แท็ก
ปทุมไรซมิล แอนด์ แกรนารี
ธนาคารแห่งประเทศไทย
ร่างพระราชบัญญัติ
สุขภัณฑ์กะรัต
กระทรวงคมนาคม
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติการช่วยเหลือกู้ภัยทางทะเล พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนนำเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป
กระทรวงคมนาคมรายงานว่า เห็นควรยืนยันให้ดำเนินการร่างพระราชบัญญัติการช่วยเหลือกู้ภัยทางทะเล พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วต่อไป เพื่อเป็นการยกระดับกฎหมายพาณิชยนาวีของประเทศไทยให้มีความทันสมัยและทำให้เกิดระบบกฎหมายพาณิชยนาวีที่เข้มแข็ง ส่งผลให้เกิดการพัฒนาและส่งเสริมกิจการพาณิชยนาวีของประเทศไทยอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งมีมาตรการส่งเสริมและคุ้มครองสิ่งแวดล้อม รวมทั้ง เป็นการสนับสนุนการขนส่งทางน้ำ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ (Logistics) ของประเทศไทยตามแนวนโยบายของรัฐบาลและก่อให้เกิดความมั่นใจกับเจ้าของเรือต่างประเทศที่จะนำเรือเข้ามาทำการค้าในน่านน้ำไทย อันจะส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยด้วย
ร่างพระราชบัญญัติการช่วยเหลือกู้ภัยทางทะเล พ.ศ. ....
1. กฎหมายนี้ไม่ใช้บังคับแก่เรือรบหรือเรือของรัฐ ตลอดจนแท่นหรือฐานขุดเจาะในทะเลในขณะที่อยู่ในที่ตั้งสำหรับการสำรวจ แสวงประโยชน์หรือผลิตทรัพยากร
2. ในกรณีที่มีการทำสัญญาช่วยเหลือกู้ภัยทางทะเล โดยนายเรือสัญญาที่ทำขึ้นจะมีผลผูกพัน เจ้าของเรือและเจ้าของทรัพย์สินบนเรือโดยอัตโนมัติ แต่ศาลมีอำนาจที่จะไม่บังคับตามสัญญานั้นทั้งหมดหรือบางส่วน หรือปรับเปลี่ยนข้อความในสัญญาหรือเพิ่ม/ลดจำนวนค่าตอบแทนที่กำหนดไว้ในสัญญา หากปรากฎว่าสัญญานั้นได้ตกลงทำขึ้นภายใต้ความกดดันโดยมิชอบและมีข้อกำหนดหรือเงื่อนไขที่ไม่เป็นธรรม
3. เมื่อปฏิบัติการของตนเป็นประโยชน์ต่อการทำให้เรือหรือทรัพย์สินอย่างปลอดภัย ผู้ช่วยเหลือกู้ภัยจะได้รับเงินรางวัลการช่วยเหลือกู้ภัยจากเจ้าของเรือเจ้าของทรัพย์สินนั้นตามส่วนแห่งมูลค่าของเรือหรือทรัพย์สินที่ช่วยเหลือไว้ได้
4. การกำหนดจำนวนเงินรางวัลที่ผู้ช่วยเหลือกู้ภัยจะได้รับพิจารณาจากสภาพข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่กฎหมายกำหนดไว้เป็นแนวทาง ทั้งนี้ ต้องคำนึงถึงนโยบายที่สนับสนุนให้มีการปฏิบัติการ
