คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานสถานการณ์ภัยธรรมชาติในช่วงฤดูฝนปี 2550 ณ วันที่ 8 สิหาคม 2550 ประกอบด้วย สถานการณ์ภัยธรรมชาติและผลกระทบด้านการเกษตร สถานการณ์น้ำ ผลการเพาะปลูกพืชฤดูฝน และการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร สรุปได้ดังนี้
สถานการณ์ภัยธรรมชาติและผลกระทบด้านการเกษตร
อุทกภัย ได้เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 5 — 7 สิหาคม 2550 ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากจากเทือกเขาพนมดงรัก เข้าท่วมบ้านเรือนและพื้นที่การเกษตร ในพื้นที่ 2 จังหวัด คือ จังหวัดศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ดังนี้
1. จังหวัดศรีสะเกษ พื้นที่ประสบภัยด้านพืช 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอโนนคูน กันทรลักษ์ ขุนหาญและอำเภอเบญจลักษณ เกษตรกรประสบภัย 3,258 ราย พื้นที่ประสบภัย 111,273 ไร่ คาดว่าจะเสียหาย 72,563 ไร่ แยกเป็นข้าว 72,583 ไร่ และ พืชสวน 25 ไร่ ด้านปศุสัตว์ พื้นที่ประสบภัย 1 อำเภอ 1 ตำบล ได้แก่ อำเภอขุนหาญ เกษตรกรประสบภัย 3 ราย สัตว์ตายและสูญหาย 4 ตัว การให้ความช่วยเหลือได้ส่งพืชอาหารสัตว์ (หญ้าแห้ง 500 ฟ่อน) รวมทั้งดูแลรักษาสุขภาพสัตว์ สนับสนุนยารักษาสัตว์และเวชภัณฑ์
สำหรับสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำห้วยตาจู อำเภอขุนหาญ ที่ระดับน้ำล้น Spil way เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2550 โครงการชลประทานศรีสะเกษได้ส่งเครื่องจักรกลเพื่อดำเนินการขุดเปิดทางระบายน้ำเพิ่มปัจจุบัน (8 ส.ค. 2550 ) ระดับน้ำในอ่าง ฯ ลดลงต่ำกว่าหลังทำนบดิน 2.82 เมตร และระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ อ่างเก็บน้ำห้วยตาจูมีความมั่นคงและแข็งแรงดี อยู่ในเกณฑ์ปลอดภัยแล้ว
2. จังหวัดอุบลราชธานี พื้นที่ประสบภัยด้านพืช 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอน้ำยืน ทุ่งศรีอุดม บุณฑริก สิรินธร และอำเภอนาจะหลวย เกษตรกรได้รับความเดือดร้อน 8,693 ราย พื้นที่การเกษตรประสบภัย 73,455 ไร่ คาดว่าจะเสียหาย 37,705 ไร่ แยกเป็น ข้าว 24,435 ไร่ พืชไร่ 7,810 ไร่ พืชสวน 5,460 ไร่
ฝนทิ้งช่วง สถานการณ์ฝนทิ้งช่วงในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ เลย หนองคาย นครพนม และมุกดาหาร
ด้านพืช (ช่วงเกิดภัยระหว่างวันที่ 2 มิถุนายน — 26 กรกฎาคม 2550) พื้นที่ประสบภัย 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเพชรบูรณ์ แพร่ อุตรดิตถ์ กาฬสินธุ์ นครราชสีมา ร้อยเอ็ด ยโสธร และลพบุรี เกษตรกร 14,026 ราย พื้นที่ประสบภัย 1,365,215 ไร่ พื้นที่ คาดว่าจะเสียหาย 1,327,639 ไร่ แบ่งเป็นข้าว 1,183,867 ไร่ พืชไร่ 143,688 ไร่ พืชสวน 84 ไร่
สถานการณ์น้ำ
1. สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่
สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ ณ วันที่ 8 สิหาคม 2550 มีปริมาตรน้ำในอ่าง ฯ ทั้งหมด 45,361 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 66 ของความจุอ่าง ฯ ทั้งหมด น้อยกว่าปี 2549 (48,453 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 3,092 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 5 ของความจุอ่าง ฯ ทั้งหมด
อ่างเก็บน้ำภูมิพลและอ่างเก็บน้ำสิริกิติ์ มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ ทั้งหมด 8,522 และ 5,683 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ คิดเป็นร้อยละ 63 และ 60 ของความจุอ่างฯ ทั้งหมด ตามลำดับ โดยมีปริมาตรน้ำทั้งสองอ่างฯ รวมกัน จำนวน 14,205 ล้านลูกบาศก์เมตร
อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาตรน้ำในอ่าง ฯ น้อยกว่า 30 % ของความจุอ่าง ฯ มีจำนวน 5 อ่าง ฯ ได้แก่ อ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวง จ.ชียงใหม่ อ่างเก็บน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี อ่างเก็บน้ำเขื่อนจุฬาภรณ์ จ.ชัยภูมิ อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำนางรอง จ.บุรีรัมย์ และอ่างเก็บน้ำเขื่อนห้วยหลวง จ.อุดรธานี
อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาตรน้ำในอ่าง ฯ 80 % ของความจุอ่าง ฯ มีจำนวน 3 อ่าง ฯ ได้แก่ อ่างเก็บน้ำศรีนครินทร์ จ.กาญจนบุรี อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล จ.ระยอง และอ่างเก็บน้ำประแสร์ จ.ระยอง
2. สภาพน้ำท่า
ภาคเหนือ (ลุ่มน้ำปิง วัง ยม น่าน) มีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ น้อยถึงน้อยวิกฤติ ยกเว้นน้ำยมที่จังหวัดพิษณุโลก และน้ำน่านที่จังหวัดนครสวรรค์ มีระดับน้ำปกติ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ลุ่มน้ำชี มูล โขง) มีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ น้อยถึงน้อยวิกฤติ ยกเว้นลุ่มน้ำโขงที่จังหวัดเลย อำเภอเชียงคาน และจังหวัดนครพนม อำเภอเมือง มีระดับน้ำปกติ และที่จังหวัดหนองคาย อำเภอเมือง มีระดับน้ำมาก (ต่ำกว่าตลิ่ง 2.85 เมตร) ลุ่มน้ำมูลที่จังหวัดอุบลราชธานี อำเภอเมือง มีระดับน้ำปกติ และที่จังหวัดศรีสะเกษ อำเภอทรารมย์ มีระดับน้ำมาก (ต่ำกว่าตลิ่ง 1.37 เมตร)
ภาคกลาง (แม่น้ำเจ้าพระยา) มีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ น้อยถึงน้อยวิกฤติ
ภาคตะวันตก (แม่น้ำแควน้อย แควใหญ่) มีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ น้อยถึงน้อยวิกฤติ ยกเว้นแม่น้ำแม่กลองที่จังหวัดกาญจนบุรี อำเภอเมือง มีระดับน้ำมาก (ต่ำกว่าตลิ่ง 0.25 เมตร) และแม่น้ำท่าจีนที่จังหวัดนครปฐม อำเภอนครชัยศรี มีระดับน้ำปกติ
ภาคตะวันออก (แม่น้ำนครนายก แม่น้ำจันทบุรี ฯลฯ) มีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ น้อยถึงน้อยวิกฤติ
