คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) กู้เงินระยะสั้นกับธนาคารที่มีเงื่อนไขเหมาะสมที่สุด เป็นระยะเวลา 1 ปี (มกราคม-ธันวาคม 2550) ในวงเงิน 3,000 ล้านบาท ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
กระทรวงมหาดไทยรายงานว่า
1. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ได้ดำเนินการตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2548 โดยได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี (O/D) กับธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) สำนักงานพหลโยธิน ในวงเงินจำนวน 3,000 ล้านบาท ระยะเวลา 15 เดือน โดยมีเงื่อนไขในการคำนวณดอกเบี้ย ดังนี้
1.1 ในวงเงิน 1,000 ล้านบาทแรก อัตราดอกเบี้ย MOR-ร้อยละ 4 = ร้อยละ 2.50 ต่อปี
1.2 ส่วนที่เกินจากวงเงินแรก อัตราดอกเบี้ย MOR-ร้อยละ 3.75 = ร้อยละ 2.75 ต่อปี
(ปัจจุบัน MOR ของธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) เท่ากับร้อยละ 8.25 ต่อปี) ซึ่งขณะนี้สัญญาดังกล่าวได้สิ้นสุดลงแล้ว หาก กฟภ. มีความประสงค์ที่จะใช้เงินกู้ระยะสั้นเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการเสริมสภาพคล่องต่อไปอีก จะต้องนำเสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ตามนัยพระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2503 มาตรา 42 (2) และที่แก้ไขเพิ่มเติม
2. กฟภ. พิจารณาแล้วเห็นว่ายังมีประเด็นความจำเป็นในการขอใช้เงินกู้ระยะสั้นกับธนาคาร เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วนในวงเงิน 3,000 ล้านบาท ดังนี้
2.1 จากประมาณการเงินสดปี 2550 ของ กฟภ. พบว่าในช่วงปลายปี 2550 กฟภ. มีความต้องการเงินทุนหมุนเวียนเพื่อเสริมสภาพคล่องในวงเงินประมาณ 3,000 ล้านบาท
2.2 กฟภ. มีลูกหนี้ค่าไฟฟ้าของหน่วยราชการที่ยังไม่สามารถเก็บเงินได้ เพียงเดือนกันยายน 2549 เป็นจำนวน 1,589.775 ล้านบาท เนื่องจากหน่วยงานราชการมีขั้นตอนในการเบิกจ่ายเงินล่าช้าและมีงบประมาณค่าสาธารณูปโภคไม่เพียงพอกับการใช้จริง
2.3 กฟภ. มีภาระที่ต้องจ่ายค่าซื้อไฟฟ้าจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เพิ่มมากขึ้น โดยเป็นค่าซื้อไฟฟ้าประจำเดือนที่เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยประมาณ 1,000 ล้านบาท และในปี 2550 ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ กฟภ. มีภาระที่ต้องจ่ายค่าซื้อไฟฟ้าจาก กฟผ. เพิ่มมากขึ้น
2.4 กฟภ. มีภาระที่จะต้องจ่ายเงินค่าซื้อไฟฟ้าจาก กฟผ. ภายใน 30 วันนับถัดจากวันที่ได้รับใบแจ้งหนี้ และหาก กฟภ. ไม่สามารถชำระเงินภายในเวลาที่กำหนดได้ กฟภ. จะต้องเสียค่าปรับในอัตรา MOR+ร้อยละ 2 ต่อปี (ปัจจุบัน MOR ของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เท่ากับร้อยละ 8 ต่อปี)
3. คณะกรรมการ กฟภ. ได้มีมติในคราวประชุม ครั้งที่ 11/2549 เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2549 ให้ความเห็นชอบให้ กฟภ. กู้เงินระยะสั้นเป็นระยะเวลา 1 ปี (มกราคม-ธันวาคม 2550) กับธนาคารที่มีเงื่อนไขเหมาะสมหรือเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดในวงเงิน 3,000 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--
กระทรวงมหาดไทยรายงานว่า
1. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ได้ดำเนินการตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2548 โดยได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี (O/D) กับธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) สำนักงานพหลโยธิน ในวงเงินจำนวน 3,000 ล้านบาท ระยะเวลา 15 เดือน โดยมีเงื่อนไขในการคำนวณดอกเบี้ย ดังนี้
1.1 ในวงเงิน 1,000 ล้านบาทแรก อัตราดอกเบี้ย MOR-ร้อยละ 4 = ร้อยละ 2.50 ต่อปี
1.2 ส่วนที่เกินจากวงเงินแรก อัตราดอกเบี้ย MOR-ร้อยละ 3.75 = ร้อยละ 2.75 ต่อปี
(ปัจจุบัน MOR ของธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) เท่ากับร้อยละ 8.25 ต่อปี) ซึ่งขณะนี้สัญญาดังกล่าวได้สิ้นสุดลงแล้ว หาก กฟภ. มีความประสงค์ที่จะใช้เงินกู้ระยะสั้นเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการเสริมสภาพคล่องต่อไปอีก จะต้องนำเสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ตามนัยพระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2503 มาตรา 42 (2) และที่แก้ไขเพิ่มเติม
2. กฟภ. พิจารณาแล้วเห็นว่ายังมีประเด็นความจำเป็นในการขอใช้เงินกู้ระยะสั้นกับธนาคาร เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วนในวงเงิน 3,000 ล้านบาท ดังนี้
2.1 จากประมาณการเงินสดปี 2550 ของ กฟภ. พบว่าในช่วงปลายปี 2550 กฟภ. มีความต้องการเงินทุนหมุนเวียนเพื่อเสริมสภาพคล่องในวงเงินประมาณ 3,000 ล้านบาท
2.2 กฟภ. มีลูกหนี้ค่าไฟฟ้าของหน่วยราชการที่ยังไม่สามารถเก็บเงินได้ เพียงเดือนกันยายน 2549 เป็นจำนวน 1,589.775 ล้านบาท เนื่องจากหน่วยงานราชการมีขั้นตอนในการเบิกจ่ายเงินล่าช้าและมีงบประมาณค่าสาธารณูปโภคไม่เพียงพอกับการใช้จริง
2.3 กฟภ. มีภาระที่ต้องจ่ายค่าซื้อไฟฟ้าจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เพิ่มมากขึ้น โดยเป็นค่าซื้อไฟฟ้าประจำเดือนที่เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยประมาณ 1,000 ล้านบาท และในปี 2550 ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ กฟภ. มีภาระที่ต้องจ่ายค่าซื้อไฟฟ้าจาก กฟผ. เพิ่มมากขึ้น
2.4 กฟภ. มีภาระที่จะต้องจ่ายเงินค่าซื้อไฟฟ้าจาก กฟผ. ภายใน 30 วันนับถัดจากวันที่ได้รับใบแจ้งหนี้ และหาก กฟภ. ไม่สามารถชำระเงินภายในเวลาที่กำหนดได้ กฟภ. จะต้องเสียค่าปรับในอัตรา MOR+ร้อยละ 2 ต่อปี (ปัจจุบัน MOR ของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เท่ากับร้อยละ 8 ต่อปี)
3. คณะกรรมการ กฟภ. ได้มีมติในคราวประชุม ครั้งที่ 11/2549 เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2549 ให้ความเห็นชอบให้ กฟภ. กู้เงินระยะสั้นเป็นระยะเวลา 1 ปี (มกราคม-ธันวาคม 2550) กับธนาคารที่มีเงื่อนไขเหมาะสมหรือเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดในวงเงิน 3,000 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--