แท็ก
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ร่างพระราชบัญญัติ
กระทรวงสาธารณสุข
กระทรวงวัฒนธรรม
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกระทรวงสาธารณสุข ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอว่า เนื่องจากบทบัญญัติบางมาตราของพระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2525 และพระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 ไม่สามารถควบคุมและมีสภาพบังคับได้ทันต่อความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมอาหารสัตว์และการเลี้ยงสัตว์ในปัจจุบัน ทำให้การกำกับดูแลเกี่ยวกับคุณภาพอาหารสัตว์อยู่ในวงจำกัด เป็นสาเหตุให้มีสารไม่พึงประสงค์ตกค้างในเนื้อสัตว์หรือผลิตภัณฑ์สัตว์ ซึ่งจะมีผลเสียต่อสุขอนามัยของผู้บริโภคได้ รวมทั้งได้มีการปรับเปลี่ยนบทกำหนดโทษบางมาตรา จากโทษจำคุกเป็นโทษปรับ และกำหนดให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายที่มีอำนาจเปรียบเทียบปรับสำหรับคดีที่มีโทษปรับสถานเดียว หรือมีโทษปรับและจำคุกไม่เกินหนึ่งปี จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
ร่างพระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2525 และพระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ดังนี้
1. แก้ไขเพิ่มเติมนิยาม “อาหารสัตว์” ให้หมายรวมถึงวัตถุที่ใช้เพื่อเลี้ยงสัตว์โดยการให้กิน ดื่ม หรือเลีย และใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหารสัตว์ และเพิ่มนิยาม “อาหารสัตว์ควบคุมเฉพาะ” และ “ด่านนำเข้า” เพื่อสามารถตรวจสอบความปลอดภัยจากการปลอมปนสารพิษ สารตกค้างในอาหารสัตว์ด้วย (ร่างข้อ 3 และร่างข้อ 4)
2. ให้รัฐมนตรีประกาศกำหนดชื่อ ประเภท ชนิด คุณภาพ หรือมาตรฐานของอาหารสัตว์ควบคุมเฉพาะ ชื่อ ประเภท ชนิด หรือลักษณะของอาหารสัตว์ที่ห้ามมิให้ผลิต นำเข้า หรือขาย รวมทั้งกำหนดวัตถุที่เติมในอาหารสัตว์เพื่อขาย กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขในการผลิต นำเข้า ขาย หรือห้ามมิให้ผลิต นำเข้า ขาย หรือการใช้เป็นส่วนผสมนั้น หรือการค้าขาย การส่งออกไปนอกราชอาณาจักร (ร่างมาตรา 5)
3. คณะกรรมการควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์มีปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธานกรรมการ อธิบดีกรมปศุสัตว์เป็นรองประธาน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและกรรมการอื่น ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แต่งตั้งไม่เกินสิบสองคน โดยต้องแต่งตั้งจากเกษตรกรสี่คน มีผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์เป็นกรรมการและเลขานุการ (ร่างมาตรา 7)
4. การอนุญาตและการออกใบอนุญาตผลิต ขาย นำเข้า อาหารสัตว์ ควบคุมเฉพาะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง (ร่างมาตรา 8 และร่างมาตรา 9)
5. เพิ่มเติมข้อความ “ประเภท ชนิด หรือลักษณะของอาหารสัตว์และสำหรับสัตว์ตามชนิด หรืออายุ หรือขนาด หรือน้ำหนักของสัตว์” ไว้บนฉลากเพื่อให้เกษตรกรสามารถเลือกซื้ออาหารสัตว์ได้ถูกต้อง (ร่างมาตรา 10)
