คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รายงานมาตรการเตรียมความพร้อมการเฝ้าระวังและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางธรรมชาติ ดังนี้
1. การเฝ้าระวังภัยพิบัติทางธรรมชาติ บริเวณน้ำตกสายรุ้งและน้ำตกไพรสวรรค์ ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด จังหวัดตรัง
จะมีการดำเนินการติดตั้งเครื่องสัญญาณเตือนภัย แห่งละ 1 ชุด โดยใช้สัญญาณแจ้งเหตุทางวิทยุมือถือส่งไปยังเครื่องรับและประกาศแจ้งเตือนต่อไป
2. การเฝ้าระวังภัยพิบัติทางธรรมชาติทั่วประเทศ
2.1 การสำรวจพื้นที่เสี่ยงภัยด้านแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช รายงานสรุปดังนี้
2.1.1 พื้นที่ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ จำนวน 110 พื้นที่ โดยมีจุดที่ควรเฝ้าระวังภัยทางธรรมชาติ จำนวน 164 แห่ง สรุปได้ดังนี้
1. อุทยานแห่งชาติ 51 พื้นที่ พื้นที่ควรเฝ้าระวัง 103 แห่ง
2. วนอุทยาน 34 พื้นที่ พื้นที่ควรเฝ้าระวัง 26 แห่ง
3. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 19 พื้นที่ พื้นที่ควรเฝ้าระวัง 34 แห่ง
4. เขตห้ามล่าสัตว์ป่า 6 พื้นที่ พื้นที่ควรเฝ้าระวัง 1 แห่ง
2.1.2 ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ควรเฝ้าระวัง แบ่งพื้นที่ควรเฝ้าระวัง ดังนี้
1. คลื่นลมแรง 2 แห่ง
2. ดินถล่ม 38 แห่ง
3. น้ำป่าไหลหลาก 119 แห่ง
2.2 มาตรการการเฝ้าระวังภัยพิบัติทางธรรมชาติ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช มีมาตรการดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
2.2.1 มาตรการระยะสั้น
1) ให้ทำการสำรวจ ตรวจสอบ สภาพพื้นที่เสี่ยงภัยพื้นที่ที่มีการบุกรุกทำลายป่า พร้อมทั้งจัดทำข้อมูลพื้นฐานและแผนที่พื้นที่เสี่ยงภัยหากพื้นที่ใดมีความเสี่ยงภัยสูง ให้พิจารณาเร่งรัดในการป้องกันภัยเป็นกรณีเร่งด่วน
2) ประสานงานขอความร่วมมือเกี่ยวกับข้อมูลความเสี่ยงภัยจากหน่วยงานอื่นในพื้นที่ เช่น กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมอุตุนิยมวิทยา กรมทรัพยากรธรณี กรมทรัพยากรน้ำ ฯลฯ
3) จัดทำแผนงานหรือโครงการ ในการป้องกันภัย โดยนำข้อมูลที่รวบรวมมาจากข้อ 1) และ 2) พร้อมกับวางแนวทางปฏิบัติตามความสำคัญเร่งด่วน
4) ขอความร่วมมือ หรือให้การสนับสนุนกับหน่วยงานอื่น เช่น จังหวัด องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เจ้าหน้าที่ อปพร. ฝ่ายปกครอง สถานพยาบาลและหน่วยกู้ภัยในพื้นที่ เพื่อช่วยเหลืออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลหรือฤดูกาลท่องเที่ยว
5) จัดระบบการติดต่อสื่อสารหรือเครื่องสัญญานเตือนภัยในเบื้องต้น เพื่อใช้ในการแจ้งเตือนภัย และจัดเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการกู้ภัยออกปฏิบัติงานเฝ้าระวังภัย
6) จัดหาอุปกรณ์กู้ภัยในเบื้องต้น เช่น เชือก ขวาน แชลง เสื้อชูชีพ รอกโรยตัว ไฟฉาย เครื่องปฐมพยาบาล และอื่นๆ ไว้ประจำแหล่งท่องเที่ยว
7) ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้และจัดทำป้ายสื่อความหมายรวมทั้งแจ้งเตือนนักท่องเที่ยวด้วยวาจาที่ไม่ทำให้เสียบรรยากาศของการท่องเที่ยวเพื่อให้ทราบถึงสิ่งบอกเหตุที่สามารถพบเห็นก่อนจะเกิดภัยพิบัติ เช่น แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นน้ำตก หากพบว่ามีฝนตกหนักในพื้นที่ต้นน้ำ ระดับน้ำในลำห้วยสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว สีน้ำเริ่มขุ่นเป็นสีน้ำตาลหรือมีเสียงดังจากพื้นที่ต้นน้ำอย่างผิดปกติ หรือแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลหากพบว่าน้ำทะเลบริเวณชายหาดลดลงอย่างรวดเร็ว ให้สันนิษฐานก่อนว่าจะเกิดภัยพิบัติขึ้น
