คณะรัฐมนตรีเห็นชอบการให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 159 ว่าด้วยการฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพและการจ้างงาน (คนพิการ) พ.ศ. 2526 ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ ดังนี้
กระทรวงแรงงานรายงานว่า
1. กระทรวงแรงงานได้รับมอบหมายให้ศึกษาและดำเนินการในประเด็นเกี่ยวกับการให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 159 ว่าด้วยการฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพและการจ้างงาน (คนพิการ) พ.ศ. 2526 ซึ่งเป็นข้อเรียกร้องในงานวันแรงงานแห่งชาติปี 2549 ของสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทยและองค์การคนพิการสากลประจำภูมิภาคเอเชีย — แปซิฟิก
2. กระทรวงแรงงานพิจารณาเห็นว่าอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 159 ดังกล่าวสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลด้านแรงงานในด้านการส่งเสริมให้แรงงานทุกกลุ่มมีงานทำ มีอาชีพเสริมได้รับการคุ้มครองและดูแลด้านสุขอนามัย ความปลอดภัยในการทำงาน ตลอดจนมีหลักประกัน ความมั่นคง รวมทั้งสวัสดิการแรงงานอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
3. กระทรวงแรงงาน ได้จัดประชุมคณะกรรมการเพื่อพิจารณาถึงความเหมาะสมและความพร้อมของประเทศไทยในการให้สัตยาบันอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 159 รวม 2 ครั้ง (ครั้งที่ 1/2550 วันพุธที่ 17 มกราคม 2550 และครั้งที่ 2/2550 วันอังคารที่ 6 มีนาคม 2550) โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน องค์การมหาชน รัฐวิสาหกิจ ฝ่ายนายจ้าง ลูกจ้าง องค์การคนพิการ และหน่วยงานระดับกรมในสังกัดกระทรวงแรงงาน รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศและกฎหมายแรงงานและผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคประจำภูมิภาคของ ILO เข้าร่วมประชุมเพื่อให้ข้อมูลและเสนอแนวทางการปฏิบัติให้เป็นไปตามอนุสัญญาฯ ซึ่งที่ประชุมมีมติโดยสรุปว่าเห็นชอบการให้สัตยาบันอนุสัญญาฯ ดังกล่าวของประเทศไทยเนื่องจากปัจจุบันหน่วยงานต่าง ๆ มีความเข้าใจและได้พยายามปรับปรุงระเบียบหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องแล้ว ในส่วนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ยังไม่ได้เสนอความเห็นต่อประเด็นการให้สัตยาบันดังกล่าว ที่ประชุมได้ให้กระทรวงแรงงานสอบถามความเห็นไปอีกครั้ง โดยระบุไปด้วยว่า หากครบระยะเวลาที่กำหนดแล้วไม่ได้รับแจ้งตอบข้อคิดเห็น ให้ถือว่าหน่วยงานนั้น ๆ ให้ความเห็นชอบในหลักการ ทั้งนี้ หน่วยงานที่ตอบและให้ความเห็นชอบต่อการให้สัตยาบันดังกล่าวมี 26 หน่วยงาน ซึ่งมีรวมถึงกระทรวงการต่างประเทศด้วย
4. สาระสำคัญฯ ของอนุสัญญาฯ กำหนดให้รัฐบาลต้องดำเนินการเพื่อให้มี หรือปรับปรุงแก้ไข กฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับ ตลอดจนการนำไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง เพื่อให้คนพิการได้กลับเข้ามามีส่วนร่วมในสังคมอย่างเสมอภาค ได้รับโอกาสในการฝึกอาชีพและการมีงานทำ และอนุสัญญาฯ ฉบับนี้ได้กล่าวถึงข้อเสนอแนะฉบับที่ 99 และฉบับที่ 168 ที่ระบุถึงแนวทางขั้นพื้นฐานในการฟื้นฟูสมรรถภาพทางด้านอาชีพสำหรับคนพิการโดยดำเนินการให้เกิดความเสมอภาคทั้งในเมืองและชนบท ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของชุมชน องค์การนายจ้างและลูกจ้าง คนพิการ และองค์การของคนพิการ รวมทั้งการจัดฝึกอบรมบุคลากรที่เกี่ยวข้อง และการจัดบริการด้านฟื้นฟูอาชีพภายใต้บริบทของความมั่นคงทางสังคม อนุสัญญาฯ นี้มีทั้งสิ้น 17 มาตรา มีสาระสำคัญที่ต้องพิจารณา 9 มาตรา คือ มาตรา 1 ถึงมาตรา 9 ส่วนมาตรา 10 ถึงมาตรา 17 เป็นมาตราท้ายบทที่กำหนดเกี่ยวกับระเบียบวิธีการให้สัตยาบัน
