แท็ก
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
กรมการขนส่งทางบก
พิพิธภัณฑ์เด็ก
กระทรวงมหาดไทย
กระทรวงการคลัง
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่ กระทรวงมหาดไทย โดยสำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้สรุปสถานการณ์อุทกภัยในลุ่มน้ำเจ้าพระยา สถานการณ์ภัยหนาว และสถานการณ์อุทกภัยภาคใต้ดังนี้
1. สถานการณ์อุทกภัยภาคใต้ (วันที่ 7 - 8 มกราคม 2550)
1.1 หย่อมความกดอากาศต่ำหรือร่องฝนกำลังค่อนข้างแรงปกคลุมประเทศมาเลเซียตอนบนและภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากต่อเนื่อง ตั้งแต่วันที่ 7-8 มกราคม 2550 โดยมีปริมาณน้ำฝน เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2550 ที่อำเภอเมืองฯ จังหวัดสงขลา วัดได้ 182 มม. ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 130.4 มม. ที่อำเภอเมืองฯ จังหวัดปัตตานี 117.9 มม. ที่อำเภอเมืองฯ จังหวัดยะลา 112.6 มม. ทำให้เกิดน้ำท่วมในหลายจังหวัด
1.2 พื้นที่ประสบภัย 3 จังหวัด 9 อำเภอ 29 ตำบล ได้แก่ จังหวัดสงขลา นราธิวาส และยะลา
1.3 ความเสียหาย เรือประมงประเภทอวนลากขนาดกลางล่ม 4 ลำ ลูกเรือได้รับบาดเจ็บ 3 คน อพยพ 500 คน ความเสียหายด้านอื่นๆอยู่ระหว่างการสำรวจ
1.4 สถานการณ์อุทกภัยรายจังหวัด
1) จังหวัดสงขลา ในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่
(1) อำเมืองสงขลา ได้เกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง วัดปริมาณน้ำฝนได้ 201.5 มม. ในเบื้องต้นมีน้ำท่วมขังบริเวณถนนกาญจนวานิช ซึ่งเป็นลักษณะน้ำระบายไม่ทัน ปัจจุบันน้ำลดลงเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว
(2) อำเภอนาทวี เกิดฝนตกหนัก ทำให้มีนำท่วมขังใน 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลนาทวี (หมู่ที่ 5,15) ตำบลท่าประดู่ (หมู่ที่ 4) ตำบลสะท้อน (หมู่ที่ 3,5) และตำบลประกอบ (หมู่ที่ 2,5)
(3) อำเภอหาดใหญ่ เกิดฝนตกหนัก ทำให้น้ำท่วมทางรถไฟระหว่างสถานีชุมทางหาดใหญ่-นาม่วง น้ำได้กัดเซาะรางรถไฟเสียหายยาวประมาณ 20 เมตร ปัจจุบันสามารถให้บริการได้ตามปกติแล้ว
(4) อำเภอสะบ้าย้อย เกิดฝนตกหนักทำให้น้ำจากภูเขาสันกาลาคีรีไหลลงสู่คลองสะบ้าย้อยเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ตำบลสะบ้าย้อย (หมู่ที่ 1) บ้านกาแบง ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50 ม. ในขณะนี้อำเภอและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้อพยพประชาชน จำนวน 500 คน ไปไว้ที่โรงเรียนบ้านสะบ้าย้อย
2) จังหวัดนราธิวาส ในพื้นที่ 2 อำเภอ
(1) อำเภอเมืองฯ เกิดคลื่นลมแรงในอ่าวไทยบริเวณหาดนราทัศน์ อำเภอเมืองฯ ทำให้เรือประมงประเภทอวนลากขนาดกลาง จำนวน 4 ลำ พร้อมลูกเรือ 24 คน มีผู้บาดเจ็บ 3 คน ไม่มีผู้เสียชีวิต
(2) อำเภอจะแนะ มีน้ำท่วม 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลจะแนะ (หมู่ที่ 1-3) ตำบลช้างเผือก (หมู่ที่ 3,4) ตำบลคุซงญอ (หมู่ที่ 1 ) และตำบลผดุงมาตร (หมู่ที่ 2) ในขณะนี้สถานการณ์ได้คลี่คลายแล้ว
3) จังหวัดยะลา เกิดฝนตกหนักทำให้น้ำไหลหลากเข้าท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่
(1) อำเภอรามัน เกิดฝนตกหนักน้ำไหลหลากท่วมขังในพื้นที่ 11 ตำบล ได้แก่ ตำบลบาลอ (หมู่ที่ 3,4,5,7) ตำบลกายูบอเกาะ (หมู่ที่ 4,5) ตำบลตะโล๊ะหะลอ(หมู่ที่ 3,4) ตำบลอาซ่อง (หมู่ที่ 1,2,5) ตำบลจะกว๊ะ (หมู่ที่ 4) ตำบลเกะรอ (หมูที่ 1,3,4,5,6,7) ตำบลท่าธง (หมู่ที่ 2,3,6) ตำบลกาลอ (หมู่ที่ 1) ตำบลวังพญา (หมู่ที่ 3,4) ตำบลกาลูปัง (หมู่ที่ 2) และตำบลบือมัง (หมู่ที่ 2,4,6) คาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติในวันที่ 9 มกราคม 2550
