แท็ก
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
นายกรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีพิจารณาการจัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเสนอ แล้วอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์) เป็นประธาน ดังนี้
1. เนื่องจากสำนักงบประมาณได้จัดสรรงบประมาณสนับสนุนโครงการจัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 แล้ว จึงเห็นควรให้สำนักงบประมาณให้งบประมาณสนับสนุนโครงการนี้ต่อไปจนเสร็จสิ้นการดำเนินการตามแผนงานในระยที่ 1
2. สำหรับโครงการในระยะที่ 2 เห็นควรให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรับไปพิจารณาความเหมาะสมของโครงการร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวทช.) โดยให้รับความเห็นของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและผลการประเมินการดำเนินงานจากภายในองค์กรและภายนอกองค์กร เพื่อนำผลการประเมินมาประกอบการพิจารณาดำเนินงานโครงการในระยะต่อไป ไปประกอบการพิจารณา แล้วเสนอคณะรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรายงานว่า คณะกรรมการจัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือได้จัดทำข้อเสนอโครงการ โดยมีสาระสำคัญดังนี้
1. วิสัยทัศน์ เป็นศูนย์กลางทางวิชาการในการส่งเสริมสภาพความเป็นอยู่ของชุมชน พัฒนาอุตสาหกรรมและธุรกิจบริการของภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้ดีขึ้น โดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือช่วยยกระดับศักยภาพของการผลิตให้สามารถผลิตสินค้าที่ได้คุณภาพ มาตรฐาน และมีคุณค่าของผลิตภัณฑ์สูงขึ้น รวมทั้งเพิ่มสมรรถนะในการแข่งขันและเกิดการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน
2. วัตถุประสงค์
(1) เป็นศูนย์กลางการวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เป็นยุทธศาสตร์ของภูมิภาค
(2) เป็นศูนย์กลางการถ่ายทอดเทคโนโลยี
(3) เป็นแหล่งพัฒนาผลงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์
(4) เพื่อใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสนับสนุนคลัสเตอร์เชิงยุทธศาสตร์ของภูมิภาค
3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุทยานฯ
(1) สนองตอบความต้องการของภาคเอกชน ชุมชนและภูมิภาค โดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ
(2) กำหนดกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ โดยเลือกกลุ่มเทคโนโลยีที่ ท้องถิ่นมีศักยภาพและทรัพยากรที่เอื้ออำนวยต่อการประกอบการ
4. แนวทางการจัดตั้งอุทยานฯ
(1) ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2549-2551) เป็นการจัดตั้งหน่วยบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี 4 แห่งในอาคารที่มีอยู่แล้วของมหาวิทยาลัยในเครือข่ายเพื่อเริ่มดำเนินการบ่มเพาะผู้ประกอบการใหม่ทางเทคโนโลยี และเพื่อจัดให้มีบริการยกระดับเทคโนโลยีของผู้ประกอบการในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยการให้คำปรึกษาทางเทคโนโลยีและการจัดหาเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ได้ ทั้งนี้ คาดว่าจะก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ 1,585 ล้านบาท เกิดวิสาหกิจที่มีการพัฒนาเทคโนโลยี 170 ราย และมีเอกชนที่ใช้ประโยชน์จากบริการต่าง ๆ ของอุทยาน ฯ 530 ราย โดยใช้งบประมาณในการดำเนินการในระยะแรกทั้งสิ้น 353 ล้านบาท
(2) ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2552-2554) เป็นการก่อสร้างอุทยาน ฯ ที่มหาวิทยาลัย 2 แห่ง ซึ่งคาดว่าจะผ่านการประเมินศักยภาพว่าสามารถยกระดับจากหน่วยบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยีให้เป็นอุทยานวิทยาศาสตร์เต็มรูปแบบได้ และสามารถเปิดให้บริการได้อย่างสมบูรณ์ในปีที่ 7 (พ.ศ. 2555) โดยประมาณการงบประมาณในระยะที่ 2 จำนวน 3,615 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วยงบลงทุน 2,731 ล้านบาท และงบดำเนินการ 884 ล้านบาท
ทั้งนี้ เมื่อรวมงบประมาณทั้งสองระยะเข้าด้วยกันจะมีงบดำเนินการรวม 1,237 ล้านบาท และงบลงทุนจำนวน 2,731 ล้านบาท คิดเป็นงบประมาณรวมทั้งหมดจำนวน 3,968 ล้านบาท โดยคาดว่ามูลค่าทางเศรษฐกิจที่เกิดจากงบดำเนินการภายใน 6 ปีแรก นับจากเริ่มจัดตั้งหน่วยบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยีในระยะที่ 1 จะมีมูลค่ารวมกันกว่า 5,500 ล้านบาท ขณะที่มูลค่าทางเศรษฐกิจที่เกิดจากงบลงทุนในระยะที่ 2 จะปรากฎผลเมื่อการก่อสร้างอุทยานฯ แล้วเสร็จและเปิดดำเนินการได้ในปีที่ 7 ทั้งนี้ สามารถประเมินตัวเลขความชัดเจนได้เมื่อมีการจัดทำแผนธุรกิจของอุทยานฯ แล้วเสร็จในปีที่ 3 (พ.ศ. 2551)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--
