คณะรัฐมนตรีพิจารณาร่างนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ (พ.ศ. 2551-2553) ของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) ขอให้นำเรื่องร่างนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ (พ.ศ. 2551 - 2553) ของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. อนุมัติ “ร่างนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ (พ.ศ. 2551 - 2553)” และให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยนำไปใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการวิจัย และใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผนงานวิจัย / โครงการวิจัยให้สอดคล้องกับทิศทางของนโยบาย และยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติฯ ดังกล่าว รวมทั้งใช้เป็นกรอบทิศทางในการวิเคราะห์ตรวจสอบข้อเสนอการวิจัยของหน่วยงานภาครัฐที่เสนอของบประมาณประจำปีตามมติคณะรัฐมนตรีระหว่างปีงบประมาณ 2551 - 2553 ต่อไป
2. ในระดับการผลักดันนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ (พ.ศ. 2551 - 2553) สู่การปฏิบัติ เห็นควรให้กระทรวงและกรมต่างๆ แต่งตั้งคณะทำงานในระดับกระทรวง ระดับกรม เพื่อให้มีการจัดทำแผนการวิจัยของหน่วยงานที่สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ (พ.ศ. 2551 - 2553) ที่ วช. ทำขึ้น
ร่างนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติฯ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. นโยบายการวิจัยของชาติระหว่าง พ.ศ. 2551 - 2553 เน้นการบูรณาการด้านการวิจัยที่สอดคล้องกับแนวนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศควบคู่กับการวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาประเทศอย่างสมดุลและยั่งยืนโดยให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม ทั้งนี้ กรอบการดำเนินงานวิจัยจะเน้นงานวิจัยที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติฯ โดยมีการจัดลำดับความสำคัญและความจำเป็นของแผนงานวิจัยที่สอดรับกับแนวทางการพัฒนาประเทศบนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในขณะที่งบประมาณการวิจัยจะกระจายไปยังหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งในภูมิภาค และมีกลไกกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานวิจัยในส่วนกลางและในส่วนภูมิภาค อันจะนำไปสู่การสร้างเครือข่ายการวิจัยและพัฒนา การพัฒนาศูนย์กลางการวิจัยเฉพาะทาง และการพัฒนาบุคลากรการวิจัยร่วมกัน ซึ่งการดำเนินยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติฯ จะต้องมีความเป็นเอกภาพและมีประสิทธิภาพโดยมีการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ ซึ่งนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติฯ จะเป็นพื้นฐานเชิงนโยบายที่เชื่อมโยงกับนโยบายและแนวทางการวิจัยของชาติระยะยาวต่อไป
2. วิสัยทัศน์การวิจัยของชาติ (พ.ศ. 2551 - 2553) : ประเทศไทยมีงานวิจัยที่มีคุณภาพเพื่อการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน
3. พันธกิจการวิจัยของชาติ (พ.ศ. 2551 - 2553) : พัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถในการวิจัยของประเทศให้สูงขึ้น และสร้างฐานความรู้ที่มีคุณค่าเพื่อสามารถประยุกต์และพัฒนาวิทยาการที่เหมาะสม รวมทั้งต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์และสาธารณะ โดยใช้ทรัพยากรและเครือข่ายวิจัยอย่างมีประสิทธิภาพที่ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม
4. ยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ (พ.ศ. 2551 - 2553) นโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติฯ ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์การวิจัย โดยมีกลยุทธ์การวิจัย 25 กลยุทธ์ และมีแผนงานวิจัย 88 แผนงาน ซึ่งได้มีการจัดลำดับความสำคัญของกลยุทธ์การวิจัยและแผนงานวิจัยแล้ว ดังนี้
4.1 ยุทธศาสตร์การวิจัยที่ 1 : การสร้างศักยภาพและความสามารถเพื่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
เป้าประสงค์การวิจัย : สร้างเสริมองค์ความรู้เพื่อเป็นพื้นฐานสู่การสร้างศักยภาพและความสามารถเพื่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างสมดุล และยั่งยืนบนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
มุ่งเน้น : การวิจัยเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตร ซึ่งครอบคลุมการสร้างมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรและประมง การพัฒนาองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นการวิจัยเพื่อการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตทางอุตสาหกรรมและการบริการ โดยคำนึงถึงบทบาทการแข่งขันของประเทศภายใต้การเปลี่ยนแปลง ทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ รวมทั้งสัมพันธภาพกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยดำเนินการบนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย 8 กลยุทธ์การวิจัย และ 29 แผนงานวิจัย
