แท็ก
การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
ประสิทธิ์ โฆวิไลกูล
สำนักนายกรัฐมนตรี
ร่างพระราชบัญญัติ
กระทรวงคมนาคม
โรงแรมคอนราด
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการร่างพระราชบัญญัติการทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาก่อนนำเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป ทั้งนี้ มอบหมายให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล) หารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับการติดตั้งป้ายโฆษณา
กระทรวงคมนาคมเสนอว่า การทางพิเศษแห่งประเทศไทยเห็นควรให้ดำเนินการร่างพระราชบัญญัติทางการพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ. .... ต่อไป จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
ร่างพระราชบัญญัติการทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ. .... มีสาระสำคัญดังนี้
1. กำหนดให้ยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 และร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 พ.ศ. 2530 (ร่างมาตรา 3)
2. กำหนดคำนิยาม “ทางพิเศษ” ให้หมายความรวมถึงทางซึ่งได้รับโอนหรือได้รับมอบ และคำนิยาม “รถ” ให้หมายความว่ายานพาหนะทางบกทุกชนิดยกเว้นรถไฟและรถราง (ร่างมาตรา 4)
3. กำหนดชื่อภาษาอังกฤษของทางการพิเศษแห่งประเทศไทย หรือ “กทพ.” “EXPRESSWAY AND RAPID TRANSIT AUTHORITY OF THAILAND” ชื่อย่อ “ETA” และให้มีตราเครื่องหมาย (ร่างมาตรา 6)
4. กำหนดห้ามมิให้ผู้ใดใช้ชื่อ “ทางพิเศษ” หรือ “ทางด่วน” เว้นแต่ได้รับอนุญาตจาก กทพ. (ร่างมาตรา 7)
5. กำหนดให้เพิ่มเติมวัตถุประสงค์ของ กทพ. ให้สามารถดำเนินงานหรือธุรกิจเกี่ยวกับทางพิเศษ และธุรกิจอื่นที่เกี่ยวกับทางพิเศษหรือที่เป็นประโยชน์แก่ กทพ. (ร่างมาตรา 8)
6. กำหนดเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของ กทพ. ให้
6.1 สามารถกำหนดมาตรการเพื่อความปลอดภัยเกี่ยวกับการใช้และรักษาทางพิเศษ ตลอดจนการใช้และการรักษาทรัพย์สิน การให้บริการ และการอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในเขตทางพิเศษ (ร่างมาตรา 10 (4))
6.2 จัดตั้งหรือถือหุ้นในบริษัท จำกัด หรือบริษัทมหาชน จำกัด เพื่อประกอบธุรกิจเกี่ยวกับ หรือเกี่ยวเนื่องกับกิจการของ กทพ. (ร่างมาตรา 10 (7))
6.3 ลงทุนหรือเข้าร่วมกิจการกับบุคคลอื่น เพื่อประกอบธุรกิจเกี่ยวกับหรือเกี่ยวเนื่องกับกิจการของ กทพ. (ร่างมาตรา 10 (8))
6.4 ให้สัมปทานในการสร้างหรือขยายทางพิเศษ ต่ออายุสัมปทาน โอนสัมปทาน หรือเพิกถอนสัมปทาน (ร่างมาตรา 10 (9))
6.5 ว่าจ้างหรือมอบให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดประกอบกิจการส่วนหนึ่งส่วนใดของ กทพ. (ร่างมาตรา 10 (10))
6.6 ทำการค้าและให้บริการต่าง ๆ เกี่ยวกับอุปกรณ์ และเครื่องใช้เกี่ยวกับทางพิเศษ (ร่างมาตรา 10 (11))
6.7 พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของ กทพ. ตามความจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ กทพ. (ร่างมาตรา 10 (12))
6.8 วางแผน สำรวจ ออกแบบเกี่ยวกับการสร้างหรือขยายทางพิเศษ (ร่างมาตรา 10 (13))
6.9 กระทำการอย่างอื่นบรรดาที่เกี่ยวกับ หรือเนื่องในการจัดให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของ กทพ. (ร่างมาตรา 10 (14))
