1. การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น (กระทรวงศึกษาธิการ)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอให้แต่งตั้ง นางสาวสุทธาสินี วัชรบูล ผู้อำนวยการสำนัก (นักวิชาการศึกษา 9) สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านระบบการศึกษา (นักวิชาการศึกษา 10 ชช.) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม 2549 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป
2. การปรับปรุงองค์ประกอบคณะกรรมการบรรษัทภิบาลแห่งชาติ
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอการปรับปรุงองค์ประกอบคณะกรรมการบรรษัทภิบาลแห่งชาติ โดยเพิ่มรองนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลด้านเศรษฐกิจ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา และประธานสภาธุรกิจตลาดทุนไทยเป็นกรรมการ และแก้ไขตำแหน่งกรรมการจาก “นายกสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย” เป็น “นายกสภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์”
3. แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเสนอให้แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติชุดใหม่ จำนวน 7 ราย แทนประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิชุดเดิมที่ได้ดำรงตำแหน่งมาครบกำหนดตามวาระ ดังนี้ 1. นายพีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ เป็นประธานกรรมการ 2. นายชนิตร ชาญชัยณรงค์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารและอุตสาหกรรม 3. นายวิชัย เบญจรงคกุล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 4. นายสุทธิพร ปทุมเทวาภิบาล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารและอุตสาหกรรม 5. นายวิวัฒน์วงศ์ วิจิตรวาทการ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารและอุตสาหกรรม 6. นายธีรวิทย์ จารุวัฒน์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารและการจัดการ และ 7. นายมานพ ธรรมสิริอนันต์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารและอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2550 เป็นต้นไป
4. การจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 26/2550 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาหมู่บ้าน/ ชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (คพพ.) โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1. องค์ประกอบ รองนายกรัฐมนตรี (นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์) เป็นประธานกรรมการ โดยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายบัญญัติ จันทน์เสนะ) และเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (นายวีระชัย วีระเมธีกุล) ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ อธิบดีกรมการพัฒนาสังคมและสวัสดิการ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา หัวหน้าผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี
ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและพัฒนาการใช้เทคโนโลยีและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ผู้แทนมูลนิธิชัยพัฒนา โดยมีอธิบดีกรมการปกครอง และรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นกรรมการและเลขานุการ และผู้อำนวยการสำนักบริหารการปกครองท้องที่ กรมการปกครอง และผู้อำนวยการกองคลัง สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
2. อำนาจหน้าที่
2.1 บริหารจัดการโครงการพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามนโยบายของรัฐบาล โดยมุ่งเน้นการพัฒนาความเป็นอยู่ของหมู่บ้าน/ชุมชนไปสู่พื้นฐานการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างยั่งยืนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
2.2 เผยแพร่สร้างความเข้าใจ โครงการพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมีความรู้ ความเข้าใจ และพร้อมที่จะให้ความร่วมมือเพื่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น
2.3 พิจารณาใช้จ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน หมวดเงินอุดหนุนทั่วไป เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการอุดหนุนเพื่อพัฒนาศักยภาพหมู่บ้านและชุมชนตามความจำเป็นและเหมาะสม โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพ โปร่งใส ประหยัด และเป็นธรรม
2.4 ประเมินและติดตามผลการดำเนินงานเชิงวิชาการและการวิจัยในส่วนที่เกี่ยวข้อง
2.5 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน บุคคล เพื่อดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
2.6 ให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐ สนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการอย่างเต็มความสามารถและรวดเร็ว เพื่อให้การดำเนินงานตามขอบเขตดังกล่าวข้างต้นสามารถบรรลุเป้าหมาย
2.7 รายงานผลการปฏิบัติงาน ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงาน ให้นายกรัฐ-มนตรีและคณะรัฐมนตรีทราบเป็นระยะ ๆ
2.8 ดำเนินการอื่น ตามที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