4.2 ยุทธศาสตร์การวิจัยที่ 2 : การสร้างศักยภาพและความสามารถเพื่อการพัฒนาทางสังคม
เป้าประสงค์การวิจัย : สร้างเสริมองค์ความรู้เพื่อเป็นพื้นฐานสู่การสร้างศักยภาพและความสามารถเพื่อการพัฒนาทางสังคม
มุ่งเน้น : การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา วัฒนธรรม สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิต ตลอดจนการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี การสร้างความเข้มแข็งและการสร้างภูมิคุ้มกันของท้องถิ่นและสังคม ตลอดจนการเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนที่เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาความยากจน นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพเยาวชน ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ และผู้สูงอายุ และการเสริมสร้างความมั่นคงของประเทศ ประกอบด้วย 9 กลยุทธ์การวิจัย และ 30 แผนงานวิจัย
4.3 ยุทธศาสตร์การวิจัยที่ 3 : การสร้างศักยภาพและความสามารถ เพื่อการพัฒนาทางวิทยาการและทรัพยากรบุคคล
เป้าประสงค์การวิจัย : พัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและการพึ่งพาตนเอง โดยใช้ฐานความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และวิทยาการต่างๆ
มุ่งเน้น : การวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้และต่อยอดภูมิปัญญาของประเทศ เพื่อพัฒนาสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์และสาธารณะตลอดจนเสริมสร้างศักยภาพการวิจัยของประเทศ ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์การวิจัยและ 6 แผนงานวิจัย
4.4 ยุทธศาสตร์การวิจัยที่ 4 : การเสริมสร้างและพัฒนาทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เป้าประสงค์การวิจัย : พัฒนาองค์ความรู้และฐานข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการ และการพัฒนาทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพอย่างเป็นระบบ โดยท้องถิ่นและชุมชนมีส่วนร่วม
มุ่งเน้น : การวิจัยเกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพ การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติ อย่างยั่งยืน โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนและสังคม รวมทั้งการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรดิน ทรัพยากรน้ำ และภัยธรรมชาติ ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์การวิจัย และ 16 แผนงานวิจัย
4.5 ยุทธศาสตร์การวิจัยที่ 5 : การบริหารจัดการความรู้ ผลงานวิจัย ทรัพยากร และภูมิปัญญาของประเทศ สู่การใช้ประโยชน์ด้วยยุทธวิธีที่เหมาะสม
เป้าประสงค์การวิจัย : พัฒนาระบบและกลไกการบริการจัดการความรู้ของประเทศอย่างมีเอกภาพและมีประสิทธิภาพ
มุ่งเน้น : การวิจัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการบริหารจัดการด้านการวิจัยของประเทศ ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์การวิจัยและ 7 แผนงานวิจัย
ทั้งนี้ กลยุทธ์การวิจัยและแผนงานวิจัยภายใต้ 5 ยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติดังกล่าว มุ่งเน้นเป็นการวิจัยประยุกต์มากกว่าการวิจัยพื้นฐานคิดเป็นสัดส่วนของงบประมาณที่คาดว่าจะใช้ในระดับแผนงานสำหรับการวิจัยประยุกต์ต่อการวิจัยพื้นฐานเท่ากับ 70 : 30 โดยบางส่วนของการวิจัยประยุกต์ได้รวมถึงการวิจัยพัฒนาทดลองด้วย
5. กลุ่มเรื่องที่ควรวิจัยเร่งด่วน
จาก 5 ยุทธศาสตร์การวิจัยดังกล่าว สามารถกำหนดเป็นกลุ่มเรื่องที่ควรวิจัยเร่งด่วนรวม 10 กลุ่มเรื่อง (Priority base) ดังนี้ 1) การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง 2) ความมั่นคงของรัฐและการเสริมสร้างธรรมาภิบาล 3) การปฏิรูปการศึกษา 4) การจัดการน้ำ 5) การพัฒนาพลังงานทดแทน 6) การเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออกและลดการนำเข้า 7) การป้องกันโรคและการรักษาสุขภาพ 8) การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาคุณค่าความหลายหลายทางชีวภาพ 9) เทคโนโลยีใหม่และเทคโนโลยีที่สำคัญเพื่ออุตสาหกรรม และ 10) การบริหารจัดการการท่องเที่ยว
6. การบริหารยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติฯ
วช. จะเป็นหน่วยงานหลักในการประสานการดำเนินการตามนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยฯ รวมทั้งประสานการบริหารด้านงบประมาณเพื่อการวิจัยตามนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ ระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 - 2553 โดยโครงการวิจัยที่สอดคล้องกับ 10 กลุ่มเรื่อง ที่ควรวิจัยเร่งด่วนและการวิจัยอื่น ๆ ในกลยุทธ์การวิจัยตามนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติฯ จะได้รับการพิจารณาความสำคัญตามลำดับ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 พฤษภาคม 2550--จบ--