(2) อำเภอยะหา เกิดฝนตกหนักน้ำไหลหลากท่วมขังในพื้นที่ 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลยะหา (หมู่ที่ 1) และตำบลละแอ (หมู่ที่ 1,2,3) หากไม่มีฝนตกคาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติในวันที่ 9 มกราคม 2550
(3) อำเภอกรงปินัง น้ำท่วม 4 ตำบล (ตำบลกรงปินัง ตำบลสะเอะ ตำบลปุโรง ตำบลห้วยกระทิง)
1.5 การดำเนินการของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย
1) ได้แจ้งให้ให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 4, 11 และ 12 จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต ตรัง กระบี่ และสตูล เตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาอันอาจเกิดจากภัยธรรมชาติจากสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินถล่มอันเกิดจากฝนตกหนัก คลื่นลมแรงในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ในระหว่างวันที่ 6-9 มกราคม 2550 แล้ว
2) ได้สั่งการให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 12 และจังหวัดที่ประสบภัยและจัดส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบความเสียหายที่เกิดขึ้นเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ พ.ศ. 2546 แล้ว
2. สรุปสถานการณ์อุทกภัยในลุ่มน้ำเจ้าพระยา (ตั้งแต่วันที่ 27 ส.ค. 2549 - 8 ม.ค. 2550)
2.1 พื้นที่ประสบภัย รวม 47 จังหวัด 442 อำเภอ 40 กิ่งอำเภอ 16 เขต 3,054 ตำบล 20,625 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 5,198,814 คน 1,430,085 ครัวเรือน
2.2 ความเสียหาย
1) ผู้เสียชีวิต จำนวน 341 คน (โดยจังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตมาก 10 ลำดับแรก ได้แก่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 72 คน พิจิตร 34 คน อ่างทอง 31 คน นครสวรรค์ 28 คน สิงห์บุรี 26 คน สุพรรณบุรี 19 คน สุโขทัย 15 คน ชัยนาท 14 คน ปราจีนบุรี 12 คน และจังหวัดพิษณุโลก 11 คน)
2) ด้านทรัพย์สิน บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 856 หลัง เสียหายบางส่วน 48,755 หลัง ถนน 10,391 สาย สะพาน 671 แห่ง ท่อระบายน้ำ 1,085 แห่ง ทำนบ/ฝาย/เหมือง 778 แห่ง พื้นที่การเกษตรเสียหาย 5,605,559 ไร่ บ่อปลา/กุ้ง 113,260 บ่อ ปศุสัตว์ 142,211 ตัว วัด 743 แห่ง โรงเรียน 682 แห่ง
3) มูลค่าความเสียหายเบื้องต้นเท่าที่สำรวจได้ ประมาณ 7,707,574,527 บาท
2.3 สถานการณ์น้ำที่ท่วมขังในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาลดลงเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว ขณะนี้จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เร่งจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามนโยบายของรัฐบาล
2.4 การสนับสนุนช่วยเหลือของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
1) ได้ระดมกำลัง เครื่องจักรกล รถยนต์บรรทุกน้ำ พร้อมเจ้าหน้าที่ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำความสะอาดล้างถนน เก็บเศษขยะที่ตกค้างในบริเวณชุมชนให้กลับคืนสู่สภาพปกติแล้ว
2) จ่ายเงินค่าจัดการศพ 321 ราย รายละ 15,000 บาท กรณีเป็นหัวหน้าครอบครัว รายละ 40,000 บาท เป็นเงิน 8,315,000 บาท (คงเหลือ 20 ราย อยู่ระหว่างดำเนินการ)
3) จังหวัดที่ประสบภัยได้ใช้จ่ายเงินช่วยเหลือในด้านต่างๆไปแล้ว 2,350.68 ล้านบาท
2.5 การจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อย
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้เบิกจ่ายเงินให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ รายย่อย โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1) จ่ายเงินให้ความช่วยเหลือฯถึงวันที่ 5 มกราคม 2550 ดังนี้
