แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ร่างพระราชบัญญัติ
กระทรวงการคลัง
กระทรวงคมนาคม
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติบริหารการขนส่ง พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน โดยให้รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและกระทรวงการคลัง แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาก่อนนำเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป
กระทรวงคมนาคมโดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2547แล้ว โดยพิจารณาภาพรวมในการกำกับดูแลสาขาการขนส่งในปัจจุบัน และเห็นชอบในหลักการเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างองค์กรในสาขาการขนส่ง โดยได้ยกร่างพระราชบัญญัติบริหารการขนส่ง พ.ศ. .... เพื่อให้มีสาระสำคัญในการบริหารนโยบาย การกำกับดูแลด้านความปลอดภัยการประกอบกิจการขนส่งในรูปแบบต่าง ๆ
ซึ่งเป็นการให้บริการสาธารณะ ตลอดจนการกำหนดความสัมพันธ์ของภารกิจด้านการขนส่งระหว่างการบริหารราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น ซึ่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ถูกบรรจุในแผนพัฒนากฎหมายประจำปี พ.ศ. 2548 ซึ่งค้างการดำเนินการและมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องเสนอคณะรัฐมนตรีและสภานิติบัญญัติแห่งชาติตามแผนพัฒนากฎหมายของส่วนราชการประจำปี 2550 จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้
1. กำหนดให้จัดตั้งคณะกรรมการนโยบายการขนส่งแห่งชาติมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ มีรัฐมนตรีและปลัดกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจมหภาค การเงินการคลัง การค้าและการขนส่ง เป็นกรรมการ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งอีก 7 คน และผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรเป็นกรรมการและเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและจัดทำแผนแม่บทการขนส่ง เร่งรัดการดำเนินการของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายและแผนแม่บทการขนส่ง การให้บริการขนส่งที่มีลักษณะเป็นพันธะในการให้บริการสาธารณะ (Public Service Obligation หรือ PSO)
2. กำหนดให้การกำกับดูแลแบ่งออกเป็นการกำกับดูแลด้านความปลอดภัยและการกำกับดูแลกิจการขนส่ง โดยกำหนดหลักเกณฑ์ในการกำกับดูแลความปลอดภัยของยานพาหนะ มาตรฐานของโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการขนส่ง มาตรฐานการขับขี่และควบคุมยานพาหนะ มาตรการการจัดการด้านความปลอดภัยและรักษาความปลอดภัย การสืบสวนสาเหตุเมื่อเกิดอุบัติการณ์ได้โดยไม่ต้องเสนอขอแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเป็นรายฉบับ
3. กำหนดให้การดูแลกิจการขนส่งจะดำเนินการในรูปของคณะกรรมการ โดยแบ่งออกเป็น 5 คณะกรรมการ ได้แก่ คณะกรรมการกำกับดูแลการขนส่งทางถนน ทางรถไฟ ทางน้ำ ทางอากาศ และกิจการขนส่งมวลชน โดยแต่ละคณะกรรมการมีรองปลัดกระทรวงคมนาคมที่ปลัดกระทรวงคมนาคมมอบหมายเป็นประธานกรรมการ ผู้แทนส่วนราชการและผู้เชี่ยวชาญที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งร่วมเป็นกรรมการ หัวหน้าส่วนราชการที่รับผิดชอบหลักเกี่ยวกับการขนส่งแต่ละรูปแบบเป็นกรรมการและเลขานุการ ทั้งนี้ การใช้อำนาจกำกับดูแลกิจการขนส่งจะเกี่ยวข้องกับการอนุญาตให้เข้าประกอบกิจการ การกำหนด โครงสร้างอัตราค่าบริการ มาตรฐาน การให้บริการ การป้องกันการกระทำอันเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน การกำหนดกลไกในการพิจารณาคำร้องเรียนของผู้ใช้บริการ การยุติข้อขัดแย้งระหว่างผู้ประกอบการด้วยกัน เป็นต้น
