คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแนวทางการดำเนินงานและการบริหารงบประมาณตามโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนระดับตำบลจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประจำปี 2550 ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ โดยให้กระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณกำหนดเป็นระเบียบและดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปอย่างเร่งด่วน
กระทรวงมหาดไทยรายงานว่า
1. ตามที่คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2550 ได้มีมติเห็นชอบโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนระดับตำบลจังหวัดชายแดนภาคใต้ และมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยและศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) รับไปอำนวยการและประสานงานกับหน่วยงานอื่น ๆ ที่ประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติได้มีความเห็นเพิ่มเติมว่า โครงการนี้ควรให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในพื้นที่ให้มากที่สุด การบริหารจัดการในการให้ความช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาตามโครงการควรเน้นความฉับไวและทันเวลา ซึ่งอาจต้องจัดระบบงบประมาณให้คล่องตัวและรวดเร็ว รวมทั้งอาจให้ชุดทำงานสามารถมีงบประมาณจำนวนหนึ่งสำหรับแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ตามความเหมาะสม
2. กระทรวงมหาดไทยได้รับรายงานจาก ศอ.บต. ว่าได้พิจารณาเห็นว่า งบประมาณตามโครงการนี้ ในการตัดสินใจว่าจะดำเนินกิจกรรมหรือโครงการอะไรจะต้องเป็นการตัดสินใจของราษฎรในหมู่บ้านนั้น โดยราชการจะเป็นเพียง ผู้ให้คำปรึกษารวมทั้งการตัดสินใจที่จะเลือกซื้อพัสดุครุภัณฑ์จะต้องเป็นการตัดสินใจของราษฎรในหมู่บ้านนั้น โดยหลีกเลี่ยงการที่ภาคราชการอนุมัติอนุญาตในการจัดซื้อจัดหา ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องวางแนวทางในการบริหารงบประมาณโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนระดับตำบลจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประจำปี 2550 ขึ้นใหม่ ดังนี้
2.1 ผู้นำพลังประชาชนจัดให้มีการประชุมเวทีประชาคมหมู่บ้าน โดยให้มีผู้เข้าร่วมประชุมอย่างน้อยครัวเรือนละ 1 คน และไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของครัวเรือนทั้งหมดที่มีอยู่ในหมู่บ้านเพื่อร่วมกันคิดค้นปัญหา เสนอความต้องการ ร่วมกันตัดสินใจ จัดลำดับความสำคัญในการแก้ไขปัญหา พร้อมกับคัดเลือก “คณะกรรมการโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนระดับหมู่บ้าน” จำนวน 12 — 15 คน โดยให้ประกอบด้วยผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา คณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด ไม่น้อยกว่า 7 คน ร่วมเป็นคณะกรรมการฯ เพื่อรับผิดชอบในการกำหนดแนวทาง
การแก้ไขปัญหาและจัดทำโครงการในรายละเอียด รวมทั้งการบริหารจัดการโครงการของหมู่บ้าน ทั้งนี้ให้คณะกรรมการฯ คัดเลือกกันเองให้มีประธาน 1 คน เลขานุการ 1 คน และเหรัญญิก 1 คน โดยให้นายอำเภอเป็นผู้ออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการฯ ดังกล่าว