6. กำหนดให้ผู้นำเข้าต้องแสดงเอกสารการนำเข้าทุกครั้งที่นำเข้าเมื่อผ่านด่านนำเข้า และอาหารสัตว์ที่นำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักรต้องผ่านการตรวจสอบ ณ ด่านนำเข้าเพื่อป้องกันอาหารสัตว์ที่ต้องห้ามนำเข้าหรืออาหารสัตว์ควบคุมเฉพาะ (ร่างมาตรา 12 - ร่างมาตรา 13)
7. กำหนดเกี่ยวกับอาหารสัตว์ปลอมปน ผิดมาตรฐาน เสื่อมคุณภาพ เพื่อให้ครอบคลุมถึงอาหารสัตว์ชนิดอื่นที่ไม่ได้กำหนดให้เป็นอาหารสัตว์ควบคุมเฉพาะอาหารสัตว์ที่มิได้ขึ้นทะเบียนเพื่อต้องการให้ทราบว่าอาหารสัตว์ที่ควบคุมเฉพาะเท่านั้นที่ต้องขึ้นทะเบียนอาหารสัตว์ (ร่างมาตรา 14 - ร่างมาตรา 16 และร่างมาตรา 17)
8. ให้อธิบดีออกคำสั่งให้ผู้ผลิต นำเข้า หรือขาย งดการผลิต นำเข้าหรือขายอาหารสัตว์ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนหรืออาหารสัตว์ที่ปรากฏผลการตรวจพิสูจน์ว่าไม่ควรใช้เลี้ยงสัตว์ หรืออยู่ระหว่างออกประกาศกำหนดห้ามผลิต นำเข้า หรือขาย เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคผลิตอาหารสัตว์ (ร่างมาตรา 18)
9. การโฆษณาคุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหารสัตว์ทางวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ภาพยนตร์ หนังสือพิมพ์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นเพื่อประโยชน์ทางการค้าต้องได้รับการตรวจพิจารณาจากผู้อนุญาตก่อน (ร่างมาตรา 21)
10. ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สั่งให้ผู้ฝ่าฝืนทำลายหรือส่งกลับอาหารสัตว์ที่ยึดหรืออายัดบางชนิดที่ไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์หรือผู้บริโภค ซึ่งหากเก็บไว้จะเพิ่มภาระในการจัดเก็บหรืออาจเป็นพาหะนำโรคระบาดสัตว์ (ร่างมาตรา 23)
11. กำหนดโทษสำหรับความผิดการฝ่าฝืนประกาศของรัฐมนตรีตามมาตรา 6 จากเดิมกำหนดโทษเดียวกันโดยจำแนกใหม่ตามอนุมาตรา คือความผิดตาม (2) (2/1) (4) (6) และ (7) จำคุกไม่เกินหนึ่งปี ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท ส่วนความผิดตาม (3) หรือ (5) โทษจำคุกไม่เกินสามปี ปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ร่างมาตรา 24 - ร่างมาตรา 25)
12. ปรับเปลี่ยนโทษการไม่ขอต่อใบอนุญาตของผู้ผลิต หรือนำเข้าอาหารสัตว์ ซึ่งเดิมมีทั้งโทษจำคุกและปรับ เช่น โทษปรับวันละไม่เกิน 1,000 บาท ตลอดเวลาที่ใบอนุญาตขาดอายุ ส่วนการไม่ขอต่อใบอนุญาตขายอาหารสัตว์ ระวางโทษปรับวันละ 200 บาท ตลอดเวลาที่ใบอนุญาตขาดอายุ (ร่างมาตรา 26)
13. เพิ่มโทษปรับแก่ผู้ผลิตเพื่อขายหรือนำเข้าอาหารสัตว์เพื่อขายโดยการปลอมปนอาหารสัตว์โดยสับเปลี่ยนใช้วัตถุอื่นแทนบางส่วน หรือไม่ตรงตามที่ขึ้นทะเบียนอาหารสัตว์จากปรับไม่เกิน 5,000 บาท เป็นปรับไม่เกิน 50,000 บาท (ร่างมาตรา 27)
14. ปรับเปลี่ยนบทกำหนดโทษเกี่ยวกับการโฆษณาของอาหารสัตว์ความผิดกรณีประมาทเลินเล่อให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ (ร่างมาตรา 28 - ร่างมาตรา 30)
15. ปรับเปลี่ยนอัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ใบแทน ใบรับรอง ใบสำคัญการขึ้นทะเบียนอาหารสัตว์ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 มีนาคม 2550--จบ--
