คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาผลไม้ภาคใต้ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมส่งเสริมสหกรณ์ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ สำหรับเงาะ ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีจำนวนมากจำเป็นต้องมีมาตรการเสริมด้วยการแปรรูปเป็นเงาะกระป๋อง โดยให้กระทรวงพาณิชย์ประสานงานกับโรงงานแปรรูปเงาะกระป๋องเข้าไปรับซื้ออีกทางหนึ่ง
1. ความเป็นมา
1.1 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้ประเมินสถานการณ์ผลไม้ภาคใต้ ปี 2550 สำหรับ มังคุด เงาะ และลองกอง จะมีปริมาณผลผลิตรวม 517,039 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2549 ประมาณร้อยละ 67 โดยจะมีผลผลิตออกสู่ตลาดมากประมาณกลางเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม 2550 ดังนี้
มังคุด 152,104 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 59
เงาะ 175,882 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 42
ลองกอง 189,053 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 111
1.2 ปัญหาที่เกิดขึ้นปัจจุบัน เนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดมาก ฝนตกมาก ทำให้ผลผลิตเสียหายและคุณภาพไม่ดี และราคาตกต่ำ
1.3 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบหมายให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ เข้าดำเนินการแก้ไขปัญหาโดยใช้สถาบันเกษตรกร เป็นเครื่องมือในการดำเนินงานตามกลไกตลาดปกติ
2. การดำเนินงาน
2.1 จังหวัดภาคใต้ตอนบน
2.1.1 กรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้สนับสนุนให้สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ในพื้นที่แหล่งผลิต ดำเนินธุรกิจรวบรวมและกระจายผลไม้ ตามกลไกตลาดปกติ โดยสนับสนุนในด้านต่างๆ คือ
- เงินกู้เพื่อใช้ในการรวบรวมผลไม้ จากกองทุนพัฒนาสหกรณ์ จำนวน 50 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อปี และวงเงินกู้ ธ.ก.ส. 30 ล้านบาท โดย กองทุนพัฒนาสหกรณ์จะชดเชยดอกเบี้ย ให้ไม่เกินร้อยละ 3 ต่อปี
- จัดสรรงบประมาณให้สหกรณ์จัดซื้อตะกร้าผลไม้ รวม 49,200 ใบ เป็นเงิน 4.92 ล้านบาท
- ช่วยประสานตลาด ห้างสรรพสินค้า ผู้ส่งออก และพ่อค้า เพื่อช่วยให้สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรในจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ชุมพร และพังงา สามารถขายผลไม้และได้มีการเจรจาตกลงซื้อขายผลไม้กับห้างสรรพสินค้า และหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ ไปแล้วในขณะนี้มีหน่วยงานที่ให้ความร่วมมือและรับซื้อมังคุดจาก จ.นครศรีธรรมราช และชุมพร ไปแล้ว เช่น โรงงานยาสูบ ธนาคารแห่งประเทศไทย การไฟฟ้าฝ่ายผลิต กระทรวงการคลัง กรมป่าไม้ ส่วนราชการสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ฯลฯ ได้แสดงความจำนงขอซื้อไปแล้วเบื้องต้นประมาณ 200 ตัน (มังคุดคละ ประมาณ ก.ก.ละ 10.- บาท)
2.1.2 แผนการรวบรวมและจำหน่ายของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร รวม 17,450 ตัน แยกเป็น เงาะ 7,850 ตัน มังคุด 8,700 ตัน และ ลองกอง 900 ตัน
2.1.3 ผลการดำเนินงาน ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2550 ถึงวันที่ 5 สิงหาคม 2550
- การสนับสนุนของกรมส่งเสริมสหกรณ์
(1) สนับสนุนเงินกู้ จากกองทุนพัฒนาสหกรณ์ ดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อปี ให้สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร เป็นเงิน 35.90 ล้านบาท
(2) ประสานตลาดห้างสรรพสินค้า โลตัส แม็คโคร บิ๊กซี ทำสัญญาซื้อขายผลไม้ ปริมาณ 5,000 ตัน เป็นสินค้าคัดเกรด ราคามังคุด(มันจิ๋ว) ประมาณ ก.ก.ละ 12-13 บาท
- ผลการรวบรวมและจำหน่ายผลไม้ รวม 2,968.47 ตัน มูลค่า 28.84 ล้านบาท
