คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติรายงานแนวทางการพัฒนาชุมชนสิ่งแวดล้อม และควบคุมพืชเสพติดบนพื้นที่สูง ภายหลังสิ้นสุดแผนแม่บทเพื่อการพัฒนาชุมชน สิ่งแวดล้อม และควบคุมพืชเสพติดบนพื้นที่สูง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2545-2549) ดังนี้
แนวทางการดำเนินงาน ภายหลังสิ้นสุดแผนแม่บทเพื่อการพัฒนาชุมชน สิ่งแวดล้อม และควบคุมพืชเสพติดบนพื้นที่สูง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2545-2549) ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช มีดังนี้
การดำเนินงานในช่วงแผนแม่บทฯ ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2545-2549)
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้ดำเนินการภายใต้งบประมาณปกติของกรม ดำเนินการในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ทั่วประเทศ
1. โครงการจัดการทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ในเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์
ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 เห็นชอบหลักการมาตรการและแนวทางแก้ไข ปัญหาที่ดินในพื้นที่ป่าไม้และให้ดำเนินการต่อไปได้ตามมติคณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ โดยให้กรมป่าไม้ (ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช รับมาดำเนินการในพื้นที่ป่าอนุรักษ์) ดำเนินการตามแผนการจัดการทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ระดับพื้นที่ ผลการดำเนินงาน ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2541-2548 ดังนี้ ผู้ถือครองที่ดินในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 126,197 ราย เนื้อที่ 1,741,550 ไร่ ตรวจพิสูจน์สิทธิ์แล้ว 61,249 ราย อยู่อาศัย/ทำกิน ก่อนประกาศเขตป่าไม้ 9,687 ราย อยู่อาศัย/ทำกิน ภายหลังประกาศเขตป่าไม้ 51,562 ราย สำหรับปี 2549 ได้ดำเนินการจัดการชุมชนในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ โดยการตรวจสอบพิสูจน์สิทธิ์ 19,988 ราย
2. โครงการหมู่บ้านป่าไม้แผนใหม่ ตามแนวพระราชดำริเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา เป็น โครงการดำเนินการในปี 2547 ซึ่งนำแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งได้พระราชทานแนวพระราชดำริในการให้ชาวบ้านร่วมกันเป็นหมู่บ้านป่าไม้ (แผนใหม่) และแนวพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้พระราชทานแนวทางป่ารักษ์น้ำ และบ้านเล็กในป่าใหญ่ เพื่อแก้ไขปัญหาการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับป่า ตามมติคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบในหลักการ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2547 และเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2547 ซึ่งเริ่มดำเนินการในการบูรณาการงบประมาณของหน่วย ซึ่งกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ดำเนินการในปีงบประมาณ 2548 ในหมู่บ้านในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ จำนวน 100 หมู่บ้าน (จาก 2,348 หมู่บ้าน)
การดำเนินงาน
1. การเตรียมความพร้อมของเจ้าหน้าที่และชุมชน
2. การเตรียมพื้นที่ โดยการสำรวจ รังวัด และจัดทำขอบเขตที่ตั้งชุมชน เพื่อจัดผังหมู่บ้านทั้งที่อยู่อาศัย ที่ทำกิน และพื้นที่ป่าหมู่บ้าน
3. การบริหารจัดการ
- โดยใช้เวทีประชาคม ในการจัดการตั้งองค์กร บริหารจัดการป่าไม้
- ใช้กลไกกองทุนหมู่บ้าน ในการพัฒนาอาชีพ และสร้างเครือข่าย
- บริหารจัดการพื้นที่อยู่อาศัย ทำกิน และป่าไม้
4. การสนับสนุน
- กระบวนการเรียนรู้
- สร้างจิตสำนึกให้ชุมชนมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของทรัพยากร
- สนับสนุน แผนงาน/โครงการของรัฐ โดยชุมชนดำเนินการเอง
