คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการจัดสัมมนาโครงการ “สื่อท้องถิ่นกับนโยบายรัฐบาล” ครั้งที่ 2 ตามที่สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ และเห็นชอบมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเด็นปัญหาที่สื่อมวลชนท้องถิ่นภาคเหนือตอนล่างได้นำเสนอในการสัมมนาไปพิจารณาดำเนินการให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชน รวมทั้งมอบหมายให้กระทรวงต่าง ๆ ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารการดำเนินงานของรัฐบาลให้สื่อมวลชนได้รับทราบอย่างถูกต้องชัดเจนและทั่วถึง เพื่อถ่ายทอดให้ประชาชนทราบและเกิดความเข้าใจต่อไป
สำนักโฆษกและกรมประชาสัมพันธ์ได้ร่วมกันจัดสัมมนา “สื่อท้องถิ่นกับนโยบายรัฐบาล” ครั้งที่ 2 เมื่อวันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม 2548 ณ โรงแรมพิมาน จังหวัดนครสวรรค์ โดยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ) เป็นประธานการสัมมนาและชี้แจงสร้างความเข้าใจในนโยบายและการบริหารงานของรัฐบาลแก่สื่อมวลชนท้องถิ่น ในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง 9 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดอุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ พิจิตร ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์ และอุทัยธานี ซึ่งการจัดสัมมนาได้รับความร่วมมือจากโฆษกกระทรวง ผู้ปฏิบัติงานด้านประชาสัมพันธ์ของกระทรวง รวมทั้งผู้ว่าราชการจังหวัด และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เข้าร่วมสัมมนาเพื่อร่วมชี้แจงและสร้างความเข้าใจในนโยบายของรัฐบาล โดยมีการถ่ายทอดการสัมมนาทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย และสถานีโทรทัศน์กรมประชาสัมพันธ์ ช่อง 11ให้ประชาชนในเขตพื้นที่ได้รับชม เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ด้วย
ผลการจัดสัมมนาสรุปได้ดังนี้
- การจัดสัมมนาภาคเช้า คณะโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้นำเสนอนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคเหนือตอนล่างของรัฐบาล แก่สื่อมวลชนท้องถิ่น ต่อจากนั้นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้กล่าวเปิดการสัมมนา เพื่อชี้แจงและสร้างความเข้าใจในนโยบายของรัฐบาล และตอบข้อซักถามของสื่อมวลชน ซึ่งสรุปประเด็นปัญหาและข้อเสนอแนะของสื่อมวลชนได้ ดังนี้
จังหวัด คำถาม/ข้อคิดเห็น คำตอบ/ชี้แจง
อุตรดิตถ์ 1. - อยากให้รัฐบาลให้ความสำคัญและ 1.รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดูแล สื่อท้องถิ่นมากขึ้น ชี้แจง
- เสนอว่าโครงการกองทุนหมู่บ้านที่มี รัฐบาลให้ความสำคัญกับสื่อท้องถิ่นมา
การจัดสรรเงินให้หมู่บ้านละ 1 ล้านบาท โดยตลอด และขอเสริมเกี่ยวกับเรื่อง
น่าจะมีการส่งวิทยากรผู้รู้ไปให้ความรู้ สมาคมต่างๆ อย่างเช่น สมาคมสื่อฯ
กับคนในท้องถิ่นชุมชนนั้น ๆ เพื่อให้ ที่ท่านกำลังดำเนินการอยู่ว่าจะมีบทบาท
พวกเขาเข้าใจการจัดการเงินทุน สำคัญอย่างมากในการช่วยกันแก้ไข
ได้อย่างถูกต้องและเป็นประโยชน์สูงสุด ปัญหาต่างๆ โดยการทำหน้าที่รวบรวม
ความคิดเห็นเสนอกลับมายังรัฐบาล
และช่วยกันตรวจสอบศีลธรรมจรรยา
ของผู้ประกอบวิชาชีพนี้ในท้องถิ่น
พิษณุโลก 1. - ขอเรียนว่าการจัดระเบียบวิทยุชุมชนใน 1.รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
จังหวัดพิษณุโลกมีการจัดระเบียบ ชี้แจง
วิทยุชุมชนกันเอง โดยที่ภาครัฐไม่ต้อง สนับสนุนให้จังหวัดมีโอกาสร่วมหารือ
เข้ามาเกี่ยวข้อง กันเพื่อจัดระบบระเบียบวิทยุชุมชนใน
- ขอทราบว่ารัฐบาลมีนโยบายสนับสนุน จังหวัด เพราะเมื่อจัดการเป็นระบบ
สื่อสิ่งพิมพ์หรือไม่อย่างไร ได้แล้ว การวางระเบียบกฎเกณฑ์ที่
จะตามมาก็จะง่ายขึ้น เมื่อมีการตั้ง
กสช.เรียบร้อย ชุมชนยังจะสามารถ
นำข้อมูลเหล่านั้นไปเสนอให้ กสช.
