การรายงานความก้าวหน้าการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง ขออนุมัติหลักการแผนพัฒนาเพิ่มพื้นที่ชลประทาน

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday March 2, 2011 16:51 —มติคณะรัฐมนตรี

เรื่อง การรายงานความก้าวหน้าการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง ขออนุมัติหลักการแผนพัฒนาเพิ่ม

พื้นที่ชลประทานให้เต็มศักยภาพ 60 ล้านไร่

คณะรัฐมนตรีรับทราบความก้าวหน้าการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง ขออนุมัติหลักการแผนพัฒนาเพิ่มพื้นที่ชลประทานให้เต็มศักยภาพ 60 ล้านไร่ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ

สาระสำคัญของเรื่อง

กษ. โดยกรมชลประทานได้รายงานความก้าวหน้าการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีสรุปได้ดังนี้

1. กรมชลประทานได้จัดตั้งคณะทำงานโครงการจัดทำแผนพัฒนาการชลประทานระดับลุ่มน้ำอย่างเป็นระบบ เพื่อพิจารณาปรับปรุงแผนพัฒนาเพิ่มพื้นที่ชลประทานฯ

2. กรมชลประทานได้เสนอผลการดำเนินงานในการปรับปรุงแผนพัฒนาเพิ่มพื้นที่ชลประทานฯ ต่อคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติเพื่อทราบแล้ว เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2553 โดยสรุปสาระสำคัญของแผนพัฒนาการชลประทานระดับลุ่มน้ำอย่างเป็นระบบ (กรอบน้ำ 60 ล้านไร่) ดังนี้

2.1 กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาและบริหารจัดการน้ำ แยกเป็นมาตรการด้านการใช้สิ่งก่อสร้าง และมาตรการด้านการบริหารจัดการ

ยุทธศาสตร์การพัฒนาและบริหารจัดการน้ำ

          มาตรการด้านการใช้สิ่งก่อสร้าง                               มาตรการด้านการบริหารจัดการ
          1) เน้นการพัฒนาโครงการและการใช้น้ำในลุ่มน้ำ                  เป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี การประสานกับทุกภาค
          เป็นสำคัญ โดยเฉพาะพื้นที่ที่ประสบภาวะขาดแคลนน้ำและ             ส่วน และการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการแหล่งกัก
          อุทกภัย แล้วจึงพิจารณาแนวทางการผันน้ำระหว่างลุ่มน้ำใน            เก็บน้ำ และโครงการชลประทานภายในลุ่มน้ำและ
          อันดับ ถัดไป                                             ระหว่างลุ่มน้ำ มีแผนงาน/โครงการที่สำคัญ ได้แก่

1) การปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารจัดการอ่างเก็บน้ำ

2) ดำเนินแผนงาน/โครงการตามประเภทของอาคารชลประทาน 2) การใช้ระบบโทรมาตรเพื่อติดตามและคาดการณ์

ได้แก่ อ่างเก็บน้ำ ฝาย ประตูระบายน้ำ เขื่อนระบายน้ำ ระบบสูบ สถานการณ์น้ำ

          น้ำด้วยไฟฟ้า แก้มลิง โครงข่ายน้ำ ระบบส่งน้ำ ระบบระบายน้ำ        3) การส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ
          รวมถึงการปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพโครงการชลประทานเดิม          น้ำชลประทาน
          และระบบคันคูน้ำในระดับไร่นา                                4) การตรวจสอบความปลอดภัยเขื่อนและอาคาร

ชลประทาน

5) การลดการใช้น้ำจากการปรับเปลี่ยนรูปแบบ

การเกษตร

6) การบูรณาการข้อมูลโครงการระหว่างหน่วยงานที่

เกี่ยวข้อง

2.2 กำหนดแผนการดำเนินการพัฒนาแหล่งน้ำ แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ แผนระยะสั้น (ก่อสร้างในปี พ.ศ. 2553-2555) แผนระยะกลาง (ก่อสร้างในปี พ.ศ.2556-2560) และแผนระยะยาว (ก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ.2561 เป็นต้นไป) โดยแผนระยะสั้นจะเป็นแผนงานที่มีความพร้อม สามารถก่อสร้างได้ทันที ส่วนแผนระยะกลางและระยะยาวจะเป็นแผนงานที่ยังอยู่ระหว่างการศึกษาความเหมาะสมของโครงการ ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และการดำเนินการด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน

2.3 จากแผนพัฒนาเพิ่มพื้นที่ชลประทานฯ ดังกล่าว คาดว่าจะสามารถเก็บกักน้ำได้เพิ่มเติมอีกประมาณ 26,603 ล้านลูกบาศก์เมตร และมีพื้นที่ชลประทานเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 34.04 ล้านไร่ เมื่อรวมกับปริมาณน้ำเก็บกักและพื้นที่ชลประทานที่มีอยู่ในปัจจุบัน จะทำให้ประเทศไทยมีแหล่งเก็บกักน้ำไว้ใช้ 102,973 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือประมาณร้อยละ 52 ของปริมาณน้ำท่าในประเทศ และถ้าสามารถดำเนินการได้ตามแผนจะทำให้มีพื้นที่ชลประทานเพิ่มขึ้นเป็นทั้งสิ้น 62.4 ล้านไร่

3. ในการดำเนินการตามแผนพัฒนาเพิ่มพื้นที่ชลประทานฯ มีปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการ และแนวทางการแก้ไขปัญหา ดังนี้

3.1 ปัญหาและอุปสรรค

3.1.1 ยังขาดการบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่มีภารกิจ และรับผิดชอบเรื่องการพัฒนาและบริหารจัดการน้ำ ซึ่งอาจส่งผลให้การกำหนดแผนงาน/โครงการ เพื่อการพัฒนาเพิ่มพื้นที่ชลประทานให้เต็มศักยภาพมีความซ้ำซ้อนกัน

3.1.2 ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการจัดทำแผนงาน/โครงการพัฒนาแหล่งน้ำให้เต็มศักยภาพ เช่น ความเหมาะสมด้านวิศวกรรม ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทัศนคติจากสังคม กฎหมาย/ระเบียบต่าง ๆ และงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินงาน

3.2 แนวทางการแก้ไข

3.2.1 โครงการขนาดใหญ่และขนาดกลาง กษ. ได้มอบหมายให้กรมชลประทานเป็นหน่วยงานกลางในการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานอื่น เพื่อดำเนินการตามแผนพัฒนาเพิ่มพื้นที่ชลประทานฯ โดยประสานกับหน่วยงานและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อบูรณาการและกำหนดพื้นที่เป้าหมาย ซึ่งกรมชลประทานจะได้ดำเนินการศึกษาความเหมาะสม วิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วน รวมทั้งปฏิบัติตามเงื่อนไขของกฎหมายด้านการศึกษาสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัดก่อนดำเนินงานก่อสร้างทุกโครงการ

3.2.2 โครงการขนาดเล็ก กรมชลประทานจะมอบหมายให้โครงการชลประทานในแต่ละจังหวัดดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่บูรณาการในการกำหนดแผนงานให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้เป็นกรอบการพัฒนาพื้นที่ชลประทานอย่างสมบูรณ์และยั่งยืน

4. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (18 ธันวาคม 2550) ที่ให้รับความเห็นชอบของกระทรวงการต่างประเทศ สำนักคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องไปประกอบการพิจารณา

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 1 มีนาคม 2554--จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