4. เมื่อคณะกรรมการกำกับดูแลกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการกำกับดูแลแล้ว บุคคลใดประสงค์จะประกอบกิจการขนส่งตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ประกาศ บุคคลนั้นจะต้องได้รับอนุญาตให้ประกอบการ โดยการประกอบการขนส่งตามกฎหมายนี้หมายความถึงทั้งการให้บริการขนส่งและการจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการขนส่ง
5. กำหนดให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่ในการให้บริการอาจดำเนินการให้สัมปทาน ทำสัญญาให้สิทธิแก่บุคคลอื่นมาร่วมให้บริการ ทำสัญญาจ้างบุคคลมาดำเนินการแทน โดยจ่ายค่าตอบแทนการดำเนินการได้
6. กำหนดรูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน โดยสัญญาการให้เอกชนร่วมลงทุนโดยรูปแบบสัญญาอย่างใดอย่างหนึ่งตามพระราชบัญญัตินี้
7. กำหนดให้มีการจัดตั้งกองทุนเสริมสร้างประสิทธิภาพการขนส่งและการจราจร เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการเสริมสร้างประสิทธิภาพการขนส่งและจราจร สนับสนุนการวิจัยและพัฒนา และพัฒนาความรู้และศักยภาพของบุคลากรในภาคการขนส่ง โดยรูปแบบของทรัพย์สินของกองทุน อำนาจหน้าที่ของกองทุน การบริหารกองทุน จะเป็นไปตามหลักเกณฑ์เดียวกันกับกฎหมายจัดตั้งกองทุนในสาขาอื่น เช่น พลังงาน การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ การส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม
8. กำหนดมาตรการในการส่งเสริมกิจการขนส่งของไทย โดยมาตรการดังกล่าวอาจเป็นมาตรการทางภาษี เช่น การยกเว้นภาษีเงินได้ การให้สิทธิหักเงินค่าใช้จ่ายที่ได้เสียไปให้แก่ผู้ขนส่งไทยออกจากเงินได้สุทธิหรือกำไรสุทธิที่ต้องเสียภาษีหรือมาตรการขนส่งสินค้า เป็นต้น
9. ให้มีบทกำหนดโทษสำหรับผู้ไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการกำกับดูแลตามพระราชบัญญัตินี้ หรือไม่อำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ โดยกำหนดโทษปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งล้านบาท
10. กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมในทะเบียนหรือใบอนุญาตประกอบกิจการขนส่งฉบับละ 10,000 บาท ใบแทนใบทะเบียนหรือใบอนุญาต ฉบับละ 500 บาท คำขอจดทะเบียนใบอนุญาต ฉบับละ 500 บาท และคำขออื่น ๆ ฉบับละ 200 บาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 5 มิถุนายน 2550--จบ--
กระทรวงคมนาคมโดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2547แล้ว โดยพิจารณาภาพรวมในการกำกับดูแลสาขาการขนส่งในปัจจุบัน และเห็นชอบในหลักการเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างองค์กรในสาขาการขนส่ง โดยได้ยกร่างพระราชบัญญัติบริหารการขนส่ง พ.ศ. .... เพื่อให้มีสาระสำคัญในการบริหารนโยบาย การกำกับดูแลด้านความปลอดภัยการประกอบกิจการขนส่งในรูปแบบต่าง ๆ
ซึ่งเป็นการให้บริการสาธารณะ ตลอดจนการกำหนดความสัมพันธ์ของภารกิจด้านการขนส่งระหว่างการบริหารราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น ซึ่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ถูกบรรจุในแผนพัฒนากฎหมายประจำปี พ.ศ. 2548 ซึ่งค้างการดำเนินการและมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องเสนอคณะรัฐมนตรีและสภานิติบัญญัติแห่งชาติตามแผนพัฒนากฎหมายของส่วนราชการประจำปี 2550 จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้
1. กำหนดให้จัดตั้งคณะกรรมการนโยบายการขนส่งแห่งชาติมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ มีรัฐมนตรีและปลัดกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจมหภาค การเงินการคลัง การค้าและการขนส่ง เป็นกรรมการ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งอีก 7 คน และผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรเป็นกรรมการและเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและจัดทำแผนแม่บทการขนส่ง เร่งรัดการดำเนินการของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายและแผนแม่บทการขนส่ง การให้บริการขนส่งที่มีลักษณะเป็นพันธะในการให้บริการสาธารณะ (Public Service Obligation หรือ PSO)