5. ประเมินผล และนำผลการประเมินมาพัฒนาปรับปรุง
โครงการได้เจียดจ่ายงบประมาณดำเนินการในปี 2548 สำหรับปี 2549 ไม่ได้รับการพิจารณาจัดสรรงบประมาณ
3. โครงการส่งเสริมและพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนพื้นที่ป่าอนุรักษ์ (สสอ.) เป็นโครงการที่สนองแนวพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในเรื่อง “คนอยู่กับป่า” โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน และยึดหลักธรรมาภิบาล และเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อแก้ปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่าอนุรักษ์ และลดปัญหาความขัดแย้งในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร ดิน น้ำ และป่าไม้ โดยมีวัตถุประสงค์ในการ 1) เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งขององค์กรชุมชนในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 2) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการคุ้มครองพื้นที่ป่าอนุรักษ์ โดยชุมชนมีส่วนร่วม และ 3) เพื่อเสริมสร้าง และพัฒนาการมีส่วนร่วม ในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติเป็นโครงการที่ใช้เงินอุดหนุนในการอนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติหมู่บ้านละ 50,000 บาท ในการสนับสนุนโครงการขององค์กรชุมชนดำเนินการเองในการอนุรักษ์ฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ป่าอนุรักษ์
เริ่มโครงการในปี พ.ศ. 2549 จำนวน 600 หมู่บ้าน โดยสนับสนุน
1. หมู่บ้านเป้าหมายของหน่วยจัดการต้นน้ำ และหน่วยอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำ จำนวน 411 หมู่บ้าน
2. หมู่บ้านภายใต้โครงการหมู่บ้านพิทักษ์ป่ารักษาสิ่งแวดล้อม จำนวน 89 หมู่บ้าน
3. หมู่บ้านตามประกาศกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เรื่อง ประกาศโครงการหมู่บ้านป่าไม้แผนใหม่ตามแนวพระราชดำริ เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา พระบรมราชินีนาถ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 ประกาศ ณ วันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2548 จำนวน 100 หมู่บ้าน
โครงการทั้ง 3 ดังกล่าวเป็นการดำเนินการที่ครอบคลุมยุทธศาสตร์การพัฒนา และจัดการเรื่องที่อยู่อาศัยและที่ทำกินบนพื้นที่สูงร่วมกันพัฒนา และการลดความรุนแรงของปัญหาการแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติ และการขัดแย้งระหว่างรัฐกับชุมชนในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ และชุมชนที่สูงและพื้นที่ราบได้ระดับหนึ่ง
การดำเนินงานหลังสิ้นสุดแผนแม่บทฯ ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2545-2549)
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้กำหนดยุทธศาสตร์กระทรวง การสร้างสมดุลระหว่างการใช้ประโยชน์ และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยการมีส่วนร่วมของภาคี
ในปี 2550 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้จัดทำคำของบประมาณของโครงการจัดการทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ในเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ และโครงการหมู่บ้านป่าไม้แผนใหม่ ตามแนวพระราชดำริเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา ในงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2550 เรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะต้องดำเนินการโครงการทั้งสองให้เกิดความต่อเนื่อง สำหรับในการพัฒนาต้องยึดหลัก “คนอยู่กับป่า” เพื่อเกื้อกูลทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและยั่งยืน ภายใต้หลักเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อแก้ไขปัญหาชุมชนบนพื้นที่สูงเข้าสู่ระบบปกติซึ่งเป็นภารกิจและหน้าที่ปกติของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