3. ให้มีสำนักงานพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เรียกชื่อย่อว่า “สพพ.” เป็นหน่วยงานภายในของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่เกี่ยวกับงานวิชาการ ธุรการ และอำนวยความสะดวกแก่คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงานหรือบุคคลที่คณะกรรมการแต่งตั้งเพื่อช่วยปฏิบัติงาน รวมทั้งดำเนินการอื่นใดตามที่คณะกรรมการมอบหมาย ทั้งนี้ ให้เลขาธิการนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งข้าราชการในสังกัดสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี หรือหน่วยงานอื่นคนหนึ่ง เป็นผู้อำนวยการ เป็นผู้บังคับบัญชา และรับผิดชอบในการสั่งและปฏิบัติราชการของสำนักงาน
สำหรับการเบิกจ่ายเบี้ยประชุม ให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นในการปฏิบัติงานให้เบิกจ่ายจากงบประมาณรายการค่าใช้จ่ายในการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน สำนักเลขาธิการนายกรัฐ-มนตรี ตามระเบียบของทางราชการ
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2550 เป็นต้นไป
5. แต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี รวม 3 คณะ
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 41 /2550 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี รวม 3 คณะ ดังนี้
โดยที่สมควรให้มีคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีด้านสังคมเพิ่มเติมขึ้นอีกคณะหนึ่ง และปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 8/2550 ลงวันที่ 17 มกราคม 2550 ให้เหมาะสม เพื่อให้การพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ที่เสนอต่อคณะรัฐมนตรีมีการตรวจสอบ กลั่นกรองข้อมูล ความจำเป็น ความเหมาะสม และความสอดคล้องกับนโยบายของคณะรัฐมนตรีและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอย่างเป็นระบบและรอบคอบรัดกุมยิ่งขึ้นอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 แห่งพระราช-บัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ประกอบกับมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วย การเสนอ เรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548 นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงให้ยกเลิกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 8/2550 ลงวันที่ 17 มกราคม 2550 และมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี รวม 3 คณะ โดยมีองค์ประกอบ อำนาจหน้าที่และกลไกการปฏิบัติงาน ดังต่อไปนี้
1. คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 1
1.1 องค์ประกอบ
1.1.1 รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ
(หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล)
1.1.2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รองประธานกรรมการ
1.1.3 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กรรมการ
1.1.4 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กรรมการ
1.1.5 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กรรมการ
1.1.6 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยว กรรมการ
และกีฬา
1.1.7 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยี กรรมการ
สารสนเทศและการสื่อสาร
1.1.8 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กรรมการ
1.1.9 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กรรมการ
1.1.10 ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย กรรมการ
1.1.11 เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการ กรรมการ
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
1.1.12 ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ
1.1.13 เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กรรมการ
1.1.14 เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กรรมการ
1.1.15 เลขาธิการคณะรัฐมนตรี กรรมการและ
เลขานุการ
1.1.16 รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กรรมการและ
ฝ่ายการเมืองประจำรองนายกรัฐมนตรี ผู้ช่วยเลขานุการ
(หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล)
1.2 อำนาจหน้าที่
1.2.1 พิจารณากลั่นกรองเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงการคลังกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงคมนาคม กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพลังงาน กระทรวงพาณิชย์ ราชบัณฑิตยสถานสำนักงาน ก.พ. สำนักงบประมาณ และองค์กรอิสระต่างๆ ตลอดจนเรื่องที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
1.2.2 มีอำนาจเชิญรัฐมนตรีและหน่วยงานอื่น ๆ มาชี้แจง
1.3 กลไกการปฏิบัติงาน
1.3.1 ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจัดส่งเรื่องสำคัญในปัญหาตามที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานของรัฐ ตามข้อ 1.2.1 เสนอมาเพื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาหรือเรื่องที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมายให้พิจารณา พร้อมทั้งความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเอกสารประกอบ ให้คณะกรรมการดังกล่าวพิจารณากลั่นกรองก่อนที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี
1.3.2 เรื่องสำคัญซึ่งจะต้องเสนอคณะกรรมการตามคำสั่งนี้หมายถึงเรื่องที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
1.3.2.1 เรื่องที่เป็นปัญหาในเชิงนโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน
1.3.2.2 เรื่องที่ต้องใช้งบประมาณดำเนินการเป็นจำนวนมาก
1.3.2.3 เรื่องที่กระทบต่อการปฏิบัติราชการของหลายหน่วยงาน
1.3.2.4 เรื่องที่หน่วยงานต่าง ๆ มีความเห็นไม่สอดคล้องกัน
1.3.2.5 เรื่องที่ยังไม่เคยมีระเบียบแบบแผนในการปฏิบัติมาก่อน