ภาคใต้ (แม่น้ำปัตตานี แม่น้ำโกลก ฯลฯ) มีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ น้อยถึงน้อยวิกฤติ ยกเว้นแม่น้ำตาปี ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอเคียนซา และแม่น้ำปัตตานี ที่จังหวัดยะลา อำเภอเมือง มีระดับน้ำปกติ
ผลการเพาะปลูกพืชฤดูฝน
ผลการเพาะปลูกข้าวและพืชฤดูฝนในเขตชลประทาน ณ วันที่ 20 กรกฎาคม 2550 มีพื้นที่ชลประทานขนาดใหญ่และขนาดกลาง 23.15 ล้านไร่ ปลูกแล้ว 7.99 ล้านไร่ แบ่งเป็น ข้าวนาปี 7.87 ล้านไร่ พืชไร่ — พืชผัก 0.12 ล้านไร่
การให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร
1. การสนับสนุนเครื่องสูบน้ำ รวม 214 เครื่อง แบ่งเป็น
เพื่อช่วยเหลือพื้นที่ประสบอุทกภัย จำนวน 62 เครื่อง ในพื้นที่ 7 จังหวัด คือ จังหวัดเชียงใหม่ 34 เครื่อง ชัยนาท 5 เครื่อง อ่างทอง 5 เครื่อง นนทบุรี 10 เครื่อง ปทุมธานี 2 เครื่อง สมุทรสาคร 3 เครื่อง และนครศรีธรรมราช 3 เครื่อง
เพื่อช่วยเหลือสภาวะฝนทิ้งช่วงในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 227 เครื่อง ในพื้นที่ 17 จังหวัด คือ จังหวัดอุดรธานี 6 เครื่อง หนองคาย 13 เครื่อง เลข 6 เครื่อง สกลนคร 8 เครื่อง ขอนแก่น 8 เครื่อง มหาสารคาม 1 เครื่อง ร้อยเอ็ด 53 เครื่อง กาฬสินธุ์ 39 เครื่อง ชัยภูมิ 7 เครื่อง ยโสธร 6 เครื่อง นครพนม 11 เครื่อง มุกดาหาร 2 เครื่อง อำนาจเจริญ 10 เครื่อง นครราชสีมา 43 เครื่อง บุรีรัมย์ 7 เครื่อง สุรินทร์ 3 เครื่อง และศรีสะเกษ 4 เครื่อง
2. การปฏิบัติการฝนหลวง มีหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง จำนวน 7 ศูนย์ จำนวน 9 หน่วยปฏิบัติการและ 4 ฐาน เติมสารฝนหลวง ได้แก่ หน่วยฯ เชียงใหม่ หน่วยฯ พิษณุโลก หน่วยฯ ลพบุรี หน่วยฯ ขอนแก่น หน่วยฯ อุดรธานี หน่วยฯ นครราชสีมา หน่วยฯ อุบลราชธานี หน่วยฯ สระแก้ว และหน่วยฯ หัวหิน และฐานเติมสารฝนหลวง จ.ตาก จ.นครสวรรค์ จ.ระยอง จ.ราชบุรี
ดำเนินการช่วยเหลือพื้นที่ขาดแคลนน้ำ โดยกำหนดพื้นที่เป้าหมายปฏิบัติการฝนหลวง ดังนี้
1. เพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำให้มีปริมาณน้ำเก็บกักไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ของความจุของอ่างก่อนสิ้นฤดูฝนโดยเฉพาะอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ และขนาดกลาง โดยจะเน้นอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำเก็บกักต่ำในช่วงต้นปี 2550 จำนวน 2 อ่าง ได้แก่ ภาคกลาง (ทับเสลา มีปริมาณน้ำเก็บกัก 33%) และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ลำนางรองมีปริมาณน้ำเก็บกัก 31 %)
2. เน้นปฏิบัติการฝนหลวงบริเวณจังหวัดต่าง ๆ ที่มีผู้ขอรับบริการฝนหลวง
ผลการปฏิบัติการ ประจำเดือนกรกฎาคม 2550 ขึ้นปฏิบัติการ 825 เที่ยวบิน มีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลาง ถึง หนัก ถึงหนักมาก ในพื้นที่ 52 จังหวัด มีพื้นที่ที่ได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติการฝนหลวง ประมาณ 156.19 ล้านไร่ (คิดเป็นพื้นที่ที่ได้รับประโยชน์ในพื้นที่การเกษตรและป่าไม้ ประมาณ 112.54 ล้านไร่