รับทราบ ซึ่งน่าจะช่วยให้ขั้นตอนการทำ
งานของ กสช.ในการจัดสรรคลื่น
ความถี่ง่ายขึ้น
2. รัฐบาลมีนโยบายปรับปรุงโทรทัศน์ช่อง 11 2.รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ให้สามารถแข่งขันกับโทรทัศน์ช่องอื่นหรือไม่ ชี้แจง
การปรับปรุงโทรทัศน์ช่อง 11 ได้ให้
นโยบายกรมประชาสัมพันธ์ให้ปรับปรุง
ทั้งสถานีวิทยุและโทรทัศน์แห่งประเทศ
ไทย ซึ่งช่องทางการสื่อสารทั้ง 2
ประเภทนี้ถือเป็นของประชาชนทุกคน
เงินทุนที่นำมาบริหารโทรทัศน์ช่อง 11
และสถานีวิทยุแห่งประเทศไทยเป็นภาษี
อากรของประชาชน หากใครมีความ
คิดเห็นประการใดสามารถส่งความคิด
เห็นได้ทันที ทั้งนี้ เบื้องต้นได้ให้แนว
ทางแก่ช่อง 11 ว่าอยากให้เป็นช่อง
ทางการสื่อสารที่ให้ความรู้ เป็น
Knowledge Channel ของประเทศ
ไทยโดยเฉพาะ ซึ่งอธิบดีกรมประชา
สัมพันธ์กำลังเร่งดำเนินการอยู่
อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่โทรทัศน์ช่อง
11 ยังประสบอยู่เช่นเดียวกับสื่อสิ่ง
พิมพ์ คือมีเงินทุนสนับสนุนน้อย และ
ระบบการบริหารงานที่เป็นแบบราชการ
มีความล่าช้า มีระเบียบขั้นตอนซับซ้อน
ซึ่งจะต้องปรับปรุงต่อไป
3.รัฐบาลมีนโยบายงดออกอากาศของสถานี 3.รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
โทรทัศน์หลังเวลาเที่ยงคืนเพื่อรณรงค์การ ชี้แจง
ประหยัดพลังงานหรือไม่ เพราะเหตุใด การรณรงค์ให้ประชาชนประหยัด
พลังงาน มีคนเสนอมาว่าควรจะให้
สถานีโทรทัศน์ทุกช่องหยุดการส่งสัญญาณ
หลังเวลาเที่ยงคืน แต่การพิจารณา
ของผู้ที่รับผิดชอบในเรื่องนี้มองว่าไม่
จำเป็นต้องนำมาตรการดังกล่าวมาใช้
ในขณะนี้ เพราะการที่จะสั่งให้ปิดสื่อ
ประเภทต่าง ๆ นั้น มีข้อดีข้อเสียของ
มันอยู่ แต่สิ่งที่อยากขอความร่วมมือจาก
ทุกท่านคือให้ทุกคนช่วยกันรณรงค์ร่วมกับ
ประหยัดพลังงานโดยปิดไฟหรือเครื่อง
ใช้ไฟฟ้าต่างๆ และใช้พลังงานให้
น้อยที่สุด
เพชรบูรณ์ 1.ในฐานะที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายก-รัฐมนตรี 1.รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
เป็นตัวแทนของรัฐบาลเข้ามารับผิดชอบดูแลการ ชี้แจง
จัดระเบียบวิทยุชุมชน ขอทราบว่าท่านได้วาง วิทยุชุมชนใดที่ไม่อยู่ในกฎกติกา
กลไกและเกณฑ์การแยกแยะวิทยุชุมชนที่แท้จริง จะต้องสั่งให้ยุติทันที ประเด็นต่อมา
กับส่วนที่แอบแฝงเข้ามาใช้คลื่นวิทยุชุมชน หากวิทยุชุมชนยังจัดระเบียบกันเอง
อย่างไรบ้าง ไม่ได้ก็อาจดำเนินการสั่งยุติลง
ทั้งหมด เพราะว่าหากมีปัญหาคลื่น
รบกวนกัน เมื่อมีการตั้ง กสช.
ขึ้นมา กสช. ก็ต้องสั่งหยุดทั้งหมด
หรือหาก กสช. ออกกฎให้ยกเลิก
วิทยุชุมชนที่ได้ตั้งกันขึ้นมาทั้งหมด
รัฐบาลจำเป็นต้องบังคับไปตามนั้น
พิจิตร 1.เสนอให้ตรวจสอบวิทยุชุมชนที่ไม่ปฏิบัติตาม 1.รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
กรอบกติกา ให้ยกเลิกการโฆษณาในวิทยุชุมชน ชี้แจง
หรือถ้าไม่ยกเลิกก็ขอให้มีการจัดเก็บภาษีตาม การตรวจสอบวิทยุชุมชน รัฐบาลกำลัง
กฎหมายที่มีอยู่ ขอให้แยกแยะวิทยุชุมชนที่ ดำเนินการอยู่แล้วในขณะนี้
แท้จริงกับส่วนที่แอบแฝงเข้ามาใช้คลื่นวิทยุชุมชน
เพื่อประโยชน์อื่นออกจากกันให้ชัดเจน
2.ในบางพื้นที่ของจังหวัดพิจิตรรับชมสถานีโทรทัศน์ 2.รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
แห่งประเทศไทยช่อง 11 ไม่ได้ ชี้แจง
ปัญหารับชมโทรทัศน์ช่อง 11 ไม่ได้
จะไปติดตามเรื่องให้ต่อไป
3.ขอทราบว่ารัฐบาลมีแนวทางสนับสนุนการสร้าง 3.รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
มหาวิทยาลัยในพื้นที่จังหวัดพิจิตรหรือไม่อย่างไร ชี้แจง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เรียน
ให้ทราบว่าขณะนี้จังหวัดพิจิตรมี
โครงการจะดำเนินการตั้งมหาวิทยาลัย
อยู่แล้ว อย่างไรก็ตามจะนำเรื่อง
ดังกล่าวเรียนให้นายกรัฐมนตรีได้
รับทราบถึงปัญหานี้อีกครั้งหนึ่ง
ตาก 1.ขอทราบความคืบหน้าโครงการโคล้านตัว 1.นายพินิจ กอศรีพร รองโฆษกกระทรวง