1.1) ดำเนินการจ่ายเงินช่วยเหลือแล้ว จำนวน 12,186 ราย (27 จังหวัด) คิดเป็นร้อยละ 95.85
1.2) วงเงินช่วยเหลือที่เบิกจ่ายแล้ว จำนวน 65,345,179 บาท คิดเป็นร้อยละ 96.89
1.3) จังหวัดที่ดำเนินการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยครบทุกรายการแล้ว 16 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชัยนาท เชียงราย ตาก นครปฐม นครราชสีมา นครศรีธรรมราช ปราจีนบุรี ลพบุรี ลำปาง ศรีสะเกษ สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง อุทัยธานี และอุบลราชธานี
2) กรุงเทพฯ ยังไม่ได้ทำการจ่ายเงินช่วยเหลือ เนื่องจากอยู่ระหว่างการวางฎีกาเบิกเงินจากกรมบัญชีกลาง คาดว่าจะสามารถดำเนินการจ่ายเงินให้ความช่วยเหลือแล้วเสร็จภายในวันที่ 12 มกราคม 2550
3. สรุปสถานการณ์ภัยหนาว (ข้อมูล ณ วันที่ 8 มกราคม 2550)
3.1 พื้นที่ประสบภัยหนาว จำนวน 43 จังหวัด 319 อำเภอ 35 กิ่งอำเภอ 2,033 ตำบล 21,627 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 2,948,403 คน 1,091,468 ครัวเรือน แยกเป็น
- ภาคเหนือ 16 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพะเยา กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก น่าน พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์ และอุทัยธานี
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 19 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา มุกดาหาร บุรีรัมย์ มหาสารคาม ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี อุบลราชธานี และอำนาจเจริญ
- ภาคกลาง 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี ชัยนาท ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สระบุรี และราชบุรี
- ภาคตะวันออก 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดปราจีนบุรี และจันทบุรี
จังหวัดที่ได้ประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินแล้ว จำนวน 40 จังหวัด
3.2 การให้ความช่วยเหลือราษฎรที่ประสบภัยหนาว
3.2.1 กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดหาเครื่องนุ่งห่มกันหนาวเพื่อดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยหนาวปีงบประมาณ 2550 ไว้ดังนี้
1) โอนเงินงบประมาณไปตั้งจ่ายที่คลังจังหวัด เพื่อจัดซื้อเครื่องกันหนาวจากกลุ่มอาชีพ/กลุ่มแม่บ้านในจังหวัด รวมจำนวน 54 จังหวัด ในวงเงินงบประมาณ 31,155,000 บาท
2) จัดส่งเครื่องกันหนาวไปให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 1-10 และจังหวัดในเขตพื้นที่รับผิดชอบ รวมทั้งเก็บสำรองไว้ที่ส่วนกลาง เพื่อสนับสนุนจังหวัดที่ประสบภัยหนาว ในวงเงินงบประมาณ 28,845,000 บาท
3.2.2 มูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้มอบเงินที่ได้รับบริจาคจากบริษัท คิง เพาเวอร์ แท๊กซ์ฟรี จำกัด ให้แก่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อนำไปจัดหาเครื่องกันหนาว 15,420 ผืน แจกจ่ายให้ผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ 16 อำเภอของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้มอบผ้าห่มฯ เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2549 แล้ว
3.2.3 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ประสานขอรับการสนับสนุนผ้าห่มกันหนาวจากบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) จำนวน 200,000 ผืน มูลค่ากว่า 30 ล้านบาท เพื่อแจกจ่ายช่วยเหลือผู้ประสบภัยหนาว จำนวน 16 จังหวัด
3.2.4 สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เหล่ากาชาดจังหวัด มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์ สภากาชาดไทย มูลนิธิ ภาคเอกชน และอื่นๆ ได้แจกจ่ายเครื่องกันหนาวให้แก่ราษฎรผู้ประสบภัยหนาวไปแล้ว รวมทั้งสิ้น 403,200 ชิ้น (แยกเป็น ผ้าห่มนวม 321,080 ผืน เสื้อกันหนาว 32,336 ตัว ผ้าห่มไหมพรม 27,725 ผืน และอื่นๆ 22,059 ชิ้น)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 9 มกราคม 2550--จบ--