1.3.2.6 เรื่องที่อาจมีผลกระทบต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สังคม จิตวิทยา หรือความมั่นคงหรือเสถียรภาพทางเศรษฐกิจโดยรวมในส่วนที่เกี่ยวข้อง
1.3.2.7 เรื่องที่คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีคณะอื่น นายกรัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรีขอให้พิจารณา
1.3.3 รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีทุกคนจะเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการดังกล่าวก็ได้ตามที่เห็นสมควร ในกรณีเช่นนี้ ให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่เข้าร่วมประชุมเป็นกรรมการด้วย ทั้งนี้ ให้ฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการจัดส่งระเบียบวาระการประชุมและเอกสารอื่น ๆ ให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีทุกคนทราบทุกครั้งด้วย
1.3.4 ให้เลขาธิการนายกรัฐมนตรี และโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากบุคคลดังกล่าวเข้าร่วมประชุมเป็นกรรมการด้วย ทั้งนี้ ให้ฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการจัดส่งระเบียบวาระการประชุมและเอกสารอื่น ๆ ให้บุคคลดังกล่าวทราบทุกครั้ง
1.3.5 คณะกรรมการมีอำนาจเชิญผู้แทนกระทรวง ทบวง กรม หน่วยงานของรัฐหรือบุคคลอื่นที่อาจให้ข้อมูลเข้าร่วมประชุมในปัญหาที่เกี่ยวข้องได้ตามที่เห็นสมควร
1.3.6 วันเวลา สถานที่ และการประชุม ให้เป็นตามที่คณะกรรมการกำหนด
2. คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2
2.1 องค์ประกอบ
2.1.1 รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ
(นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์)
2.1.2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ รองประธานกรรมการ
และสิ่งแวดล้อม
2.1.3 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรรมการ
2.1.4 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กรรมการ
2.1.5 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ กรรมการ
และเทคโนโลยี
2.1.6 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรรมการ
2.1.7 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กรรมการ
2.1.8 เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการ กรรมการ
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
2.1.9 ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ
2.1.10 เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กรรมการ
2.1.11 เลขาธิการคณะรัฐมนตรี กรรมการและ
เลขานุการ
2.1.12 รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กรรมการและ
ฝ่ายการเมืองประจำรองนายกรัฐมนตรี ผู้ช่วยเลขานุการ
(นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์)
2.2 อำนาจหน้าที่
2.2.1 พิจารณากลั่นกรองเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงแรงงาน กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตลอดจนเรื่องที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
2.2.2 มีอำนาจเชิญรัฐมนตรี และหน่วยงานอื่น ๆ มาชี้แจง
2.3 กลไกการปฏิบัติงาน
2.3.1 ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจัดส่งเรื่องสำคัญในปัญหาตามที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานของรัฐ ตามข้อ 2.2.1 เสนอมาเพื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาหรือเรื่องที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมายให้พิจารณา พร้อมทั้งความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเอกสารประกอบ ให้คณะกรรมการดังกล่าวพิจารณากลั่นกรองก่อนที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี
2.3.2 เรื่องสำคัญตามคำสั่งนี้ซึ่งจะต้องเสนอคณะกรรมการหมายถึงเรื่องที่มีลักษณะตามข้อ 1.3.2 ข้างต้น
2.3.3 ให้นำข้อ 1.3.3 — ข้อ 1.3.6 ข้างต้น มาใช้บังคับด้วย
3. คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 3
3.1 องค์ประกอบ
3.1.1 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธานกรรมการ
3.1.2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รองประธานกรรมการ
3.1.3 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กรรมการ
(คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์)
3.1.4 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กรรมการ
(รองศาสตราจารย์ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์)
3.1.5 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคม กรรมการ
และความมั่นคงของมนุษย์
3.1.6 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กรรมการ
3.1.7 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กรรมการ
3.1.8 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กรรมการ
3.1.9 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กรรมการ
3.1.10 เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการ กรรมการ
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
3.1.11 ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ
3.1.12 เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กรรมการ
3.1.13 เลขาธิการคณะรัฐมนตรี กรรมการและ
เลขานุการ
3.1.14 เลขานุการรัฐมนตรีว่าการ กรรมการและ
กระทรวงศึกษาธิการ ผู้ช่วยเลขานุการ
3.2 อำนาจหน้าที่