ปัญหาอุปสรรค ในการดำเนินการตามแผนแม่บทฯ ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2545-2549)
1. การสกัดกั้นการอพยพจากนอกประเทศ
2. การวางแผนครอบครัวของบุคคลบนพื้นที่สูง
3. การจัดสรรงบประมาณในช่วงที่ผ่านมามีเหตุการณ์ที่จะต้องแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เช่น น้ำท่วม ภัยแล้ง และไข้หวัดนก ทำให้โครงการที่ดำเนินการอยู่ได้รับผลกระทบ
4. การปรับโครงสร้าง กระทรวง ทบวง กรม
แนวทางการดำเนินงาน ภายหลังสิ้นสุดแผนแม่บทเพื่อการพัฒนาชุมชน สิ่งแวดล้อม และควบคุมพืชเสพติดบนพื้นที่สูง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2545-2549) ของกรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีดังนี้
ตามแผนแม่บทเพื่อการพัฒนาชุมชน สิ่งแวดล้อม และการควบคุมพืชเสพติดบนพื้นที่สูง ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2545-2549) ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาและจัดการเรื่องที่อยู่อาศัยและที่ทำกินบนพื้นที่สูง โดยมีแนวทางการดำเนินงานดังนี้
1. การจัดการพื้นที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยบนพื้นที่สูง
1.1 เร่งรัดดำเนินการพิสูจน์สิทธิการครอบครองที่ดินของราษฎรในพื้นที่ป่าไม้ในหมู่บ้านที่จัดตั้งอย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้ว และกลุ่มบ้านที่มีคุณสมบัติที่จะดำเนินการแยกเป็นหมู่บ้านที่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยให้มีการกำหนดขอบเขตการใช้พื้นที่อย่างชัดเจน ทั้งนี้เพื่อมุ่งเน้นการใช้พื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพตลอดจนป้องกันและปราบปรามการบุกรุกขยายพื้นที่อย่างเด็ดขาด สำหรับกลุ่มบ้านบนพื้นที่สูงที่ไม่อนุญาตให้จัดตั้งเป็นหมู่บ้านได้นั้น ให้กำหนดแนวทางการดำเนินงานไว้ 3 แนวทางคือ การย้ายออกจากพื้นที่ การรวมกลุ่มใหม่ และการให้อยู่ชั่วคราว
1.2 หมู่บ้านชุมชนบนพื้นที่สูงที่ได้รับการจัดตั้งเป็นหมู่บ้านถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ให้มุ่งเน้นการประสานและส่งเสริมการสร้างเครือข่ายองค์กรประชาชนในการอนุรักษ์จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบนพื้นที่สูง โดยใช้แนวทางการอยู่ร่วมกันของคนกับป่า เพื่อลดความขัดแย้งในการใช้ทรัพยากรบนพื้นที่สูง
2. การพัฒนา
2.1 หมู่บ้านที่จัดตั้งอย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้ว และกลุ่มบ้านชุมชนบนพื้นที่สูงที่มีคุณสมบัติครบถ้วนในการแยกเพื่อจัดตั้งเป็นหมู่บ้านที่ถุกต้องตามกฎหมายให้ดำเนินการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมตามความเหมาะสมของสภาพพื้นที่ โดยมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการนำภูมิปัญญาพื้นบ้านของประชาชนบนพื้นที่สูงเป็น แนวทางในการพัฒนาและเตรียมความพร้อมของชุมชนเพื่อนำเข้าสู่การพัฒนาตามระบบปกติ สำหรับกลุ่มบ้านที่ไม่มีศักยภาพในการจัดตั้งเป็นหมู่บ้านตามกฎหมาย ให้จัดการบริการทางสังคมขั้นพื้นฐาน โดยให้การศึกษา สาธารณสุข และพัฒนาอาชีพนอกภาคเกษตรกรรม เพื่อให้ประชากรมีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพและสามารถพึ่งตนเองได้ ตลอดจนสร้างโอกาสให้ประชากรบนพื้นที่สูงเข้าสู่ตลาดแรงงานในอนาคต เพื่อไม่ก่อให้เกิดการสร้างถิ่นฐานถาวรในพื้นที่
2.2 ส่งเสริมให้มีการฝึกอบรมและประกอบอาชีพนอกภาคการเกษตรแก่ประชาชนบนพื้นที่สูงในกลุ่มคนรุ่นใหม่ เพื่อเปิดโอกาสและจูงใจให้ไปประกอบอาชีพนอกพื้นที่ ตลอดจนส่งเสริมและพัฒนาอาชีพอื่น ๆ เช่น การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