5. การให้สัตยาบันฯ อนุสัญญาฯ ดังกล่าวจะเกิดผลดีในหลายประการ คือ การคุ้มครองคนพิการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยเหลือคนพิการในด้านการฟื้นฟูอาชีพและการมีงานทำ เพิ่มความร่วมมือระหว่างประเทศในการช่วยเหลือด้านแรงงานคนพิการอย่างจริงจังมากขึ้น นำไปสู่การช่วยเสริมสร้างความร่วมมือทั้งในระดับชาติ อนุภูมิภาค ภูมิภาค และระหว่างประเทศ ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล มีการนำหลักการแห่งสิทธิมนุษยชนตามรัฐธรรมนูญมาสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น ประเทศไทยจะได้รับการยอมรับอย่างมีศักดิ์ศรีจากนานาอารยประเทศซึ่งจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ
6. ปัจจุบันประเทศไทยได้ให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ จำนวน 14 ฉบับ โดยในจำนวนนี้เป็นอนุสัญญาหลักที่เกี่ยวกับสิทธิขั้นพื้นฐานของคนงาน 5 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 29 ว่าด้วยแรงงานบังคับ ฉบับที่ 105 ว่าด้วยการยกเลิกแรงงานบังคับ ฉบับที่ 100 ว่าด้วยค่าตอบแทนที่เท่าเทียมกัน ฉบับที่ 138 ว่าด้วยอายุขั้นต่ำที่อนุญาตให้จ้างงานได้ และฉบับที่ 182 ว่าด้วยรูปแบบที่เลวร้ายที่สุดของการใช้แรงงานเด็ก สำหรับอนุสัญญา ฉบับที่ 159 ในปัจจุบันมีประเทศสมาชิก ILO ให้สัตยาบันแล้ว 78 ประเทศ จาก 180 ประเทศ สำหรับประเทศในเอเชียที่ให้สัตยาบันอนุสัญญาฉบับนี้มี 8 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย จีน ฟิจิ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น มองโกเลีย ฟิลิปปินส์ และปากีสถาน (ข้อมูล ณ วันที่ 1 เมษายน 2550)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 19 มิถุนายน 2550--จบ--
กระทรวงแรงงานรายงานว่า
1. กระทรวงแรงงานได้รับมอบหมายให้ศึกษาและดำเนินการในประเด็นเกี่ยวกับการให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 159 ว่าด้วยการฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพและการจ้างงาน (คนพิการ) พ.ศ. 2526 ซึ่งเป็นข้อเรียกร้องในงานวันแรงงานแห่งชาติปี 2549 ของสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทยและองค์การคนพิการสากลประจำภูมิภาคเอเชีย — แปซิฟิก
2. กระทรวงแรงงานพิจารณาเห็นว่าอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 159 ดังกล่าวสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลด้านแรงงานในด้านการส่งเสริมให้แรงงานทุกกลุ่มมีงานทำ มีอาชีพเสริมได้รับการคุ้มครองและดูแลด้านสุขอนามัย ความปลอดภัยในการทำงาน ตลอดจนมีหลักประกัน ความมั่นคง รวมทั้งสวัสดิการแรงงานอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
3. กระทรวงแรงงาน ได้จัดประชุมคณะกรรมการเพื่อพิจารณาถึงความเหมาะสมและความพร้อมของประเทศไทยในการให้สัตยาบันอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 159 รวม 2 ครั้ง (ครั้งที่ 1/2550 วันพุธที่ 17 มกราคม 2550 และครั้งที่ 2/2550 วันอังคารที่ 6 มีนาคม 2550) โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน องค์การมหาชน รัฐวิสาหกิจ ฝ่ายนายจ้าง ลูกจ้าง องค์การคนพิการ และหน่วยงานระดับกรมในสังกัดกระทรวงแรงงาน รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศและกฎหมายแรงงานและผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคประจำภูมิภาคของ ILO เข้าร่วมประชุมเพื่อให้ข้อมูลและเสนอแนวทางการปฏิบัติให้เป็นไปตามอนุสัญญาฯ ซึ่งที่ประชุมมีมติโดยสรุปว่าเห็นชอบการให้สัตยาบันอนุสัญญาฯ ดังกล่าวของประเทศไทยเนื่องจากปัจจุบันหน่วยงานต่าง ๆ มีความเข้าใจและได้พยายามปรับปรุงระเบียบหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องแล้ว ในส่วนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ยังไม่ได้เสนอความเห็นต่อประเด็นการให้สัตยาบันดังกล่าว ที่ประชุมได้ให้กระทรวงแรงงานสอบถามความเห็นไปอีกครั้ง โดยระบุไปด้วยว่า หากครบระยะเวลาที่กำหนดแล้วไม่ได้รับแจ้งตอบข้อคิดเห็น ให้ถือว่าหน่วยงานนั้น ๆ ให้ความเห็นชอบในหลักการ ทั้งนี้ หน่วยงานที่ตอบและให้ความเห็นชอบต่อการให้สัตยาบันดังกล่าวมี 26 หน่วยงาน ซึ่งมีรวมถึงกระทรวงการต่างประเทศด้วย
4. สาระสำคัญฯ ของอนุสัญญาฯ กำหนดให้รัฐบาลต้องดำเนินการเพื่อให้มี หรือปรับปรุงแก้ไข กฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับ ตลอดจนการนำไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง เพื่อให้คนพิการได้กลับเข้ามามีส่วนร่วมในสังคมอย่างเสมอภาค ได้รับโอกาสในการฝึกอาชีพและการมีงานทำ และอนุสัญญาฯ ฉบับนี้ได้กล่าวถึงข้อเสนอแนะฉบับที่ 99 และฉบับที่ 168 ที่ระบุถึงแนวทางขั้นพื้นฐานในการฟื้นฟูสมรรถภาพทางด้านอาชีพสำหรับคนพิการโดยดำเนินการให้เกิดความเสมอภาคทั้งในเมืองและชนบท ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของชุมชน องค์การนายจ้างและลูกจ้าง คนพิการ และองค์การของคนพิการ รวมทั้งการจัดฝึกอบรมบุคลากรที่เกี่ยวข้อง และการจัดบริการด้านฟื้นฟูอาชีพภายใต้บริบทของความมั่นคงทางสังคม อนุสัญญาฯ นี้มีทั้งสิ้น 17 มาตรา มีสาระสำคัญที่ต้องพิจารณา 9 มาตรา คือ มาตรา 1 ถึงมาตรา 9 ส่วนมาตรา 10 ถึงมาตรา 17 เป็นมาตราท้ายบทที่กำหนดเกี่ยวกับระเบียบวิธีการให้สัตยาบัน
5. การให้สัตยาบันฯ อนุสัญญาฯ ดังกล่าวจะเกิดผลดีในหลายประการ คือ การคุ้มครองคนพิการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยเหลือคนพิการในด้านการฟื้นฟูอาชีพและการมีงานทำ เพิ่มความร่วมมือระหว่างประเทศในการช่วยเหลือด้านแรงงานคนพิการอย่างจริงจังมากขึ้น นำไปสู่การช่วยเสริมสร้างความร่วมมือทั้งในระดับชาติ อนุภูมิภาค ภูมิภาค และระหว่างประเทศ ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล มีการนำหลักการแห่งสิทธิมนุษยชนตามรัฐธรรมนูญมาสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น ประเทศไทยจะได้รับการยอมรับอย่างมีศักดิ์ศรีจากนานาอารยประเทศซึ่งจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ
6. ปัจจุบันประเทศไทยได้ให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ จำนวน 14 ฉบับ โดยในจำนวนนี้เป็นอนุสัญญาหลักที่เกี่ยวกับสิทธิขั้นพื้นฐานของคนงาน 5 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 29 ว่าด้วยแรงงานบังคับ ฉบับที่ 105 ว่าด้วยการยกเลิกแรงงานบังคับ ฉบับที่ 100 ว่าด้วยค่าตอบแทนที่เท่าเทียมกัน ฉบับที่ 138 ว่าด้วยอายุขั้นต่ำที่อนุญาตให้จ้างงานได้ และฉบับที่ 182 ว่าด้วยรูปแบบที่เลวร้ายที่สุดของการใช้แรงงานเด็ก สำหรับอนุสัญญา ฉบับที่ 159 ในปัจจุบันมีประเทศสมาชิก ILO ให้สัตยาบันแล้ว 78 ประเทศ จาก 180 ประเทศ สำหรับประเทศในเอเชียที่ให้สัตยาบันอนุสัญญาฉบับนี้มี 8 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย จีน ฟิจิ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น มองโกเลีย ฟิลิปปินส์ และปากีสถาน (ข้อมูล ณ วันที่ 1 เมษายน 2550)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 19 มิถุนายน 2550--จบ--