คณะรัฐมนตรีเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอทั้ง 3 ข้อ ดังนี้
1. เห็นชอบความตกลงว่าด้วยการยอมรับปริญญาระดับอุดมศึกษาระหว่างกระทรวงศึกษาธิการของทั้งสองประเทศ (Agreement on Mutual Recognition of Academic Degrees in Higher Education between the Ministry of Education of the Kingdom of Thailand and the Ministry of Education of Government of the People’s Republic of China)
2. อนุมัติให้กระทรวงศึกษาธิการเปลี่ยนแปลงถ้อยคำในความตกลงดังกล่าวเท่าที่จำเป็น ซึ่งจะไม่ทำให้สารัตถะในความตกลงเปลี่ยนแปลงไป
3. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้แทน เป็นผู้ลงนามในความตกลงว่าด้วยการรับรองคุณวุฒิไทย-จีน ฝ่ายไทย
ทั้งนี้ ประเด็นสำคัญในความตกลงการรับรองวุฒิการศึกษาระหว่างไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ประกอบด้วย 8 หัวข้อหลัก ได้แก่
(1.) Article 1 Objective of the Agreement วัตถุประสงค์ของความตกลงเพื่อส่งเสริมการรับรองคุณวุฒิการศึกษาและปริญญาในระดับอุดมศึกษา ซึ่งมอบให้โดยสถาบันอุดมศึกษาไทยและจีน และเพื่ออำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนนักศึกษาหรือผู้ที่สำเร็จการศึกษาของทั้งสองฝ่าย ให้ไปศึกษาต่อในอีกประเทศหนึ่ง
(2.) Article 2 Scope of the Agreement กรอบของความตกลงเพื่อการยอมรับคุณวุฒิและปริญญาหรือประกาศนียบัตร ซึ่งประสาทโดยสถาบันอุดมศึกษาหรือสถาบันวิจัย ที่ได้รับการรับรองวิทยฐานะจากรัฐบาลไทยและรัฐบาลจีน โดยภาคีคู่สัญญาทั้งสองประเทศให้ความเคารพต่อเสรีภาพทางวิชาการของสถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานของรัฐบาลของแต่ละประเทศที่มีอำนาจจะตัดสินใจและยอมรับคุณวุฒิของผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ
(3.) Article 3 Implementing Agencies หน่วยงานที่รับผิดชอบในความ ตกลงดังกล่าวฝ่ายไทยคือสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ส่วนฝ่ายจีนรอสถานเอกอัครราชทูตจีน ประจำประเทศไทยแจ้งว่าจะเป็นหน่วยงานใด
(4.) Article 4 Introduction to the Academic Qualifications Framework in China and Thailand ระบบกรอบคุณวุฒิการศึกษาของประเทศไทยและจีน โดยระบบการศึกษาของจีนเป็นระบบ 6-3-3 แบ่งเป็นระดับประถมศึกษา 6 ปี มัธยมต้น 3 ปี และมัธยมปลาย 3 ปี ส่วนวุฒิการศึกษาระดับอุดมศึกษาแบ่งออกเป็น ประกาศนียบัตรชั้นสูง ประกาศนียบัตรการศึกษาบัณฑิตและปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอก สำหรับระบบการศึกษาไทยเป็นระบบ 6-3-3 แบ่งเป็นระดับประถมศึกษา 6 ปี มัธยมต้น 3 ปี และมัธยมปลาย 3 ปี ส่วนวุฒิการศึกษาระดับอุดมศึกษาแบ่งออกเป็น อนุปริญญา ปริญญาตรี ประกาศนียบัตรบัณฑิต ปริญญาโท ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง และปริญญาเอก
(5.) Article 5 Approval for Graduates of Thai Higher Education Institutions and Scientific Research Institutes to Study in China ข้อกำหนดของคนไทยที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาหรือสถาบันวิจัยในประเทศไทยที่ต้องการศึกษาต่อในประเทศจีน โดยรัฐบาลหรือหน่วยงานของจีนและสถาบันอุดมศึกษาในประเทศจีนมีอำนาจในการตรวจสอบและพิจารณาคุณสมบัติ วุฒิการศึกษา ผลการเรียนและผลสอบของผู้ที่ประสงค์จะเข้ารับการศึกษาในทุกหลักสูตร และขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของสถาบันอุดมศึกษานั้นๆ
(6.) Article 6 Approval for Graduates of Chinese Higher Education Institutions and Scientific Research Institutes to Study in Thailand ข้อกำหนดของคนจีนที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาหรือสถาบันวิจัยในประเทศจีนที่ต้องการศึกษาต่อในประเทศไทย โดยรัฐบาลหรือหน่วยงานของไทยและสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยมีอำนาจในการตรวจสอบและพิจารณาคุณสมบัติ วุฒิการศึกษา ผลการเรียนและผลสอบของผู้ที่ประสงค์จะเข้ารับการศึกษาในทุกหลักสูตร และขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของสถาบันอุดมศึกษานั้นๆ
(7.) Article 7 Amendment and Settlement of Disputes การแก้ไขและการระงับข้อขัดแย้ง จะกระทำได้เมื่อไรก็ได้โดยการพิจารณาร่วมกันทั้งสองฝ่าย และมีการแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร
(8.) Article 8 Enforcement of the Agreement การมีผลบังคับใช้ของข้อตกลงเป็นเวลา 3 ปี นับจากวันลงนามในสัญญา และอาจจะขอยกเลิกในกรณีที่ประเทศใดประเทศหนึ่งแจ้งให้อีกฝ่ายทราบเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้า 6 เดือน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 พฤษภาคม 2550--จบ--