สรุปผลการดำเนินงานของกรมพัฒนาที่ดิน ภายใต้แผนแม่บทฯ ที่ผ่านมา ในด้านการจัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ สามารถดำเนินการครอบคลุมในพื้นที่ 14 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย น่าน แม่ฮ่องสอน ตาก ลำปาง พะเยา พิษณุโลก กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี และจังหวัดเลย ซึ่งมีพื้นที่ที่ได้ดำเนินการจัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ รวมเนื้อที่ 52,894 ไร่
การดำเนินงานภายหลังสิ้นสุดแผนแม่บทฯ ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2545-2549)
กรมพัฒนาที่ดินซึ่งมีภารกิจหลักในการดำเนินการเรื่องการอนุรักษ์ดินและน้ำ ได้เตรียมจัดทำแผนงานพร้อมกรอบงบประมาณ เพื่อการดำเนินงานจัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำบริเวณพื้นที่ทำกินของชุมชนบนพื้นที่สูงที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดการชะล้างพังทลายของดิน พร้อมกับการสนับสนุนการปลูกไม้ผลหรือไม้ยืนต้นและการให้ความรู้การสาธิต แก่เกษตรกรบนพื้นที่สูง ในการทำเกษตรอินทรีย์ เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และต้องเป็นที่ยอมรับของผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่
โดยพิจารณาดำเนินงานภายใน 20 จังหวัดเป้าหมายตามแผนแม่บทฯ ฉบับที่ 1 เป็นอันดับแรก และกำหนดขอบเขตของพื้นที่เตรียมการในลักษณะลุ่มน้ำย่อย ซึ่งครอบคลุมที่ดินทำกินของแต่ละกลุ่มหมู่บ้านเป้าหมาย ทั้งนี้กลุ่มหมู่บ้านเป้าหมายพิจารณาตามโครงการดังนี้
1. โครงการหมู่บ้านป่าไม้แผนใหม่ตามแนวพระราชดำริ เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา พระบรมราชินีนาถ
2. โครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคงพื้นที่ชายแดน ตามแนวพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
3. โครงการร่วมมือไทย-พม่า เพื่อพัฒนาหมู่บ้านชายแดน (กองทัพภาคที่ 3)
4. โครงการรักษ์น้ำเพื่อพระแม่ของแผ่นดิน
5. พื้นที่เป้าหมายตามยุทธศาสตร์ความมั่นคงชายแดน พ.ศ. 2550-254 ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพ คน ชุมชน และพื้นที่ชายแดนฯ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--
แนวทางการดำเนินงาน ภายหลังสิ้นสุดแผนแม่บทเพื่อการพัฒนาชุมชน สิ่งแวดล้อม และควบคุมพืชเสพติดบนพื้นที่สูง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2545-2549) ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช มีดังนี้
การดำเนินงานในช่วงแผนแม่บทฯ ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2545-2549)
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้ดำเนินการภายใต้งบประมาณปกติของกรม ดำเนินการในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ทั่วประเทศ
1. โครงการจัดการทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ในเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์
ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 เห็นชอบหลักการมาตรการและแนวทางแก้ไข ปัญหาที่ดินในพื้นที่ป่าไม้และให้ดำเนินการต่อไปได้ตามมติคณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ โดยให้กรมป่าไม้ (ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช รับมาดำเนินการในพื้นที่ป่าอนุรักษ์) ดำเนินการตามแผนการจัดการทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ระดับพื้นที่ ผลการดำเนินงาน ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2541-2548 ดังนี้ ผู้ถือครองที่ดินในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 126,197 ราย เนื้อที่ 1,741,550 ไร่ ตรวจพิสูจน์สิทธิ์แล้ว 61,249 ราย อยู่อาศัย/ทำกิน ก่อนประกาศเขตป่าไม้ 9,687 ราย อยู่อาศัย/ทำกิน ภายหลังประกาศเขตป่าไม้ 51,562 ราย สำหรับปี 2549 ได้ดำเนินการจัดการชุมชนในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ โดยการตรวจสอบพิสูจน์สิทธิ์ 19,988 ราย
