คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระธรรมนูญศาลยุติธรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (กำหนดให้มีรองประธานศาลอุทธรณ์ และรองประธานศาลอุทธรณ์ภาคได้ตามที่คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมกำหนด) ตามที่สำนักงานศาลยุติธรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา รวมกับร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระธรรมนูญศาลยุติธรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... โดยให้รับข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาก่อนนำเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป
สำนักงานศาลยุติธรรมได้พิจารณาข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2549 แล้วเห็นว่า เนื่องจากมีคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลฎีกา ศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ภาคมากขึ้น ประกอบกับประธานศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ และประธานศาลอุทธรณ์ภาคมีภารกิจมาก ดังนั้น เพื่อเป็นการช่วยแบ่งเบาภารกิจของประธานศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ และประธานศาลอุทธรณ์ภาค และเพื่อให้การบริหารงานคดีของศาลฎีกา ศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ภาคมีความสะดวกคล่องตัวยิ่งขึ้น อันจะสามารถอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนได้อย่างมี
ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระธรรมนูญศาลยุติธรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้มีรองประธานศาลฎีกามากกว่าหนึ่งคนแต่ไม่เกินหกคน และให้คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมมีอำนาจกำหนดจำนวนรองประธานศาลอุทธรณ์และรองประธานศาลอุทธรณ์ภาคได้ตามความจำเป็น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--
สำนักงานศาลยุติธรรมได้พิจารณาข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2549 แล้วเห็นว่า เนื่องจากมีคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลฎีกา ศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ภาคมากขึ้น ประกอบกับประธานศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ และประธานศาลอุทธรณ์ภาคมีภารกิจมาก ดังนั้น เพื่อเป็นการช่วยแบ่งเบาภารกิจของประธานศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ และประธานศาลอุทธรณ์ภาค และเพื่อให้การบริหารงานคดีของศาลฎีกา ศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ภาคมีความสะดวกคล่องตัวยิ่งขึ้น อันจะสามารถอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนได้อย่างมี
ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระธรรมนูญศาลยุติธรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้มีรองประธานศาลฎีกามากกว่าหนึ่งคนแต่ไม่เกินหกคน และให้คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมมีอำนาจกำหนดจำนวนรองประธานศาลอุทธรณ์และรองประธานศาลอุทธรณ์ภาคได้ตามความจำเป็น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--