7. กำหนดให้ทรัพย์สินของ กทพ. ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี (ร่างมาตรา 13)
8. กำหนดคุณสมบัติของประธานกรรมการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ มีการปรับปรุงรายละเอียดเกี่ยวกับวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการ และปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการขึ้นใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2543 (ร่างมาตรา 16-ร่างมาตรา 21)
9. กำหนดให้ผู้ว่าการอยู่ในตำแหน่งตามสัญญาจ้างคราวละไม่เกินสี่ปีและไม่เกินสองวาระ (เดิมผู้ว่าการเป็นพนักงานไม่มีวาระการดำรงตำแหน่ง) (ร่างมาตรา 23)
10. กำหนดเพิ่มเติมให้อำนาจ กทพ. ในการอนุญาตให้บุคคลใดสร้างทางหรือถนนหรือสิ่งอื่นใด เพื่อเชื่อมระหว่างทางพิเศษกับทางสาธารณะ (ร่างมาตรา 36)
11. กำหนดห้ามผู้ใดสร้าง ดัดแปลง หรือติดตั้งป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้าย ภายในระยะทางห้าสิบเมตรจากเขตทางพิเศษ ตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด (ร่างมาตรา 38)
12. กำหนดให้บุคคลที่ผู้ว่าการมอบหมาย ซึ่งมิใช่พนักงานทำหน้าที่เก็บค่าผ่านทางพิเศษได้ (ร่างมาตรา 41)
13. กำหนดให้กิจการที่ กทพ. ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อนจึงจะดำเนินการได้ ดังนี้
13.1 ปรับปรุงวงเงินในการกู้หรือยืมเงินจากเดิมสิบล้านบาท เป็นเกินหนึ่งร้อยล้านบาท
13.2 การจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์จากเดิมห้าแสนบาท เป็นเกินสิบล้านบาท และเพิ่มเติม (ร่างมาตรา 57(4))
13.3 การให้สัมปทานทางพิเศษ (ร่างมาตรา 57(5))
13.4 การจัดตั้งบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด (ร่างมาตรา 57(6))
13.5 การเข้าร่วมกิจการกับบุคคลอื่นหรือถือหุ้นในบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด (ร่างมาตรา 57 (7))
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 มีนาคม 2550--จบ--
กระทรวงคมนาคมเสนอว่า การทางพิเศษแห่งประเทศไทยเห็นควรให้ดำเนินการร่างพระราชบัญญัติทางการพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ. .... ต่อไป จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
ร่างพระราชบัญญัติการทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ. .... มีสาระสำคัญดังนี้
1. กำหนดให้ยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 และร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 พ.ศ. 2530 (ร่างมาตรา 3)
2. กำหนดคำนิยาม “ทางพิเศษ” ให้หมายความรวมถึงทางซึ่งได้รับโอนหรือได้รับมอบ และคำนิยาม “รถ” ให้หมายความว่ายานพาหนะทางบกทุกชนิดยกเว้นรถไฟและรถราง (ร่างมาตรา 4)
3. กำหนดชื่อภาษาอังกฤษของทางการพิเศษแห่งประเทศไทย หรือ “กทพ.” “EXPRESSWAY AND RAPID TRANSIT AUTHORITY OF THAILAND” ชื่อย่อ “ETA” และให้มีตราเครื่องหมาย (ร่างมาตรา 6)
4. กำหนดห้ามมิให้ผู้ใดใช้ชื่อ “ทางพิเศษ” หรือ “ทางด่วน” เว้นแต่ได้รับอนุญาตจาก กทพ. (ร่างมาตรา 7)
5. กำหนดให้เพิ่มเติมวัตถุประสงค์ของ กทพ. ให้สามารถดำเนินงานหรือธุรกิจเกี่ยวกับทางพิเศษ และธุรกิจอื่นที่เกี่ยวกับทางพิเศษหรือที่เป็นประโยชน์แก่ กทพ. (ร่างมาตรา 8)
6. กำหนดเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของ กทพ. ให้