จะเป็นไปได้หรือไม่ถ้าขอให้รัฐบาลเปลี่ยนแปลง เกษตรและสหกรณ์ ชี้แจง
การให้โคมาเป็นให้เงินกู้ยืมดอกเบี้ยต่ำให้ โครงการโคล้านตัว กระทรวง
ประชาชนกู้ยืมไปซื้อโคตามความต้องการของ มีแนวคิดว่าจะให้เชื้อโคเพื่อให้
ตนเองแทน เกษตรกรนำไปผสมพันธุ์ให้ได้ลูกโค
แต่ปัจจุบันนี้มีการเปลี่ยนนโยบายโดย
การแจกโคเป็นตัว ซึ่งการดำเนินการนี้
จะต้องเข้าไปสู่กระบวนการที่เรียกว่า
เอสพีวีที่กำลังมีการร่างระเบียบเพื่อ
เอื้ออำนวยประโยชน์ให้กับเกษตร
คาดว่าจะสำเร็จเสร็จสิ้นในอนาคต
อันใกล้นี้ ส่วนการที่จะขอให้เปลี่ยน
เป็นการให้ความช่วยเหลือจากการ
แจกโคมาเป็นการให้หรือให้กู้ยืมเงินสด
เพื่อให้เกษตรกรไปเลือกซื้อโคมาเลี้ยง
เองคงไม่ใช่นโยบายของรัฐ
2.ขอให้รัฐบาลดูแลและแก้ไขปัญหาสังคม อาทิ 2.รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
คอร์รัปชั่น ยาเสพติด เยาวชน แรงงาน ชี้แจง
บริเวณชายแดน ปัญหาสังคมเป็นเรื่องที่นายกรัฐมนตรี
ให้ความสำคัญในการแก้ไขเป็นลำดับ
ต้นๆ กระทรวงที่รับผิดชอบด้านนี้ได้รับ
จัดสรรงบประมาณให้เป็นจำนวนมาก
เพราะรัฐบาลมีความห่วงใยเด็กและ
เยาวชนของชาติ และตระหนักถึง
ความจำเป็นที่จะต้องเร่งแก้ไขปัญหา
เด็กและเยาวชนให้หมดสิ้นไป
โดยเร็ว
ในส่วนนี้สื่อมวลชนก็สามารถเข้ามามี
บทบาทสำคัญในการนำเสนอข้อมูล
ข่าวสาร โดยให้ความสำคัญนำเสนอ
ข้อมูลข่าวสารที่มีเนื้อหาเสริมสร้าง
ศีลธรรม-จรรยาของเด็ก เยาวชน
และบุคคลทั่วๆ ไปมากขึ้น เรื่องนี้
ทุกคนต้องช่วยกัน
3.ขอให้กำชับข้าราชการห้ามสืบเสาะหาข้อมูล 3.รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ส่วนตัวของสื่อมวลชนเพื่อใช้ไปในเชิงข่มขู่ ชี้แจง
ให้หวาดกลัว การห้ามข้าราชการข่มขู่สื่อมวลชน
นายกรัฐมนตรีมีนโยบายชัดเจน
ในการกำชับห้ามข้าราชการประพฤติ
ปฏิบัติตัวในเชิงข่มขู่หรือทำให้สื่อมวลชน
หวาดกลัว นอกจากนี้ยังกำชับไม่ให้
ข้าราชการอ้างชื่อหรือตำแหน่งรัฐมนตรี
และนายกรัฐมนตรีไปในทางที่ผิด
4.อยากให้รัฐมนตรีที่เดินทางลงพื้นที่ต่างจังหวัด 4.รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ทำความเข้าใจรายละเอียดข้อมูลที่จำเป็น ชี้แจง
ภายในจังหวัดนั้นให้ชัดเจน ในส่วนข้อมูลที่รัฐมนตรีซึ่งลงตรวจ
ราชการใน พื้นที่จังหวัดต่างๆ
รับทราบมามี 2 ส่วนสำคัญ ส่วนแรก
เป็นข้อมูลที่หน่วยงานราชการได้
รายงานให้รัฐมนตรีท่านนั้นได้ทราบ
โดยตรง อีกส่วนหนึ่งเป็นข้อมูลที่
รัฐมนตรีต้องไปรับฟังจากคนในพื้นที่
ด้วยตนเอง อย่างไรก็ตามกรณีที่อาจมี
ข้าราชการบางคนหรือผู้ติดตามรัฐมนตรี
บางคนมีท่าทีไม่เหมาะสม มีความรู้ไม่
เพียงพอ หรือให้ข้อมูลที่ผิดจนน่ากังวล
ว่าจะทำให้รัฐมนตรีได้ข้อมูลผิดพลาด
และเป็นเหตุให้การตัดสินใจของ
รัฐมนตรีผิดพลาดได้ สื่อมวลชนหรือ
ประชาชนสามารถบอกกล่าวกับรัฐมนตรี
ได้โดยตรงหรืออาจส่งเรื่องร้องเรียน
มายังส่วนกลางก็ได้
นครสวรรค์ 1.การบริหารราชการจังหวัดแบบการ 1.รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
บูรณาการหรือผู้ว่าราชการจังหวัดซีอีโอ ชี้แจง
มีทั้งข้อดีและข้อเสีย หลายกรณีที่ผู้บริหาร เรื่องมหาวิทยาลัย ตั้งใจจะเดินทาง
ใช้อำนาจบริหารโดยไม่รับฟังเสียงวิพากษ์ ไปดูพื้นที่ช่วงเดินทางกลับ
วิจารณ์ท้วงติงจากภาคส่วนอื่นๆ จน อย่างไรก็ตาม อีกแง่หนึ่งอยากขอให้
ก่อให้เกิดความเสียหายกระทบต่อสังคม ท่านให้ความเป็นธรรมกับท่านผู้ว่า-
ส่วนรวมอย่างมาก ราชการจังหวัดซีอีโอด้วยเช่นกัน
ทั้งนี้ ในจังหวัดนครสวรรค์มีปัญหาที่เกิด โดยจะขอให้ท่านนำข้อมูลที่มีอยู่มาให้
จากการบริหารแบบดังกล่าวหลายประการ แล้วค่อยปรึกษาหารือกัน
อย่างกรณีการตั้งมหาวิทยาลัยวิทยาเขต
จังหวัดนครสวรรค์แห่งหนึ่งที่มีความล่าช้ามาก
มีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการบริหารราชการ
ของผู้ว่าซีอีโอที่บริหารงานโดยไม่ฟังข้อคิดเห็น
ของคนในจังหวัด รวมทั้งมีความพยายามหลาย
