คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่เป็นการปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมในส่วนที่เกี่ยวกับใบอนุญาตผู้ประจำหน้าที่ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมในส่วนที่เกี่ยวกับใบอนุญาตผู้ประจำหน้าที่ พ.ศ. .... แล้วเห็นสมควรแก้ไขเพิ่มเติม ดังนี้
1. เพิ่มประเภทของค่าธรรมเนียมใบอนุญาตผู้ประจำหน้าที่และปรับลดอัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตผู้ประจำหน้าที่บางประเภทลง เนื่องจากมีการแก้ไขเพิ่มเติมภาคผนวก 1 แห่งอนุสัญญาว่าด้วยการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ที่ทำขึ้นที่เมืองชิคาโก เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2487 และเพื่อให้สอดคล้องกับอัตราค่าธรรมเนียมสากล
2. แยกประเภทของใบอนุญาตผู้ประจำหน้าที่และการรับรองใบอนุญาตผู้ประจำหน้าที่ซึ่งออกโดยรัฐภาคีแห่งอนุสัญญาหรือรัฐที่ได้ทำความตกลงกับประเทศไทย เพื่อความชัดเจนในการรับรองใบอนุญาตผู้ประจำหน้าที่ที่ออกโดยรัฐภาคีแห่งอนุสัญญาหรือรัฐที่ได้ทำความตกลงกับประเทศไทย
จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มาเพื่อดำเนินการ
ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ พ.ศ. 2549 โดยมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นสามสิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ดังนี้
(5) ใบอนุญาตผู้ประจำหน้าที่
(ก) นักบินศิษย์การบิน ฉบับละ 200 บาท
(ข) นักบินพาณิชย์ตรีประเภทเครื่องบิน
นาวาอากาศ เฮลิคอปเตอร์
หรืออากาศยานขึ้นลงทางดิ่ง ฉบับละ 5,000 บาท
(ค) นักบินผู้ช่วยเครื่องบิน ฉบับละ 5,000 บาท
(ง) นักบินพาณิชย์เอกประเภทเครื่องบิน
เฮลิคอปเตอร์
หรืออากาศยานขึ้นลงทางดิ่ง ฉบับละ 10,000 บาท
(จ) นักบินอากาศยานเบาพิเศษ ฉบับละ 1,000 บาท
(ฉ) พนักงานควบคุมการจราจรทางอากาศ
และนายช่างประจำอากาศยาน ฉบับละ 2,500 บาท
(ช) ผู้ประจำหน้าที่อื่น ๆ นอกจาก (ก) (ข) (ค) (ง) (จ) และ (ฉ) ฉบับละ 2,000 บาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมในส่วนที่เกี่ยวกับใบอนุญาตผู้ประจำหน้าที่ พ.ศ. .... แล้วเห็นสมควรแก้ไขเพิ่มเติม ดังนี้
1. เพิ่มประเภทของค่าธรรมเนียมใบอนุญาตผู้ประจำหน้าที่และปรับลดอัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตผู้ประจำหน้าที่บางประเภทลง เนื่องจากมีการแก้ไขเพิ่มเติมภาคผนวก 1 แห่งอนุสัญญาว่าด้วยการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ที่ทำขึ้นที่เมืองชิคาโก เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2487 และเพื่อให้สอดคล้องกับอัตราค่าธรรมเนียมสากล
2. แยกประเภทของใบอนุญาตผู้ประจำหน้าที่และการรับรองใบอนุญาตผู้ประจำหน้าที่ซึ่งออกโดยรัฐภาคีแห่งอนุสัญญาหรือรัฐที่ได้ทำความตกลงกับประเทศไทย เพื่อความชัดเจนในการรับรองใบอนุญาตผู้ประจำหน้าที่ที่ออกโดยรัฐภาคีแห่งอนุสัญญาหรือรัฐที่ได้ทำความตกลงกับประเทศไทย
จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มาเพื่อดำเนินการ
ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ พ.ศ. 2549 โดยมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นสามสิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ดังนี้
(5) ใบอนุญาตผู้ประจำหน้าที่
(ก) นักบินศิษย์การบิน ฉบับละ 200 บาท
(ข) นักบินพาณิชย์ตรีประเภทเครื่องบิน
นาวาอากาศ เฮลิคอปเตอร์
หรืออากาศยานขึ้นลงทางดิ่ง ฉบับละ 5,000 บาท
(ค) นักบินผู้ช่วยเครื่องบิน ฉบับละ 5,000 บาท
(ง) นักบินพาณิชย์เอกประเภทเครื่องบิน
เฮลิคอปเตอร์
หรืออากาศยานขึ้นลงทางดิ่ง ฉบับละ 10,000 บาท
(จ) นักบินอากาศยานเบาพิเศษ ฉบับละ 1,000 บาท
(ฉ) พนักงานควบคุมการจราจรทางอากาศ
และนายช่างประจำอากาศยาน ฉบับละ 2,500 บาท
(ช) ผู้ประจำหน้าที่อื่น ๆ นอกจาก (ก) (ข) (ค) (ง) (จ) และ (ฉ) ฉบับละ 2,000 บาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--