(1) จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 1,940.08 ตัน มูลค่า 21.02 ล้านบาท
(2) จังหวัดพังงา จำนวน 18.49 ตัน มูลค่า 0.21 ล้านบาท
(3) จังหวัดชุมพร จำนวน 359.90 ตัน มูลค่า 3.39 ล้านบาท
(4) จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 650.00 ตัน มูลค่า 4.22 ล้านบาท
- ราคาผลไม้ ณ วันที่ 5 สิงหาคม 2550
(1) มังคุด (คละ) กก.ละ 7 บาท
มังคุดส่งห้างสรรพสินค้า(มันจิ๋ว) กก.ละ 8-9 บาท
มังคุดส่งออก(มันลายใหญ่) กก.ละ 18 บาท
(2) เงาะ กก.ละ 6—8 บาท
(3) ลองกอง ช่อกลาง(ตลาดล่าง) กก.ละ 20—30 บาท
(4) ลองกอง ช่อใหญ่ กก.ละ 36-38 บาท
2.2 จังหวัดชายแดนภาคใต้
2.2.1 กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้กำหนดมาตรการและแนวทางการรวบรวมและกระจายลองกอง ปี 2550 ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ ยะลา ปัตตานีและนราธิวาส โดยกรมส่งเสริมสหกรณ์สนับสนุนในด้านต่างๆ คือ
- สนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนอัตราดอกเบี้ยร้อยละ1 จากเงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ ซึ่งมีสหกรณ์ขอเบิกไปแล้ว 4 สหกรณ์ วงเงิน 8.8 ล้านบาท อยู่ระหว่างขอเบิก 2 สหกรณ์ วงเงิน 5 ล้านบาท
- จัดสรรงบให้สหกรณ์จัดซื้อตะกร้าผลไม้ ให้กับกลุ่มผู้ผลิตผลไม้ของสหกรณ์ จำนวน 40 กลุ่มๆละ 150 ใบ รวม 6,000 ใบ
2.2.2 แผนการรวบรวมและจำหน่าย รวม 3,330 ตัน โดยใช้ศูนย์คัดแยกผลไม้พร้อมอุปกรณ์ของสหกรณ์ จำนวน 6 แห่ง
2.2.3 ผลการดำเนินงาน ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2550 ถึงวันที่ 5 สิงหาคม 2550 สามารถรวบรวมและจำหน่ายในตลาดทั่วไปได้ 37.11 ตัน มูลค่า 0.80 ล้านบาท
2.3 การส่งเสริมการตลาดที่ห้างสรรพสินค้า งานมหกรรมบริโภคผลไม้ไทย ปี 2550 ระหว่างวันที่ 3-5 สิงหาคม 2550 ณ ห้างสรรพสินค้าฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร สามารถจำหน่ายผลผลิตการเกษตรได้แก่ มังคุด เงาะ ลองกอง และลำไยรวมมูลค่า 4.58 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 7 สิงหาคม 2550--จบ--
1. ความเป็นมา
1.1 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้ประเมินสถานการณ์ผลไม้ภาคใต้ ปี 2550 สำหรับ มังคุด เงาะ และลองกอง จะมีปริมาณผลผลิตรวม 517,039 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2549 ประมาณร้อยละ 67 โดยจะมีผลผลิตออกสู่ตลาดมากประมาณกลางเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม 2550 ดังนี้
มังคุด 152,104 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 59
เงาะ 175,882 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 42
ลองกอง 189,053 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 111
1.2 ปัญหาที่เกิดขึ้นปัจจุบัน เนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดมาก ฝนตกมาก ทำให้ผลผลิตเสียหายและคุณภาพไม่ดี และราคาตกต่ำ
1.3 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบหมายให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ เข้าดำเนินการแก้ไขปัญหาโดยใช้สถาบันเกษตรกร เป็นเครื่องมือในการดำเนินงานตามกลไกตลาดปกติ
2. การดำเนินงาน
2.1 จังหวัดภาคใต้ตอนบน
2.1.1 กรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้สนับสนุนให้สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ในพื้นที่แหล่งผลิต ดำเนินธุรกิจรวบรวมและกระจายผลไม้ ตามกลไกตลาดปกติ โดยสนับสนุนในด้านต่างๆ คือ
- เงินกู้เพื่อใช้ในการรวบรวมผลไม้ จากกองทุนพัฒนาสหกรณ์ จำนวน 50 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อปี และวงเงินกู้ ธ.ก.ส. 30 ล้านบาท โดย กองทุนพัฒนาสหกรณ์จะชดเชยดอกเบี้ย ให้ไม่เกินร้อยละ 3 ต่อปี