1. อนุมัติ “ร่างนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ (พ.ศ. 2551 - 2553)” และให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยนำไปใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการวิจัย และใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผนงานวิจัย / โครงการวิจัยให้สอดคล้องกับทิศทางของนโยบาย และยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติฯ ดังกล่าว รวมทั้งใช้เป็นกรอบทิศทางในการวิเคราะห์ตรวจสอบข้อเสนอการวิจัยของหน่วยงานภาครัฐที่เสนอของบประมาณประจำปีตามมติคณะรัฐมนตรีระหว่างปีงบประมาณ 2551 - 2553 ต่อไป
2. ในระดับการผลักดันนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ (พ.ศ. 2551 - 2553) สู่การปฏิบัติ เห็นควรให้กระทรวงและกรมต่างๆ แต่งตั้งคณะทำงานในระดับกระทรวง ระดับกรม เพื่อให้มีการจัดทำแผนการวิจัยของหน่วยงานที่สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ (พ.ศ. 2551 - 2553) ที่ วช. ทำขึ้น
ร่างนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติฯ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. นโยบายการวิจัยของชาติระหว่าง พ.ศ. 2551 - 2553 เน้นการบูรณาการด้านการวิจัยที่สอดคล้องกับแนวนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศควบคู่กับการวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาประเทศอย่างสมดุลและยั่งยืนโดยให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม ทั้งนี้ กรอบการดำเนินงานวิจัยจะเน้นงานวิจัยที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติฯ โดยมีการจัดลำดับความสำคัญและความจำเป็นของแผนงานวิจัยที่สอดรับกับแนวทางการพัฒนาประเทศบนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในขณะที่งบประมาณการวิจัยจะกระจายไปยังหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งในภูมิภาค และมีกลไกกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานวิจัยในส่วนกลางและในส่วนภูมิภาค อันจะนำไปสู่การสร้างเครือข่ายการวิจัยและพัฒนา การพัฒนาศูนย์กลางการวิจัยเฉพาะทาง และการพัฒนาบุคลากรการวิจัยร่วมกัน ซึ่งการดำเนินยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติฯ จะต้องมีความเป็นเอกภาพและมีประสิทธิภาพโดยมีการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ ซึ่งนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติฯ จะเป็นพื้นฐานเชิงนโยบายที่เชื่อมโยงกับนโยบายและแนวทางการวิจัยของชาติระยะยาวต่อไป
2. วิสัยทัศน์การวิจัยของชาติ (พ.ศ. 2551 - 2553) : ประเทศไทยมีงานวิจัยที่มีคุณภาพเพื่อการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน
3. พันธกิจการวิจัยของชาติ (พ.ศ. 2551 - 2553) : พัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถในการวิจัยของประเทศให้สูงขึ้น และสร้างฐานความรู้ที่มีคุณค่าเพื่อสามารถประยุกต์และพัฒนาวิทยาการที่เหมาะสม รวมทั้งต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์และสาธารณะ โดยใช้ทรัพยากรและเครือข่ายวิจัยอย่างมีประสิทธิภาพที่ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม
4. ยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ (พ.ศ. 2551 - 2553) นโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติฯ ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์การวิจัย โดยมีกลยุทธ์การวิจัย 25 กลยุทธ์ และมีแผนงานวิจัย 88 แผนงาน ซึ่งได้มีการจัดลำดับความสำคัญของกลยุทธ์การวิจัยและแผนงานวิจัยแล้ว ดังนี้
4.1 ยุทธศาสตร์การวิจัยที่ 1 : การสร้างศักยภาพและความสามารถเพื่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
เป้าประสงค์การวิจัย : สร้างเสริมองค์ความรู้เพื่อเป็นพื้นฐานสู่การสร้างศักยภาพและความสามารถเพื่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างสมดุล และยั่งยืนบนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
มุ่งเน้น : การวิจัยเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตร ซึ่งครอบคลุมการสร้างมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรและประมง การพัฒนาองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นการวิจัยเพื่อการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตทางอุตสาหกรรมและการบริการ โดยคำนึงถึงบทบาทการแข่งขันของประเทศภายใต้การเปลี่ยนแปลง ทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ รวมทั้งสัมพันธภาพกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยดำเนินการบนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย 8 กลยุทธ์การวิจัย และ 29 แผนงานวิจัย