2. โครงการหมู่บ้านป่าไม้แผนใหม่ ตามแนวพระราชดำริเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา เป็น โครงการดำเนินการในปี 2547 ซึ่งนำแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งได้พระราชทานแนวพระราชดำริในการให้ชาวบ้านร่วมกันเป็นหมู่บ้านป่าไม้ (แผนใหม่) และแนวพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้พระราชทานแนวทางป่ารักษ์น้ำ และบ้านเล็กในป่าใหญ่ เพื่อแก้ไขปัญหาการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับป่า ตามมติคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบในหลักการ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2547 และเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2547 ซึ่งเริ่มดำเนินการในการบูรณาการงบประมาณของหน่วย ซึ่งกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ดำเนินการในปีงบประมาณ 2548 ในหมู่บ้านในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ จำนวน 100 หมู่บ้าน (จาก 2,348 หมู่บ้าน)
การดำเนินงาน
1. การเตรียมความพร้อมของเจ้าหน้าที่และชุมชน
2. การเตรียมพื้นที่ โดยการสำรวจ รังวัด และจัดทำขอบเขตที่ตั้งชุมชน เพื่อจัดผังหมู่บ้านทั้งที่อยู่อาศัย ที่ทำกิน และพื้นที่ป่าหมู่บ้าน
3. การบริหารจัดการ
- โดยใช้เวทีประชาคม ในการจัดการตั้งองค์กร บริหารจัดการป่าไม้
- ใช้กลไกกองทุนหมู่บ้าน ในการพัฒนาอาชีพ และสร้างเครือข่าย
- บริหารจัดการพื้นที่อยู่อาศัย ทำกิน และป่าไม้
4. การสนับสนุน
- กระบวนการเรียนรู้
- สร้างจิตสำนึกให้ชุมชนมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของทรัพยากร
- สนับสนุน แผนงาน/โครงการของรัฐ โดยชุมชนดำเนินการเอง
5. ประเมินผล และนำผลการประเมินมาพัฒนาปรับปรุง
โครงการได้เจียดจ่ายงบประมาณดำเนินการในปี 2548 สำหรับปี 2549 ไม่ได้รับการพิจารณาจัดสรรงบประมาณ
3. โครงการส่งเสริมและพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนพื้นที่ป่าอนุรักษ์ (สสอ.) เป็นโครงการที่สนองแนวพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในเรื่อง “คนอยู่กับป่า” โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน และยึดหลักธรรมาภิบาล และเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อแก้ปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่าอนุรักษ์ และลดปัญหาความขัดแย้งในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร ดิน น้ำ และป่าไม้ โดยมีวัตถุประสงค์ในการ 1) เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งขององค์กรชุมชนในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 2) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการคุ้มครองพื้นที่ป่าอนุรักษ์ โดยชุมชนมีส่วนร่วม และ 3) เพื่อเสริมสร้าง และพัฒนาการมีส่วนร่วม ในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติเป็นโครงการที่ใช้เงินอุดหนุนในการอนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติหมู่บ้านละ 50,000 บาท ในการสนับสนุนโครงการขององค์กรชุมชนดำเนินการเองในการอนุรักษ์ฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ป่าอนุรักษ์
เริ่มโครงการในปี พ.ศ. 2549 จำนวน 600 หมู่บ้าน โดยสนับสนุน
1. หมู่บ้านเป้าหมายของหน่วยจัดการต้นน้ำ และหน่วยอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำ จำนวน 411 หมู่บ้าน
2. หมู่บ้านภายใต้โครงการหมู่บ้านพิทักษ์ป่ารักษาสิ่งแวดล้อม จำนวน 89 หมู่บ้าน
3. หมู่บ้านตามประกาศกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เรื่อง ประกาศโครงการหมู่บ้านป่าไม้แผนใหม่ตามแนวพระราชดำริ เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา พระบรมราชินีนาถ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 ประกาศ ณ วันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2548 จำนวน 100 หมู่บ้าน