- จัดสรรงบประมาณให้สหกรณ์จัดซื้อตะกร้าผลไม้ รวม 49,200 ใบ เป็นเงิน 4.92 ล้านบาท
- ช่วยประสานตลาด ห้างสรรพสินค้า ผู้ส่งออก และพ่อค้า เพื่อช่วยให้สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรในจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ชุมพร และพังงา สามารถขายผลไม้และได้มีการเจรจาตกลงซื้อขายผลไม้กับห้างสรรพสินค้า และหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ ไปแล้วในขณะนี้มีหน่วยงานที่ให้ความร่วมมือและรับซื้อมังคุดจาก จ.นครศรีธรรมราช และชุมพร ไปแล้ว เช่น โรงงานยาสูบ ธนาคารแห่งประเทศไทย การไฟฟ้าฝ่ายผลิต กระทรวงการคลัง กรมป่าไม้ ส่วนราชการสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ฯลฯ ได้แสดงความจำนงขอซื้อไปแล้วเบื้องต้นประมาณ 200 ตัน (มังคุดคละ ประมาณ ก.ก.ละ 10.- บาท)
2.1.2 แผนการรวบรวมและจำหน่ายของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร รวม 17,450 ตัน แยกเป็น เงาะ 7,850 ตัน มังคุด 8,700 ตัน และ ลองกอง 900 ตัน
2.1.3 ผลการดำเนินงาน ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2550 ถึงวันที่ 5 สิงหาคม 2550
- การสนับสนุนของกรมส่งเสริมสหกรณ์
(1) สนับสนุนเงินกู้ จากกองทุนพัฒนาสหกรณ์ ดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อปี ให้สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร เป็นเงิน 35.90 ล้านบาท
(2) ประสานตลาดห้างสรรพสินค้า โลตัส แม็คโคร บิ๊กซี ทำสัญญาซื้อขายผลไม้ ปริมาณ 5,000 ตัน เป็นสินค้าคัดเกรด ราคามังคุด(มันจิ๋ว) ประมาณ ก.ก.ละ 12-13 บาท
- ผลการรวบรวมและจำหน่ายผลไม้ รวม 2,968.47 ตัน มูลค่า 28.84 ล้านบาท
(1) จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 1,940.08 ตัน มูลค่า 21.02 ล้านบาท
(2) จังหวัดพังงา จำนวน 18.49 ตัน มูลค่า 0.21 ล้านบาท
(3) จังหวัดชุมพร จำนวน 359.90 ตัน มูลค่า 3.39 ล้านบาท
(4) จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 650.00 ตัน มูลค่า 4.22 ล้านบาท
- ราคาผลไม้ ณ วันที่ 5 สิงหาคม 2550
(1) มังคุด (คละ) กก.ละ 7 บาท
มังคุดส่งห้างสรรพสินค้า(มันจิ๋ว) กก.ละ 8-9 บาท
มังคุดส่งออก(มันลายใหญ่) กก.ละ 18 บาท
(2) เงาะ กก.ละ 6—8 บาท
(3) ลองกอง ช่อกลาง(ตลาดล่าง) กก.ละ 20—30 บาท
(4) ลองกอง ช่อใหญ่ กก.ละ 36-38 บาท
2.2 จังหวัดชายแดนภาคใต้
2.2.1 กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้กำหนดมาตรการและแนวทางการรวบรวมและกระจายลองกอง ปี 2550 ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ ยะลา ปัตตานีและนราธิวาส โดยกรมส่งเสริมสหกรณ์สนับสนุนในด้านต่างๆ คือ
- สนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนอัตราดอกเบี้ยร้อยละ1 จากเงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ ซึ่งมีสหกรณ์ขอเบิกไปแล้ว 4 สหกรณ์ วงเงิน 8.8 ล้านบาท อยู่ระหว่างขอเบิก 2 สหกรณ์ วงเงิน 5 ล้านบาท
- จัดสรรงบให้สหกรณ์จัดซื้อตะกร้าผลไม้ ให้กับกลุ่มผู้ผลิตผลไม้ของสหกรณ์ จำนวน 40 กลุ่มๆละ 150 ใบ รวม 6,000 ใบ
2.2.2 แผนการรวบรวมและจำหน่าย รวม 3,330 ตัน โดยใช้ศูนย์คัดแยกผลไม้พร้อมอุปกรณ์ของสหกรณ์ จำนวน 6 แห่ง
2.2.3 ผลการดำเนินงาน ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2550 ถึงวันที่ 5 สิงหาคม 2550 สามารถรวบรวมและจำหน่ายในตลาดทั่วไปได้ 37.11 ตัน มูลค่า 0.80 ล้านบาท
2.3 การส่งเสริมการตลาดที่ห้างสรรพสินค้า งานมหกรรมบริโภคผลไม้ไทย ปี 2550 ระหว่างวันที่ 3-5 สิงหาคม 2550 ณ ห้างสรรพสินค้าฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร สามารถจำหน่ายผลผลิตการเกษตรได้แก่ มังคุด เงาะ ลองกอง และลำไยรวมมูลค่า 4.58 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 7 สิงหาคม 2550--จบ--