คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศลงนามและให้สัตยาบันความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอิสลามปากีสถานว่าด้วยความร่วมมือในการโอนตัวผู้กระทำผิดและการบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาในคดีอาญาในโอกาสอันเหมาะสมความแต่จะตกลงกับฝ่ายปากีสถานต่อไป ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
กระทรวงการต่างประเทศรายงานว่า
1. คณะผู้แทนไทยและคณะผู้แทนปากีสถานได้เจรจาจัดทำความตกลงว่าด้วยความร่วมมือในการโอนตัวผู้กระทำผิดและการบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาในคดีอาญาขึ้น 2 รอบ ที่กรุงอิสลามาบัด ระหว่างวันที่ 16-17 พฤศจิกายน 2549 และที่กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 28-30 มีนาคม 2550 ตามลำดับ โดยคณะผู้แทนไทยและคณะผู้แทนปากีสถานสามารถเจรจาตกลงกันได้ทุกข้อบท และหัวหน้าคณะผู้แทนของทั้งสองฝ่ายได้ลงนามย่อในร่างความตกลงฯ ฉบับภาษาอังกฤษ
2. ร่างความตกลงฯ มีเนื้อหาสาระเช่นเดียวกับสนธิสัญญาประเภทนี้ที่ประเทศไทยทำกับประเทศต่าง ๆ โดยกำหนดเงื่อนไขและขั้นตอนในการขอโอนและการรับโอนตัวผู้กระทำผิดระหว่างรัฐคู่ภาคีไว้ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
2.1 ผู้กระทำผิดที่ถูกพิพากษาลงโทษในดินแดนของภาคีฝ่ายหนึ่งอาจถูกโอนตัวไปยังดินแดนของภาคีอีกฝ่ายหนึ่งได้เพื่อรับโทษที่ตนถูกพิพากษาต่อไป
2.2 ผู้กระทำผิดอาจถูกโอนตัวได้ถ้าถูกพิพากษาลงโทษจำคุกกักขัง หรือการทำให้สูญเสียอิสรภาพในรูปแบบอื่นใด
2.3 ความผิดซึ่งผู้กระทำผิดที่จะถูกโอนตัวได้และถูกพิพากษาให้ลงโทษนั้น เป็นความผิดทางอาญาที่ลงโทษได้ทั้งในรัฐผู้รับและในรัฐผู้โอน
2.4 ผู้กระทำผิดที่จะถูกโอนตัวต้องเป็นคนชาติของรัฐผู้รับ และมิได้มีสัญชาติของรัฐผู้โอน
2.5 รัฐผู้โอน รัฐผู้รับ และผู้กระทำผิดต่างเห็นชอบต่อการโอนตัว
2.6 ผู้กระทำผิดซึ่งทำความผิดต่อความมั่นคงภายในและภายนอกของรัฐ ต่อประมุขของประเทศ (ซึ่งในกรณีของไทย คือ องค์พระมหากษัตริย์ หรือสมาชิกราชวงศ์) หรือต่อกฎหมายที่เกี่ยวกับการคุ้มครองสมบัติที่มีค่าทางศิลปะของชาติ จะไม่ได้รับการโอนตัว
2.7 ผู้กระทำผิดที่จะถูกโอนตัวจะต้องได้รับโทษในรัฐผู้โอนเป็นระยะเวลาขั้นต่ำตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายภายในของรัฐผู้โอนมาแล้ว
2.8 ผู้กระทำผิดยังมีระยะเวลาที่ต้องรับโทษต่อไปอีกไม่น้อยกว่า 1 ปี
2.9 รัฐผู้โอนยังคงไว้ซึ่งเขตอำนาจแต่ผู้เดียวในการที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกคำพิพากษาของศาลตน
2.10 การบังคับโทษตามคำพิพากษาต่อภายหลังการโอนตัว ให้เป็นตามกฎหมายวิธีการของรัฐผู้รับ
