สรุปสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตรปี 2554 ครั้งที่ 3

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday January 26, 2011 17:02 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีรับทราบข้อมูลสรุปสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตรปี 2554 ครั้งที่ 3 ณ วันที่ 21 มกราคม 2554 ประกอบด้วย สถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตร สถานการณ์น้ำ การจัดสรรน้ำและการปลูกพืชฤดูแล้งปี 2553/2554 การช่วยเหลือด้านการเกษตร ความก้าวหน้าการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยปี 2553 กรณีพิเศษ และการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางพาราที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย วาตภัย และดินถล่ม ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สรุปได้ดังนี้

สาระสำคัญของเรื่อง

สถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตร

อุทกภัย ไม่มีสถานการณ์

ภัยแล้ง จังหวัดประกาศพื้นที่ภัยพิบัติแล้ว 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร พะเยา อุดรธานี สุรินทร์ ประจวบคีรีขันธ์ ไม่มีรายงานผลกระทบด้านการเกษตร

โรคระบาดสัตว์ โรคระบาดในสุกรชนิด พีอาร์อาร์เอส (PRRS : Porcine Reproductive and Respiratory) ที่อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม

สภาพอากาศ

ประเทศไทยตอนบนยังมีอากาศหนาวเย็นต่อไปอีก โดยมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ สำหรับภาคใต้ฝั่งตะวันออกจะมีฝนเพิ่มขึ้น ส่วนคลื่นลมในอ่าวไทยตอนล่างจะมีกำลังแรงขึ้น ชาวเรือบริเวณดังกล่าวระมัดระวังอันตรายในการเดินเรือในช่วงวันที่ 22-28 ม.ค.54 ด้วย

สถานการณ์น้ำ

1. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั้งประเทศ 400 แห่ง มีปริมาณน้ำทั้งหมด ร้อยละ 69 ของความจุอ่าง เป็นปริมาณน้ำใช้การได้ ร้อยละ 37 ของความจุอ่าง น้อยกว่าปี 2553 ร้อยละ 72 สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่มีปริมาณน้ำทั้งหมด 33 แห่ง มีปริมาณน้ำทั้งหมดร้อยละ 69 ของความจุอ่าง เป็นปริมาณน้ำใช้การได้ ร้อยละ 35 ของความจุอ่าง น้อยกว่าปี 2553 ร้อยละ 72 จำนวน

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อยฯ และป่าสักชลสิทธิ์ มีปริมาณน้ำทั้งหมด ร้อยละ 65 ของความจุอ่าง เป็นปริมาณน้ำใช้การได้ ร้อยละ 37 ของความจุอ่าง

อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำ น้อยกว่า ร้อยละ 30 ของความจุอ่างฯ จำนวน 1 อ่าง คือ อ่างเก็บน้ำปราณบุรี และอ่างเก็บน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำ มากกว่าร้อยละ 80 ของความจุอ่างฯ จำนวน 11 อ่าง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำแม่งัดฯ กิ่วคอหมา จุฬาภรณ์ ลำตะคอง ลำพระเพลิง มูลบน ลำแซะ กระเสียว หนองปลาไหล ประแสร์ บางลาง

2. สภาพน้ำท่า

ปริมาณน้ำในแม่น้ำปิง เจ้าพระยา ชี และมูล มีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แม่น้ำ วัง ยม น่าน ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย

ความก้าวหน้าการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยปี 2553 กรณีพิเศษ เป็นเงิน

ความเสียหาย

ด้านพืช พื้นที่เสียหายสิ้นเชิง จำนวน 7.68 ล้านไร่ แบ่งเป็น ข้าว 6.21 ล้านไร่ พืชไร่ 0.96 ล้านไร่ พืชสวนและอื่นๆ 0.51 ล้านไร่ เกษตรกร 732,711 ราย

ด้านประมง พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเสียหาย จำนวน 150,083 ไร่ แบ่งเป็น บ่อปลา 129,740 ไร่ บ่อกุ้ง ปู หอย 20,343 ไร่ กระชัง/บ่อซีเมนต์ 450,241 ตารางเมตร เกษตรกร 120,465 ราย

ด้านปศุสัตว์ สัตว์ตาย/ สูญหาย รวมทั้งสิ้น 2,415,336 ตัว แปลงหญ้า 9,576.75 ไร่ เกษตรกร 25,603 ราย

การช่วยเหลือ

1. เงินทดรองราชการ เกษตรกร 82,416 ราย วงเงิน 207.19 ล้านบาท

2. ขอเงินงบกลาง ส่งเอกสารให้ ธกส. เพื่อขออนุมัติเงินงวดแล้วทั้งสิ้น จำนวน 65 จังหวัด วงเงิน 15,686.83 ล้านบาท และ ธกส. โอนเงินให้ ธกส. สาขา เพื่อโอนเข้าบัญชีเกษตรกรแล้ว จำนวน 58 จังหวัด วงเงิน 12,499.30 ล้านบาท โอนเข้าบัญชีเกษตรกรแล้ว 160,808 ราย วงเงิน 4,606.37 ล้านบาท

ความก้าวหน้าการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางพาราที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย วาตภัย และดินถล่ม

สำรวจแล้ว พบว่า มีสวนยางพาราที่เสียสภาพสวนทั้งสิ้น 34,608 ไร่ เกษตรกร 20,524 ราย คิดเป็นเงินช่วยเหลือทั้งสิ้น จำนวน 287.92 ล้านบาท ซึ่งได้ส่งเอกสารให้ ธกส. เพื่อขออนุมัติเงินงวดจากสำนักงบประมาณต่อไป ทั้งนี้ กำหนดให้จังหวัดสำรวจให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 25 ม.ค.54

การจัดสรรน้ำและการปลูกพืชฤดูแล้ง ปี 2552/2553

จัดสรรน้ำไปแล้ว 7,767 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 39 ของแผน (20,144 ล้าน ลบ.ม.)

          พื้นที่ปลูกแล้ว 5.03 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 33 ของแผน(15.29 ล้านไร่) แบ่งเป็น ข้าว 4.66 ล้านไร่                     พืชไร่-พืชผัก 0.37 ล้านไร่

การช่วยเหลือด้านการเกษตร สนับสนุนเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ ในพื้นที่ 23 จังหวัด จำนวน 188 เครื่อง

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 มกราคม 2554--จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