คณะรัฐมนตรีเห็นชอบหลักการกรอบยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขของจังหวัด แผนงานหลักขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ การแต่งตั้งกรรมการระดับชาติ เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนและกำกับดูแล และอนุมัติงบประมาณสนับสนุนภายใต้วงเงิน 5,000 ล้านบาท ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. กรอบยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขของจังหวัด ยึดคนเป็นหลักมุ่งให้ประชาชนและครอบครัวสามารถ พึ่งตนเอง ใช้กลไกชุมชนเป็นตัวขับเคลื่อน ภายใต้ระบบข้อมูลที่ชุมชนต้องคิดจัดทำขึ้นเองโดยการสนับสนุนของจังหวัด และส่วนกลางปรับระบบเพื่อเอื้อให้จังหวัดสามารถสะท้อนความต้องการชุมชนมายังกระทรวงที่เกี่ยวข้อง มีจุดเน้นและกลุ่มเป้าหมายอยู่ที่กิจกรรมและโครงการที่ผู้ว่าราชการจังหวัดสามารถบริหารจัดการได้โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ท้องถิ่นและภาคส่วนต่าง ๆ ในการวางแผนและกำหนดโครงการ และหากชุมชนใดมีความพร้อมและสมัครใจให้จัดทำเป็นแผนชุมชนแบบมีส่วนร่วม
2. แผนงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์
1) สนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ในการดำเนินชีวิตของประชาชนและครอบครัว และการประกอบอาชีพทั้งในภาคเกษตรและนอกภาคเกษตร
2) สนับสนุนกิจกรรมใน 3 ระดับตามศักยภาพชุมชน โดยขั้นต้นเน้นการผลิตเพื่อการอุปโภคบริโภคในครัวเรือนเพื่อลดรายจ่าย ขั้นกลาง เน้นการถนอมอาหาร การแปรรูป เพื่อตลาดในชุมชน และ ขั้นสูง เป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น/ชุมชนที่มีศักยภาพและมีลู่ทางด้านการตลาด
3) เน้นการอนุรักษ์ พัฒนาและฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติ ดินแลป่าไม้ตามแนวพระราชดำริ
4) เน้นการสงเคราะห์ในระดับครอบครัว ตามความเป็นจริงในพื้นที่อย่างทันเหตุการณ์
5) เน้นการบริการขั้นพื้นฐานแก่ประชาชน ครอบคลุมทั้งด้านสาธารณสุข การศึกษา การฝึกอบรมอาชีพ และการอำนวยความสะดวกอื่น ๆ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เช่น การมาติดต่อจังหวัด/อำเภอ/หน่วยการปกครองท้องถิ่นของประชาชน
3. ให้มีคณะกรรมการระดับชาติ “คณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข” โดยมีนายกรัฐ-มนตรีเป็นประธาน มีผู้แทนจากหน่วยราชการและองค์กรเอกชนเป็นกรรมการ โดยให้ผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ และสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นฝ่ายเลขานุการ เพื่อทำหน้าที่อำนวยการในการขับเคลื่อนและการพิจารณางบประมาณสนับสนุนแผนงานภายใต้ยุทธศาสตร์ อยู่ดีมีสุข
4. การสนับสนุนงบประมาณ จัดสรรงบประมาณให้กระทรวงมหาดไทยเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อน 5 แผนงานตามยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขของจังหวัด ภายใต้วงเงิน 5,000 ล้านบาท โดยให้กระทรวงมหาดไทยทำความตกลงในรายละเอียดกับสำนักงบประมาณ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--
1. กรอบยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขของจังหวัด ยึดคนเป็นหลักมุ่งให้ประชาชนและครอบครัวสามารถ พึ่งตนเอง ใช้กลไกชุมชนเป็นตัวขับเคลื่อน ภายใต้ระบบข้อมูลที่ชุมชนต้องคิดจัดทำขึ้นเองโดยการสนับสนุนของจังหวัด และส่วนกลางปรับระบบเพื่อเอื้อให้จังหวัดสามารถสะท้อนความต้องการชุมชนมายังกระทรวงที่เกี่ยวข้อง มีจุดเน้นและกลุ่มเป้าหมายอยู่ที่กิจกรรมและโครงการที่ผู้ว่าราชการจังหวัดสามารถบริหารจัดการได้โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ท้องถิ่นและภาคส่วนต่าง ๆ ในการวางแผนและกำหนดโครงการ และหากชุมชนใดมีความพร้อมและสมัครใจให้จัดทำเป็นแผนชุมชนแบบมีส่วนร่วม
2. แผนงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์
1) สนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ในการดำเนินชีวิตของประชาชนและครอบครัว และการประกอบอาชีพทั้งในภาคเกษตรและนอกภาคเกษตร
2) สนับสนุนกิจกรรมใน 3 ระดับตามศักยภาพชุมชน โดยขั้นต้นเน้นการผลิตเพื่อการอุปโภคบริโภคในครัวเรือนเพื่อลดรายจ่าย ขั้นกลาง เน้นการถนอมอาหาร การแปรรูป เพื่อตลาดในชุมชน และ ขั้นสูง เป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น/ชุมชนที่มีศักยภาพและมีลู่ทางด้านการตลาด
3) เน้นการอนุรักษ์ พัฒนาและฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติ ดินแลป่าไม้ตามแนวพระราชดำริ
4) เน้นการสงเคราะห์ในระดับครอบครัว ตามความเป็นจริงในพื้นที่อย่างทันเหตุการณ์
5) เน้นการบริการขั้นพื้นฐานแก่ประชาชน ครอบคลุมทั้งด้านสาธารณสุข การศึกษา การฝึกอบรมอาชีพ และการอำนวยความสะดวกอื่น ๆ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เช่น การมาติดต่อจังหวัด/อำเภอ/หน่วยการปกครองท้องถิ่นของประชาชน
3. ให้มีคณะกรรมการระดับชาติ “คณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข” โดยมีนายกรัฐ-มนตรีเป็นประธาน มีผู้แทนจากหน่วยราชการและองค์กรเอกชนเป็นกรรมการ โดยให้ผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ และสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นฝ่ายเลขานุการ เพื่อทำหน้าที่อำนวยการในการขับเคลื่อนและการพิจารณางบประมาณสนับสนุนแผนงานภายใต้ยุทธศาสตร์ อยู่ดีมีสุข
4. การสนับสนุนงบประมาณ จัดสรรงบประมาณให้กระทรวงมหาดไทยเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อน 5 แผนงานตามยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขของจังหวัด ภายใต้วงเงิน 5,000 ล้านบาท โดยให้กระทรวงมหาดไทยทำความตกลงในรายละเอียดกับสำนักงบประมาณ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--