2.2 ทีมพัฒนาคุณภาพชีวิตในระดับตำบล ซึ่งประกอบด้วยปลัดอำเภอ ผู้เป็นหัวหน้าประจำตำบล พัฒนากรผู้ประสานงานประจำตำบล เกษตรตำบล สาธารณสุขตำบล ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล และครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียนจะเป็นผู้สนับสนุนให้เกิดการประชุมประชาคม ตามข้อ 2.1 และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการจัดทำโครงการแก่คณะกรรมการฯ รวมทั้งการให้คำแนะนำทางวิชาการในเรื่องรูปแบบรายการ ประมาณการราคา และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.3 คณะกรรมการฯ ต้องเสนอโครงการดังกล่าวต่อนายอำเภอซึ่งเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบ หากนายอำเภอไม่ให้ความเห็นชอบโครงการใดจะต้องชี้แจงเหตุผลต่อผู้ว่าราชการจังหวัด หากผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นชอบตามข้อเสนอของคณะกรรมการฯ ก็ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดอนุมัติโครงการได้ แต่หากผู้ว่าราชการจังหวัดไม่เห็นชอบตามข้อเสนอของคณะกรรมการฯ ให้เสนอผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ผอ.ศอ.บต.) เป็นผู้พิจารณาวินิจฉัย
2.4 ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแจ้งผลการอนุมัติโครงการและวงเงินดำเนินโครงการให้ ผอ.ศอ.บต. ทราบเพื่อพิจารณาอนุมัติวงเงินให้กับคณะกรรมการฯ
2.5 ให้คณะกรรมการฯ เปิดบัญชีกับธนาคารกรุงไทย ในชื่อบัญชีว่า “โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนระดับหมู่บ้าน..... ตำบล......อำเภอ....... จังหวัด.......” โดยมีเงื่อนไขการสั่งจ่าย 2 ใน 3 จากประธาน คณะกรรมการฯ เลขานุการ และเหรัญญิก โดยให้ทีมพัฒนาคุณภาพชีวิตเป็นผู้รวบรวมสำเนาบัญชีธนาคารฯ นำส่งนายอำเภอ เพื่อรายงานให้ ศอ.บต. ทราบ
2.6 การจ่ายเงินของ ศอ.บต. จะจ่ายเป็นเช็คหรือโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร ตามข้อ 2.5 โดยเก็บหลักฐานการโอนเงินจากธนาคารฯ และใบสำคัญรับเงินที่ประธานคณะกรรมการฯ เป็นผู้เซ็นรับเงิน ประกอบการเบิกจ่ายเก็บไว้ที่ ศอ.บต. เพื่อรอการตรวจสอบ
2.7 ในการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างให้คณะกรรมการฯ อย่างน้อย 5 คนร่วมกันสำรวจความต้องการวัสดุอุปกรณ์ ราคา และร้านค้าที่จะต้องจัดซื้อ/จ้างตามโครงการหรือกิจกรรมที่ได้รับอนุมัติจากนายอำเภอหรือผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วแต่กรณี เสนอขอความเห็นชอบต่อประธานคณะกรรมการ
เมื่อประธานคณะกรรมการฯ เห็นชอบก็อนุมัติเบิกจ่ายเงิน ให้เหรัญญิกดำเนินการเบิกจ่ายเงินให้กับคณะกรรมการฯ ตามข้อ 2.7 ดำเนินการจัดซื้อ/จ้าง ต่อไป
2.8 ให้คณะกรรมการฯ อย่างน้อย 3 คน ซึ่งจะต้องไม่ซ้ำกับคณะกรรมการฯ ในข้อ 2.7 เป็นกรรมการตรวจรับพัสดุ
2.9 ให้คณะกรรมการฯ ตรวจสอบหลักฐานการจัดซื้อจัดจ้างและเมื่อเห็นว่าถูกต้อง ให้ลงนามรับรอง การจัดซื้อ/จ้างดังกล่าว และให้รายงานผลการดำเนินโครงการและผลการเบิกจ่ายให้นายอำเภอทราบ
สำหรับหลักฐานใบสำคัญการจัดซื้อจัดจ้างและหลักฐานการเบิกจ่ายเงินให้เก็บไว้ที่หมู่บ้านหรือตำบล และสำเนาเก็บไว้ที่อำเภอ 1 ชุด ซึ่งต้องประกอบด้วย
(1) โครงการที่ได้รับอนุมัติ
(2) ใบเสร็จรับเงินจากการซื้อ/จ้าง
(3) ใบตรวจรับจากคณะกรรมการตรวจรับ
ทั้งนี้ ให้นายอำเภอมอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบตามความเหมาะสม
