รายงานผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง โครงการพัฒนากำลังคน

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday January 26, 2011 16:42 —มติคณะรัฐมนตรี

เรื่อง รายงานผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง โครงการพัฒนากำลังคนด้านมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์

(ทุนเรียนดีมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย) ครั้งที่ 7

คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง โครงการพัฒนากำลังคนด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (ทุนเรียนดีมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย) ครั้งที่ 7 (พฤษภาคม —พฤศจิกายน 2553) และให้กระทรวงศึกษาธิการรายงานผลการดำเนินการโครงการนี้ต่อคณะรัฐมนตรีทุกสิ้นปีงบประมาณจนกว่าจะสิ้นสุดระยะเวลาของโครงการ

สาระสำคัญของเรื่อง

ศธ. โดย สกอ. ได้รายงานผลการดำเนินโครงการพัฒนากำลังคนด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (ทุนเรียนดีมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย) ครั้งที่ 7 (พฤษภาคม — พฤศจิกายน 2553) สรุปได้ดังนี้

1. ผลการดำเนินการ

1.1 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ดำเนินการโอนเงินค่าใช้จ่ายของนักเรียนทุน แยกเป็นทุนในประเทศ ได้ประสานสถาบันอุดมศึกษาที่เป็นสถาบันฝ่ายผลิตให้จัดส่งรายละเอียดพร้อมหลักฐานของนักเรียนทุนทุกระดับ ในส่วนของทุนในต่างประเทศ ได้ประสานสำนักงาน ก.พ. และโอนเงินค่าใช้จ่ายของนักเรียนทุนเพื่อให้ดำเนินการเกี่ยวกับนักเรียนทุนโครงการฯ ที่พร้อมจะเดินทางไปศึกษาได้ตั้งแต่เดือนมิถุนายน-กันยายน 2553 จำนวน 37 คน (ระดับปริญญาตรี 4 คน และระดับปริญญาโท-เอก 33 คน) จากนักเรียนทุน 61 คน

1.2 พิจารณาจัดสรรทุนที่เหลือจากปีงบประมาณ 2553 และทุนตามงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรในปี 2554 ดังนี้

1.2.1 รวบรวมทุนที่จัดสรรแล้วแต่ไม่มีผู้สอบผ่านเป็นผู้รับทุน พร้อมพิจารณาผลการจัดสอบ ปัญหา/อุปสรรคที่ผ่านมา เพื่อปรับแก้ไขปัญหาในการประกาศสอบครั้งต่อไป รวมทั้งพิจารณาแนวทางการจัดสรรทุนเป็น 3 แนวทาง คือ แนวทางที่ 1 การเปิดสอบแข่งขันสำหรับบุคคลทั่วไป (รูปแบบที่ใช้อยู่เดิม) แนวทางที่ 2 การพัฒนาศักยภาพบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษา และแนวทางที่ 3 การแสวงหานักเรียนทุนจากผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยที่อยู่ในการจัดลำดับที่ดี และไม่มีภาระทุนผูกพัน โดยการหาทางจูงใจให้เข้ามาสู่ระบบ

1.2.2 แจ้งสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับการจัดสรรทุนเพื่อยืนยัน/สละสิทธิ์การรับจัดสรรทุนที่ไม่มีผู้สอบผ่าน เพื่อนำมาประกาศรับสมัครใหม่ ซึ่งในกรณีที่สถาบันต้นสังกัดขอยกเลิกการขอรับการจัดสรรทุน จะนำทุนมาจัดสรรรวมกับทุนในปีงบประมาณ 2554 รวมทั้งแจ้งให้สถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งที่เปิดสอนด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และประสงค์เข้าร่วมโครงการให้จัดทำแผนพัฒนางานวิชาการ เพื่อใช้พิจารณาประกอบการจัดสรรทุน

1.2.3 นำทุนที่เหลือจากการสอบแข่งขันฯ และงบประมาณของปี 2553 มารวมกับงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรในปี 2554 เพื่อพิจารณาจัดสรรทุนและประกาศสอบแข่งขันเพื่อรับทุนโครงการฯ ปีการศึกษา 2553-2554 ในระดับปริญญาตรี และปริญญาโท-เอก ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และทุนระดับปริญญาตรี-โท ในต่างประเทศ เพื่อให้สอดคล้องกับระยะเวลาที่ต้องเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จ เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จจึงจะดำเนินการพิจารณาทุนพัฒนาศักยภาพในการทำงานวิจัยของนิสิต นักศึกษา ระดับปริญญาโท-เอก จำนวน 50 ทุน

1.2.4 การพิจารณาจัดสรรทุนในปีการศึกษา 2553-2554 เพื่อให้ได้สาขาวิชาที่มีความจำเป็น หรือขาดแคลน หรือเป็นสาขาวิชาที่ตอบสนองการพัฒนาศักยภาพของสถาบันอุดมศึกษา รวม 196 ทุน โดยเป็นทุนที่เหลือจากการสอบผ่านเป็นนักเรียนทุนที่ประกาศรับสมัครในปีการศึกษา 2553 จำนวน 176 ทุน และจำนวนทุนที่จัดสรรตามงบประมาณที่ได้รับในปีงบประมาณ 2554 จำนวน 20 ทุน

1.2.5 จัดสอบแข่งขันเข้ารับทุนโครงการฯ ประจำปีการศึกษา 2553 — 2554 โดยความร่วมมือของสำนักงานบริหารโครงการฯ เป็นหน่วยดำเนินการจัดสอบแข่งขันรับทุนโครงการฯ ในช่วง 23 สิงหาคม — 7 ธันวาคม 2553