8) ซักซ้อมแผนการป้องกันและกู้ภัยร่วมกับหน่วยงานอื่นๆรวมทั้งฝ่ายปกครอง
9) เข้มงวดและกวดขันกับการกระทำผิดการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ โดยเฉพาะการบุกรุกพื้นที่เพื่อเปลี่ยนเป็นพื้นที่เกษตรกรรม
2.2.2 มาตรการระยะยาว
1) จัดอบรมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวกับการเฝ้าระวังภัย การแจ้งเตือนภัยและการปฐมพยาบาล
2) ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยว รวมทั้งประชาสัมพันธ์ทางสื่อมวลชน เช่น โทรทัศน์ วิทยุคลื่น จส.100 และร่วมด้วยช่วยกัน ให้ประชาชนทั่วไปทราบถึงสิ่งบอกเหตุที่สามารถสังเกตได้ก่อนเกิดภัยพิบัติ
3) จัดให้มีเครื่องสัญญาณเตือนภัยแบบถาวร พร้อมอบรมเจ้าหน้าที่ให้รู้จักการใช้เครื่องสัญญาณเตือนภัย จะจัดเจ้าหน้าที่ประจำจุดสังเกตการณ์ควบคู่กับการแจ้งเตือนภัย
4) ช่วงฤดูท่องเที่ยวให้ประสานงานขอความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น เช่น กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ เพื่ออำนวยความสะดวกหรือบรรเทาเหตุร้าย
5) จัดทำข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับพื้นที่เสี่ยงภัยโดยการสำรวจจัดทำแผนที่ ลงพิกัดโดยระบบ GPS ของพื้นที่เสี่ยงภัยพิบัติทางธรรมชาติทั่วประเทศ
6) ประสานกับกระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดให้มีแผนซักซ้อมการป้องกันและกู้ภัยเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง
7) ทำการฟื้นฟูพื้นที่ที่มีการบุกรุกทำลายป่าและถูกทำลายโดยภัยพิบัติทางธรรมชาติให้กลับคืนสภาพความสมบูรณ์ เพื่อป้องกันและลดผลกระทบจากภัยธรรมชาติต่างๆในอนาคต
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 เมษายน 2550--จบ--
1. การเฝ้าระวังภัยพิบัติทางธรรมชาติ บริเวณน้ำตกสายรุ้งและน้ำตกไพรสวรรค์ ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด จังหวัดตรัง
จะมีการดำเนินการติดตั้งเครื่องสัญญาณเตือนภัย แห่งละ 1 ชุด โดยใช้สัญญาณแจ้งเหตุทางวิทยุมือถือส่งไปยังเครื่องรับและประกาศแจ้งเตือนต่อไป
2. การเฝ้าระวังภัยพิบัติทางธรรมชาติทั่วประเทศ
2.1 การสำรวจพื้นที่เสี่ยงภัยด้านแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช รายงานสรุปดังนี้
2.1.1 พื้นที่ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ จำนวน 110 พื้นที่ โดยมีจุดที่ควรเฝ้าระวังภัยทางธรรมชาติ จำนวน 164 แห่ง สรุปได้ดังนี้
1. อุทยานแห่งชาติ 51 พื้นที่ พื้นที่ควรเฝ้าระวัง 103 แห่ง
2. วนอุทยาน 34 พื้นที่ พื้นที่ควรเฝ้าระวัง 26 แห่ง
3. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 19 พื้นที่ พื้นที่ควรเฝ้าระวัง 34 แห่ง
4. เขตห้ามล่าสัตว์ป่า 6 พื้นที่ พื้นที่ควรเฝ้าระวัง 1 แห่ง
2.1.2 ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ควรเฝ้าระวัง แบ่งพื้นที่ควรเฝ้าระวัง ดังนี้
1. คลื่นลมแรง 2 แห่ง
2. ดินถล่ม 38 แห่ง
3. น้ำป่าไหลหลาก 119 แห่ง
2.2 มาตรการการเฝ้าระวังภัยพิบัติทางธรรมชาติ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช มีมาตรการดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
2.2.1 มาตรการระยะสั้น
1) ให้ทำการสำรวจ ตรวจสอบ สภาพพื้นที่เสี่ยงภัยพื้นที่ที่มีการบุกรุกทำลายป่า พร้อมทั้งจัดทำข้อมูลพื้นฐานและแผนที่พื้นที่เสี่ยงภัยหากพื้นที่ใดมีความเสี่ยงภัยสูง ให้พิจารณาเร่งรัดในการป้องกันภัยเป็นกรณีเร่งด่วน
