คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์) เป็นประธาน ที่อนุมัติในหลักการโครงการติดตั้งระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ โดยให้กระทรวงมหาดไทยรับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ และความเห็นของสำนักงบประมาณไปพิจารณาดำเนินการ สำหรับงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ ดังกล่าว ให้ขอทำความตกลงในรายละเอียดและวงเงินกับสำนักงบประมาณอีกครั้งหนึ่ง
ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทยรายงานว่า
1. ในการดำเนินการที่ผ่านมา กระทรวงมหาดไทยติดตั้งระบบโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) และระบบตรวจจับหมายเลขทะเบียนรถเข้า-ออก (CPR) ที่ศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย ศูนย์ราชการจังหวัด/ศาลากลาง 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ จุดผ่อนปรนตามแนวชายแดน 30 จุด รวม 38 แห่ง และระบบโทรทัศน์วงจรปิดในชุมชนเมือง จำนวน 32 อำเภอแล้ว แต่เนื่องจากเหตุการณ์และสถานการณ์มีแนวโน้มที่จะลุกลามแพร่ขยายไปในอำเภอต่างๆ ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และมีความรุนแรงมากขึ้น กระทรวงมหาดไทยจึงเห็นควรดำเนินการติดตั้งระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ให้ครอบคลุมชุมชนเมืองใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้เพิ่มเติม
2. กระทรวงมหาดไทยมีแนวคิดในการบูรณาการระบบโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ไขปัญหาสถานการณ์ความไม่สงบและเพิ่มมาตรการการรักษาความปลอดภัยในพื้นที่ ได้แก่
2.1 สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยงานหลักในการเชื่อมโยงกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ผ่านเครือข่ายเคเบิ้ลใยแก้ว และอินเตอร์เน็ตเป็นศูนย์ควบคุมกลางในการบริหารงาน/โครงการและประเมินผลการใช้งานให้เป็นไปตามเป้าหมาย
2.2 กรมการปกครองควบคุมการติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในอำเภอต่าง ๆ แก้ไขซ่อมแซมกล้องระบบโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) เดิมที่ชำรุด
2.3 ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) และ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้กำหนดจุดติดตั้งและเป็นศูนย์ควบคุมในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ บริหารงานและติดตามผลการดำเนินงานจัดหาและพัฒนาบุคลากร เพื่อทำหน้าที่ในการสังเกตการณ์เฝ้าระวัง และติดตามความเคลื่อนไหว และบันทึกเหตุการณ์ตลอด 24 ชั่วโมง
2.4 สำนักงานตำรวจแห่งชาติติดตั้งอุปกรณ์เครื่องแม่ข่ายระบบจัดการพร้อมจอและอุปกรณ์เชื่อมโยง เพื่อสังเกตการณ์ เฝ้าระวัง และติดตามความเคลื่อนไหว โดยมอบหมายกองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัด กองกำกับการตำรวจภูธรอำเภอ ทำหน้าที่บันทึกและรายงานเหตุการณ์ตลอด 24 ชั่วโมง
3. วัตถุประสงค์ของโครงการฯ เพื่อซ่อมแซมแก้ไขระบบโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) เดิมที่ชำรุด และติดตั้งเพิ่มเติม โดยการจัดทำระบบเชื่อมโยงเครือข่ายบูรณาการการปฏิบัติงานระหว่าง 4 หน่วยงาน เพื่อจัดทำระบบรักษาความปลอดภัย โดยการพัฒนาศักยภาพการป้องกัน การควบคุมและเฝ้าระวังบริเวณจุดยุทธศาสตร์ที่มีปัญหา เร่งด่วน โดยเฉพาะบริเวณจุดแยก และจุดตัดของถนนเขตเทศบาลในทุกอำเภอ จำนวน 42 อำเภอ ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีระยะเวลาดำเนินการระหว่างเดือนมกราคม — กันยายน 2550 ทั้งนี้ เพื่อให้การป้องกันแก้ไขปัญหาสถานการณ์ในพื้นที่ชุมชนเมืองใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นไปอย่างมีประสิทธิผล
