เรื่อง รายงานเหตุการณ์ขบวนรถเร็วที่ 178 ชนขบวนรถด่วนพิเศษดีเซลรางที่ 41 ทางหลีกสถานีหนองแก
ขบวนรถตกรางกีดขวางการเดินรถ มีผู้เสียชีวิตจำนวน 3 รายและ ผู้ได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานเหตุการณ์ขบวนรถเร็วที่ 178 ชนขบวนรถด่วนพิเศษดีเซลรางที่ 41 ทางหลีกสถานีหนองแก ขบวนรถตกรางกีดขวางการเดินรถ มีผู้เสียชีวิตจำนวน 3 รายและ ผู้ได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ดังนี้
ด้วยเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2550 เวลา 02.42 น. ได้เกิดเหตุการณ์ขบวนรถเร็วที่ 178 เดินทางระหว่างหลังสวน — ธนบุรี ชนขบวนรถด่วนพิเศษดีเซลรางที่ 41 เดินทางระหว่างกรุงเทพฯ — ยะลา ในทางหลีกของสถานีหนองแก อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทันทีที่ได้รับแจ้งเหตุ กระทรวงคมนาคมโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้สั่งการให้การรถไฟแห่งประเทศไทยดูแลให้ความช่วยเหลือผู้เสียชีวิตและผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ พร้อมทั้งกำชับให้ผู้บริหารการรถไฟแห่งประเทศไทยตรวจสอบหาสาเหตุให้แน่ชัดตามขั้นตอน ผู้บริหารการรถไฟแห่งประเทศไทยและผู้ที่เกี่ยวข้องได้ไปตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุแล้วปรากฏสาเหตุเกิดจากขบวนรถเร็วที่ 178 เดินทางระหว่างสถานีหลังสวน — ธนบุรี ชนขบวนรถด่วนพิเศษดีเซลรางที่ 41 เดินระหว่างสถานีกรุงเทพฯ — ยะลา ในทางหลีก(ทาง 2 ) ของสถานีหนองแก อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีผู้เสียชีวิตจำนวน 3 ราย และบาดเจ็บหลายราย โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
1.1 ขบวนรถเร็วที่ 178 เดินทางระหว่างสถานีหลังสวน — ธนบุรี ให้รถจักรดีเซลเลขที่ 4035 ทำการรถพ่วงมีจำนวน 9 โบกี้ มีนายอรรถพล สาระภิรมย์ เป็นพนักงานขับรถ นายวัชรศักดิ์ แช่มใส่ เป็นช่างเครื่อง นายจรูญ ถาละรักษ์ เป็นพนักงานรักษารถ
1.2 ขบวนรถด่วนพิเศษดีเซลรางที่ 41 เดินทางระหว่างสถานีกรุงเทพฯ — ยะลา ใช้รถจักรดีเซลรางทำการ 5 คัน โบกี้ดีเซลราง ชั้นที่ 2 ปรับอากาศ (กซข.ป. 2536) คันนำมีนายไพจิตร ชูยอด เป็นพนักงานขับรถ นายธีรพล บุญใช้ เป็นช่างเครื่อง นายชนันท์ ยิ้มนาค เป็นพนักงานรักษารถ
1.3 พนักงานควบคุมการเดินรถหัวหินได้สั่งการให้ขบวนรถเร็วที่ 178 หลีกกับขบวนรถด่วนพิเศษดีเซลรางที่ 41 ที่สถานีหนองแกในทางหลีก (ทาง 2) หยุดนิ่ง นายสถานีหนองแกจะมาทำการกลับประแจให้เป็นท่าทางประธาน (ทาง 1) เพื่ออนุญาตให้ขบวนรถเร็วที่ 178 ผ่านทางประธานแต่ปรากฏว่าขบวนรถเร็วที่ 178 ไม่หยุดที่เสาสัญญาณเข้าเขตสถานีซึ่งแสดงท่าห้าม (ไฟแดง) วิ่งผ่านเข้ามาถึงประแจซึ่งอยู่ในท่าทางหลีกทำให้ไม่สามารถกลับประแจได้ นายสถานีหนองแกได้ออกไปเพื่อแสดงสัญญาณไฟท่าห้ามให้ขบวนเร็วที่ 178 ไม่เป็นผล ขบวนรถวิ่งเข้าชนขบวนรถด่วนพิเศษดีเซลรางที่ 41 ที่จอดอยู่เป็นเหตุให้รถดีเซลรางของขบวนรถด่วนพิเศษดีเซลรางที่ 41 ชำรุดเสียหายทั้ง 5 คัน และรถจักรดีเซลและรถพ่วงตกรางเสียหายจำนวน 4 โบกี้