2) ประสานงานขอความร่วมมือเกี่ยวกับข้อมูลความเสี่ยงภัยจากหน่วยงานอื่นในพื้นที่ เช่น กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมอุตุนิยมวิทยา กรมทรัพยากรธรณี กรมทรัพยากรน้ำ ฯลฯ
3) จัดทำแผนงานหรือโครงการ ในการป้องกันภัย โดยนำข้อมูลที่รวบรวมมาจากข้อ 1) และ 2) พร้อมกับวางแนวทางปฏิบัติตามความสำคัญเร่งด่วน
4) ขอความร่วมมือ หรือให้การสนับสนุนกับหน่วยงานอื่น เช่น จังหวัด องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เจ้าหน้าที่ อปพร. ฝ่ายปกครอง สถานพยาบาลและหน่วยกู้ภัยในพื้นที่ เพื่อช่วยเหลืออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลหรือฤดูกาลท่องเที่ยว
5) จัดระบบการติดต่อสื่อสารหรือเครื่องสัญญานเตือนภัยในเบื้องต้น เพื่อใช้ในการแจ้งเตือนภัย และจัดเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการกู้ภัยออกปฏิบัติงานเฝ้าระวังภัย
6) จัดหาอุปกรณ์กู้ภัยในเบื้องต้น เช่น เชือก ขวาน แชลง เสื้อชูชีพ รอกโรยตัว ไฟฉาย เครื่องปฐมพยาบาล และอื่นๆ ไว้ประจำแหล่งท่องเที่ยว
7) ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้และจัดทำป้ายสื่อความหมายรวมทั้งแจ้งเตือนนักท่องเที่ยวด้วยวาจาที่ไม่ทำให้เสียบรรยากาศของการท่องเที่ยวเพื่อให้ทราบถึงสิ่งบอกเหตุที่สามารถพบเห็นก่อนจะเกิดภัยพิบัติ เช่น แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นน้ำตก หากพบว่ามีฝนตกหนักในพื้นที่ต้นน้ำ ระดับน้ำในลำห้วยสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว สีน้ำเริ่มขุ่นเป็นสีน้ำตาลหรือมีเสียงดังจากพื้นที่ต้นน้ำอย่างผิดปกติ หรือแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลหากพบว่าน้ำทะเลบริเวณชายหาดลดลงอย่างรวดเร็ว ให้สันนิษฐานก่อนว่าจะเกิดภัยพิบัติขึ้น
8) ซักซ้อมแผนการป้องกันและกู้ภัยร่วมกับหน่วยงานอื่นๆรวมทั้งฝ่ายปกครอง
9) เข้มงวดและกวดขันกับการกระทำผิดการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ โดยเฉพาะการบุกรุกพื้นที่เพื่อเปลี่ยนเป็นพื้นที่เกษตรกรรม
2.2.2 มาตรการระยะยาว
1) จัดอบรมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวกับการเฝ้าระวังภัย การแจ้งเตือนภัยและการปฐมพยาบาล
2) ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยว รวมทั้งประชาสัมพันธ์ทางสื่อมวลชน เช่น โทรทัศน์ วิทยุคลื่น จส.100 และร่วมด้วยช่วยกัน ให้ประชาชนทั่วไปทราบถึงสิ่งบอกเหตุที่สามารถสังเกตได้ก่อนเกิดภัยพิบัติ
3) จัดให้มีเครื่องสัญญาณเตือนภัยแบบถาวร พร้อมอบรมเจ้าหน้าที่ให้รู้จักการใช้เครื่องสัญญาณเตือนภัย จะจัดเจ้าหน้าที่ประจำจุดสังเกตการณ์ควบคู่กับการแจ้งเตือนภัย
4) ช่วงฤดูท่องเที่ยวให้ประสานงานขอความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น เช่น กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ เพื่ออำนวยความสะดวกหรือบรรเทาเหตุร้าย
5) จัดทำข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับพื้นที่เสี่ยงภัยโดยการสำรวจจัดทำแผนที่ ลงพิกัดโดยระบบ GPS ของพื้นที่เสี่ยงภัยพิบัติทางธรรมชาติทั่วประเทศ
6) ประสานกับกระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดให้มีแผนซักซ้อมการป้องกันและกู้ภัยเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง
7) ทำการฟื้นฟูพื้นที่ที่มีการบุกรุกทำลายป่าและถูกทำลายโดยภัยพิบัติทางธรรมชาติให้กลับคืนสภาพความสมบูรณ์ เพื่อป้องกันและลดผลกระทบจากภัยธรรมชาติต่างๆในอนาคต
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 เมษายน 2550--จบ--