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอว่า เนื่องจากบทบัญญัติบางมาตราของพระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2525 และพระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 ไม่สามารถควบคุมและมีสภาพบังคับได้ทันต่อความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมอาหารสัตว์และการเลี้ยงสัตว์ในปัจจุบัน ทำให้การกำกับดูแลเกี่ยวกับคุณภาพอาหารสัตว์อยู่ในวงจำกัด เป็นสาเหตุให้มีสารไม่พึงประสงค์ตกค้างในเนื้อสัตว์หรือผลิตภัณฑ์สัตว์ ซึ่งจะมีผลเสียต่อสุขอนามัยของผู้บริโภคได้ รวมทั้งได้มีการปรับเปลี่ยนบทกำหนดโทษบางมาตรา จากโทษจำคุกเป็นโทษปรับ และกำหนดให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายที่มีอำนาจเปรียบเทียบปรับสำหรับคดีที่มีโทษปรับสถานเดียว หรือมีโทษปรับและจำคุกไม่เกินหนึ่งปี จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
ร่างพระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2525 และพระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ดังนี้
1. แก้ไขเพิ่มเติมนิยาม “อาหารสัตว์” ให้หมายรวมถึงวัตถุที่ใช้เพื่อเลี้ยงสัตว์โดยการให้กิน ดื่ม หรือเลีย และใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหารสัตว์ และเพิ่มนิยาม “อาหารสัตว์ควบคุมเฉพาะ” และ “ด่านนำเข้า” เพื่อสามารถตรวจสอบความปลอดภัยจากการปลอมปนสารพิษ สารตกค้างในอาหารสัตว์ด้วย (ร่างข้อ 3 และร่างข้อ 4)
2. ให้รัฐมนตรีประกาศกำหนดชื่อ ประเภท ชนิด คุณภาพ หรือมาตรฐานของอาหารสัตว์ควบคุมเฉพาะ ชื่อ ประเภท ชนิด หรือลักษณะของอาหารสัตว์ที่ห้ามมิให้ผลิต นำเข้า หรือขาย รวมทั้งกำหนดวัตถุที่เติมในอาหารสัตว์เพื่อขาย กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขในการผลิต นำเข้า ขาย หรือห้ามมิให้ผลิต นำเข้า ขาย หรือการใช้เป็นส่วนผสมนั้น หรือการค้าขาย การส่งออกไปนอกราชอาณาจักร (ร่างมาตรา 5)
3. คณะกรรมการควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์มีปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธานกรรมการ อธิบดีกรมปศุสัตว์เป็นรองประธาน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและกรรมการอื่น ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แต่งตั้งไม่เกินสิบสองคน โดยต้องแต่งตั้งจากเกษตรกรสี่คน มีผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์เป็นกรรมการและเลขานุการ (ร่างมาตรา 7)
4. การอนุญาตและการออกใบอนุญาตผลิต ขาย นำเข้า อาหารสัตว์ ควบคุมเฉพาะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง (ร่างมาตรา 8 และร่างมาตรา 9)
5. เพิ่มเติมข้อความ “ประเภท ชนิด หรือลักษณะของอาหารสัตว์และสำหรับสัตว์ตามชนิด หรืออายุ หรือขนาด หรือน้ำหนักของสัตว์” ไว้บนฉลากเพื่อให้เกษตรกรสามารถเลือกซื้ออาหารสัตว์ได้ถูกต้อง (ร่างมาตรา 10)