3.2.1 พิจารณากลั่นกรองเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงศึกษาธิการ รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวกับด้านสังคมที่ต้องบูรณาการร่วมกันหลายหน่วยงาน ตลอดจนเรื่องที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
3.2.2 มีอำนาจเชิญรัฐมนตรี และหน่วยงานอื่น ๆ มาชี้แจง
3.3 กลไกการปฏิบัติงาน
3.3.1 ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจัดส่งเรื่องสำคัญในปัญหาตามที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานของรัฐ ตามข้อ 3.2.1 เสนอมาเพื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาหรือเรื่องที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมายให้พิจารณา พร้อมทั้งความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเอกสารประกอบ ให้คณะกรรมการดังกล่าวพิจารณากลั่นกรองก่อนที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี
3.3.2 เรื่องสำคัญตามคำสั่งนี้ซึ่งจะต้องเสนอคณะกรรมการหมายถึงเรื่องที่มีลักษณะตามข้อ 1.3.2 ข้างต้น
3.3.3 ให้นำข้อ 1.3.3 — ข้อ 1.3.6 ข้างต้น มาใช้บังคับด้วย
4. ให้มีการประชุมคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ อย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้งเว้นแต่ไม่มีเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ
ในกรณีที่ประธานกรรมการกลั่นกรอง ฯ ไม่อยู่ หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานกรรมการกลั่นกรอง ฯ เป็นผู้นัดประชุมและปฏิบัติหน้าที่เป็นประธานกรรมการกลั่นกรอง ฯ แทน
5. เมื่อคณะกรรมการกลั่นกรองฯ มีมติเป็นประการใด ให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบหรือพิจารณา แล้วแต่กรณี เว้นแต่คณะกรรมการกลั่นกรองฯ จะเห็นควรดำเนินการเป็นประการอื่น ก็ให้ดำเนินการตามมตินั้น
6. ในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ซึ่งเป็นกรรมการในคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ ไม่อาจเข้าประชุมได้ ให้มอบหมายรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเข้าประชุมแทนและหากจำเป็นอาจพิจารณามอบหมายให้ผู้บังคับบัญชาระดับสูง ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบและรู้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่คณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ จะพิจารณาเป็นอย่างดี เป็นผู้เข้าประชุมแทน
ในกรณีที่หัวหน้าหน่วยงานซึ่งเป็นกรรมการในคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯไม่อาจเข้าประชุมได้ ให้มอบหมายรองหัวหน้าหน่วยงานหรือเทียบเท่าเป็นผู้เข้าประชุมแทน
7. ในกรณีเห็นสมควร คณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ ตามคำสั่งนี้จะจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ หลายคณะร่วมกัน เพื่อพิจารณาปัญหาคาบเกี่ยวให้เกิดความรอบคอบ ชัดเจน และมีการประสานสอดคล้องกันก็ได้
8. เรื่องใดที่ประธานกรรมการกลั่นกรองฯ คณะใดเห็นว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องหรืออยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ คณะอื่นที่ไม่ใช่คณะของตนให้ประธานกรรมการกลั่นกรองฯ คณะนั้นมีอำนาจสั่งการให้เสนอคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ ตามที่เห็นสมควรเป็นผู้พิจารณาได้
9. ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีและสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีอำนวยความสะดวกในการประชุมคณะกรรมการทุกคณะตามคำสั่งนี้ และมีอำนาจออกระเบียบหรือคำสั่งที่จำเป็นเพื่อให้การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายเลขานุการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
10.ในกรณีที่มีปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำสั่งนี้ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอาจ ขอให้นายกรัฐมนตรีหรือที่ประชุมร่วมรองนายกรัฐมนตรีวินิจฉัยหรือสั่งการตามที่เห็นสมควรได้
บทเฉพาะกาล
11.ในระยะเริ่มแรก ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีประสานกับประธานคณะกรรมการกลั่นกรองฯ ทั้ง 3 คณะ เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ระหว่างการจัดเข้าระเบียบวาระ ฯ ของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ ทั้งหมด ให้เหมาะสมสอดคล้องกับกรอบอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ ที่ได้จัดตั้งขึ้นใหม่ด้วย
6. แต่งตั้งรองผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอ ให้แต่งตั้งนายจารุบุณณ์ ปาณานนท์ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมสินค้าการท่องเที่ยว (นักบริหาร 9) ดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) (นักบริหาร 10) โดยให้ได้รับเงินเดือนในอัตราตามบัญชีกำหนดตำแหน่ง และอัตราเงินเดือนของพนักงาน ททท. ทั้งนี้ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2550 เป็นต้นไป
7. คณะกรรมการบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเสนอให้ปรับปรุงคณะกรรมการบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) โดยเพิ่มจำนวนกรรมการในคณะกรรมการบริษัท ทีโอทีฯ จากเดิมจำนวน 11 คน เป็นจำนวน 15 คน เป็นการเฉพาะราย
8. แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นายอิษฎ์ อะยะวงศ์)