อย่างที่จะเสนอเรื่องถึงคณะที่ปรึกษาเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติให้มีการรื้อทิ้งมหาวิทยาลัย
แห่งนั้นทั้งหมด เพื่อจะใช้พื้นที่ดังกล่าวทำเป็น
แก้มลิงกักเก็บน้ำขึ้นมาแทน
สำหรับประเด็นข้อซักถามเหล่านี้ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และผู้แทนส่วนราชการต่าง ๆ ได้ตอบคำถามและชี้แจงข้อสงสัยต่าง ๆ แล้ว ส่วนบางปัญหาที่จะต้องดำเนินการต่อไปนั้น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รับที่จะนำมาพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่รับผิดชอบ เพื่อแก้ไขปัญหาให้ประชาชนต่อไป
- การสัมมนาภาคบ่าย เป็นการสัมมนากลุ่มย่อยเรื่อง การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของสื่อมวลชนท้องถิ่น จำนวน 6 กลุ่ม เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการทำงานระหว่างสื่อมวลชนกับภาครัฐ รวมทั้งหาแนวทางให้สื่อท้องถิ่นสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของภาครัฐได้มากขึ้น ซึ่งจะเป็นผลให้ประชาชนได้รับทราบการดำเนินงานของรัฐบาลได้ดียิ่งขึ้น ผลการสัมมนากลุ่มย่อยสรุปได้ ดังนี้
1. ขอให้ส่วนราชการและผู้ว่าราชการจังหวัดแถลงผลการดำเนินงานของภาครัฐที่เป็นประโยชน์ต่อท้องถิ่นและสื่อมวลชนอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
2. ขอให้ปรับปรุงข้อมูลข่าวสารภาครัฐให้ลงลึกในรายละเอียดของนโยบายสำคัญ ใช้ภาษาเข้าใจง่าย ภาษาถิ่น ไม่ใช้ศัพท์เทคนิค ไม่ปิดกั้นข้อมูลข่าวสาร และปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา
3. ต้องการให้ภาครัฐส่งเสริมและพัฒนาช่องทางการรับ-ส่งข้อมูลข่าวสารถึงสื่อท้องถิ่น
4. ส่วนราชการขาดเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ที่จะให้ข้อมูลอย่างถูกต้องชัดเจน
5. ขอทราบว่าหลังจากที่ออก พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสาร ออกมาแล้วจะมีข้อจำกัดในข้อมูลข่าวสารอย่างไรบ้าง
6. ขอให้รัฐบาลส่งเสริมสื่อท้องถิ่นโดยจัดการประกวดและมอบรางวัลให้สื่อท้องถิ่นดีเด่น
7. แหล่งข่าวในส่วนราชการเลือกปฏิบัติในการให้ข้อมูลข่าวสารกับสื่อ
8. ประชาสัมพันธ์จังหวัดบางจังหวัดยังให้ข้อมูลล่าช้า
9. ส่วนราชการในท้องถิ่นไม่รับฟังปัญหาจากประชาชน
10. ขอให้จำแนกแยกแยะวิทยุชุมชนที่แท้จริงออกจากวิทยุธุรกิจที่อาศัยพื้นที่วิทยุชุมชน เพื่อสร้างประโยชน์ให้กับตนเอง
11. ต้องการให้จัดตั้งคณะกรรมการวิทยุชุมชนในชุมชน เพื่อเก็บข้อมูลเสนอต่อ กสช. ต่อไป
12. ต้องการให้มีการอบรมนักจัดรายการวิทยุชุมชน เพื่อให้นักจัดรายการใช้ภาษาที่เหมาะสม ซึ่งอาจหมายถึงการใช้ภาษาถิ่น หรือให้นักจัดรายการมีความรู้ด้านเทคนิค
13. เครือข่ายวิทยุสถานีวิทยุแห่งประเทศไทย ไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่
14. หอกระจายข่าวในส่วนท้องถิ่นไม่มีความสมบูรณ์ อบต.ไม่ให้การสนับสนุน
15. ต้องการให้มีกฎหมายในการควบคุมสื่อ
16. ขอให้สื่อสารมวลชนนำเสนอข่าวในเชิงสร้างสรรค์
17. การเสนอข่าวสารของสื่อมวลชนละเมิดสิทธิผู้ป่วย
การสำรวจความคิดเห็นของสื่อมวลชนต่อการจัดสัมมนา จากการสำรวจโดยให้สื่อมวลชนท้องถิ่นตอบแบบสอบถาม พบว่า
- ความเห็นต่อการสัมมนา สื่อมวลชนส่วนใหญ่เห็นว่าได้รับประโยชน์จากการสัมมนามาก เพราะเป็นการเพิ่มช่องทางการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของภาครัฐได้โดยตรงและมากขึ้น สามารถสะท้อนปัญหาความต้องการของท้องถิ่นให้รับบาลได้รับทราบอย่างชัดเจน และทำให้สื่อเข้าใจในนโยบายของรัฐบาลมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างภาครัฐกับสื่อมวลชน และสร้างเครือข่ายในการติดต่อสื่อสารกันได้อย่างกว้างขวาง รวมทั้งทำให้สื่อมวลชนและประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วม ในการบริหารงานของรัฐบาลมากขึ้น
