คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) เป็นประธาน ดังนี้
1. ให้มีการศึกษาวิเคราะห์ทั้งระบบลุ่มน้ำยม (การจัดการลุ่มน้ำยม) มิใช่เฉพาะเขื่อนแก่งเสือเต้นเท่านั้น
2. ให้มีวิธีการดำเนินงานโดยใช้กระบวนการนโยบายสาธารณะแบบบูรณาการและมีส่วนร่วม รวมทั้งควรแต่งตั้งคณะกรรมการระดับชาติเพื่อทำหน้าที่ในการวางกรอบแนวทางในการศึกษาเพื่อพิจารณาว่าจะดำเนินการอย่างไร
3. ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและกรมชลประทานรับไปพิจารณากำหนดองค์ประกอบ อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการดังกล่าวแล้วเสนอคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งต่อไป
ทั้งนี้ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณาทางเลือกอื่นที่เหมาะสมในการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวด้วย
ประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ คณะที่ 2 มีดังนี้
1. คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2550 รับทราบสรุปผลการประชุมเพื่อแก้ไขปัญหากลุ่มสมัชชาคนจนเกี่ยวกับปัญหาเขื่อนที่ยังไม่ได้ดำเนินการก่อสร้าง โดยให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ตั้งคณะกรรมการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนภาครัฐ และผู้แทนภาคประชาชน เพื่อกำหนดกรอบและแนวทางในการศึกษาร่วมกัน โดยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมด้วย
2. โครงการเขื่อนแก่งเสือเต้นเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะพื้นที่ หากจะมีการพิจารณาศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อแก้ปัญหาในภาพรวมทั้งระบบ โดยการศึกษาวิเคราะห์บริเวณลุ่มน้ำยมซึ่งจะรวมโครงการเขื่อนแก่งเสือเต้นอยู่ด้วยแล้ว ก็น่าจะทำให้ทราบปัญหาในภาพรวมและมีแนวทางในการแก้ปัญหาได้มากขึ้น
3. ในการศึกษาตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลควรดำเนินการทั้งระบบ โดยการใช้กระบวนการนโยบายสาธารณะแบบบูรณาการและมีส่วนร่วม โดยอาจจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อทำการศึกษาวิเคราะห์ โดยใช้กระบวนการศึกษาตามข้อ 2 เป็นแนวทางในการดำเนินการโดยมีสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและกรมชลประทานเป็นฝ่ายเลขานุการร่วม ทั้งนี้ อาจมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 7 สิงหาคม 2550--จบ--
1. ให้มีการศึกษาวิเคราะห์ทั้งระบบลุ่มน้ำยม (การจัดการลุ่มน้ำยม) มิใช่เฉพาะเขื่อนแก่งเสือเต้นเท่านั้น
2. ให้มีวิธีการดำเนินงานโดยใช้กระบวนการนโยบายสาธารณะแบบบูรณาการและมีส่วนร่วม รวมทั้งควรแต่งตั้งคณะกรรมการระดับชาติเพื่อทำหน้าที่ในการวางกรอบแนวทางในการศึกษาเพื่อพิจารณาว่าจะดำเนินการอย่างไร
3. ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและกรมชลประทานรับไปพิจารณากำหนดองค์ประกอบ อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการดังกล่าวแล้วเสนอคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งต่อไป
ทั้งนี้ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณาทางเลือกอื่นที่เหมาะสมในการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวด้วย
ประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ คณะที่ 2 มีดังนี้
1. คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2550 รับทราบสรุปผลการประชุมเพื่อแก้ไขปัญหากลุ่มสมัชชาคนจนเกี่ยวกับปัญหาเขื่อนที่ยังไม่ได้ดำเนินการก่อสร้าง โดยให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ตั้งคณะกรรมการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนภาครัฐ และผู้แทนภาคประชาชน เพื่อกำหนดกรอบและแนวทางในการศึกษาร่วมกัน โดยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมด้วย
2. โครงการเขื่อนแก่งเสือเต้นเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะพื้นที่ หากจะมีการพิจารณาศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อแก้ปัญหาในภาพรวมทั้งระบบ โดยการศึกษาวิเคราะห์บริเวณลุ่มน้ำยมซึ่งจะรวมโครงการเขื่อนแก่งเสือเต้นอยู่ด้วยแล้ว ก็น่าจะทำให้ทราบปัญหาในภาพรวมและมีแนวทางในการแก้ปัญหาได้มากขึ้น
3. ในการศึกษาตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลควรดำเนินการทั้งระบบ โดยการใช้กระบวนการนโยบายสาธารณะแบบบูรณาการและมีส่วนร่วม โดยอาจจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อทำการศึกษาวิเคราะห์ โดยใช้กระบวนการศึกษาตามข้อ 2 เป็นแนวทางในการดำเนินการโดยมีสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและกรมชลประทานเป็นฝ่ายเลขานุการร่วม ทั้งนี้ อาจมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 7 สิงหาคม 2550--จบ--