสวรรค์ กรุงเทพฯ อุทัยธานี ลพบุรี พระนครศรีอยุธยานครปฐม กาญจนบุรี นครพนม ขอนแก่น มุกดาหาร เลย กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ชัยภูมิ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ นครราชสีมา บุรีรัมย์ ระยอง ชลบุรี ตราด จันทบุรี ฉะเชิงเทรา สระแก้ว ปราจีนบุรี เพชรบุรี ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี ระนอง นครศรีธรรมราช พังงา ปัตตานี ภูเก็ต ตรัง กระบี่ สตูล สงขลา ชุมพร นราธิวาส พัทลุง และยะลา
4. การสนับสนุนเสบียงสัตว์ สนับสนุนพืชอาหารสัตว์ 326,645 กิโลกรัม (เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว 196,015 กิโลกรัม) แร่ธาตุ 126 ก้อน ดูแลสุขภาพสัตว์ 4,547 ตัว (เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว 217 ตัว)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 มีนาคม 2550--จบ--