4.2 ยุทธศาสตร์การวิจัยที่ 2 : การสร้างศักยภาพและความสามารถเพื่อการพัฒนาทางสังคม
เป้าประสงค์การวิจัย : สร้างเสริมองค์ความรู้เพื่อเป็นพื้นฐานสู่การสร้างศักยภาพและความสามารถเพื่อการพัฒนาทางสังคม
มุ่งเน้น : การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา วัฒนธรรม สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิต ตลอดจนการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี การสร้างความเข้มแข็งและการสร้างภูมิคุ้มกันของท้องถิ่นและสังคม ตลอดจนการเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนที่เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาความยากจน นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพเยาวชน ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ และผู้สูงอายุ และการเสริมสร้างความมั่นคงของประเทศ ประกอบด้วย 9 กลยุทธ์การวิจัย และ 30 แผนงานวิจัย
4.3 ยุทธศาสตร์การวิจัยที่ 3 : การสร้างศักยภาพและความสามารถ เพื่อการพัฒนาทางวิทยาการและทรัพยากรบุคคล
เป้าประสงค์การวิจัย : พัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและการพึ่งพาตนเอง โดยใช้ฐานความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และวิทยาการต่างๆ
มุ่งเน้น : การวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้และต่อยอดภูมิปัญญาของประเทศ เพื่อพัฒนาสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์และสาธารณะตลอดจนเสริมสร้างศักยภาพการวิจัยของประเทศ ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์การวิจัยและ 6 แผนงานวิจัย
4.4 ยุทธศาสตร์การวิจัยที่ 4 : การเสริมสร้างและพัฒนาทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เป้าประสงค์การวิจัย : พัฒนาองค์ความรู้และฐานข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการ และการพัฒนาทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพอย่างเป็นระบบ โดยท้องถิ่นและชุมชนมีส่วนร่วม
มุ่งเน้น : การวิจัยเกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพ การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติ อย่างยั่งยืน โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนและสังคม รวมทั้งการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรดิน ทรัพยากรน้ำ และภัยธรรมชาติ ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์การวิจัย และ 16 แผนงานวิจัย
4.5 ยุทธศาสตร์การวิจัยที่ 5 : การบริหารจัดการความรู้ ผลงานวิจัย ทรัพยากร และภูมิปัญญาของประเทศ สู่การใช้ประโยชน์ด้วยยุทธวิธีที่เหมาะสม
เป้าประสงค์การวิจัย : พัฒนาระบบและกลไกการบริการจัดการความรู้ของประเทศอย่างมีเอกภาพและมีประสิทธิภาพ
มุ่งเน้น : การวิจัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการบริหารจัดการด้านการวิจัยของประเทศ ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์การวิจัยและ 7 แผนงานวิจัย
ทั้งนี้ กลยุทธ์การวิจัยและแผนงานวิจัยภายใต้ 5 ยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติดังกล่าว มุ่งเน้นเป็นการวิจัยประยุกต์มากกว่าการวิจัยพื้นฐานคิดเป็นสัดส่วนของงบประมาณที่คาดว่าจะใช้ในระดับแผนงานสำหรับการวิจัยประยุกต์ต่อการวิจัยพื้นฐานเท่ากับ 70 : 30 โดยบางส่วนของการวิจัยประยุกต์ได้รวมถึงการวิจัยพัฒนาทดลองด้วย
5. กลุ่มเรื่องที่ควรวิจัยเร่งด่วน
จาก 5 ยุทธศาสตร์การวิจัยดังกล่าว สามารถกำหนดเป็นกลุ่มเรื่องที่ควรวิจัยเร่งด่วนรวม 10 กลุ่มเรื่อง (Priority base) ดังนี้ 1) การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง 2) ความมั่นคงของรัฐและการเสริมสร้างธรรมาภิบาล 3) การปฏิรูปการศึกษา 4) การจัดการน้ำ 5) การพัฒนาพลังงานทดแทน 6) การเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออกและลดการนำเข้า 7) การป้องกันโรคและการรักษาสุขภาพ 8) การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาคุณค่าความหลายหลายทางชีวภาพ 9) เทคโนโลยีใหม่และเทคโนโลยีที่สำคัญเพื่ออุตสาหกรรม และ 10) การบริหารจัดการการท่องเที่ยว
6. การบริหารยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติฯ
วช. จะเป็นหน่วยงานหลักในการประสานการดำเนินการตามนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยฯ รวมทั้งประสานการบริหารด้านงบประมาณเพื่อการวิจัยตามนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ ระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 - 2553 โดยโครงการวิจัยที่สอดคล้องกับ 10 กลุ่มเรื่อง ที่ควรวิจัยเร่งด่วนและการวิจัยอื่น ๆ ในกลยุทธ์การวิจัยตามนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติฯ จะได้รับการพิจารณาความสำคัญตามลำดับ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 พฤษภาคม 2550--จบ--