1. สถานการณ์อุทกภัยภาคใต้ (วันที่ 7 - 8 มกราคม 2550)
1.1 หย่อมความกดอากาศต่ำหรือร่องฝนกำลังค่อนข้างแรงปกคลุมประเทศมาเลเซียตอนบนและภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากต่อเนื่อง ตั้งแต่วันที่ 7-8 มกราคม 2550 โดยมีปริมาณน้ำฝน เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2550 ที่อำเภอเมืองฯ จังหวัดสงขลา วัดได้ 182 มม. ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 130.4 มม. ที่อำเภอเมืองฯ จังหวัดปัตตานี 117.9 มม. ที่อำเภอเมืองฯ จังหวัดยะลา 112.6 มม. ทำให้เกิดน้ำท่วมในหลายจังหวัด
1.2 พื้นที่ประสบภัย 3 จังหวัด 9 อำเภอ 29 ตำบล ได้แก่ จังหวัดสงขลา นราธิวาส และยะลา
1.3 ความเสียหาย เรือประมงประเภทอวนลากขนาดกลางล่ม 4 ลำ ลูกเรือได้รับบาดเจ็บ 3 คน อพยพ 500 คน ความเสียหายด้านอื่นๆอยู่ระหว่างการสำรวจ
1.4 สถานการณ์อุทกภัยรายจังหวัด
1) จังหวัดสงขลา ในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่
(1) อำเมืองสงขลา ได้เกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง วัดปริมาณน้ำฝนได้ 201.5 มม. ในเบื้องต้นมีน้ำท่วมขังบริเวณถนนกาญจนวานิช ซึ่งเป็นลักษณะน้ำระบายไม่ทัน ปัจจุบันน้ำลดลงเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว
(2) อำเภอนาทวี เกิดฝนตกหนัก ทำให้มีนำท่วมขังใน 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลนาทวี (หมู่ที่ 5,15) ตำบลท่าประดู่ (หมู่ที่ 4) ตำบลสะท้อน (หมู่ที่ 3,5) และตำบลประกอบ (หมู่ที่ 2,5)
(3) อำเภอหาดใหญ่ เกิดฝนตกหนัก ทำให้น้ำท่วมทางรถไฟระหว่างสถานีชุมทางหาดใหญ่-นาม่วง น้ำได้กัดเซาะรางรถไฟเสียหายยาวประมาณ 20 เมตร ปัจจุบันสามารถให้บริการได้ตามปกติแล้ว
(4) อำเภอสะบ้าย้อย เกิดฝนตกหนักทำให้น้ำจากภูเขาสันกาลาคีรีไหลลงสู่คลองสะบ้าย้อยเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ตำบลสะบ้าย้อย (หมู่ที่ 1) บ้านกาแบง ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50 ม. ในขณะนี้อำเภอและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้อพยพประชาชน จำนวน 500 คน ไปไว้ที่โรงเรียนบ้านสะบ้าย้อย
2) จังหวัดนราธิวาส ในพื้นที่ 2 อำเภอ
(1) อำเภอเมืองฯ เกิดคลื่นลมแรงในอ่าวไทยบริเวณหาดนราทัศน์ อำเภอเมืองฯ ทำให้เรือประมงประเภทอวนลากขนาดกลาง จำนวน 4 ลำ พร้อมลูกเรือ 24 คน มีผู้บาดเจ็บ 3 คน ไม่มีผู้เสียชีวิต
(2) อำเภอจะแนะ มีน้ำท่วม 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลจะแนะ (หมู่ที่ 1-3) ตำบลช้างเผือก (หมู่ที่ 3,4) ตำบลคุซงญอ (หมู่ที่ 1 ) และตำบลผดุงมาตร (หมู่ที่ 2) ในขณะนี้สถานการณ์ได้คลี่คลายแล้ว
3) จังหวัดยะลา เกิดฝนตกหนักทำให้น้ำไหลหลากเข้าท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่
(1) อำเภอรามัน เกิดฝนตกหนักน้ำไหลหลากท่วมขังในพื้นที่ 11 ตำบล ได้แก่ ตำบลบาลอ (หมู่ที่ 3,4,5,7) ตำบลกายูบอเกาะ (หมู่ที่ 4,5) ตำบลตะโล๊ะหะลอ(หมู่ที่ 3,4) ตำบลอาซ่อง (หมู่ที่ 1,2,5) ตำบลจะกว๊ะ (หมู่ที่ 4) ตำบลเกะรอ (หมูที่ 1,3,4,5,6,7) ตำบลท่าธง (หมู่ที่ 2,3,6) ตำบลกาลอ (หมู่ที่ 1) ตำบลวังพญา (หมู่ที่ 3,4) ตำบลกาลูปัง (หมู่ที่ 2) และตำบลบือมัง (หมู่ที่ 2,4,6) คาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติในวันที่ 9 มกราคม 2550
(2) อำเภอยะหา เกิดฝนตกหนักน้ำไหลหลากท่วมขังในพื้นที่ 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลยะหา (หมู่ที่ 1) และตำบลละแอ (หมู่ที่ 1,2,3) หากไม่มีฝนตกคาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติในวันที่ 9 มกราคม 2550