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอการแต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน 1 ราย คือ นายอิษฎ์ อะยะวงศ์ เป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2550 เป็นต้นไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอให้แต่งตั้ง นางสาวสุทธาสินี วัชรบูล ผู้อำนวยการสำนัก (นักวิชาการศึกษา 9) สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านระบบการศึกษา (นักวิชาการศึกษา 10 ชช.) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม 2549 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป
2. การปรับปรุงองค์ประกอบคณะกรรมการบรรษัทภิบาลแห่งชาติ
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอการปรับปรุงองค์ประกอบคณะกรรมการบรรษัทภิบาลแห่งชาติ โดยเพิ่มรองนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลด้านเศรษฐกิจ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา และประธานสภาธุรกิจตลาดทุนไทยเป็นกรรมการ และแก้ไขตำแหน่งกรรมการจาก “นายกสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย” เป็น “นายกสภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์”
3. แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเสนอให้แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติชุดใหม่ จำนวน 7 ราย แทนประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิชุดเดิมที่ได้ดำรงตำแหน่งมาครบกำหนดตามวาระ ดังนี้ 1. นายพีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ เป็นประธานกรรมการ 2. นายชนิตร ชาญชัยณรงค์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารและอุตสาหกรรม 3. นายวิชัย เบญจรงคกุล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 4. นายสุทธิพร ปทุมเทวาภิบาล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารและอุตสาหกรรม 5. นายวิวัฒน์วงศ์ วิจิตรวาทการ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารและอุตสาหกรรม 6. นายธีรวิทย์ จารุวัฒน์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารและการจัดการ และ 7. นายมานพ ธรรมสิริอนันต์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารและอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2550 เป็นต้นไป
4. การจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 26/2550 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาหมู่บ้าน/ ชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (คพพ.) โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1. องค์ประกอบ รองนายกรัฐมนตรี (นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์) เป็นประธานกรรมการ โดยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายบัญญัติ จันทน์เสนะ) และเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (นายวีระชัย วีระเมธีกุล) ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ อธิบดีกรมการพัฒนาสังคมและสวัสดิการ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา หัวหน้าผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี
ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและพัฒนาการใช้เทคโนโลยีและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ผู้แทนมูลนิธิชัยพัฒนา โดยมีอธิบดีกรมการปกครอง และรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นกรรมการและเลขานุการ และผู้อำนวยการสำนักบริหารการปกครองท้องที่ กรมการปกครอง และผู้อำนวยการกองคลัง สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
2. อำนาจหน้าที่
2.1 บริหารจัดการโครงการพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามนโยบายของรัฐบาล โดยมุ่งเน้นการพัฒนาความเป็นอยู่ของหมู่บ้าน/ชุมชนไปสู่พื้นฐานการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างยั่งยืนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
2.2 เผยแพร่สร้างความเข้าใจ โครงการพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมีความรู้ ความเข้าใจ และพร้อมที่จะให้ความร่วมมือเพื่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น
2.3 พิจารณาใช้จ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน หมวดเงินอุดหนุนทั่วไป เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการอุดหนุนเพื่อพัฒนาศักยภาพหมู่บ้านและชุมชนตามความจำเป็นและเหมาะสม โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพ โปร่งใส ประหยัด และเป็นธรรม
2.4 ประเมินและติดตามผลการดำเนินงานเชิงวิชาการและการวิจัยในส่วนที่เกี่ยวข้อง
2.5 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน บุคคล เพื่อดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
2.6 ให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐ สนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการอย่างเต็มความสามารถและรวดเร็ว เพื่อให้การดำเนินงานตามขอบเขตดังกล่าวข้างต้นสามารถบรรลุเป้าหมาย
2.7 รายงานผลการปฏิบัติงาน ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงาน ให้นายกรัฐ-มนตรีและคณะรัฐมนตรีทราบเป็นระยะ ๆ
2.8 ดำเนินการอื่น ตามที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
3. ให้มีสำนักงานพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เรียกชื่อย่อว่า “สพพ.” เป็นหน่วยงานภายในของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่เกี่ยวกับงานวิชาการ ธุรการ และอำนวยความสะดวกแก่คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงานหรือบุคคลที่คณะกรรมการแต่งตั้งเพื่อช่วยปฏิบัติงาน รวมทั้งดำเนินการอื่นใดตามที่คณะกรรมการมอบหมาย ทั้งนี้ ให้เลขาธิการนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งข้าราชการในสังกัดสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี หรือหน่วยงานอื่นคนหนึ่ง เป็นผู้อำนวยการ เป็นผู้บังคับบัญชา และรับผิดชอบในการสั่งและปฏิบัติราชการของสำนักงาน