3. ความตกลงฉบับนี้มีพระราชบัญญัติการปฏิบัติเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศในการดำเนินการตามคำพิพากษาคดีอาญา พ.ศ. 2527 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2530 เป็นกฎหมายรองรับ ดังนั้น จึงไม่ต้องขอความเห็นชอบต่อรัฐสภาก่อนการให้สัตยาบัน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 5 มิถุนายน 2550--จบ--
กระทรวงการต่างประเทศรายงานว่า
1. คณะผู้แทนไทยและคณะผู้แทนปากีสถานได้เจรจาจัดทำความตกลงว่าด้วยความร่วมมือในการโอนตัวผู้กระทำผิดและการบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาในคดีอาญาขึ้น 2 รอบ ที่กรุงอิสลามาบัด ระหว่างวันที่ 16-17 พฤศจิกายน 2549 และที่กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 28-30 มีนาคม 2550 ตามลำดับ โดยคณะผู้แทนไทยและคณะผู้แทนปากีสถานสามารถเจรจาตกลงกันได้ทุกข้อบท และหัวหน้าคณะผู้แทนของทั้งสองฝ่ายได้ลงนามย่อในร่างความตกลงฯ ฉบับภาษาอังกฤษ
2. ร่างความตกลงฯ มีเนื้อหาสาระเช่นเดียวกับสนธิสัญญาประเภทนี้ที่ประเทศไทยทำกับประเทศต่าง ๆ โดยกำหนดเงื่อนไขและขั้นตอนในการขอโอนและการรับโอนตัวผู้กระทำผิดระหว่างรัฐคู่ภาคีไว้ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
2.1 ผู้กระทำผิดที่ถูกพิพากษาลงโทษในดินแดนของภาคีฝ่ายหนึ่งอาจถูกโอนตัวไปยังดินแดนของภาคีอีกฝ่ายหนึ่งได้เพื่อรับโทษที่ตนถูกพิพากษาต่อไป
2.2 ผู้กระทำผิดอาจถูกโอนตัวได้ถ้าถูกพิพากษาลงโทษจำคุกกักขัง หรือการทำให้สูญเสียอิสรภาพในรูปแบบอื่นใด
2.3 ความผิดซึ่งผู้กระทำผิดที่จะถูกโอนตัวได้และถูกพิพากษาให้ลงโทษนั้น เป็นความผิดทางอาญาที่ลงโทษได้ทั้งในรัฐผู้รับและในรัฐผู้โอน
2.4 ผู้กระทำผิดที่จะถูกโอนตัวต้องเป็นคนชาติของรัฐผู้รับ และมิได้มีสัญชาติของรัฐผู้โอน
2.5 รัฐผู้โอน รัฐผู้รับ และผู้กระทำผิดต่างเห็นชอบต่อการโอนตัว
2.6 ผู้กระทำผิดซึ่งทำความผิดต่อความมั่นคงภายในและภายนอกของรัฐ ต่อประมุขของประเทศ (ซึ่งในกรณีของไทย คือ องค์พระมหากษัตริย์ หรือสมาชิกราชวงศ์) หรือต่อกฎหมายที่เกี่ยวกับการคุ้มครองสมบัติที่มีค่าทางศิลปะของชาติ จะไม่ได้รับการโอนตัว
2.7 ผู้กระทำผิดที่จะถูกโอนตัวจะต้องได้รับโทษในรัฐผู้โอนเป็นระยะเวลาขั้นต่ำตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายภายในของรัฐผู้โอนมาแล้ว
2.8 ผู้กระทำผิดยังมีระยะเวลาที่ต้องรับโทษต่อไปอีกไม่น้อยกว่า 1 ปี
2.9 รัฐผู้โอนยังคงไว้ซึ่งเขตอำนาจแต่ผู้เดียวในการที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกคำพิพากษาของศาลตน
2.10 การบังคับโทษตามคำพิพากษาต่อภายหลังการโอนตัว ให้เป็นตามกฎหมายวิธีการของรัฐผู้รับ
3. ความตกลงฉบับนี้มีพระราชบัญญัติการปฏิบัติเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศในการดำเนินการตามคำพิพากษาคดีอาญา พ.ศ. 2527 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2530 เป็นกฎหมายรองรับ ดังนั้น จึงไม่ต้องขอความเห็นชอบต่อรัฐสภาก่อนการให้สัตยาบัน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 5 มิถุนายน 2550--จบ--