2. กำหนดให้การกำกับดูแลแบ่งออกเป็นการกำกับดูแลด้านความปลอดภัยและการกำกับดูแลกิจการขนส่ง โดยกำหนดหลักเกณฑ์ในการกำกับดูแลความปลอดภัยของยานพาหนะ มาตรฐานของโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการขนส่ง มาตรฐานการขับขี่และควบคุมยานพาหนะ มาตรการการจัดการด้านความปลอดภัยและรักษาความปลอดภัย การสืบสวนสาเหตุเมื่อเกิดอุบัติการณ์ได้โดยไม่ต้องเสนอขอแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเป็นรายฉบับ
3. กำหนดให้การดูแลกิจการขนส่งจะดำเนินการในรูปของคณะกรรมการ โดยแบ่งออกเป็น 5 คณะกรรมการ ได้แก่ คณะกรรมการกำกับดูแลการขนส่งทางถนน ทางรถไฟ ทางน้ำ ทางอากาศ และกิจการขนส่งมวลชน โดยแต่ละคณะกรรมการมีรองปลัดกระทรวงคมนาคมที่ปลัดกระทรวงคมนาคมมอบหมายเป็นประธานกรรมการ ผู้แทนส่วนราชการและผู้เชี่ยวชาญที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งร่วมเป็นกรรมการ หัวหน้าส่วนราชการที่รับผิดชอบหลักเกี่ยวกับการขนส่งแต่ละรูปแบบเป็นกรรมการและเลขานุการ ทั้งนี้ การใช้อำนาจกำกับดูแลกิจการขนส่งจะเกี่ยวข้องกับการอนุญาตให้เข้าประกอบกิจการ การกำหนด โครงสร้างอัตราค่าบริการ มาตรฐาน การให้บริการ การป้องกันการกระทำอันเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน การกำหนดกลไกในการพิจารณาคำร้องเรียนของผู้ใช้บริการ การยุติข้อขัดแย้งระหว่างผู้ประกอบการด้วยกัน เป็นต้น
4. เมื่อคณะกรรมการกำกับดูแลกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการกำกับดูแลแล้ว บุคคลใดประสงค์จะประกอบกิจการขนส่งตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ประกาศ บุคคลนั้นจะต้องได้รับอนุญาตให้ประกอบการ โดยการประกอบการขนส่งตามกฎหมายนี้หมายความถึงทั้งการให้บริการขนส่งและการจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการขนส่ง
5. กำหนดให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่ในการให้บริการอาจดำเนินการให้สัมปทาน ทำสัญญาให้สิทธิแก่บุคคลอื่นมาร่วมให้บริการ ทำสัญญาจ้างบุคคลมาดำเนินการแทน โดยจ่ายค่าตอบแทนการดำเนินการได้
6. กำหนดรูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน โดยสัญญาการให้เอกชนร่วมลงทุนโดยรูปแบบสัญญาอย่างใดอย่างหนึ่งตามพระราชบัญญัตินี้
7. กำหนดให้มีการจัดตั้งกองทุนเสริมสร้างประสิทธิภาพการขนส่งและการจราจร เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการเสริมสร้างประสิทธิภาพการขนส่งและจราจร สนับสนุนการวิจัยและพัฒนา และพัฒนาความรู้และศักยภาพของบุคลากรในภาคการขนส่ง โดยรูปแบบของทรัพย์สินของกองทุน อำนาจหน้าที่ของกองทุน การบริหารกองทุน จะเป็นไปตามหลักเกณฑ์เดียวกันกับกฎหมายจัดตั้งกองทุนในสาขาอื่น เช่น พลังงาน การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ การส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม
8. กำหนดมาตรการในการส่งเสริมกิจการขนส่งของไทย โดยมาตรการดังกล่าวอาจเป็นมาตรการทางภาษี เช่น การยกเว้นภาษีเงินได้ การให้สิทธิหักเงินค่าใช้จ่ายที่ได้เสียไปให้แก่ผู้ขนส่งไทยออกจากเงินได้สุทธิหรือกำไรสุทธิที่ต้องเสียภาษีหรือมาตรการขนส่งสินค้า เป็นต้น
9. ให้มีบทกำหนดโทษสำหรับผู้ไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการกำกับดูแลตามพระราชบัญญัตินี้ หรือไม่อำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ โดยกำหนดโทษปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งล้านบาท
10. กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมในทะเบียนหรือใบอนุญาตประกอบกิจการขนส่งฉบับละ 10,000 บาท ใบแทนใบทะเบียนหรือใบอนุญาต ฉบับละ 500 บาท คำขอจดทะเบียนใบอนุญาต ฉบับละ 500 บาท และคำขออื่น ๆ ฉบับละ 200 บาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 5 มิถุนายน 2550--จบ--