สำหรับการเบิกจ่ายเบี้ยประชุม ให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นในการปฏิบัติงานให้เบิกจ่ายจากงบประมาณรายการค่าใช้จ่ายในการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน สำนักเลขาธิการนายกรัฐ-มนตรี ตามระเบียบของทางราชการ
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2550 เป็นต้นไป
5. แต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี รวม 3 คณะ
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 41 /2550 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี รวม 3 คณะ ดังนี้
โดยที่สมควรให้มีคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีด้านสังคมเพิ่มเติมขึ้นอีกคณะหนึ่ง และปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 8/2550 ลงวันที่ 17 มกราคม 2550 ให้เหมาะสม เพื่อให้การพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ที่เสนอต่อคณะรัฐมนตรีมีการตรวจสอบ กลั่นกรองข้อมูล ความจำเป็น ความเหมาะสม และความสอดคล้องกับนโยบายของคณะรัฐมนตรีและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอย่างเป็นระบบและรอบคอบรัดกุมยิ่งขึ้นอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 แห่งพระราช-บัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ประกอบกับมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วย การเสนอ เรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548 นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงให้ยกเลิกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 8/2550 ลงวันที่ 17 มกราคม 2550 และมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี รวม 3 คณะ โดยมีองค์ประกอบ อำนาจหน้าที่และกลไกการปฏิบัติงาน ดังต่อไปนี้
1. คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 1
1.1 องค์ประกอบ
1.1.1 รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ
(หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล)
1.1.2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รองประธานกรรมการ
1.1.3 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กรรมการ
1.1.4 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กรรมการ
1.1.5 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กรรมการ
1.1.6 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยว กรรมการ
และกีฬา
1.1.7 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยี กรรมการ
สารสนเทศและการสื่อสาร
1.1.8 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กรรมการ
1.1.9 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กรรมการ
1.1.10 ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย กรรมการ
1.1.11 เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการ กรรมการ
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
1.1.12 ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ
1.1.13 เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กรรมการ
1.1.14 เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กรรมการ
1.1.15 เลขาธิการคณะรัฐมนตรี กรรมการและ
เลขานุการ
1.1.16 รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กรรมการและ
ฝ่ายการเมืองประจำรองนายกรัฐมนตรี ผู้ช่วยเลขานุการ
(หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล)
1.2 อำนาจหน้าที่
1.2.1 พิจารณากลั่นกรองเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงการคลังกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงคมนาคม กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพลังงาน กระทรวงพาณิชย์ ราชบัณฑิตยสถานสำนักงาน ก.พ. สำนักงบประมาณ และองค์กรอิสระต่างๆ ตลอดจนเรื่องที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
1.2.2 มีอำนาจเชิญรัฐมนตรีและหน่วยงานอื่น ๆ มาชี้แจง
1.3 กลไกการปฏิบัติงาน
1.3.1 ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจัดส่งเรื่องสำคัญในปัญหาตามที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานของรัฐ ตามข้อ 1.2.1 เสนอมาเพื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาหรือเรื่องที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมายให้พิจารณา พร้อมทั้งความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเอกสารประกอบ ให้คณะกรรมการดังกล่าวพิจารณากลั่นกรองก่อนที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี
1.3.2 เรื่องสำคัญซึ่งจะต้องเสนอคณะกรรมการตามคำสั่งนี้หมายถึงเรื่องที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
1.3.2.1 เรื่องที่เป็นปัญหาในเชิงนโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน
1.3.2.2 เรื่องที่ต้องใช้งบประมาณดำเนินการเป็นจำนวนมาก
1.3.2.3 เรื่องที่กระทบต่อการปฏิบัติราชการของหลายหน่วยงาน
1.3.2.4 เรื่องที่หน่วยงานต่าง ๆ มีความเห็นไม่สอดคล้องกัน
1.3.2.5 เรื่องที่ยังไม่เคยมีระเบียบแบบแผนในการปฏิบัติมาก่อน