โครงการทั้ง 3 ดังกล่าวเป็นการดำเนินการที่ครอบคลุมยุทธศาสตร์การพัฒนา และจัดการเรื่องที่อยู่อาศัยและที่ทำกินบนพื้นที่สูงร่วมกันพัฒนา และการลดความรุนแรงของปัญหาการแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติ และการขัดแย้งระหว่างรัฐกับชุมชนในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ และชุมชนที่สูงและพื้นที่ราบได้ระดับหนึ่ง
การดำเนินงานหลังสิ้นสุดแผนแม่บทฯ ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2545-2549)
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้กำหนดยุทธศาสตร์กระทรวง การสร้างสมดุลระหว่างการใช้ประโยชน์ และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยการมีส่วนร่วมของภาคี
ในปี 2550 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้จัดทำคำของบประมาณของโครงการจัดการทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ในเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ และโครงการหมู่บ้านป่าไม้แผนใหม่ ตามแนวพระราชดำริเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา ในงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2550 เรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะต้องดำเนินการโครงการทั้งสองให้เกิดความต่อเนื่อง สำหรับในการพัฒนาต้องยึดหลัก “คนอยู่กับป่า” เพื่อเกื้อกูลทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและยั่งยืน ภายใต้หลักเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อแก้ไขปัญหาชุมชนบนพื้นที่สูงเข้าสู่ระบบปกติซึ่งเป็นภารกิจและหน้าที่ปกติของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
ปัญหาอุปสรรค ในการดำเนินการตามแผนแม่บทฯ ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2545-2549)
1. การสกัดกั้นการอพยพจากนอกประเทศ
2. การวางแผนครอบครัวของบุคคลบนพื้นที่สูง
3. การจัดสรรงบประมาณในช่วงที่ผ่านมามีเหตุการณ์ที่จะต้องแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เช่น น้ำท่วม ภัยแล้ง และไข้หวัดนก ทำให้โครงการที่ดำเนินการอยู่ได้รับผลกระทบ
4. การปรับโครงสร้าง กระทรวง ทบวง กรม
แนวทางการดำเนินงาน ภายหลังสิ้นสุดแผนแม่บทเพื่อการพัฒนาชุมชน สิ่งแวดล้อม และควบคุมพืชเสพติดบนพื้นที่สูง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2545-2549) ของกรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีดังนี้
ตามแผนแม่บทเพื่อการพัฒนาชุมชน สิ่งแวดล้อม และการควบคุมพืชเสพติดบนพื้นที่สูง ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2545-2549) ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาและจัดการเรื่องที่อยู่อาศัยและที่ทำกินบนพื้นที่สูง โดยมีแนวทางการดำเนินงานดังนี้
1. การจัดการพื้นที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยบนพื้นที่สูง
1.1 เร่งรัดดำเนินการพิสูจน์สิทธิการครอบครองที่ดินของราษฎรในพื้นที่ป่าไม้ในหมู่บ้านที่จัดตั้งอย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้ว และกลุ่มบ้านที่มีคุณสมบัติที่จะดำเนินการแยกเป็นหมู่บ้านที่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยให้มีการกำหนดขอบเขตการใช้พื้นที่อย่างชัดเจน ทั้งนี้เพื่อมุ่งเน้นการใช้พื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพตลอดจนป้องกันและปราบปรามการบุกรุกขยายพื้นที่อย่างเด็ดขาด สำหรับกลุ่มบ้านบนพื้นที่สูงที่ไม่อนุญาตให้จัดตั้งเป็นหมู่บ้านได้นั้น ให้กำหนดแนวทางการดำเนินงานไว้ 3 แนวทางคือ การย้ายออกจากพื้นที่ การรวมกลุ่มใหม่ และการให้อยู่ชั่วคราว