1. เนื่องจากสำนักงบประมาณได้จัดสรรงบประมาณสนับสนุนโครงการจัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 แล้ว จึงเห็นควรให้สำนักงบประมาณให้งบประมาณสนับสนุนโครงการนี้ต่อไปจนเสร็จสิ้นการดำเนินการตามแผนงานในระยที่ 1
2. สำหรับโครงการในระยะที่ 2 เห็นควรให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรับไปพิจารณาความเหมาะสมของโครงการร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวทช.) โดยให้รับความเห็นของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและผลการประเมินการดำเนินงานจากภายในองค์กรและภายนอกองค์กร เพื่อนำผลการประเมินมาประกอบการพิจารณาดำเนินงานโครงการในระยะต่อไป ไปประกอบการพิจารณา แล้วเสนอคณะรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรายงานว่า คณะกรรมการจัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือได้จัดทำข้อเสนอโครงการ โดยมีสาระสำคัญดังนี้
1. วิสัยทัศน์ เป็นศูนย์กลางทางวิชาการในการส่งเสริมสภาพความเป็นอยู่ของชุมชน พัฒนาอุตสาหกรรมและธุรกิจบริการของภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้ดีขึ้น โดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือช่วยยกระดับศักยภาพของการผลิตให้สามารถผลิตสินค้าที่ได้คุณภาพ มาตรฐาน และมีคุณค่าของผลิตภัณฑ์สูงขึ้น รวมทั้งเพิ่มสมรรถนะในการแข่งขันและเกิดการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน
2. วัตถุประสงค์
(1) เป็นศูนย์กลางการวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เป็นยุทธศาสตร์ของภูมิภาค
(2) เป็นศูนย์กลางการถ่ายทอดเทคโนโลยี
(3) เป็นแหล่งพัฒนาผลงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์
(4) เพื่อใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสนับสนุนคลัสเตอร์เชิงยุทธศาสตร์ของภูมิภาค
3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุทยานฯ
(1) สนองตอบความต้องการของภาคเอกชน ชุมชนและภูมิภาค โดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ
(2) กำหนดกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ โดยเลือกกลุ่มเทคโนโลยีที่ ท้องถิ่นมีศักยภาพและทรัพยากรที่เอื้ออำนวยต่อการประกอบการ
4. แนวทางการจัดตั้งอุทยานฯ
(1) ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2549-2551) เป็นการจัดตั้งหน่วยบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี 4 แห่งในอาคารที่มีอยู่แล้วของมหาวิทยาลัยในเครือข่ายเพื่อเริ่มดำเนินการบ่มเพาะผู้ประกอบการใหม่ทางเทคโนโลยี และเพื่อจัดให้มีบริการยกระดับเทคโนโลยีของผู้ประกอบการในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยการให้คำปรึกษาทางเทคโนโลยีและการจัดหาเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ได้ ทั้งนี้ คาดว่าจะก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ 1,585 ล้านบาท เกิดวิสาหกิจที่มีการพัฒนาเทคโนโลยี 170 ราย และมีเอกชนที่ใช้ประโยชน์จากบริการต่าง ๆ ของอุทยาน ฯ 530 ราย โดยใช้งบประมาณในการดำเนินการในระยะแรกทั้งสิ้น 353 ล้านบาท
(2) ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2552-2554) เป็นการก่อสร้างอุทยาน ฯ ที่มหาวิทยาลัย 2 แห่ง ซึ่งคาดว่าจะผ่านการประเมินศักยภาพว่าสามารถยกระดับจากหน่วยบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยีให้เป็นอุทยานวิทยาศาสตร์เต็มรูปแบบได้ และสามารถเปิดให้บริการได้อย่างสมบูรณ์ในปีที่ 7 (พ.ศ. 2555) โดยประมาณการงบประมาณในระยะที่ 2 จำนวน 3,615 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วยงบลงทุน 2,731 ล้านบาท และงบดำเนินการ 884 ล้านบาท
ทั้งนี้ เมื่อรวมงบประมาณทั้งสองระยะเข้าด้วยกันจะมีงบดำเนินการรวม 1,237 ล้านบาท และงบลงทุนจำนวน 2,731 ล้านบาท คิดเป็นงบประมาณรวมทั้งหมดจำนวน 3,968 ล้านบาท โดยคาดว่ามูลค่าทางเศรษฐกิจที่เกิดจากงบดำเนินการภายใน 6 ปีแรก นับจากเริ่มจัดตั้งหน่วยบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยีในระยะที่ 1 จะมีมูลค่ารวมกันกว่า 5,500 ล้านบาท ขณะที่มูลค่าทางเศรษฐกิจที่เกิดจากงบลงทุนในระยะที่ 2 จะปรากฎผลเมื่อการก่อสร้างอุทยานฯ แล้วเสร็จและเปิดดำเนินการได้ในปีที่ 7 ทั้งนี้ สามารถประเมินตัวเลขความชัดเจนได้เมื่อมีการจัดทำแผนธุรกิจของอุทยานฯ แล้วเสร็จในปีที่ 3 (พ.ศ. 2551)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--