2. การให้ความช่วยเหลือ
2.1 จากเหตุการณ์ดังกล่าวมีผู้ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยแพทย์ตรวจแล้วอนุญาตให้กลับบ้านได้จำนวน 97 ราย ส่วนผู้ได้บาดเจ็บนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลหัวหินและโรงพยาบาลซานเปาโลหัวหินจำนวน 9 รายคือ
โรงพยาบาลซานเปาโลหัวหิน จำนวน 3 ราย
1) นายสมศักดิ์ เพชรทอง 2) นายจรูญ ตาละลักษณ์ 3) นางจำเนียร เกษมูล
ณ วันที่ 15 มกราคม 2550 การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้รับผู้โดยสารที่ได้รับบาดเจ็บเพิ่มเป็นคนไข้ในอีกจำนวน 5 รายรวมเป็น 8 ราย แพทย์ได้อนุญาตให้กลับบ้านได้แล้วจำนวน 7 ราย ส่วนนางจำเนียร เกษมูล ได้ขอไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลราษฎร์ธานี จังหวัดสงขลา ซึ่งการรถไฟแห่งประเทศไทยได้จัดส่งตัวให้เรียบร้อยแล้ว
โรงพยาบาลหัวหิน จำนวน 6 ราย
4) นายสมศักดิ์ บัวน้อย 5) ด.ญ.บงกชกร บัวน้อย 6) นายเกษม เกตุเกื้อ (ย้ายไปโรงพยาบาลบ้านโป่ง) 7) นายอรรถพล ฐานภิรมย์ (ย้ายไปโรงพยาบาลบ้านโป่ง) 8) นายพรพิมล ใจเนียม 9) นายจัด พรหมจันทร์
สำหรับโรงพยาบาลหัวหิน ขณะนี้แพทย์ได้อนุญาตให้กลับบ้านได้แล้ว มีเพียงรายเดียวที่ขอไปรักษาตัวต่อที่โรงพยาบาลยะลาโดยขอเดินทางโดยทางรถไฟ ซึ่งการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการให้เรียบร้อยแล้วเช่นกัน สำหรับผู้ที่ได้รับบาดเจ็บการรถไฟแห่งประเทศไทยจะรับผิดชอบในการรักษาพยาบาลทั้งหมด
2.2 ผู้เสียชีวิตจำนวน 3 รายคือ
1) นายไพจิตร ชูยอด พนักงานขับรถของการรถไฟแห่งประเทศไทย
2) นายธีระพล บุญใช้ ช่างเครื่องของการรถไฟแห่งประเทศไทย
3) นางสาววนิดา โพธิ์พันธ์ พนักงานบริการของบริษัท จิตรมาส จำกัด
ซึ่งในเบื้องต้นการรถไฟแห่งประเทศไทยได้มอบเงินค่าจัดการศพรายละ 40,000 บาท และจะมีสิทธิรับเงินช่วยเหลือเพิ่มเติมตามที่ระเบียบกำหนดไว้ทุกประการ ผู้เสียชีวิตทั้ง 3 รายญาติได้ขอรับศพนำไปบำเพ็ญกุศลแล้ว
2.3 การขนถ่ายผู้โดยสารขบวนรถด่วนพิเศษดีเซลรางที่ 41 การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ขนถ่ายผู้โดยสารทางรถยนต์ต่อไปปลายทางทั้งหมด และได้นำรถยกเคลื่อนย้ายรถพ่วงขบวนรถเร็วที่ 178 ที่ขวางทางประธาน 1 โบกี้ออกไปและเปิดทางให้ขบวนรถผ่านได้ตามปกติเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2550 เวลา 07.15 น.
จากการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ตามบันทึกการตรวจและพิจารณาวินิจฉัยกรณีขบวนรถตกราง สันนิษฐานว่าเหตุที่เกิดขึ้นเนื่องจากขบวนรถเร็วที่ 178 ฝ่าสัญญาณในท่าห้ามเข้าไปชนขบวนรถด่วนพิเศษดีเซลรางที่ 41 ในทาง 2 ขณะนี้การรถไฟแห่งประเทศไทยได้สั่งการให้คณะกรรมการพิจารณาเหตุอันตรายในด้านการเดินรถ ซึ่งมีผู้ช่วยผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นประธานทำการสอบหาสาเหตุแท้จริงดังกล่าวแล้ว พร้อมทั้งได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายที่เกี่ยวข้องประเมินความเสียหายโดยเร็วแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 16 มกราคม 2550--จบ--
ขบวนรถตกรางกีดขวางการเดินรถ มีผู้เสียชีวิตจำนวน 3 รายและ ผู้ได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานเหตุการณ์ขบวนรถเร็วที่ 178 ชนขบวนรถด่วนพิเศษดีเซลรางที่ 41 ทางหลีกสถานีหนองแก ขบวนรถตกรางกีดขวางการเดินรถ มีผู้เสียชีวิตจำนวน 3 รายและ ผู้ได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ดังนี้
ด้วยเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2550 เวลา 02.42 น. ได้เกิดเหตุการณ์ขบวนรถเร็วที่ 178 เดินทางระหว่างหลังสวน — ธนบุรี ชนขบวนรถด่วนพิเศษดีเซลรางที่ 41 เดินทางระหว่างกรุงเทพฯ — ยะลา ในทางหลีกของสถานีหนองแก อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทันทีที่ได้รับแจ้งเหตุ กระทรวงคมนาคมโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้สั่งการให้การรถไฟแห่งประเทศไทยดูแลให้ความช่วยเหลือผู้เสียชีวิตและผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ พร้อมทั้งกำชับให้ผู้บริหารการรถไฟแห่งประเทศไทยตรวจสอบหาสาเหตุให้แน่ชัดตามขั้นตอน ผู้บริหารการรถไฟแห่งประเทศไทยและผู้ที่เกี่ยวข้องได้ไปตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุแล้วปรากฏสาเหตุเกิดจากขบวนรถเร็วที่ 178 เดินทางระหว่างสถานีหลังสวน — ธนบุรี ชนขบวนรถด่วนพิเศษดีเซลรางที่ 41 เดินระหว่างสถานีกรุงเทพฯ — ยะลา ในทางหลีก(ทาง 2 ) ของสถานีหนองแก อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีผู้เสียชีวิตจำนวน 3 ราย และบาดเจ็บหลายราย โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
1.1 ขบวนรถเร็วที่ 178 เดินทางระหว่างสถานีหลังสวน — ธนบุรี ให้รถจักรดีเซลเลขที่ 4035 ทำการรถพ่วงมีจำนวน 9 โบกี้ มีนายอรรถพล สาระภิรมย์ เป็นพนักงานขับรถ นายวัชรศักดิ์ แช่มใส่ เป็นช่างเครื่อง นายจรูญ ถาละรักษ์ เป็นพนักงานรักษารถ
1.2 ขบวนรถด่วนพิเศษดีเซลรางที่ 41 เดินทางระหว่างสถานีกรุงเทพฯ — ยะลา ใช้รถจักรดีเซลรางทำการ 5 คัน โบกี้ดีเซลราง ชั้นที่ 2 ปรับอากาศ (กซข.ป. 2536) คันนำมีนายไพจิตร ชูยอด เป็นพนักงานขับรถ นายธีรพล บุญใช้ เป็นช่างเครื่อง นายชนันท์ ยิ้มนาค เป็นพนักงานรักษารถ
1.3 พนักงานควบคุมการเดินรถหัวหินได้สั่งการให้ขบวนรถเร็วที่ 178 หลีกกับขบวนรถด่วนพิเศษดีเซลรางที่ 41 ที่สถานีหนองแกในทางหลีก (ทาง 2) หยุดนิ่ง นายสถานีหนองแกจะมาทำการกลับประแจให้เป็นท่าทางประธาน (ทาง 1) เพื่ออนุญาตให้ขบวนรถเร็วที่ 178 ผ่านทางประธานแต่ปรากฏว่าขบวนรถเร็วที่ 178 ไม่หยุดที่เสาสัญญาณเข้าเขตสถานีซึ่งแสดงท่าห้าม (ไฟแดง) วิ่งผ่านเข้ามาถึงประแจซึ่งอยู่ในท่าทางหลีกทำให้ไม่สามารถกลับประแจได้ นายสถานีหนองแกได้ออกไปเพื่อแสดงสัญญาณไฟท่าห้ามให้ขบวนเร็วที่ 178 ไม่เป็นผล ขบวนรถวิ่งเข้าชนขบวนรถด่วนพิเศษดีเซลรางที่ 41 ที่จอดอยู่เป็นเหตุให้รถดีเซลรางของขบวนรถด่วนพิเศษดีเซลรางที่ 41 ชำรุดเสียหายทั้ง 5 คัน และรถจักรดีเซลและรถพ่วงตกรางเสียหายจำนวน 4 โบกี้