(3) อำเภอกรงปินัง น้ำท่วม 4 ตำบล (ตำบลกรงปินัง ตำบลสะเอะ ตำบลปุโรง ตำบลห้วยกระทิง)
1.5 การดำเนินการของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย
1) ได้แจ้งให้ให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 4, 11 และ 12 จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต ตรัง กระบี่ และสตูล เตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาอันอาจเกิดจากภัยธรรมชาติจากสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินถล่มอันเกิดจากฝนตกหนัก คลื่นลมแรงในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ในระหว่างวันที่ 6-9 มกราคม 2550 แล้ว
2) ได้สั่งการให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 12 และจังหวัดที่ประสบภัยและจัดส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบความเสียหายที่เกิดขึ้นเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ พ.ศ. 2546 แล้ว
2. สรุปสถานการณ์อุทกภัยในลุ่มน้ำเจ้าพระยา (ตั้งแต่วันที่ 27 ส.ค. 2549 - 8 ม.ค. 2550)
2.1 พื้นที่ประสบภัย รวม 47 จังหวัด 442 อำเภอ 40 กิ่งอำเภอ 16 เขต 3,054 ตำบล 20,625 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 5,198,814 คน 1,430,085 ครัวเรือน
2.2 ความเสียหาย
1) ผู้เสียชีวิต จำนวน 341 คน (โดยจังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตมาก 10 ลำดับแรก ได้แก่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 72 คน พิจิตร 34 คน อ่างทอง 31 คน นครสวรรค์ 28 คน สิงห์บุรี 26 คน สุพรรณบุรี 19 คน สุโขทัย 15 คน ชัยนาท 14 คน ปราจีนบุรี 12 คน และจังหวัดพิษณุโลก 11 คน)
2) ด้านทรัพย์สิน บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 856 หลัง เสียหายบางส่วน 48,755 หลัง ถนน 10,391 สาย สะพาน 671 แห่ง ท่อระบายน้ำ 1,085 แห่ง ทำนบ/ฝาย/เหมือง 778 แห่ง พื้นที่การเกษตรเสียหาย 5,605,559 ไร่ บ่อปลา/กุ้ง 113,260 บ่อ ปศุสัตว์ 142,211 ตัว วัด 743 แห่ง โรงเรียน 682 แห่ง
3) มูลค่าความเสียหายเบื้องต้นเท่าที่สำรวจได้ ประมาณ 7,707,574,527 บาท
2.3 สถานการณ์น้ำที่ท่วมขังในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาลดลงเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว ขณะนี้จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เร่งจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามนโยบายของรัฐบาล
2.4 การสนับสนุนช่วยเหลือของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
1) ได้ระดมกำลัง เครื่องจักรกล รถยนต์บรรทุกน้ำ พร้อมเจ้าหน้าที่ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำความสะอาดล้างถนน เก็บเศษขยะที่ตกค้างในบริเวณชุมชนให้กลับคืนสู่สภาพปกติแล้ว
2) จ่ายเงินค่าจัดการศพ 321 ราย รายละ 15,000 บาท กรณีเป็นหัวหน้าครอบครัว รายละ 40,000 บาท เป็นเงิน 8,315,000 บาท (คงเหลือ 20 ราย อยู่ระหว่างดำเนินการ)
3) จังหวัดที่ประสบภัยได้ใช้จ่ายเงินช่วยเหลือในด้านต่างๆไปแล้ว 2,350.68 ล้านบาท
2.5 การจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อย
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้เบิกจ่ายเงินให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ รายย่อย โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1) จ่ายเงินให้ความช่วยเหลือฯถึงวันที่ 5 มกราคม 2550 ดังนี้
1.1) ดำเนินการจ่ายเงินช่วยเหลือแล้ว จำนวน 12,186 ราย (27 จังหวัด) คิดเป็นร้อยละ 95.85
1.2) วงเงินช่วยเหลือที่เบิกจ่ายแล้ว จำนวน 65,345,179 บาท คิดเป็นร้อยละ 96.89
