คณะรัฐมนตรีรับทราบความคืบหน้ากรณีสหรัฐอเมริกาใช้มาตรการการทุ่มตลาดกับสินค้ากุ้งของไทย ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอดังนี้
1. เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2548 คณะกรรมาธิการการค้าระหว่างประเทศ (International Trade Commission : ITC) ของสหรัฐฯ ได้ประกาศเปิดทบทวนกรณีสถานการณ์เปลี่ยนแปลง (Changed Circumstance Review : CCR) สำหรับไทยและอินเดีย โดย ITC จะประกาศรายละเอียดกำหนดการและขั้นตอนการดำเนินการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องลงใน Federal Register ในเร็วนี้ ๆ
2. กระบวนการและผลการตัดสิน CCR
2.1 ตามระเบียบ ITC จะทบทวนให้แล้วเสร็จภายใน 120 วัน (ประมาณปลายเดือนสิงหาคม 2548) โดย
- รวบรวมข้อเท็จจริงรวมทั้งออกแบบสอบถามให้ผู้ส่งออกไทยและอินเดียตอบ
- การให้ผู้มีส่วนได้เสียยื่นข้อกฎหมายและข้อเท็จจริง
- การเปิดรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
2.2 ผลการตัดสินจะชี้ขาดว่าจะยกเลิกการใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดกับไทยและอินเดียหรือไม่
3. แนวทางการดำเนินการขั้นต่อไปของกระทรวงพาณิชย์
3.1 จะจัดประชุมหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับกระบวนการไต่สวน โดยเน้นการจัดเตรียมข้อมูล ข้อเท็จจริง และข้อพิสูจน์ที่มีหลักฐานยืนยัน ซึ่งรวมทั้งการเตรียมการสำหรับคณะผู้แทน ITC ที่คาดว่าจะเดินทางมาตรวจสอบข้อมูลและข้อเท็จจริง (Verification) ในประเทศไทย ตามกระบวนการทบทวนด้วย
3.2 จะจัดให้มีการหารือระดับนโยบาย รวมทั้งยกประเด็นหารือผ่านช่องทางการทูต ผู้แทนการค้าสมาชิกรัฐสภาและอื่น ๆ ในโอกาสต่าง ๆ ช่วงก่อนประกาศผลการทบทวน เพื่อชี้แจงข้อเท็จจริง โน้มน้าวและผลักดันให้สหรัฐฯ ยกเลิกการใช้มาตรา AD กับสินค้ากุ้งของไทย ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ได้จัดทำข้อมูลและประเด็น และมีหนังสือประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้แทนการค้าไทย เพื่อดำเนินการโน้มน้าวและผลักดันผ่านช่องทางต่าง ๆ ตามที่โอกาสที่เหมาะสม ก่อนที่สหรัฐฯ จะประกาศผลการทบทวนมาตรการ ด้วยแล้ว
3.3 ร่วมกับกลุ่มผู้นำเข้า และองค์กรผู้บริโภคในสหรัฐฯ ดำเนินการประชาสัมพันธ์เพื่อผลักดันอีกทางหนึ่ง
4. สถานการณ์การส่งออกกุ้ง
ปี 2547 ปริมาณ 240,953 ตัน มูลค่า 67,319 ล้านบาท (1,674 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.93 แต่มูลค่าลดลงร้อยละ 6.25 เมื่อเทียบกับปีก่อน ตลาดหลัก สหรัฐฯ ร้อยละ 55 ตลาดรองคือ ญี่ปุ่น ร้อยละ 19% ตลาดที่มีแนวโน้มการส่งออกที่ดี คือ เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และฮ่องกง
ปี 2548 (มกราคม - กุมภาพันธ์) ปริมาณ 33,121 ตัน 8,311.8 ล้านบาท (215 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 33.66 และ 32.15 ตามลำดับเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ตลาดหลักทรัพย์ฯ ร้อยละ 50.05
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 17 พฤษภาคม 2548--จบ--
1. เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2548 คณะกรรมาธิการการค้าระหว่างประเทศ (International Trade Commission : ITC) ของสหรัฐฯ ได้ประกาศเปิดทบทวนกรณีสถานการณ์เปลี่ยนแปลง (Changed Circumstance Review : CCR) สำหรับไทยและอินเดีย โดย ITC จะประกาศรายละเอียดกำหนดการและขั้นตอนการดำเนินการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องลงใน Federal Register ในเร็วนี้ ๆ
2. กระบวนการและผลการตัดสิน CCR
2.1 ตามระเบียบ ITC จะทบทวนให้แล้วเสร็จภายใน 120 วัน (ประมาณปลายเดือนสิงหาคม 2548) โดย
- รวบรวมข้อเท็จจริงรวมทั้งออกแบบสอบถามให้ผู้ส่งออกไทยและอินเดียตอบ
- การให้ผู้มีส่วนได้เสียยื่นข้อกฎหมายและข้อเท็จจริง
- การเปิดรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
2.2 ผลการตัดสินจะชี้ขาดว่าจะยกเลิกการใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดกับไทยและอินเดียหรือไม่
3. แนวทางการดำเนินการขั้นต่อไปของกระทรวงพาณิชย์
3.1 จะจัดประชุมหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับกระบวนการไต่สวน โดยเน้นการจัดเตรียมข้อมูล ข้อเท็จจริง และข้อพิสูจน์ที่มีหลักฐานยืนยัน ซึ่งรวมทั้งการเตรียมการสำหรับคณะผู้แทน ITC ที่คาดว่าจะเดินทางมาตรวจสอบข้อมูลและข้อเท็จจริง (Verification) ในประเทศไทย ตามกระบวนการทบทวนด้วย
3.2 จะจัดให้มีการหารือระดับนโยบาย รวมทั้งยกประเด็นหารือผ่านช่องทางการทูต ผู้แทนการค้าสมาชิกรัฐสภาและอื่น ๆ ในโอกาสต่าง ๆ ช่วงก่อนประกาศผลการทบทวน เพื่อชี้แจงข้อเท็จจริง โน้มน้าวและผลักดันให้สหรัฐฯ ยกเลิกการใช้มาตรา AD กับสินค้ากุ้งของไทย ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ได้จัดทำข้อมูลและประเด็น และมีหนังสือประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้แทนการค้าไทย เพื่อดำเนินการโน้มน้าวและผลักดันผ่านช่องทางต่าง ๆ ตามที่โอกาสที่เหมาะสม ก่อนที่สหรัฐฯ จะประกาศผลการทบทวนมาตรการ ด้วยแล้ว
3.3 ร่วมกับกลุ่มผู้นำเข้า และองค์กรผู้บริโภคในสหรัฐฯ ดำเนินการประชาสัมพันธ์เพื่อผลักดันอีกทางหนึ่ง
4. สถานการณ์การส่งออกกุ้ง
ปี 2547 ปริมาณ 240,953 ตัน มูลค่า 67,319 ล้านบาท (1,674 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.93 แต่มูลค่าลดลงร้อยละ 6.25 เมื่อเทียบกับปีก่อน ตลาดหลัก สหรัฐฯ ร้อยละ 55 ตลาดรองคือ ญี่ปุ่น ร้อยละ 19% ตลาดที่มีแนวโน้มการส่งออกที่ดี คือ เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และฮ่องกง
ปี 2548 (มกราคม - กุมภาพันธ์) ปริมาณ 33,121 ตัน 8,311.8 ล้านบาท (215 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 33.66 และ 32.15 ตามลำดับเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ตลาดหลักทรัพย์ฯ ร้อยละ 50.05
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 17 พฤษภาคม 2548--จบ--