คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างสัญญาความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่นฉบับชั่วคราว ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ทั้งนี้หากมีการเปลี่ยนแปลงในร่างสัญญาดังกล่าวโดยไม่มีนัยสำคัญ ให้กระทรวงการคลังสามารถดำเนินการได้โดยไม่จำเป็นต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง และมอบหมายให้ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยหรือผู้แทน ลงนามในร่างสัญญาความตกลงทวิภาคีฯ ดังกล่าว
ทั้งนี้ ร่างสัญญาความตกลงทวิภาคี ฯ ฉบับชั่วคราวดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. สัญญาความตกลงทวิภาคี ฯ เป็นลักษณะ Two - Way แสดงถึงความเป็นหุ้นส่วนของเศรษฐกิจระหว่างไทยกับญี่ปุ่นที่เท่าเทียมกัน ต่างจากฉบับเดิมที่ไทยกู้จากญี่ปุ่นฝ่ายเดียว ในรูปการแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ กับเงินบาท และเงินดอลลาร์สหรัฐฯ กับเงินเยน ซึ่งจะดำเนินการโดยธนาคารแห่งประเทศไทยและธนาคารกลางญี่ปุ่น
2. จำนวนวงเงินที่ไทยและญี่ปุ่นจะเบิก - ถอนระหว่างกันได้สูงสุด จำนวน 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
3. การกู้เงินแต่ละครั้งมีอายุ 90 วัน และสามารถต่ออายุได้ 7 ครั้ง การเบิก - ถอนหรือการต่ออายุสัญญาจะต้องดำเนินการภายใน 2 ปี (ต่างจากฉบับที่แล้วที่มีอายุ 3 ปี) อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ LIBOR + 150 basis points สำหรับการเบิกถอนครั้งแรกและการต่ออายุครั้งแรก หลังจากนั้นส่วนต่างจะเพิ่มขึ้น 50 basis points สำหรับการต่ออายุทุก 2 ครั้ง แต่จะต้องไม่สูงกว่า 300 basis points
4. ความช่วยเหลือทางการเงินภายใต้ความตกลงทวิภาคี ฯ จะสามารถเบิก - ถอนได้ก็ต่อเมื่อประเทศผู้ขอกู้เข้าโครงการความช่วยเหลือทางการเงินของ IMF หรือกำลังจะเข้าโครงการในระยะเวลาอันใกล้ อย่างไรก็ตามประเทศผู้ขอกู้สามารถเบิก - ถอนเงิน ระยะสั้นได้จำนวนร้อยละ 10 ของวงเงินทั้งหมดเป็นเวลา 180 วัน โดยไม่จำเป็นต้องเข้าโครงการ IMF
5. รัฐบาลไทยเป็นผู้ค้ำประกันการกู้ยืมเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย
สืบเนื่องจากสัญญาความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตรากับประเทศญี่ปุ่นได้หมดอายุไปตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม 2547 และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2547 ให้กระทรวงการคลังพิจารณาตรวจสอบความจำเป็นของการต่ออายุสัญญาความตกลงทวิภาคีฯ เนื่องจากสมาชิกอาเซียน + 3 กำลังอยู่ในระหว่างการทบทวน
สาระสำคัญของมาตรการริเริ่มเชียงใหม่ ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับกรอบระยะเวลาการดำเนินการของคณะทำงานทบทวนฯ ดังกล่าว กระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย ได้หารือร่วมกับกระทรวงการคลัง และธนาคารกลางญี่ปุ่น โดยทุกฝ่ายเห็นพ้องว่าควรจัดทำความตกลงทวิภาคีฯ ฉบับชั่วคราว โดยมีความแตกต่างจากสัญญาความตกลง ฯ ฉบับที่หมดอายุไปแล้ว กล่าวคือ เป็นลักษณะ Two - Way แสดงถึงความเป็นหุ้นส่วนเศรษฐกิจระหว่างไทยกับญี่ปุ่นที่เท่าเทียมกัน และการเบิกถอนหรือการต่ออายุสัญญาจะต้องดำเนินการภายใน 2 ปี ส่วนเงื่อนไขอื่นภายใต้สัญญายังมีลักษณะคงเดิม จึงเห็นควรให้ไทยลงนามในร่างสัญญาความตกลงทวิภาคี ฯ ดังกล่าว โดยมีเหตุผล คือ เป็นการสร้างความน่าเชื่อถือของไทยในตลาดการเงินระหว่างประเทศขึ้นมาเท่าเทียมกับญี่ปุ่น และความตกลงทวิภาคี ฯ ดังกล่าวมีนัยสำคัญเป็นสัญลักษณ์ของความร่วมมือในภูมิภาคมากกว่าจะมีการเบิกถอนจริง เพราะปัจจุบันฐานะการเงินของประเทศไทยมีความเข้มแข็งขึ้นมาก เมื่อเทียบกับช่วงที่เริ่มจัดทำความตกลงทวิภาคีฯ ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้น้อยที่จะมีการเบิกถอนระหว่างกัน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 มกราคม 2548--จบ--