- ความพึงพอใจของสื่อมวลชนท้องถิ่นต่อการเข้าร่วมสัมมนา สำหรับสิ่งที่สื่อมวลชนรู้สึกพึงพอใจในการเข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้มากที่สุดคือ ได้รับฟังการชี้แจงนโยบายและการบริหารงานของรัฐบาล รวมทั้งการตอบคำถามของรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และคณะโฆษกฯ
ข้อเสนอแนะของสื่อมวลชน ต้องการให้จัดสัมมนาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างสม่ำเสมอ และเพื่อติดตามประเมินผลการทำงานของรัฐบาลและสื่อท้องถิ่น นอกจากนี้ เห็นว่าเวลาในการนำเสนอปัญหาของท้องถิ่นมีน้อยเกินไป จึงควรจัดให้มีเวลาในการสัมมนาและซักถามปัญหามากขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 ตุลาคม 2548--จบ--
สำนักโฆษกและกรมประชาสัมพันธ์ได้ร่วมกันจัดสัมมนา “สื่อท้องถิ่นกับนโยบายรัฐบาล” ครั้งที่ 2 เมื่อวันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม 2548 ณ โรงแรมพิมาน จังหวัดนครสวรรค์ โดยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ) เป็นประธานการสัมมนาและชี้แจงสร้างความเข้าใจในนโยบายและการบริหารงานของรัฐบาลแก่สื่อมวลชนท้องถิ่น ในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง 9 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดอุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ พิจิตร ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์ และอุทัยธานี ซึ่งการจัดสัมมนาได้รับความร่วมมือจากโฆษกกระทรวง ผู้ปฏิบัติงานด้านประชาสัมพันธ์ของกระทรวง รวมทั้งผู้ว่าราชการจังหวัด และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เข้าร่วมสัมมนาเพื่อร่วมชี้แจงและสร้างความเข้าใจในนโยบายของรัฐบาล โดยมีการถ่ายทอดการสัมมนาทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย และสถานีโทรทัศน์กรมประชาสัมพันธ์ ช่อง 11ให้ประชาชนในเขตพื้นที่ได้รับชม เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ด้วย
ผลการจัดสัมมนาสรุปได้ดังนี้
- การจัดสัมมนาภาคเช้า คณะโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้นำเสนอนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคเหนือตอนล่างของรัฐบาล แก่สื่อมวลชนท้องถิ่น ต่อจากนั้นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้กล่าวเปิดการสัมมนา เพื่อชี้แจงและสร้างความเข้าใจในนโยบายของรัฐบาล และตอบข้อซักถามของสื่อมวลชน ซึ่งสรุปประเด็นปัญหาและข้อเสนอแนะของสื่อมวลชนได้ ดังนี้
จังหวัด คำถาม/ข้อคิดเห็น คำตอบ/ชี้แจง
อุตรดิตถ์ 1. - อยากให้รัฐบาลให้ความสำคัญและ 1.รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดูแล สื่อท้องถิ่นมากขึ้น ชี้แจง
- เสนอว่าโครงการกองทุนหมู่บ้านที่มี รัฐบาลให้ความสำคัญกับสื่อท้องถิ่นมา
การจัดสรรเงินให้หมู่บ้านละ 1 ล้านบาท โดยตลอด และขอเสริมเกี่ยวกับเรื่อง
น่าจะมีการส่งวิทยากรผู้รู้ไปให้ความรู้ สมาคมต่างๆ อย่างเช่น สมาคมสื่อฯ
กับคนในท้องถิ่นชุมชนนั้น ๆ เพื่อให้ ที่ท่านกำลังดำเนินการอยู่ว่าจะมีบทบาท
พวกเขาเข้าใจการจัดการเงินทุน สำคัญอย่างมากในการช่วยกันแก้ไข
ได้อย่างถูกต้องและเป็นประโยชน์สูงสุด ปัญหาต่างๆ โดยการทำหน้าที่รวบรวม
ความคิดเห็นเสนอกลับมายังรัฐบาล
และช่วยกันตรวจสอบศีลธรรมจรรยา
ของผู้ประกอบวิชาชีพนี้ในท้องถิ่น
พิษณุโลก 1. - ขอเรียนว่าการจัดระเบียบวิทยุชุมชนใน 1.รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
จังหวัดพิษณุโลกมีการจัดระเบียบ ชี้แจง
วิทยุชุมชนกันเอง โดยที่ภาครัฐไม่ต้อง สนับสนุนให้จังหวัดมีโอกาสร่วมหารือ
เข้ามาเกี่ยวข้อง กันเพื่อจัดระบบระเบียบวิทยุชุมชนใน
- ขอทราบว่ารัฐบาลมีนโยบายสนับสนุน จังหวัด เพราะเมื่อจัดการเป็นระบบ
สื่อสิ่งพิมพ์หรือไม่อย่างไร ได้แล้ว การวางระเบียบกฎเกณฑ์ที่
จะตามมาก็จะง่ายขึ้น เมื่อมีการตั้ง
กสช.เรียบร้อย ชุมชนยังจะสามารถ
นำข้อมูลเหล่านั้นไปเสนอให้ กสช.