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 21 สิงหาคม 2550--จบ--
สถานการณ์ภัยธรรมชาติและผลกระทบด้านการเกษตร
อุทกภัย ได้เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 5 — 7 สิหาคม 2550 ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากจากเทือกเขาพนมดงรัก เข้าท่วมบ้านเรือนและพื้นที่การเกษตร ในพื้นที่ 2 จังหวัด คือ จังหวัดศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ดังนี้
1. จังหวัดศรีสะเกษ พื้นที่ประสบภัยด้านพืช 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอโนนคูน กันทรลักษ์ ขุนหาญและอำเภอเบญจลักษณ เกษตรกรประสบภัย 3,258 ราย พื้นที่ประสบภัย 111,273 ไร่ คาดว่าจะเสียหาย 72,563 ไร่ แยกเป็นข้าว 72,583 ไร่ และ พืชสวน 25 ไร่ ด้านปศุสัตว์ พื้นที่ประสบภัย 1 อำเภอ 1 ตำบล ได้แก่ อำเภอขุนหาญ เกษตรกรประสบภัย 3 ราย สัตว์ตายและสูญหาย 4 ตัว การให้ความช่วยเหลือได้ส่งพืชอาหารสัตว์ (หญ้าแห้ง 500 ฟ่อน) รวมทั้งดูแลรักษาสุขภาพสัตว์ สนับสนุนยารักษาสัตว์และเวชภัณฑ์
สำหรับสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำห้วยตาจู อำเภอขุนหาญ ที่ระดับน้ำล้น Spil way เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2550 โครงการชลประทานศรีสะเกษได้ส่งเครื่องจักรกลเพื่อดำเนินการขุดเปิดทางระบายน้ำเพิ่มปัจจุบัน (8 ส.ค. 2550 ) ระดับน้ำในอ่าง ฯ ลดลงต่ำกว่าหลังทำนบดิน 2.82 เมตร และระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ อ่างเก็บน้ำห้วยตาจูมีความมั่นคงและแข็งแรงดี อยู่ในเกณฑ์ปลอดภัยแล้ว
2. จังหวัดอุบลราชธานี พื้นที่ประสบภัยด้านพืช 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอน้ำยืน ทุ่งศรีอุดม บุณฑริก สิรินธร และอำเภอนาจะหลวย เกษตรกรได้รับความเดือดร้อน 8,693 ราย พื้นที่การเกษตรประสบภัย 73,455 ไร่ คาดว่าจะเสียหาย 37,705 ไร่ แยกเป็น ข้าว 24,435 ไร่ พืชไร่ 7,810 ไร่ พืชสวน 5,460 ไร่
ฝนทิ้งช่วง สถานการณ์ฝนทิ้งช่วงในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ เลย หนองคาย นครพนม และมุกดาหาร
ด้านพืช (ช่วงเกิดภัยระหว่างวันที่ 2 มิถุนายน — 26 กรกฎาคม 2550) พื้นที่ประสบภัย 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเพชรบูรณ์ แพร่ อุตรดิตถ์ กาฬสินธุ์ นครราชสีมา ร้อยเอ็ด ยโสธร และลพบุรี เกษตรกร 14,026 ราย พื้นที่ประสบภัย 1,365,215 ไร่ พื้นที่ คาดว่าจะเสียหาย 1,327,639 ไร่ แบ่งเป็นข้าว 1,183,867 ไร่ พืชไร่ 143,688 ไร่ พืชสวน 84 ไร่
สถานการณ์น้ำ
1. สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่
สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ ณ วันที่ 8 สิหาคม 2550 มีปริมาตรน้ำในอ่าง ฯ ทั้งหมด 45,361 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 66 ของความจุอ่าง ฯ ทั้งหมด น้อยกว่าปี 2549 (48,453 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 3,092 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 5 ของความจุอ่าง ฯ ทั้งหมด