5. ผู้ช่วยเหลือกู้ภัยจะได้รับค่าทดแทนพิเศษจากเจ้าของเรือที่ประสบอันตรายเมื่อปรากฏว่าอันตรายที่เกิดขึ้นแก่เรือหรือสินค้าบนเรือนั้นมีผลคุกคามที่ก่อความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม แม้ว่าการปฏิบัติการของตนไม่เป็นประโยชน์ต่อการทำให้เรือหรือสินค้านั้นปลอดภัย หรือเมื่อเงินรางวัลที่ได้รับจากการปฏิบัติการน้อยกว่าค่าใช้จ่ายที่เสียไปในการปฏิบัติการ โดยค่าทดแทนพิเศษจะได้รับ คือ ค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการหรือส่วนต่างระหว่างค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการกับเงินรางวัล แล้วแต่กรณี
6. เมื่อผู้ช่วยเหลือกู้ภัยมีสิทธิได้รับเงินรางวัลการช่วยเหลือกู้ภัยการแบ่งเงินรางวัลระหว่างเจ้าของเรือและคนประจำเรือที่ร่วมปฏิบัติการจะเป็นไปตามกฎหมายของประเทศที่เรือนั้นชักธง ถ้าเป็นเรือคนไทย ให้พิจารณาจาก สภาพการปฏิบัติการว่า เป็นกรณีนำเรือเข้าเสี่ยงภัยหรือเป็นกรณีที่อาศัยทักษะหรือความสามารถเฉพาะตัวของคนประจำเรือหากเป็นกรณีแรก เงินรางวัลส่วนใหญ่จะตกแก่เจ้าของเรือ แต่ถ้าเป็นกรณีหลังเงินรางวัลส่วนใหญ่จะตกแก่คนประจำเรือทุกคนในอัตราส่วนเท่า ๆ กัน
7. การปฏิบัติการช่วยเหลือชีวิตมนุษย์ไม่ก่อให้เกิดสิทธิเรียกร้องเอาค่าตอบแทนตามกฎหมายนี้จากผู้ที่รอดชีวิต แต่ผู้ที่ปฏิบัติการช่วยเหลือชีวิตมนุษย์มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งจากผู้ช่วยเหลือกู้ภัยเรือทรัพย์สิน หากมีการปฏิบัติการช่วยเหลือกู้ภัยเรือหรือทรัพย์สินเกิดขึ้นในโอกาสเดียวกัน
8. อายุความของสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นจากกฎหมายนี้มีกำหนด 2 ปี นับแต่วันทำการช่วยเหลือกู้ภัยสิ้นสุดลง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--
กระทรวงคมนาคมรายงานว่า เห็นควรยืนยันให้ดำเนินการร่างพระราชบัญญัติการช่วยเหลือกู้ภัยทางทะเล พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วต่อไป เพื่อเป็นการยกระดับกฎหมายพาณิชยนาวีของประเทศไทยให้มีความทันสมัยและทำให้เกิดระบบกฎหมายพาณิชยนาวีที่เข้มแข็ง ส่งผลให้เกิดการพัฒนาและส่งเสริมกิจการพาณิชยนาวีของประเทศไทยอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งมีมาตรการส่งเสริมและคุ้มครองสิ่งแวดล้อม รวมทั้ง เป็นการสนับสนุนการขนส่งทางน้ำ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ (Logistics) ของประเทศไทยตามแนวนโยบายของรัฐบาลและก่อให้เกิดความมั่นใจกับเจ้าของเรือต่างประเทศที่จะนำเรือเข้ามาทำการค้าในน่านน้ำไทย อันจะส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยด้วย
ร่างพระราชบัญญัติการช่วยเหลือกู้ภัยทางทะเล พ.ศ. ....