รับทราบ ซึ่งน่าจะช่วยให้ขั้นตอนการทำ
งานของ กสช.ในการจัดสรรคลื่น
ความถี่ง่ายขึ้น
2. รัฐบาลมีนโยบายปรับปรุงโทรทัศน์ช่อง 11 2.รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ให้สามารถแข่งขันกับโทรทัศน์ช่องอื่นหรือไม่ ชี้แจง
การปรับปรุงโทรทัศน์ช่อง 11 ได้ให้
นโยบายกรมประชาสัมพันธ์ให้ปรับปรุง
ทั้งสถานีวิทยุและโทรทัศน์แห่งประเทศ
ไทย ซึ่งช่องทางการสื่อสารทั้ง 2
ประเภทนี้ถือเป็นของประชาชนทุกคน
เงินทุนที่นำมาบริหารโทรทัศน์ช่อง 11
และสถานีวิทยุแห่งประเทศไทยเป็นภาษี
อากรของประชาชน หากใครมีความ
คิดเห็นประการใดสามารถส่งความคิด
เห็นได้ทันที ทั้งนี้ เบื้องต้นได้ให้แนว
ทางแก่ช่อง 11 ว่าอยากให้เป็นช่อง
ทางการสื่อสารที่ให้ความรู้ เป็น
Knowledge Channel ของประเทศ
ไทยโดยเฉพาะ ซึ่งอธิบดีกรมประชา
สัมพันธ์กำลังเร่งดำเนินการอยู่
อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่โทรทัศน์ช่อง
11 ยังประสบอยู่เช่นเดียวกับสื่อสิ่ง
พิมพ์ คือมีเงินทุนสนับสนุนน้อย และ
ระบบการบริหารงานที่เป็นแบบราชการ
มีความล่าช้า มีระเบียบขั้นตอนซับซ้อน
ซึ่งจะต้องปรับปรุงต่อไป
3.รัฐบาลมีนโยบายงดออกอากาศของสถานี 3.รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
โทรทัศน์หลังเวลาเที่ยงคืนเพื่อรณรงค์การ ชี้แจง
ประหยัดพลังงานหรือไม่ เพราะเหตุใด การรณรงค์ให้ประชาชนประหยัด
พลังงาน มีคนเสนอมาว่าควรจะให้
สถานีโทรทัศน์ทุกช่องหยุดการส่งสัญญาณ
หลังเวลาเที่ยงคืน แต่การพิจารณา
ของผู้ที่รับผิดชอบในเรื่องนี้มองว่าไม่
จำเป็นต้องนำมาตรการดังกล่าวมาใช้
ในขณะนี้ เพราะการที่จะสั่งให้ปิดสื่อ
ประเภทต่าง ๆ นั้น มีข้อดีข้อเสียของ
มันอยู่ แต่สิ่งที่อยากขอความร่วมมือจาก
ทุกท่านคือให้ทุกคนช่วยกันรณรงค์ร่วมกับ
ประหยัดพลังงานโดยปิดไฟหรือเครื่อง
ใช้ไฟฟ้าต่างๆ และใช้พลังงานให้
น้อยที่สุด
เพชรบูรณ์ 1.ในฐานะที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายก-รัฐมนตรี 1.รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
เป็นตัวแทนของรัฐบาลเข้ามารับผิดชอบดูแลการ ชี้แจง
จัดระเบียบวิทยุชุมชน ขอทราบว่าท่านได้วาง วิทยุชุมชนใดที่ไม่อยู่ในกฎกติกา
กลไกและเกณฑ์การแยกแยะวิทยุชุมชนที่แท้จริง จะต้องสั่งให้ยุติทันที ประเด็นต่อมา
กับส่วนที่แอบแฝงเข้ามาใช้คลื่นวิทยุชุมชน หากวิทยุชุมชนยังจัดระเบียบกันเอง
อย่างไรบ้าง ไม่ได้ก็อาจดำเนินการสั่งยุติลง
ทั้งหมด เพราะว่าหากมีปัญหาคลื่น
รบกวนกัน เมื่อมีการตั้ง กสช.
ขึ้นมา กสช. ก็ต้องสั่งหยุดทั้งหมด
หรือหาก กสช. ออกกฎให้ยกเลิก
วิทยุชุมชนที่ได้ตั้งกันขึ้นมาทั้งหมด
รัฐบาลจำเป็นต้องบังคับไปตามนั้น
พิจิตร 1.เสนอให้ตรวจสอบวิทยุชุมชนที่ไม่ปฏิบัติตาม 1.รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
กรอบกติกา ให้ยกเลิกการโฆษณาในวิทยุชุมชน ชี้แจง
หรือถ้าไม่ยกเลิกก็ขอให้มีการจัดเก็บภาษีตาม การตรวจสอบวิทยุชุมชน รัฐบาลกำลัง
กฎหมายที่มีอยู่ ขอให้แยกแยะวิทยุชุมชนที่ ดำเนินการอยู่แล้วในขณะนี้
แท้จริงกับส่วนที่แอบแฝงเข้ามาใช้คลื่นวิทยุชุมชน
เพื่อประโยชน์อื่นออกจากกันให้ชัดเจน
2.ในบางพื้นที่ของจังหวัดพิจิตรรับชมสถานีโทรทัศน์ 2.รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
แห่งประเทศไทยช่อง 11 ไม่ได้ ชี้แจง
ปัญหารับชมโทรทัศน์ช่อง 11 ไม่ได้
จะไปติดตามเรื่องให้ต่อไป
3.ขอทราบว่ารัฐบาลมีแนวทางสนับสนุนการสร้าง 3.รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
มหาวิทยาลัยในพื้นที่จังหวัดพิจิตรหรือไม่อย่างไร ชี้แจง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เรียน
ให้ทราบว่าขณะนี้จังหวัดพิจิตรมี
โครงการจะดำเนินการตั้งมหาวิทยาลัย
อยู่แล้ว อย่างไรก็ตามจะนำเรื่อง
ดังกล่าวเรียนให้นายกรัฐมนตรีได้
รับทราบถึงปัญหานี้อีกครั้งหนึ่ง
ตาก 1.ขอทราบความคืบหน้าโครงการโคล้านตัว 1.นายพินิจ กอศรีพร รองโฆษกกระทรวง
จะเป็นไปได้หรือไม่ถ้าขอให้รัฐบาลเปลี่ยนแปลง เกษตรและสหกรณ์ ชี้แจง
การให้โคมาเป็นให้เงินกู้ยืมดอกเบี้ยต่ำให้ โครงการโคล้านตัว กระทรวง
ประชาชนกู้ยืมไปซื้อโคตามความต้องการของ มีแนวคิดว่าจะให้เชื้อโคเพื่อให้