6.1 สามารถกำหนดมาตรการเพื่อความปลอดภัยเกี่ยวกับการใช้และรักษาทางพิเศษ ตลอดจนการใช้และการรักษาทรัพย์สิน การให้บริการ และการอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในเขตทางพิเศษ (ร่างมาตรา 10 (4))
6.2 จัดตั้งหรือถือหุ้นในบริษัท จำกัด หรือบริษัทมหาชน จำกัด เพื่อประกอบธุรกิจเกี่ยวกับ หรือเกี่ยวเนื่องกับกิจการของ กทพ. (ร่างมาตรา 10 (7))
6.3 ลงทุนหรือเข้าร่วมกิจการกับบุคคลอื่น เพื่อประกอบธุรกิจเกี่ยวกับหรือเกี่ยวเนื่องกับกิจการของ กทพ. (ร่างมาตรา 10 (8))
6.4 ให้สัมปทานในการสร้างหรือขยายทางพิเศษ ต่ออายุสัมปทาน โอนสัมปทาน หรือเพิกถอนสัมปทาน (ร่างมาตรา 10 (9))
6.5 ว่าจ้างหรือมอบให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดประกอบกิจการส่วนหนึ่งส่วนใดของ กทพ. (ร่างมาตรา 10 (10))
6.6 ทำการค้าและให้บริการต่าง ๆ เกี่ยวกับอุปกรณ์ และเครื่องใช้เกี่ยวกับทางพิเศษ (ร่างมาตรา 10 (11))
6.7 พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของ กทพ. ตามความจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ กทพ. (ร่างมาตรา 10 (12))
6.8 วางแผน สำรวจ ออกแบบเกี่ยวกับการสร้างหรือขยายทางพิเศษ (ร่างมาตรา 10 (13))
6.9 กระทำการอย่างอื่นบรรดาที่เกี่ยวกับ หรือเนื่องในการจัดให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของ กทพ. (ร่างมาตรา 10 (14))
7. กำหนดให้ทรัพย์สินของ กทพ. ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี (ร่างมาตรา 13)
8. กำหนดคุณสมบัติของประธานกรรมการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ มีการปรับปรุงรายละเอียดเกี่ยวกับวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการ และปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการขึ้นใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2543 (ร่างมาตรา 16-ร่างมาตรา 21)
9. กำหนดให้ผู้ว่าการอยู่ในตำแหน่งตามสัญญาจ้างคราวละไม่เกินสี่ปีและไม่เกินสองวาระ (เดิมผู้ว่าการเป็นพนักงานไม่มีวาระการดำรงตำแหน่ง) (ร่างมาตรา 23)
10. กำหนดเพิ่มเติมให้อำนาจ กทพ. ในการอนุญาตให้บุคคลใดสร้างทางหรือถนนหรือสิ่งอื่นใด เพื่อเชื่อมระหว่างทางพิเศษกับทางสาธารณะ (ร่างมาตรา 36)
11. กำหนดห้ามผู้ใดสร้าง ดัดแปลง หรือติดตั้งป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้าย ภายในระยะทางห้าสิบเมตรจากเขตทางพิเศษ ตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด (ร่างมาตรา 38)
12. กำหนดให้บุคคลที่ผู้ว่าการมอบหมาย ซึ่งมิใช่พนักงานทำหน้าที่เก็บค่าผ่านทางพิเศษได้ (ร่างมาตรา 41)
13. กำหนดให้กิจการที่ กทพ. ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อนจึงจะดำเนินการได้ ดังนี้
13.1 ปรับปรุงวงเงินในการกู้หรือยืมเงินจากเดิมสิบล้านบาท เป็นเกินหนึ่งร้อยล้านบาท
13.2 การจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์จากเดิมห้าแสนบาท เป็นเกินสิบล้านบาท และเพิ่มเติม (ร่างมาตรา 57(4))
13.3 การให้สัมปทานทางพิเศษ (ร่างมาตรา 57(5))
13.4 การจัดตั้งบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด (ร่างมาตรา 57(6))
13.5 การเข้าร่วมกิจการกับบุคคลอื่นหรือถือหุ้นในบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด (ร่างมาตรา 57 (7))
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 มีนาคม 2550--จบ--