1.3.2.6 เรื่องที่อาจมีผลกระทบต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สังคม จิตวิทยา หรือความมั่นคงหรือเสถียรภาพทางเศรษฐกิจโดยรวมในส่วนที่เกี่ยวข้อง
1.3.2.7 เรื่องที่คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีคณะอื่น นายกรัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรีขอให้พิจารณา
1.3.3 รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีทุกคนจะเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการดังกล่าวก็ได้ตามที่เห็นสมควร ในกรณีเช่นนี้ ให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่เข้าร่วมประชุมเป็นกรรมการด้วย ทั้งนี้ ให้ฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการจัดส่งระเบียบวาระการประชุมและเอกสารอื่น ๆ ให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีทุกคนทราบทุกครั้งด้วย
1.3.4 ให้เลขาธิการนายกรัฐมนตรี และโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากบุคคลดังกล่าวเข้าร่วมประชุมเป็นกรรมการด้วย ทั้งนี้ ให้ฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการจัดส่งระเบียบวาระการประชุมและเอกสารอื่น ๆ ให้บุคคลดังกล่าวทราบทุกครั้ง
1.3.5 คณะกรรมการมีอำนาจเชิญผู้แทนกระทรวง ทบวง กรม หน่วยงานของรัฐหรือบุคคลอื่นที่อาจให้ข้อมูลเข้าร่วมประชุมในปัญหาที่เกี่ยวข้องได้ตามที่เห็นสมควร
1.3.6 วันเวลา สถานที่ และการประชุม ให้เป็นตามที่คณะกรรมการกำหนด
2. คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2
2.1 องค์ประกอบ
2.1.1 รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ
(นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์)
2.1.2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ รองประธานกรรมการ
และสิ่งแวดล้อม
2.1.3 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรรมการ
2.1.4 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กรรมการ
2.1.5 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ กรรมการ
และเทคโนโลยี
2.1.6 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรรมการ
2.1.7 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กรรมการ
2.1.8 เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการ กรรมการ
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
2.1.9 ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ
2.1.10 เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กรรมการ
2.1.11 เลขาธิการคณะรัฐมนตรี กรรมการและ
เลขานุการ
2.1.12 รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กรรมการและ
ฝ่ายการเมืองประจำรองนายกรัฐมนตรี ผู้ช่วยเลขานุการ
(นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์)
2.2 อำนาจหน้าที่
2.2.1 พิจารณากลั่นกรองเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงแรงงาน กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตลอดจนเรื่องที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
2.2.2 มีอำนาจเชิญรัฐมนตรี และหน่วยงานอื่น ๆ มาชี้แจง
2.3 กลไกการปฏิบัติงาน
2.3.1 ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจัดส่งเรื่องสำคัญในปัญหาตามที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานของรัฐ ตามข้อ 2.2.1 เสนอมาเพื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาหรือเรื่องที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมายให้พิจารณา พร้อมทั้งความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเอกสารประกอบ ให้คณะกรรมการดังกล่าวพิจารณากลั่นกรองก่อนที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี
2.3.2 เรื่องสำคัญตามคำสั่งนี้ซึ่งจะต้องเสนอคณะกรรมการหมายถึงเรื่องที่มีลักษณะตามข้อ 1.3.2 ข้างต้น
2.3.3 ให้นำข้อ 1.3.3 — ข้อ 1.3.6 ข้างต้น มาใช้บังคับด้วย
3. คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 3
3.1 องค์ประกอบ
3.1.1 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธานกรรมการ
3.1.2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รองประธานกรรมการ
3.1.3 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กรรมการ
(คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์)
3.1.4 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กรรมการ
(รองศาสตราจารย์ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์)
3.1.5 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคม กรรมการ
และความมั่นคงของมนุษย์
3.1.6 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กรรมการ
3.1.7 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กรรมการ
3.1.8 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กรรมการ
3.1.9 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กรรมการ
3.1.10 เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการ กรรมการ
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
3.1.11 ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ
3.1.12 เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กรรมการ
3.1.13 เลขาธิการคณะรัฐมนตรี กรรมการและ
เลขานุการ
3.1.14 เลขานุการรัฐมนตรีว่าการ กรรมการและ
กระทรวงศึกษาธิการ ผู้ช่วยเลขานุการ
3.2 อำนาจหน้าที่
3.2.1 พิจารณากลั่นกรองเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงศึกษาธิการ รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวกับด้านสังคมที่ต้องบูรณาการร่วมกันหลายหน่วยงาน ตลอดจนเรื่องที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