อ่างเก็บน้ำภูมิพลและอ่างเก็บน้ำสิริกิติ์ มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ ทั้งหมด 8,522 และ 5,683 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ คิดเป็นร้อยละ 63 และ 60 ของความจุอ่างฯ ทั้งหมด ตามลำดับ โดยมีปริมาตรน้ำทั้งสองอ่างฯ รวมกัน จำนวน 14,205 ล้านลูกบาศก์เมตร
อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาตรน้ำในอ่าง ฯ น้อยกว่า 30 % ของความจุอ่าง ฯ มีจำนวน 5 อ่าง ฯ ได้แก่ อ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวง จ.ชียงใหม่ อ่างเก็บน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี อ่างเก็บน้ำเขื่อนจุฬาภรณ์ จ.ชัยภูมิ อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำนางรอง จ.บุรีรัมย์ และอ่างเก็บน้ำเขื่อนห้วยหลวง จ.อุดรธานี
อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาตรน้ำในอ่าง ฯ 80 % ของความจุอ่าง ฯ มีจำนวน 3 อ่าง ฯ ได้แก่ อ่างเก็บน้ำศรีนครินทร์ จ.กาญจนบุรี อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล จ.ระยอง และอ่างเก็บน้ำประแสร์ จ.ระยอง
2. สภาพน้ำท่า
ภาคเหนือ (ลุ่มน้ำปิง วัง ยม น่าน) มีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ น้อยถึงน้อยวิกฤติ ยกเว้นน้ำยมที่จังหวัดพิษณุโลก และน้ำน่านที่จังหวัดนครสวรรค์ มีระดับน้ำปกติ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ลุ่มน้ำชี มูล โขง) มีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ น้อยถึงน้อยวิกฤติ ยกเว้นลุ่มน้ำโขงที่จังหวัดเลย อำเภอเชียงคาน และจังหวัดนครพนม อำเภอเมือง มีระดับน้ำปกติ และที่จังหวัดหนองคาย อำเภอเมือง มีระดับน้ำมาก (ต่ำกว่าตลิ่ง 2.85 เมตร) ลุ่มน้ำมูลที่จังหวัดอุบลราชธานี อำเภอเมือง มีระดับน้ำปกติ และที่จังหวัดศรีสะเกษ อำเภอทรารมย์ มีระดับน้ำมาก (ต่ำกว่าตลิ่ง 1.37 เมตร)
ภาคกลาง (แม่น้ำเจ้าพระยา) มีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ น้อยถึงน้อยวิกฤติ
ภาคตะวันตก (แม่น้ำแควน้อย แควใหญ่) มีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ น้อยถึงน้อยวิกฤติ ยกเว้นแม่น้ำแม่กลองที่จังหวัดกาญจนบุรี อำเภอเมือง มีระดับน้ำมาก (ต่ำกว่าตลิ่ง 0.25 เมตร) และแม่น้ำท่าจีนที่จังหวัดนครปฐม อำเภอนครชัยศรี มีระดับน้ำปกติ
ภาคตะวันออก (แม่น้ำนครนายก แม่น้ำจันทบุรี ฯลฯ) มีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ น้อยถึงน้อยวิกฤติ
ภาคใต้ (แม่น้ำปัตตานี แม่น้ำโกลก ฯลฯ) มีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ น้อยถึงน้อยวิกฤติ ยกเว้นแม่น้ำตาปี ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอเคียนซา และแม่น้ำปัตตานี ที่จังหวัดยะลา อำเภอเมือง มีระดับน้ำปกติ
