คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานศาลยุติธรรมเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนนำเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป
สำนักงานศาลยุติธรรมรายงานว่า คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมได้มีมติให้ยืนยันการดำเนินการร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่ผ่านการพิจาณาของวุฒิสภาแล้วต่อไป จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญดังนี้
1. กำหนดให้สหภาพแรงงาน หมายความถึง องค์การของลูกจ้างที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ด้วย (แก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามคำว่า “สหภาพแรงงาน” ในมาตรา 3 (ร่างมาตรา 3))
2. กำหนดให้ศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีละเมิดระหว่างลูกจ้างกับลูกจ้างที่เกิดจากการทำงานในทางการที่จ้างและคดีข้อพิพาทแรงงานที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานขอให้ชี้ขาดตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 8 (ร่างมาตรา 5))
3. กำหนดให้ศาลแรงงานมีอำนาจวินิจฉัยว่าคดีใดอยู่ในอำนาจศาลแรงงานโดยไม่ต้องให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัยในกรณีมีคำวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางอยู่แล้ว (เพิ่มมาตรา 9 วรรคสาม (ร่างมาตรา 6))
4. แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือก คุณสมบัติ วาระในการดำรงตำแหน่งและการพ้นจากตำแหน่งของผู้พิพากษาสมทบ (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 14 และมาตรา 15 และเพิ่มมาตรา 14/1 มาตรา 14/2 และมาตรา 14/3 (ร่างมาตรา 7 และ 8))
5. กำหนดให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการคัดค้านผู้พิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับแก่การคัดค้านผู้พิพากษาสมทบโดยอนุโลม โดยถือว่าการคัดค้านผู้พิพากษาอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่งอยู่แล้ว (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 19 (ร่างมาตรา 10))
6. ปรับปรุงการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแรงงานเกี่ยวกับการส่งคำคู่ความหรือเอกสารการนั่งพิจารณานอกเวลาราชการ การสืบพยานหลักฐานล่วงหน้าและการส่งสำเนาคำพิพากษาไปยังกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานให้เหมาะสมยิ่งขึ้น (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 25 มาตรา 28 และมาตรา 51 วรรคสอง เพิ่มมาตรา 32/1 และมาตรา 32/2 (ร่างมาตรา 11-14 ))
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 มีนาคม 2550--จบ--
สำนักงานศาลยุติธรรมรายงานว่า คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมได้มีมติให้ยืนยันการดำเนินการร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่ผ่านการพิจาณาของวุฒิสภาแล้วต่อไป จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญดังนี้
1. กำหนดให้สหภาพแรงงาน หมายความถึง องค์การของลูกจ้างที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ด้วย (แก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามคำว่า “สหภาพแรงงาน” ในมาตรา 3 (ร่างมาตรา 3))
2. กำหนดให้ศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีละเมิดระหว่างลูกจ้างกับลูกจ้างที่เกิดจากการทำงานในทางการที่จ้างและคดีข้อพิพาทแรงงานที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานขอให้ชี้ขาดตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 8 (ร่างมาตรา 5))
3. กำหนดให้ศาลแรงงานมีอำนาจวินิจฉัยว่าคดีใดอยู่ในอำนาจศาลแรงงานโดยไม่ต้องให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัยในกรณีมีคำวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางอยู่แล้ว (เพิ่มมาตรา 9 วรรคสาม (ร่างมาตรา 6))
4. แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือก คุณสมบัติ วาระในการดำรงตำแหน่งและการพ้นจากตำแหน่งของผู้พิพากษาสมทบ (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 14 และมาตรา 15 และเพิ่มมาตรา 14/1 มาตรา 14/2 และมาตรา 14/3 (ร่างมาตรา 7 และ 8))
5. กำหนดให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการคัดค้านผู้พิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับแก่การคัดค้านผู้พิพากษาสมทบโดยอนุโลม โดยถือว่าการคัดค้านผู้พิพากษาอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่งอยู่แล้ว (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 19 (ร่างมาตรา 10))
6. ปรับปรุงการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแรงงานเกี่ยวกับการส่งคำคู่ความหรือเอกสารการนั่งพิจารณานอกเวลาราชการ การสืบพยานหลักฐานล่วงหน้าและการส่งสำเนาคำพิพากษาไปยังกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานให้เหมาะสมยิ่งขึ้น (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 25 มาตรา 28 และมาตรา 51 วรรคสอง เพิ่มมาตรา 32/1 และมาตรา 32/2 (ร่างมาตรา 11-14 ))
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 มีนาคม 2550--จบ--