6. กำหนดให้ผู้นำเข้าต้องแสดงเอกสารการนำเข้าทุกครั้งที่นำเข้าเมื่อผ่านด่านนำเข้า และอาหารสัตว์ที่นำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักรต้องผ่านการตรวจสอบ ณ ด่านนำเข้าเพื่อป้องกันอาหารสัตว์ที่ต้องห้ามนำเข้าหรืออาหารสัตว์ควบคุมเฉพาะ (ร่างมาตรา 12 - ร่างมาตรา 13)
7. กำหนดเกี่ยวกับอาหารสัตว์ปลอมปน ผิดมาตรฐาน เสื่อมคุณภาพ เพื่อให้ครอบคลุมถึงอาหารสัตว์ชนิดอื่นที่ไม่ได้กำหนดให้เป็นอาหารสัตว์ควบคุมเฉพาะอาหารสัตว์ที่มิได้ขึ้นทะเบียนเพื่อต้องการให้ทราบว่าอาหารสัตว์ที่ควบคุมเฉพาะเท่านั้นที่ต้องขึ้นทะเบียนอาหารสัตว์ (ร่างมาตรา 14 - ร่างมาตรา 16 และร่างมาตรา 17)
8. ให้อธิบดีออกคำสั่งให้ผู้ผลิต นำเข้า หรือขาย งดการผลิต นำเข้าหรือขายอาหารสัตว์ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนหรืออาหารสัตว์ที่ปรากฏผลการตรวจพิสูจน์ว่าไม่ควรใช้เลี้ยงสัตว์ หรืออยู่ระหว่างออกประกาศกำหนดห้ามผลิต นำเข้า หรือขาย เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคผลิตอาหารสัตว์ (ร่างมาตรา 18)
9. การโฆษณาคุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหารสัตว์ทางวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ภาพยนตร์ หนังสือพิมพ์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นเพื่อประโยชน์ทางการค้าต้องได้รับการตรวจพิจารณาจากผู้อนุญาตก่อน (ร่างมาตรา 21)
10. ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สั่งให้ผู้ฝ่าฝืนทำลายหรือส่งกลับอาหารสัตว์ที่ยึดหรืออายัดบางชนิดที่ไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์หรือผู้บริโภค ซึ่งหากเก็บไว้จะเพิ่มภาระในการจัดเก็บหรืออาจเป็นพาหะนำโรคระบาดสัตว์ (ร่างมาตรา 23)
11. กำหนดโทษสำหรับความผิดการฝ่าฝืนประกาศของรัฐมนตรีตามมาตรา 6 จากเดิมกำหนดโทษเดียวกันโดยจำแนกใหม่ตามอนุมาตรา คือความผิดตาม (2) (2/1) (4) (6) และ (7) จำคุกไม่เกินหนึ่งปี ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท ส่วนความผิดตาม (3) หรือ (5) โทษจำคุกไม่เกินสามปี ปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ร่างมาตรา 24 - ร่างมาตรา 25)
12. ปรับเปลี่ยนโทษการไม่ขอต่อใบอนุญาตของผู้ผลิต หรือนำเข้าอาหารสัตว์ ซึ่งเดิมมีทั้งโทษจำคุกและปรับ เช่น โทษปรับวันละไม่เกิน 1,000 บาท ตลอดเวลาที่ใบอนุญาตขาดอายุ ส่วนการไม่ขอต่อใบอนุญาตขายอาหารสัตว์ ระวางโทษปรับวันละ 200 บาท ตลอดเวลาที่ใบอนุญาตขาดอายุ (ร่างมาตรา 26)
13. เพิ่มโทษปรับแก่ผู้ผลิตเพื่อขายหรือนำเข้าอาหารสัตว์เพื่อขายโดยการปลอมปนอาหารสัตว์โดยสับเปลี่ยนใช้วัตถุอื่นแทนบางส่วน หรือไม่ตรงตามที่ขึ้นทะเบียนอาหารสัตว์จากปรับไม่เกิน 5,000 บาท เป็นปรับไม่เกิน 50,000 บาท (ร่างมาตรา 27)
14. ปรับเปลี่ยนบทกำหนดโทษเกี่ยวกับการโฆษณาของอาหารสัตว์ความผิดกรณีประมาทเลินเล่อให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ (ร่างมาตรา 28 - ร่างมาตรา 30)
15. ปรับเปลี่ยนอัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ใบแทน ใบรับรอง ใบสำคัญการขึ้นทะเบียนอาหารสัตว์ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 มีนาคม 2550--จบ--