2. ร้อยละของการดำเนินการตามเป้าหมาย

ผลการดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อรับทุนโครงการ ปีงบประมาณ 2553 — 2554 เป็นทุนระดับปริญญาตรี และปริญญาโท - เอก ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ระดับปริญญาตรี - โท ในต่างประเทศ ระดับปริญญาโท — เอก และแนวทางที่ 2 ทุนพัฒนาศักยภาพบุคลากรของสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 196 ทุน มีผู้สนใจสมัครสอบจำนวน 705 คน แต่มีสิทธิ์เข้าสอบภาควิชาการ จำนวน 680 คน และมีผู้สอบผ่านเพื่อรับทุนโครงการฯ จำนวน 85 คน คิดเป็นร้อยละ 43.37

3. จำนวนเงินงบประมาณที่ใช้จ่าย

ในปีงบประมาณ 2553 ได้รับการจัดสรรงบประมาณ จำนวน 161,648,500 บาท รวมกับงบประมาณที่ โอนมาพร้อมจำนวนทุนที่ยังไม่ได้จัดสรรของปี 2552 จำนวนเงิน 7,696,612.50 บาท รวมเป็นเงิน 169,345,112.50 บาท

4. ปัญหา / อุปสรรค และแนวทางแก้ไข

                         ปัญหา / อุปสรรค                                     แนวทางแก้ไข
          -  สาขาวิชาของโครงการฯ มีความหลากหลายมาก  ทำ        - มีการประชาสัมพันธ์โครงการฯ ในรูปแบบต่างๆ เพิ่มมากขึ้น
          ให้การพิจารณาจัดสรรทุนต้องใช้ระยะเวลาและการจัดหา         - จัดประชุมเพื่อชี้แจงและสร้างความเข้าใจในโครงการ
          ข้อมูลเพื่อใช้ประกอบการพิจารณา                             พัฒนากำลังคนด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ให้แก่
                                                               สถาบันอุดมศึกษา ทั้งเรื่องการจัดการเรียนการสอน และ
                                                               เรื่องของ การเตรียมอัตรากำลังรองรับเมื่อสำเร็จการศึกษา
                                                               แล้ว
          - การกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะสมัครสอบแข่งขันเพื่อรับทุน        - การกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะสมัครสอบแข่งขันเพื่อรับทุน
          โครงการฯ  มีความแตกต่างกันตามสาขาวิชาที่หลากหลาย          โครงการฯ  ให้มีความยืดหยุ่นให้เหมาะสมตามสาขาวิชาที่มี
                                                              ความหลากหลายมาก
          -  การกำหนดให้ผู้รับทุนในระดับปริญญาตรีต้องผูกพันชดใช้        - ควรผ่อนผันให้ผู้รับทุนในระดับปริญญาตรีไม่ต้องผูกพันชดใช้
          ทุนในสถาบันอุดมศึกษาทำได้ยาก  เนื่องจาก                    ทุนในสถาบันอุดมศึกษา แต่เป็นการให้ทุนเพื่อสร้างฐาน
          สถาบันอุดมศึกษาจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรี                กำลังคนในสาขาที่ขาดแคลน หรือมีความจำเป็นต้องมีการ
          อัตรากำลังรองรับที่จะบรรจุเข้าทำงานจึงต้องเป็นระดับ            จัดการเรียนการสอน และหาวิธีการให้ผู้รับทุนเหล่านี้ได้มี
          ปริญญาเอก  และอาจมีบางสาขาที่จำเป็นต้องรับในระดับ           ศักยภาพและเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโท-เอก และทำ
          ปริญญาโท                                             สัญญาผูกพันชดใช้ทุนในสถาบันอุดมศึกษาตั้งแต่ระดับ ปริญญาโท
          -ระยะเวลาการศึกษาของผู้รับทุนในบางสาขาวิชาไม่            - ควรขยายเวลาการศึกษาในบางสาขาวิชาที่หลักสูตร
          สามารถสำเร็จการศึกษาตามที่กำหนดไว้ในโครงการฯ             กำหนดระยะเวลาเกินกว่าที่กำหนดไว้ในโครงการฯ
          (ปริญญาตรี 4  ปี ปริญญาโท 2 ปี ปริญญาเอก 3 ปี
          และปริญญาโท-เอก 5 ปี) ได้ เพราะบางหลักสูตรกำหนด
          ระยะเวลาเกินจากที่กำหนด  เช่น  สาขาโบราณคดี
          หลักสูตรระดับปริญญาโท ในประเทศ ใช้เวลาประมาณ 3-4 ปี
          - งบประมาณที่จัดสรรสำหรับทุนการศึกษาในต่างประเทศ         - กรณีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากที่กำหนดไว้ในโครงการฯ ของ
          จากการประสานกับสำนักงาน ก.พ. พบว่า มีค่าใช้จ่ายใน          นักเรียนทุนศึกษาในต่างประเทศ ทั้งในระดับปริญญาตรี
          ส่วนที่เพิ่มขึ้นจากที่กำหนดไว้ในโครงการฯ ซึ่งจำเป็นต้องจัด         ปริญญาโท และปริญญาเอก จะพิจารณาปรับค่าใช้จ่ายใน
          ให้เนื่องจากเป็นการเตรียมก่อนเข้าศึกษา เช่น  ค่าใช้จ่าย         รายการต่างๆ ที่ตั้งงบประมาณไว้เพื่อให้
          ด้านภาษา  และค่าใช้จ่ายเพื่อเตรียมตัวก่อนการเดินทางไป         สามารถดำเนินโครงการฯ ได้ตามวัตถุประสงค์ โดยไม่เกิน
          ศึกษาในต่างประเทศ                                     วงเงินงบประมาณที่โครงการฯ ได้รับอนุมัติและเป็นไปอย่าง
                                                              ประหยัด

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 มกราคม 2554--จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