1. เห็นชอบความตกลงว่าด้วยการยอมรับปริญญาระดับอุดมศึกษาระหว่างกระทรวงศึกษาธิการของทั้งสองประเทศ (Agreement on Mutual Recognition of Academic Degrees in Higher Education between the Ministry of Education of the Kingdom of Thailand and the Ministry of Education of Government of the People’s Republic of China)
2. อนุมัติให้กระทรวงศึกษาธิการเปลี่ยนแปลงถ้อยคำในความตกลงดังกล่าวเท่าที่จำเป็น ซึ่งจะไม่ทำให้สารัตถะในความตกลงเปลี่ยนแปลงไป
3. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้แทน เป็นผู้ลงนามในความตกลงว่าด้วยการรับรองคุณวุฒิไทย-จีน ฝ่ายไทย
ทั้งนี้ ประเด็นสำคัญในความตกลงการรับรองวุฒิการศึกษาระหว่างไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ประกอบด้วย 8 หัวข้อหลัก ได้แก่
(1.) Article 1 Objective of the Agreement วัตถุประสงค์ของความตกลงเพื่อส่งเสริมการรับรองคุณวุฒิการศึกษาและปริญญาในระดับอุดมศึกษา ซึ่งมอบให้โดยสถาบันอุดมศึกษาไทยและจีน และเพื่ออำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนนักศึกษาหรือผู้ที่สำเร็จการศึกษาของทั้งสองฝ่าย ให้ไปศึกษาต่อในอีกประเทศหนึ่ง
(2.) Article 2 Scope of the Agreement กรอบของความตกลงเพื่อการยอมรับคุณวุฒิและปริญญาหรือประกาศนียบัตร ซึ่งประสาทโดยสถาบันอุดมศึกษาหรือสถาบันวิจัย ที่ได้รับการรับรองวิทยฐานะจากรัฐบาลไทยและรัฐบาลจีน โดยภาคีคู่สัญญาทั้งสองประเทศให้ความเคารพต่อเสรีภาพทางวิชาการของสถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานของรัฐบาลของแต่ละประเทศที่มีอำนาจจะตัดสินใจและยอมรับคุณวุฒิของผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ
(3.) Article 3 Implementing Agencies หน่วยงานที่รับผิดชอบในความ ตกลงดังกล่าวฝ่ายไทยคือสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ส่วนฝ่ายจีนรอสถานเอกอัครราชทูตจีน ประจำประเทศไทยแจ้งว่าจะเป็นหน่วยงานใด
(4.) Article 4 Introduction to the Academic Qualifications Framework in China and Thailand ระบบกรอบคุณวุฒิการศึกษาของประเทศไทยและจีน โดยระบบการศึกษาของจีนเป็นระบบ 6-3-3 แบ่งเป็นระดับประถมศึกษา 6 ปี มัธยมต้น 3 ปี และมัธยมปลาย 3 ปี ส่วนวุฒิการศึกษาระดับอุดมศึกษาแบ่งออกเป็น ประกาศนียบัตรชั้นสูง ประกาศนียบัตรการศึกษาบัณฑิตและปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอก สำหรับระบบการศึกษาไทยเป็นระบบ 6-3-3 แบ่งเป็นระดับประถมศึกษา 6 ปี มัธยมต้น 3 ปี และมัธยมปลาย 3 ปี ส่วนวุฒิการศึกษาระดับอุดมศึกษาแบ่งออกเป็น อนุปริญญา ปริญญาตรี ประกาศนียบัตรบัณฑิต ปริญญาโท ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง และปริญญาเอก
(5.) Article 5 Approval for Graduates of Thai Higher Education Institutions and Scientific Research Institutes to Study in China ข้อกำหนดของคนไทยที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาหรือสถาบันวิจัยในประเทศไทยที่ต้องการศึกษาต่อในประเทศจีน โดยรัฐบาลหรือหน่วยงานของจีนและสถาบันอุดมศึกษาในประเทศจีนมีอำนาจในการตรวจสอบและพิจารณาคุณสมบัติ วุฒิการศึกษา ผลการเรียนและผลสอบของผู้ที่ประสงค์จะเข้ารับการศึกษาในทุกหลักสูตร และขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของสถาบันอุดมศึกษานั้นๆ
(6.) Article 6 Approval for Graduates of Chinese Higher Education Institutions and Scientific Research Institutes to Study in Thailand ข้อกำหนดของคนจีนที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาหรือสถาบันวิจัยในประเทศจีนที่ต้องการศึกษาต่อในประเทศไทย โดยรัฐบาลหรือหน่วยงานของไทยและสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยมีอำนาจในการตรวจสอบและพิจารณาคุณสมบัติ วุฒิการศึกษา ผลการเรียนและผลสอบของผู้ที่ประสงค์จะเข้ารับการศึกษาในทุกหลักสูตร และขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของสถาบันอุดมศึกษานั้นๆ
(7.) Article 7 Amendment and Settlement of Disputes การแก้ไขและการระงับข้อขัดแย้ง จะกระทำได้เมื่อไรก็ได้โดยการพิจารณาร่วมกันทั้งสองฝ่าย และมีการแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร
(8.) Article 8 Enforcement of the Agreement การมีผลบังคับใช้ของข้อตกลงเป็นเวลา 3 ปี นับจากวันลงนามในสัญญา และอาจจะขอยกเลิกในกรณีที่ประเทศใดประเทศหนึ่งแจ้งให้อีกฝ่ายทราบเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้า 6 เดือน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 พฤษภาคม 2550--จบ--