2.10 ให้ทีมพัฒนาคุณภาพชีวิตเข้าไปตรวจสอบและติดตามผลการดำเนินงานและผลการเบิกจ่ายเงินให้เป็นไปตามโครงการที่ได้รับอนุมัติ และรายงานให้นายอำเภอทราบ เพื่อรวบรวมข้อมูลรายงานต่อผู้ว่าราชการจังหวัด และ ผอ.ศอ.บต. ทราบต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 มีนาคม 2550--จบ--
กระทรวงมหาดไทยรายงานว่า
1. ตามที่คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2550 ได้มีมติเห็นชอบโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนระดับตำบลจังหวัดชายแดนภาคใต้ และมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยและศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) รับไปอำนวยการและประสานงานกับหน่วยงานอื่น ๆ ที่ประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติได้มีความเห็นเพิ่มเติมว่า โครงการนี้ควรให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในพื้นที่ให้มากที่สุด การบริหารจัดการในการให้ความช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาตามโครงการควรเน้นความฉับไวและทันเวลา ซึ่งอาจต้องจัดระบบงบประมาณให้คล่องตัวและรวดเร็ว รวมทั้งอาจให้ชุดทำงานสามารถมีงบประมาณจำนวนหนึ่งสำหรับแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ตามความเหมาะสม
2. กระทรวงมหาดไทยได้รับรายงานจาก ศอ.บต. ว่าได้พิจารณาเห็นว่า งบประมาณตามโครงการนี้ ในการตัดสินใจว่าจะดำเนินกิจกรรมหรือโครงการอะไรจะต้องเป็นการตัดสินใจของราษฎรในหมู่บ้านนั้น โดยราชการจะเป็นเพียง ผู้ให้คำปรึกษารวมทั้งการตัดสินใจที่จะเลือกซื้อพัสดุครุภัณฑ์จะต้องเป็นการตัดสินใจของราษฎรในหมู่บ้านนั้น โดยหลีกเลี่ยงการที่ภาคราชการอนุมัติอนุญาตในการจัดซื้อจัดหา ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องวางแนวทางในการบริหารงบประมาณโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนระดับตำบลจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประจำปี 2550 ขึ้นใหม่ ดังนี้
2.1 ผู้นำพลังประชาชนจัดให้มีการประชุมเวทีประชาคมหมู่บ้าน โดยให้มีผู้เข้าร่วมประชุมอย่างน้อยครัวเรือนละ 1 คน และไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของครัวเรือนทั้งหมดที่มีอยู่ในหมู่บ้านเพื่อร่วมกันคิดค้นปัญหา เสนอความต้องการ ร่วมกันตัดสินใจ จัดลำดับความสำคัญในการแก้ไขปัญหา พร้อมกับคัดเลือก “คณะกรรมการโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนระดับหมู่บ้าน” จำนวน 12 — 15 คน โดยให้ประกอบด้วยผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา คณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด ไม่น้อยกว่า 7 คน ร่วมเป็นคณะกรรมการฯ เพื่อรับผิดชอบในการกำหนดแนวทาง
การแก้ไขปัญหาและจัดทำโครงการในรายละเอียด รวมทั้งการบริหารจัดการโครงการของหมู่บ้าน ทั้งนี้ให้คณะกรรมการฯ คัดเลือกกันเองให้มีประธาน 1 คน เลขานุการ 1 คน และเหรัญญิก 1 คน โดยให้นายอำเภอเป็นผู้ออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการฯ ดังกล่าว