1.3) จังหวัดที่ดำเนินการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยครบทุกรายการแล้ว 16 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชัยนาท เชียงราย ตาก นครปฐม นครราชสีมา นครศรีธรรมราช ปราจีนบุรี ลพบุรี ลำปาง ศรีสะเกษ สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง อุทัยธานี และอุบลราชธานี
2) กรุงเทพฯ ยังไม่ได้ทำการจ่ายเงินช่วยเหลือ เนื่องจากอยู่ระหว่างการวางฎีกาเบิกเงินจากกรมบัญชีกลาง คาดว่าจะสามารถดำเนินการจ่ายเงินให้ความช่วยเหลือแล้วเสร็จภายในวันที่ 12 มกราคม 2550
3. สรุปสถานการณ์ภัยหนาว (ข้อมูล ณ วันที่ 8 มกราคม 2550)
3.1 พื้นที่ประสบภัยหนาว จำนวน 43 จังหวัด 319 อำเภอ 35 กิ่งอำเภอ 2,033 ตำบล 21,627 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 2,948,403 คน 1,091,468 ครัวเรือน แยกเป็น
- ภาคเหนือ 16 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพะเยา กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก น่าน พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์ และอุทัยธานี
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 19 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา มุกดาหาร บุรีรัมย์ มหาสารคาม ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี อุบลราชธานี และอำนาจเจริญ
- ภาคกลาง 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี ชัยนาท ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สระบุรี และราชบุรี
- ภาคตะวันออก 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดปราจีนบุรี และจันทบุรี
จังหวัดที่ได้ประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินแล้ว จำนวน 40 จังหวัด
3.2 การให้ความช่วยเหลือราษฎรที่ประสบภัยหนาว
3.2.1 กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดหาเครื่องนุ่งห่มกันหนาวเพื่อดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยหนาวปีงบประมาณ 2550 ไว้ดังนี้
1) โอนเงินงบประมาณไปตั้งจ่ายที่คลังจังหวัด เพื่อจัดซื้อเครื่องกันหนาวจากกลุ่มอาชีพ/กลุ่มแม่บ้านในจังหวัด รวมจำนวน 54 จังหวัด ในวงเงินงบประมาณ 31,155,000 บาท
2) จัดส่งเครื่องกันหนาวไปให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 1-10 และจังหวัดในเขตพื้นที่รับผิดชอบ รวมทั้งเก็บสำรองไว้ที่ส่วนกลาง เพื่อสนับสนุนจังหวัดที่ประสบภัยหนาว ในวงเงินงบประมาณ 28,845,000 บาท
3.2.2 มูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้มอบเงินที่ได้รับบริจาคจากบริษัท คิง เพาเวอร์ แท๊กซ์ฟรี จำกัด ให้แก่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อนำไปจัดหาเครื่องกันหนาว 15,420 ผืน แจกจ่ายให้ผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ 16 อำเภอของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้มอบผ้าห่มฯ เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2549 แล้ว
3.2.3 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ประสานขอรับการสนับสนุนผ้าห่มกันหนาวจากบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) จำนวน 200,000 ผืน มูลค่ากว่า 30 ล้านบาท เพื่อแจกจ่ายช่วยเหลือผู้ประสบภัยหนาว จำนวน 16 จังหวัด
3.2.4 สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เหล่ากาชาดจังหวัด มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์ สภากาชาดไทย มูลนิธิ ภาคเอกชน และอื่นๆ ได้แจกจ่ายเครื่องกันหนาวให้แก่ราษฎรผู้ประสบภัยหนาวไปแล้ว รวมทั้งสิ้น 403,200 ชิ้น (แยกเป็น ผ้าห่มนวม 321,080 ผืน เสื้อกันหนาว 32,336 ตัว ผ้าห่มไหมพรม 27,725 ผืน และอื่นๆ 22,059 ชิ้น)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 9 มกราคม 2550--จบ--