2. การให้ความช่วยเหลือ
2.1 จากเหตุการณ์ดังกล่าวมีผู้ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยแพทย์ตรวจแล้วอนุญาตให้กลับบ้านได้จำนวน 97 ราย ส่วนผู้ได้บาดเจ็บนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลหัวหินและโรงพยาบาลซานเปาโลหัวหินจำนวน 9 รายคือ
โรงพยาบาลซานเปาโลหัวหิน จำนวน 3 ราย
1) นายสมศักดิ์ เพชรทอง 2) นายจรูญ ตาละลักษณ์ 3) นางจำเนียร เกษมูล
ณ วันที่ 15 มกราคม 2550 การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้รับผู้โดยสารที่ได้รับบาดเจ็บเพิ่มเป็นคนไข้ในอีกจำนวน 5 รายรวมเป็น 8 ราย แพทย์ได้อนุญาตให้กลับบ้านได้แล้วจำนวน 7 ราย ส่วนนางจำเนียร เกษมูล ได้ขอไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลราษฎร์ธานี จังหวัดสงขลา ซึ่งการรถไฟแห่งประเทศไทยได้จัดส่งตัวให้เรียบร้อยแล้ว
โรงพยาบาลหัวหิน จำนวน 6 ราย
4) นายสมศักดิ์ บัวน้อย 5) ด.ญ.บงกชกร บัวน้อย 6) นายเกษม เกตุเกื้อ (ย้ายไปโรงพยาบาลบ้านโป่ง) 7) นายอรรถพล ฐานภิรมย์ (ย้ายไปโรงพยาบาลบ้านโป่ง) 8) นายพรพิมล ใจเนียม 9) นายจัด พรหมจันทร์
สำหรับโรงพยาบาลหัวหิน ขณะนี้แพทย์ได้อนุญาตให้กลับบ้านได้แล้ว มีเพียงรายเดียวที่ขอไปรักษาตัวต่อที่โรงพยาบาลยะลาโดยขอเดินทางโดยทางรถไฟ ซึ่งการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการให้เรียบร้อยแล้วเช่นกัน สำหรับผู้ที่ได้รับบาดเจ็บการรถไฟแห่งประเทศไทยจะรับผิดชอบในการรักษาพยาบาลทั้งหมด
2.2 ผู้เสียชีวิตจำนวน 3 รายคือ
1) นายไพจิตร ชูยอด พนักงานขับรถของการรถไฟแห่งประเทศไทย
2) นายธีระพล บุญใช้ ช่างเครื่องของการรถไฟแห่งประเทศไทย
3) นางสาววนิดา โพธิ์พันธ์ พนักงานบริการของบริษัท จิตรมาส จำกัด
ซึ่งในเบื้องต้นการรถไฟแห่งประเทศไทยได้มอบเงินค่าจัดการศพรายละ 40,000 บาท และจะมีสิทธิรับเงินช่วยเหลือเพิ่มเติมตามที่ระเบียบกำหนดไว้ทุกประการ ผู้เสียชีวิตทั้ง 3 รายญาติได้ขอรับศพนำไปบำเพ็ญกุศลแล้ว
2.3 การขนถ่ายผู้โดยสารขบวนรถด่วนพิเศษดีเซลรางที่ 41 การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ขนถ่ายผู้โดยสารทางรถยนต์ต่อไปปลายทางทั้งหมด และได้นำรถยกเคลื่อนย้ายรถพ่วงขบวนรถเร็วที่ 178 ที่ขวางทางประธาน 1 โบกี้ออกไปและเปิดทางให้ขบวนรถผ่านได้ตามปกติเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2550 เวลา 07.15 น.
จากการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ตามบันทึกการตรวจและพิจารณาวินิจฉัยกรณีขบวนรถตกราง สันนิษฐานว่าเหตุที่เกิดขึ้นเนื่องจากขบวนรถเร็วที่ 178 ฝ่าสัญญาณในท่าห้ามเข้าไปชนขบวนรถด่วนพิเศษดีเซลรางที่ 41 ในทาง 2 ขณะนี้การรถไฟแห่งประเทศไทยได้สั่งการให้คณะกรรมการพิจารณาเหตุอันตรายในด้านการเดินรถ ซึ่งมีผู้ช่วยผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นประธานทำการสอบหาสาเหตุแท้จริงดังกล่าวแล้ว พร้อมทั้งได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายที่เกี่ยวข้องประเมินความเสียหายโดยเร็วแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 16 มกราคม 2550--จบ--