2.2 ทีมพัฒนาคุณภาพชีวิตในระดับตำบล ซึ่งประกอบด้วยปลัดอำเภอ ผู้เป็นหัวหน้าประจำตำบล พัฒนากรผู้ประสานงานประจำตำบล เกษตรตำบล สาธารณสุขตำบล ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล และครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียนจะเป็นผู้สนับสนุนให้เกิดการประชุมประชาคม ตามข้อ 2.1 และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการจัดทำโครงการแก่คณะกรรมการฯ รวมทั้งการให้คำแนะนำทางวิชาการในเรื่องรูปแบบรายการ ประมาณการราคา และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.3 คณะกรรมการฯ ต้องเสนอโครงการดังกล่าวต่อนายอำเภอซึ่งเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบ หากนายอำเภอไม่ให้ความเห็นชอบโครงการใดจะต้องชี้แจงเหตุผลต่อผู้ว่าราชการจังหวัด หากผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นชอบตามข้อเสนอของคณะกรรมการฯ ก็ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดอนุมัติโครงการได้ แต่หากผู้ว่าราชการจังหวัดไม่เห็นชอบตามข้อเสนอของคณะกรรมการฯ ให้เสนอผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ผอ.ศอ.บต.) เป็นผู้พิจารณาวินิจฉัย
2.4 ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแจ้งผลการอนุมัติโครงการและวงเงินดำเนินโครงการให้ ผอ.ศอ.บต. ทราบเพื่อพิจารณาอนุมัติวงเงินให้กับคณะกรรมการฯ
2.5 ให้คณะกรรมการฯ เปิดบัญชีกับธนาคารกรุงไทย ในชื่อบัญชีว่า “โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนระดับหมู่บ้าน..... ตำบล......อำเภอ....... จังหวัด.......” โดยมีเงื่อนไขการสั่งจ่าย 2 ใน 3 จากประธาน คณะกรรมการฯ เลขานุการ และเหรัญญิก โดยให้ทีมพัฒนาคุณภาพชีวิตเป็นผู้รวบรวมสำเนาบัญชีธนาคารฯ นำส่งนายอำเภอ เพื่อรายงานให้ ศอ.บต. ทราบ
2.6 การจ่ายเงินของ ศอ.บต. จะจ่ายเป็นเช็คหรือโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร ตามข้อ 2.5 โดยเก็บหลักฐานการโอนเงินจากธนาคารฯ และใบสำคัญรับเงินที่ประธานคณะกรรมการฯ เป็นผู้เซ็นรับเงิน ประกอบการเบิกจ่ายเก็บไว้ที่ ศอ.บต. เพื่อรอการตรวจสอบ
2.7 ในการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างให้คณะกรรมการฯ อย่างน้อย 5 คนร่วมกันสำรวจความต้องการวัสดุอุปกรณ์ ราคา และร้านค้าที่จะต้องจัดซื้อ/จ้างตามโครงการหรือกิจกรรมที่ได้รับอนุมัติจากนายอำเภอหรือผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วแต่กรณี เสนอขอความเห็นชอบต่อประธานคณะกรรมการ
เมื่อประธานคณะกรรมการฯ เห็นชอบก็อนุมัติเบิกจ่ายเงิน ให้เหรัญญิกดำเนินการเบิกจ่ายเงินให้กับคณะกรรมการฯ ตามข้อ 2.7 ดำเนินการจัดซื้อ/จ้าง ต่อไป
2.8 ให้คณะกรรมการฯ อย่างน้อย 3 คน ซึ่งจะต้องไม่ซ้ำกับคณะกรรมการฯ ในข้อ 2.7 เป็นกรรมการตรวจรับพัสดุ
2.9 ให้คณะกรรมการฯ ตรวจสอบหลักฐานการจัดซื้อจัดจ้างและเมื่อเห็นว่าถูกต้อง ให้ลงนามรับรอง การจัดซื้อ/จ้างดังกล่าว และให้รายงานผลการดำเนินโครงการและผลการเบิกจ่ายให้นายอำเภอทราบ
สำหรับหลักฐานใบสำคัญการจัดซื้อจัดจ้างและหลักฐานการเบิกจ่ายเงินให้เก็บไว้ที่หมู่บ้านหรือตำบล และสำเนาเก็บไว้ที่อำเภอ 1 ชุด ซึ่งต้องประกอบด้วย
(1) โครงการที่ได้รับอนุมัติ
(2) ใบเสร็จรับเงินจากการซื้อ/จ้าง
(3) ใบตรวจรับจากคณะกรรมการตรวจรับ
ทั้งนี้ ให้นายอำเภอมอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบตามความเหมาะสม
2.10 ให้ทีมพัฒนาคุณภาพชีวิตเข้าไปตรวจสอบและติดตามผลการดำเนินงานและผลการเบิกจ่ายเงินให้เป็นไปตามโครงการที่ได้รับอนุมัติ และรายงานให้นายอำเภอทราบ เพื่อรวบรวมข้อมูลรายงานต่อผู้ว่าราชการจังหวัด และ ผอ.ศอ.บต. ทราบต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 มีนาคม 2550--จบ--