1. กฎหมายนี้ไม่ใช้บังคับแก่เรือรบหรือเรือของรัฐ ตลอดจนแท่นหรือฐานขุดเจาะในทะเลในขณะที่อยู่ในที่ตั้งสำหรับการสำรวจ แสวงประโยชน์หรือผลิตทรัพยากร
2. ในกรณีที่มีการทำสัญญาช่วยเหลือกู้ภัยทางทะเล โดยนายเรือสัญญาที่ทำขึ้นจะมีผลผูกพัน เจ้าของเรือและเจ้าของทรัพย์สินบนเรือโดยอัตโนมัติ แต่ศาลมีอำนาจที่จะไม่บังคับตามสัญญานั้นทั้งหมดหรือบางส่วน หรือปรับเปลี่ยนข้อความในสัญญาหรือเพิ่ม/ลดจำนวนค่าตอบแทนที่กำหนดไว้ในสัญญา หากปรากฎว่าสัญญานั้นได้ตกลงทำขึ้นภายใต้ความกดดันโดยมิชอบและมีข้อกำหนดหรือเงื่อนไขที่ไม่เป็นธรรม
3. เมื่อปฏิบัติการของตนเป็นประโยชน์ต่อการทำให้เรือหรือทรัพย์สินอย่างปลอดภัย ผู้ช่วยเหลือกู้ภัยจะได้รับเงินรางวัลการช่วยเหลือกู้ภัยจากเจ้าของเรือเจ้าของทรัพย์สินนั้นตามส่วนแห่งมูลค่าของเรือหรือทรัพย์สินที่ช่วยเหลือไว้ได้
4. การกำหนดจำนวนเงินรางวัลที่ผู้ช่วยเหลือกู้ภัยจะได้รับพิจารณาจากสภาพข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่กฎหมายกำหนดไว้เป็นแนวทาง ทั้งนี้ ต้องคำนึงถึงนโยบายที่สนับสนุนให้มีการปฏิบัติการ
5. ผู้ช่วยเหลือกู้ภัยจะได้รับค่าทดแทนพิเศษจากเจ้าของเรือที่ประสบอันตรายเมื่อปรากฏว่าอันตรายที่เกิดขึ้นแก่เรือหรือสินค้าบนเรือนั้นมีผลคุกคามที่ก่อความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม แม้ว่าการปฏิบัติการของตนไม่เป็นประโยชน์ต่อการทำให้เรือหรือสินค้านั้นปลอดภัย หรือเมื่อเงินรางวัลที่ได้รับจากการปฏิบัติการน้อยกว่าค่าใช้จ่ายที่เสียไปในการปฏิบัติการ โดยค่าทดแทนพิเศษจะได้รับ คือ ค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการหรือส่วนต่างระหว่างค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการกับเงินรางวัล แล้วแต่กรณี
6. เมื่อผู้ช่วยเหลือกู้ภัยมีสิทธิได้รับเงินรางวัลการช่วยเหลือกู้ภัยการแบ่งเงินรางวัลระหว่างเจ้าของเรือและคนประจำเรือที่ร่วมปฏิบัติการจะเป็นไปตามกฎหมายของประเทศที่เรือนั้นชักธง ถ้าเป็นเรือคนไทย ให้พิจารณาจาก สภาพการปฏิบัติการว่า เป็นกรณีนำเรือเข้าเสี่ยงภัยหรือเป็นกรณีที่อาศัยทักษะหรือความสามารถเฉพาะตัวของคนประจำเรือหากเป็นกรณีแรก เงินรางวัลส่วนใหญ่จะตกแก่เจ้าของเรือ แต่ถ้าเป็นกรณีหลังเงินรางวัลส่วนใหญ่จะตกแก่คนประจำเรือทุกคนในอัตราส่วนเท่า ๆ กัน
7. การปฏิบัติการช่วยเหลือชีวิตมนุษย์ไม่ก่อให้เกิดสิทธิเรียกร้องเอาค่าตอบแทนตามกฎหมายนี้จากผู้ที่รอดชีวิต แต่ผู้ที่ปฏิบัติการช่วยเหลือชีวิตมนุษย์มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งจากผู้ช่วยเหลือกู้ภัยเรือทรัพย์สิน หากมีการปฏิบัติการช่วยเหลือกู้ภัยเรือหรือทรัพย์สินเกิดขึ้นในโอกาสเดียวกัน
8. อายุความของสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นจากกฎหมายนี้มีกำหนด 2 ปี นับแต่วันทำการช่วยเหลือกู้ภัยสิ้นสุดลง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--