ผลการเพาะปลูกพืชฤดูฝน
ผลการเพาะปลูกข้าวและพืชฤดูฝนในเขตชลประทาน ณ วันที่ 20 กรกฎาคม 2550 มีพื้นที่ชลประทานขนาดใหญ่และขนาดกลาง 23.15 ล้านไร่ ปลูกแล้ว 7.99 ล้านไร่ แบ่งเป็น ข้าวนาปี 7.87 ล้านไร่ พืชไร่ — พืชผัก 0.12 ล้านไร่
การให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร
1. การสนับสนุนเครื่องสูบน้ำ รวม 214 เครื่อง แบ่งเป็น
เพื่อช่วยเหลือพื้นที่ประสบอุทกภัย จำนวน 62 เครื่อง ในพื้นที่ 7 จังหวัด คือ จังหวัดเชียงใหม่ 34 เครื่อง ชัยนาท 5 เครื่อง อ่างทอง 5 เครื่อง นนทบุรี 10 เครื่อง ปทุมธานี 2 เครื่อง สมุทรสาคร 3 เครื่อง และนครศรีธรรมราช 3 เครื่อง
เพื่อช่วยเหลือสภาวะฝนทิ้งช่วงในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 227 เครื่อง ในพื้นที่ 17 จังหวัด คือ จังหวัดอุดรธานี 6 เครื่อง หนองคาย 13 เครื่อง เลข 6 เครื่อง สกลนคร 8 เครื่อง ขอนแก่น 8 เครื่อง มหาสารคาม 1 เครื่อง ร้อยเอ็ด 53 เครื่อง กาฬสินธุ์ 39 เครื่อง ชัยภูมิ 7 เครื่อง ยโสธร 6 เครื่อง นครพนม 11 เครื่อง มุกดาหาร 2 เครื่อง อำนาจเจริญ 10 เครื่อง นครราชสีมา 43 เครื่อง บุรีรัมย์ 7 เครื่อง สุรินทร์ 3 เครื่อง และศรีสะเกษ 4 เครื่อง
2. การปฏิบัติการฝนหลวง มีหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง จำนวน 7 ศูนย์ จำนวน 9 หน่วยปฏิบัติการและ 4 ฐาน เติมสารฝนหลวง ได้แก่ หน่วยฯ เชียงใหม่ หน่วยฯ พิษณุโลก หน่วยฯ ลพบุรี หน่วยฯ ขอนแก่น หน่วยฯ อุดรธานี หน่วยฯ นครราชสีมา หน่วยฯ อุบลราชธานี หน่วยฯ สระแก้ว และหน่วยฯ หัวหิน และฐานเติมสารฝนหลวง จ.ตาก จ.นครสวรรค์ จ.ระยอง จ.ราชบุรี
ดำเนินการช่วยเหลือพื้นที่ขาดแคลนน้ำ โดยกำหนดพื้นที่เป้าหมายปฏิบัติการฝนหลวง ดังนี้
1. เพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำให้มีปริมาณน้ำเก็บกักไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ของความจุของอ่างก่อนสิ้นฤดูฝนโดยเฉพาะอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ และขนาดกลาง โดยจะเน้นอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำเก็บกักต่ำในช่วงต้นปี 2550 จำนวน 2 อ่าง ได้แก่ ภาคกลาง (ทับเสลา มีปริมาณน้ำเก็บกัก 33%) และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ลำนางรองมีปริมาณน้ำเก็บกัก 31 %)
2. เน้นปฏิบัติการฝนหลวงบริเวณจังหวัดต่าง ๆ ที่มีผู้ขอรับบริการฝนหลวง
ผลการปฏิบัติการ ประจำเดือนกรกฎาคม 2550 ขึ้นปฏิบัติการ 825 เที่ยวบิน มีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลาง ถึง หนัก ถึงหนักมาก ในพื้นที่ 52 จังหวัด มีพื้นที่ที่ได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติการฝนหลวง ประมาณ 156.19 ล้านไร่ (คิดเป็นพื้นที่ที่ได้รับประโยชน์ในพื้นที่การเกษตรและป่าไม้ ประมาณ 112.54 ล้านไร่
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 21 สิงหาคม 2550--จบ--