3.2.2 มีอำนาจเชิญรัฐมนตรี และหน่วยงานอื่น ๆ มาชี้แจง
3.3 กลไกการปฏิบัติงาน
3.3.1 ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจัดส่งเรื่องสำคัญในปัญหาตามที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานของรัฐ ตามข้อ 3.2.1 เสนอมาเพื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาหรือเรื่องที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมายให้พิจารณา พร้อมทั้งความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเอกสารประกอบ ให้คณะกรรมการดังกล่าวพิจารณากลั่นกรองก่อนที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี
3.3.2 เรื่องสำคัญตามคำสั่งนี้ซึ่งจะต้องเสนอคณะกรรมการหมายถึงเรื่องที่มีลักษณะตามข้อ 1.3.2 ข้างต้น
3.3.3 ให้นำข้อ 1.3.3 — ข้อ 1.3.6 ข้างต้น มาใช้บังคับด้วย
4. ให้มีการประชุมคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ อย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้งเว้นแต่ไม่มีเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ
ในกรณีที่ประธานกรรมการกลั่นกรอง ฯ ไม่อยู่ หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานกรรมการกลั่นกรอง ฯ เป็นผู้นัดประชุมและปฏิบัติหน้าที่เป็นประธานกรรมการกลั่นกรอง ฯ แทน
5. เมื่อคณะกรรมการกลั่นกรองฯ มีมติเป็นประการใด ให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบหรือพิจารณา แล้วแต่กรณี เว้นแต่คณะกรรมการกลั่นกรองฯ จะเห็นควรดำเนินการเป็นประการอื่น ก็ให้ดำเนินการตามมตินั้น
6. ในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ซึ่งเป็นกรรมการในคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ ไม่อาจเข้าประชุมได้ ให้มอบหมายรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเข้าประชุมแทนและหากจำเป็นอาจพิจารณามอบหมายให้ผู้บังคับบัญชาระดับสูง ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบและรู้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่คณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ จะพิจารณาเป็นอย่างดี เป็นผู้เข้าประชุมแทน
ในกรณีที่หัวหน้าหน่วยงานซึ่งเป็นกรรมการในคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯไม่อาจเข้าประชุมได้ ให้มอบหมายรองหัวหน้าหน่วยงานหรือเทียบเท่าเป็นผู้เข้าประชุมแทน
7. ในกรณีเห็นสมควร คณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ ตามคำสั่งนี้จะจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ หลายคณะร่วมกัน เพื่อพิจารณาปัญหาคาบเกี่ยวให้เกิดความรอบคอบ ชัดเจน และมีการประสานสอดคล้องกันก็ได้
8. เรื่องใดที่ประธานกรรมการกลั่นกรองฯ คณะใดเห็นว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องหรืออยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ คณะอื่นที่ไม่ใช่คณะของตนให้ประธานกรรมการกลั่นกรองฯ คณะนั้นมีอำนาจสั่งการให้เสนอคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ ตามที่เห็นสมควรเป็นผู้พิจารณาได้
9. ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีและสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีอำนวยความสะดวกในการประชุมคณะกรรมการทุกคณะตามคำสั่งนี้ และมีอำนาจออกระเบียบหรือคำสั่งที่จำเป็นเพื่อให้การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายเลขานุการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
10.ในกรณีที่มีปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำสั่งนี้ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอาจ ขอให้นายกรัฐมนตรีหรือที่ประชุมร่วมรองนายกรัฐมนตรีวินิจฉัยหรือสั่งการตามที่เห็นสมควรได้
บทเฉพาะกาล
11.ในระยะเริ่มแรก ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีประสานกับประธานคณะกรรมการกลั่นกรองฯ ทั้ง 3 คณะ เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ระหว่างการจัดเข้าระเบียบวาระ ฯ ของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ ทั้งหมด ให้เหมาะสมสอดคล้องกับกรอบอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ ที่ได้จัดตั้งขึ้นใหม่ด้วย
6. แต่งตั้งรองผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอ ให้แต่งตั้งนายจารุบุณณ์ ปาณานนท์ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมสินค้าการท่องเที่ยว (นักบริหาร 9) ดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) (นักบริหาร 10) โดยให้ได้รับเงินเดือนในอัตราตามบัญชีกำหนดตำแหน่ง และอัตราเงินเดือนของพนักงาน ททท. ทั้งนี้ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2550 เป็นต้นไป
7. คณะกรรมการบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเสนอให้ปรับปรุงคณะกรรมการบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) โดยเพิ่มจำนวนกรรมการในคณะกรรมการบริษัท ทีโอทีฯ จากเดิมจำนวน 11 คน เป็นจำนวน 15 คน เป็นการเฉพาะราย
8. แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นายอิษฎ์ อะยะวงศ์)
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอการแต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน 1 ราย คือ นายอิษฎ์ อะยะวงศ์ เป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2550 เป็นต้นไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--