ตนเองแทน เกษตรกรนำไปผสมพันธุ์ให้ได้ลูกโค
แต่ปัจจุบันนี้มีการเปลี่ยนนโยบายโดย
การแจกโคเป็นตัว ซึ่งการดำเนินการนี้
จะต้องเข้าไปสู่กระบวนการที่เรียกว่า
เอสพีวีที่กำลังมีการร่างระเบียบเพื่อ
เอื้ออำนวยประโยชน์ให้กับเกษตร
คาดว่าจะสำเร็จเสร็จสิ้นในอนาคต
อันใกล้นี้ ส่วนการที่จะขอให้เปลี่ยน
เป็นการให้ความช่วยเหลือจากการ
แจกโคมาเป็นการให้หรือให้กู้ยืมเงินสด
เพื่อให้เกษตรกรไปเลือกซื้อโคมาเลี้ยง
เองคงไม่ใช่นโยบายของรัฐ
2.ขอให้รัฐบาลดูแลและแก้ไขปัญหาสังคม อาทิ 2.รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
คอร์รัปชั่น ยาเสพติด เยาวชน แรงงาน ชี้แจง
บริเวณชายแดน ปัญหาสังคมเป็นเรื่องที่นายกรัฐมนตรี
ให้ความสำคัญในการแก้ไขเป็นลำดับ
ต้นๆ กระทรวงที่รับผิดชอบด้านนี้ได้รับ
จัดสรรงบประมาณให้เป็นจำนวนมาก
เพราะรัฐบาลมีความห่วงใยเด็กและ
เยาวชนของชาติ และตระหนักถึง
ความจำเป็นที่จะต้องเร่งแก้ไขปัญหา
เด็กและเยาวชนให้หมดสิ้นไป
โดยเร็ว
ในส่วนนี้สื่อมวลชนก็สามารถเข้ามามี
บทบาทสำคัญในการนำเสนอข้อมูล
ข่าวสาร โดยให้ความสำคัญนำเสนอ
ข้อมูลข่าวสารที่มีเนื้อหาเสริมสร้าง
ศีลธรรม-จรรยาของเด็ก เยาวชน
และบุคคลทั่วๆ ไปมากขึ้น เรื่องนี้
ทุกคนต้องช่วยกัน
3.ขอให้กำชับข้าราชการห้ามสืบเสาะหาข้อมูล 3.รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ส่วนตัวของสื่อมวลชนเพื่อใช้ไปในเชิงข่มขู่ ชี้แจง
ให้หวาดกลัว การห้ามข้าราชการข่มขู่สื่อมวลชน
นายกรัฐมนตรีมีนโยบายชัดเจน
ในการกำชับห้ามข้าราชการประพฤติ
ปฏิบัติตัวในเชิงข่มขู่หรือทำให้สื่อมวลชน
หวาดกลัว นอกจากนี้ยังกำชับไม่ให้
ข้าราชการอ้างชื่อหรือตำแหน่งรัฐมนตรี
และนายกรัฐมนตรีไปในทางที่ผิด
4.อยากให้รัฐมนตรีที่เดินทางลงพื้นที่ต่างจังหวัด 4.รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ทำความเข้าใจรายละเอียดข้อมูลที่จำเป็น ชี้แจง
ภายในจังหวัดนั้นให้ชัดเจน ในส่วนข้อมูลที่รัฐมนตรีซึ่งลงตรวจ
ราชการใน พื้นที่จังหวัดต่างๆ
รับทราบมามี 2 ส่วนสำคัญ ส่วนแรก
เป็นข้อมูลที่หน่วยงานราชการได้
รายงานให้รัฐมนตรีท่านนั้นได้ทราบ
โดยตรง อีกส่วนหนึ่งเป็นข้อมูลที่
รัฐมนตรีต้องไปรับฟังจากคนในพื้นที่
ด้วยตนเอง อย่างไรก็ตามกรณีที่อาจมี
ข้าราชการบางคนหรือผู้ติดตามรัฐมนตรี
บางคนมีท่าทีไม่เหมาะสม มีความรู้ไม่
เพียงพอ หรือให้ข้อมูลที่ผิดจนน่ากังวล
ว่าจะทำให้รัฐมนตรีได้ข้อมูลผิดพลาด
และเป็นเหตุให้การตัดสินใจของ
รัฐมนตรีผิดพลาดได้ สื่อมวลชนหรือ
ประชาชนสามารถบอกกล่าวกับรัฐมนตรี
ได้โดยตรงหรืออาจส่งเรื่องร้องเรียน
มายังส่วนกลางก็ได้
นครสวรรค์ 1.การบริหารราชการจังหวัดแบบการ 1.รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
บูรณาการหรือผู้ว่าราชการจังหวัดซีอีโอ ชี้แจง
มีทั้งข้อดีและข้อเสีย หลายกรณีที่ผู้บริหาร เรื่องมหาวิทยาลัย ตั้งใจจะเดินทาง
ใช้อำนาจบริหารโดยไม่รับฟังเสียงวิพากษ์ ไปดูพื้นที่ช่วงเดินทางกลับ
วิจารณ์ท้วงติงจากภาคส่วนอื่นๆ จน อย่างไรก็ตาม อีกแง่หนึ่งอยากขอให้
ก่อให้เกิดความเสียหายกระทบต่อสังคม ท่านให้ความเป็นธรรมกับท่านผู้ว่า-
ส่วนรวมอย่างมาก ราชการจังหวัดซีอีโอด้วยเช่นกัน
ทั้งนี้ ในจังหวัดนครสวรรค์มีปัญหาที่เกิด โดยจะขอให้ท่านนำข้อมูลที่มีอยู่มาให้
จากการบริหารแบบดังกล่าวหลายประการ แล้วค่อยปรึกษาหารือกัน
อย่างกรณีการตั้งมหาวิทยาลัยวิทยาเขต
จังหวัดนครสวรรค์แห่งหนึ่งที่มีความล่าช้ามาก
มีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการบริหารราชการ
ของผู้ว่าซีอีโอที่บริหารงานโดยไม่ฟังข้อคิดเห็น
ของคนในจังหวัด รวมทั้งมีความพยายามหลาย
อย่างที่จะเสนอเรื่องถึงคณะที่ปรึกษาเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติให้มีการรื้อทิ้งมหาวิทยาลัย
แห่งนั้นทั้งหมด เพื่อจะใช้พื้นที่ดังกล่าวทำเป็น
แก้มลิงกักเก็บน้ำขึ้นมาแทน
สำหรับประเด็นข้อซักถามเหล่านี้ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และผู้แทนส่วนราชการต่าง ๆ ได้ตอบคำถามและชี้แจงข้อสงสัยต่าง ๆ แล้ว ส่วนบางปัญหาที่จะต้องดำเนินการต่อไปนั้น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รับที่จะนำมาพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่รับผิดชอบ เพื่อแก้ไขปัญหาให้ประชาชนต่อไป