1.2 หมู่บ้านชุมชนบนพื้นที่สูงที่ได้รับการจัดตั้งเป็นหมู่บ้านถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ให้มุ่งเน้นการประสานและส่งเสริมการสร้างเครือข่ายองค์กรประชาชนในการอนุรักษ์จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบนพื้นที่สูง โดยใช้แนวทางการอยู่ร่วมกันของคนกับป่า เพื่อลดความขัดแย้งในการใช้ทรัพยากรบนพื้นที่สูง
2. การพัฒนา
2.1 หมู่บ้านที่จัดตั้งอย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้ว และกลุ่มบ้านชุมชนบนพื้นที่สูงที่มีคุณสมบัติครบถ้วนในการแยกเพื่อจัดตั้งเป็นหมู่บ้านที่ถุกต้องตามกฎหมายให้ดำเนินการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมตามความเหมาะสมของสภาพพื้นที่ โดยมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการนำภูมิปัญญาพื้นบ้านของประชาชนบนพื้นที่สูงเป็น แนวทางในการพัฒนาและเตรียมความพร้อมของชุมชนเพื่อนำเข้าสู่การพัฒนาตามระบบปกติ สำหรับกลุ่มบ้านที่ไม่มีศักยภาพในการจัดตั้งเป็นหมู่บ้านตามกฎหมาย ให้จัดการบริการทางสังคมขั้นพื้นฐาน โดยให้การศึกษา สาธารณสุข และพัฒนาอาชีพนอกภาคเกษตรกรรม เพื่อให้ประชากรมีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพและสามารถพึ่งตนเองได้ ตลอดจนสร้างโอกาสให้ประชากรบนพื้นที่สูงเข้าสู่ตลาดแรงงานในอนาคต เพื่อไม่ก่อให้เกิดการสร้างถิ่นฐานถาวรในพื้นที่
2.2 ส่งเสริมให้มีการฝึกอบรมและประกอบอาชีพนอกภาคการเกษตรแก่ประชาชนบนพื้นที่สูงในกลุ่มคนรุ่นใหม่ เพื่อเปิดโอกาสและจูงใจให้ไปประกอบอาชีพนอกพื้นที่ ตลอดจนส่งเสริมและพัฒนาอาชีพอื่น ๆ เช่น การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
สรุปผลการดำเนินงานของกรมพัฒนาที่ดิน ภายใต้แผนแม่บทฯ ที่ผ่านมา ในด้านการจัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ สามารถดำเนินการครอบคลุมในพื้นที่ 14 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย น่าน แม่ฮ่องสอน ตาก ลำปาง พะเยา พิษณุโลก กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี และจังหวัดเลย ซึ่งมีพื้นที่ที่ได้ดำเนินการจัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ รวมเนื้อที่ 52,894 ไร่
การดำเนินงานภายหลังสิ้นสุดแผนแม่บทฯ ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2545-2549)
กรมพัฒนาที่ดินซึ่งมีภารกิจหลักในการดำเนินการเรื่องการอนุรักษ์ดินและน้ำ ได้เตรียมจัดทำแผนงานพร้อมกรอบงบประมาณ เพื่อการดำเนินงานจัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำบริเวณพื้นที่ทำกินของชุมชนบนพื้นที่สูงที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดการชะล้างพังทลายของดิน พร้อมกับการสนับสนุนการปลูกไม้ผลหรือไม้ยืนต้นและการให้ความรู้การสาธิต แก่เกษตรกรบนพื้นที่สูง ในการทำเกษตรอินทรีย์ เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และต้องเป็นที่ยอมรับของผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่
โดยพิจารณาดำเนินงานภายใน 20 จังหวัดเป้าหมายตามแผนแม่บทฯ ฉบับที่ 1 เป็นอันดับแรก และกำหนดขอบเขตของพื้นที่เตรียมการในลักษณะลุ่มน้ำย่อย ซึ่งครอบคลุมที่ดินทำกินของแต่ละกลุ่มหมู่บ้านเป้าหมาย ทั้งนี้กลุ่มหมู่บ้านเป้าหมายพิจารณาตามโครงการดังนี้
1. โครงการหมู่บ้านป่าไม้แผนใหม่ตามแนวพระราชดำริ เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา พระบรมราชินีนาถ
2. โครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคงพื้นที่ชายแดน ตามแนวพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
3. โครงการร่วมมือไทย-พม่า เพื่อพัฒนาหมู่บ้านชายแดน (กองทัพภาคที่ 3)
4. โครงการรักษ์น้ำเพื่อพระแม่ของแผ่นดิน
5. พื้นที่เป้าหมายตามยุทธศาสตร์ความมั่นคงชายแดน พ.ศ. 2550-254 ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพ คน ชุมชน และพื้นที่ชายแดนฯ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--