ทั้งนี้ ร่างสัญญาความตกลงทวิภาคี ฯ ฉบับชั่วคราวดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. สัญญาความตกลงทวิภาคี ฯ เป็นลักษณะ Two - Way แสดงถึงความเป็นหุ้นส่วนของเศรษฐกิจระหว่างไทยกับญี่ปุ่นที่เท่าเทียมกัน ต่างจากฉบับเดิมที่ไทยกู้จากญี่ปุ่นฝ่ายเดียว ในรูปการแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ กับเงินบาท และเงินดอลลาร์สหรัฐฯ กับเงินเยน ซึ่งจะดำเนินการโดยธนาคารแห่งประเทศไทยและธนาคารกลางญี่ปุ่น
2. จำนวนวงเงินที่ไทยและญี่ปุ่นจะเบิก - ถอนระหว่างกันได้สูงสุด จำนวน 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
3. การกู้เงินแต่ละครั้งมีอายุ 90 วัน และสามารถต่ออายุได้ 7 ครั้ง การเบิก - ถอนหรือการต่ออายุสัญญาจะต้องดำเนินการภายใน 2 ปี (ต่างจากฉบับที่แล้วที่มีอายุ 3 ปี) อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ LIBOR + 150 basis points สำหรับการเบิกถอนครั้งแรกและการต่ออายุครั้งแรก หลังจากนั้นส่วนต่างจะเพิ่มขึ้น 50 basis points สำหรับการต่ออายุทุก 2 ครั้ง แต่จะต้องไม่สูงกว่า 300 basis points
4. ความช่วยเหลือทางการเงินภายใต้ความตกลงทวิภาคี ฯ จะสามารถเบิก - ถอนได้ก็ต่อเมื่อประเทศผู้ขอกู้เข้าโครงการความช่วยเหลือทางการเงินของ IMF หรือกำลังจะเข้าโครงการในระยะเวลาอันใกล้ อย่างไรก็ตามประเทศผู้ขอกู้สามารถเบิก - ถอนเงิน ระยะสั้นได้จำนวนร้อยละ 10 ของวงเงินทั้งหมดเป็นเวลา 180 วัน โดยไม่จำเป็นต้องเข้าโครงการ IMF
5. รัฐบาลไทยเป็นผู้ค้ำประกันการกู้ยืมเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย
สืบเนื่องจากสัญญาความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตรากับประเทศญี่ปุ่นได้หมดอายุไปตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม 2547 และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2547 ให้กระทรวงการคลังพิจารณาตรวจสอบความจำเป็นของการต่ออายุสัญญาความตกลงทวิภาคีฯ เนื่องจากสมาชิกอาเซียน + 3 กำลังอยู่ในระหว่างการทบทวน
สาระสำคัญของมาตรการริเริ่มเชียงใหม่ ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับกรอบระยะเวลาการดำเนินการของคณะทำงานทบทวนฯ ดังกล่าว กระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย ได้หารือร่วมกับกระทรวงการคลัง และธนาคารกลางญี่ปุ่น โดยทุกฝ่ายเห็นพ้องว่าควรจัดทำความตกลงทวิภาคีฯ ฉบับชั่วคราว โดยมีความแตกต่างจากสัญญาความตกลง ฯ ฉบับที่หมดอายุไปแล้ว กล่าวคือ เป็นลักษณะ Two - Way แสดงถึงความเป็นหุ้นส่วนเศรษฐกิจระหว่างไทยกับญี่ปุ่นที่เท่าเทียมกัน และการเบิกถอนหรือการต่ออายุสัญญาจะต้องดำเนินการภายใน 2 ปี ส่วนเงื่อนไขอื่นภายใต้สัญญายังมีลักษณะคงเดิม จึงเห็นควรให้ไทยลงนามในร่างสัญญาความตกลงทวิภาคี ฯ ดังกล่าว โดยมีเหตุผล คือ เป็นการสร้างความน่าเชื่อถือของไทยในตลาดการเงินระหว่างประเทศขึ้นมาเท่าเทียมกับญี่ปุ่น และความตกลงทวิภาคี ฯ ดังกล่าวมีนัยสำคัญเป็นสัญลักษณ์ของความร่วมมือในภูมิภาคมากกว่าจะมีการเบิกถอนจริง เพราะปัจจุบันฐานะการเงินของประเทศไทยมีความเข้มแข็งขึ้นมาก เมื่อเทียบกับช่วงที่เริ่มจัดทำความตกลงทวิภาคีฯ ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้น้อยที่จะมีการเบิกถอนระหว่างกัน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 มกราคม 2548--จบ--