- การสัมมนาภาคบ่าย เป็นการสัมมนากลุ่มย่อยเรื่อง การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของสื่อมวลชนท้องถิ่น จำนวน 6 กลุ่ม เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการทำงานระหว่างสื่อมวลชนกับภาครัฐ รวมทั้งหาแนวทางให้สื่อท้องถิ่นสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของภาครัฐได้มากขึ้น ซึ่งจะเป็นผลให้ประชาชนได้รับทราบการดำเนินงานของรัฐบาลได้ดียิ่งขึ้น ผลการสัมมนากลุ่มย่อยสรุปได้ ดังนี้
1. ขอให้ส่วนราชการและผู้ว่าราชการจังหวัดแถลงผลการดำเนินงานของภาครัฐที่เป็นประโยชน์ต่อท้องถิ่นและสื่อมวลชนอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
2. ขอให้ปรับปรุงข้อมูลข่าวสารภาครัฐให้ลงลึกในรายละเอียดของนโยบายสำคัญ ใช้ภาษาเข้าใจง่าย ภาษาถิ่น ไม่ใช้ศัพท์เทคนิค ไม่ปิดกั้นข้อมูลข่าวสาร และปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา
3. ต้องการให้ภาครัฐส่งเสริมและพัฒนาช่องทางการรับ-ส่งข้อมูลข่าวสารถึงสื่อท้องถิ่น
4. ส่วนราชการขาดเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ที่จะให้ข้อมูลอย่างถูกต้องชัดเจน
5. ขอทราบว่าหลังจากที่ออก พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสาร ออกมาแล้วจะมีข้อจำกัดในข้อมูลข่าวสารอย่างไรบ้าง
6. ขอให้รัฐบาลส่งเสริมสื่อท้องถิ่นโดยจัดการประกวดและมอบรางวัลให้สื่อท้องถิ่นดีเด่น
7. แหล่งข่าวในส่วนราชการเลือกปฏิบัติในการให้ข้อมูลข่าวสารกับสื่อ
8. ประชาสัมพันธ์จังหวัดบางจังหวัดยังให้ข้อมูลล่าช้า
9. ส่วนราชการในท้องถิ่นไม่รับฟังปัญหาจากประชาชน
10. ขอให้จำแนกแยกแยะวิทยุชุมชนที่แท้จริงออกจากวิทยุธุรกิจที่อาศัยพื้นที่วิทยุชุมชน เพื่อสร้างประโยชน์ให้กับตนเอง
11. ต้องการให้จัดตั้งคณะกรรมการวิทยุชุมชนในชุมชน เพื่อเก็บข้อมูลเสนอต่อ กสช. ต่อไป
12. ต้องการให้มีการอบรมนักจัดรายการวิทยุชุมชน เพื่อให้นักจัดรายการใช้ภาษาที่เหมาะสม ซึ่งอาจหมายถึงการใช้ภาษาถิ่น หรือให้นักจัดรายการมีความรู้ด้านเทคนิค
13. เครือข่ายวิทยุสถานีวิทยุแห่งประเทศไทย ไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่
14. หอกระจายข่าวในส่วนท้องถิ่นไม่มีความสมบูรณ์ อบต.ไม่ให้การสนับสนุน
15. ต้องการให้มีกฎหมายในการควบคุมสื่อ
16. ขอให้สื่อสารมวลชนนำเสนอข่าวในเชิงสร้างสรรค์
17. การเสนอข่าวสารของสื่อมวลชนละเมิดสิทธิผู้ป่วย
การสำรวจความคิดเห็นของสื่อมวลชนต่อการจัดสัมมนา จากการสำรวจโดยให้สื่อมวลชนท้องถิ่นตอบแบบสอบถาม พบว่า
- ความเห็นต่อการสัมมนา สื่อมวลชนส่วนใหญ่เห็นว่าได้รับประโยชน์จากการสัมมนามาก เพราะเป็นการเพิ่มช่องทางการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของภาครัฐได้โดยตรงและมากขึ้น สามารถสะท้อนปัญหาความต้องการของท้องถิ่นให้รับบาลได้รับทราบอย่างชัดเจน และทำให้สื่อเข้าใจในนโยบายของรัฐบาลมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างภาครัฐกับสื่อมวลชน และสร้างเครือข่ายในการติดต่อสื่อสารกันได้อย่างกว้างขวาง รวมทั้งทำให้สื่อมวลชนและประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วม ในการบริหารงานของรัฐบาลมากขึ้น
- ความพึงพอใจของสื่อมวลชนท้องถิ่นต่อการเข้าร่วมสัมมนา สำหรับสิ่งที่สื่อมวลชนรู้สึกพึงพอใจในการเข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้มากที่สุดคือ ได้รับฟังการชี้แจงนโยบายและการบริหารงานของรัฐบาล รวมทั้งการตอบคำถามของรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และคณะโฆษกฯ
ข้อเสนอแนะของสื่อมวลชน ต้องการให้จัดสัมมนาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างสม่ำเสมอ และเพื่อติดตามประเมินผลการทำงานของรัฐบาลและสื่อท้องถิ่น นอกจากนี้ เห็นว่าเวลาในการนำเสนอปัญหาของท้องถิ่นมีน้อยเกินไป จึงควรจัดให้มีเวลาในการสัมมนาและซักถามปัญหามากขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 ตุลาคม 2548--จบ--