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 23 มกราคม 2550--จบ--
ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทยรายงานว่า
1. ในการดำเนินการที่ผ่านมา กระทรวงมหาดไทยติดตั้งระบบโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) และระบบตรวจจับหมายเลขทะเบียนรถเข้า-ออก (CPR) ที่ศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย ศูนย์ราชการจังหวัด/ศาลากลาง 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ จุดผ่อนปรนตามแนวชายแดน 30 จุด รวม 38 แห่ง และระบบโทรทัศน์วงจรปิดในชุมชนเมือง จำนวน 32 อำเภอแล้ว แต่เนื่องจากเหตุการณ์และสถานการณ์มีแนวโน้มที่จะลุกลามแพร่ขยายไปในอำเภอต่างๆ ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และมีความรุนแรงมากขึ้น กระทรวงมหาดไทยจึงเห็นควรดำเนินการติดตั้งระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ให้ครอบคลุมชุมชนเมืองใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้เพิ่มเติม
2. กระทรวงมหาดไทยมีแนวคิดในการบูรณาการระบบโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ไขปัญหาสถานการณ์ความไม่สงบและเพิ่มมาตรการการรักษาความปลอดภัยในพื้นที่ ได้แก่
2.1 สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยงานหลักในการเชื่อมโยงกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ผ่านเครือข่ายเคเบิ้ลใยแก้ว และอินเตอร์เน็ตเป็นศูนย์ควบคุมกลางในการบริหารงาน/โครงการและประเมินผลการใช้งานให้เป็นไปตามเป้าหมาย
2.2 กรมการปกครองควบคุมการติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในอำเภอต่าง ๆ แก้ไขซ่อมแซมกล้องระบบโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) เดิมที่ชำรุด
2.3 ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) และ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้กำหนดจุดติดตั้งและเป็นศูนย์ควบคุมในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ บริหารงานและติดตามผลการดำเนินงานจัดหาและพัฒนาบุคลากร เพื่อทำหน้าที่ในการสังเกตการณ์เฝ้าระวัง และติดตามความเคลื่อนไหว และบันทึกเหตุการณ์ตลอด 24 ชั่วโมง
2.4 สำนักงานตำรวจแห่งชาติติดตั้งอุปกรณ์เครื่องแม่ข่ายระบบจัดการพร้อมจอและอุปกรณ์เชื่อมโยง เพื่อสังเกตการณ์ เฝ้าระวัง และติดตามความเคลื่อนไหว โดยมอบหมายกองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัด กองกำกับการตำรวจภูธรอำเภอ ทำหน้าที่บันทึกและรายงานเหตุการณ์ตลอด 24 ชั่วโมง
3. วัตถุประสงค์ของโครงการฯ เพื่อซ่อมแซมแก้ไขระบบโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) เดิมที่ชำรุด และติดตั้งเพิ่มเติม โดยการจัดทำระบบเชื่อมโยงเครือข่ายบูรณาการการปฏิบัติงานระหว่าง 4 หน่วยงาน เพื่อจัดทำระบบรักษาความปลอดภัย โดยการพัฒนาศักยภาพการป้องกัน การควบคุมและเฝ้าระวังบริเวณจุดยุทธศาสตร์ที่มีปัญหา เร่งด่วน โดยเฉพาะบริเวณจุดแยก และจุดตัดของถนนเขตเทศบาลในทุกอำเภอ จำนวน 42 อำเภอ ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีระยะเวลาดำเนินการระหว่างเดือนมกราคม — กันยายน 2550 ทั้งนี้ เพื่อให้การป้องกันแก้ไขปัญหาสถานการณ์ในพื้นที่ชุมชนเมืองใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นไปอย่างมีประสิทธิผล
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 23 มกราคม 2550--จบ--