คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรายงานผลการติดตามงานการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขระดับจังหวัดในท้องที่จังหวัดพิจิตรและจังหวัดอุทัยธานี ครั้งที่ 1 สรุปสาระสำคัญของผลการดำเนินงาน ดังนี้
1. สรุปผลการติดตามงาน
1.1 จังหวัดพิจิตร
1.1.1 การประชุมรับฟังข้อมูลและมอบนโยบาย ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร (นายปรีชา เรืองจันทร์) ได้จัดประชุมหัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และประชาชน จำนวนประมาณ 1,000 คน ณ โรงแรมพิจิตรพลาซ่า ในการนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตรได้นำเสนอสภาพข้อมูลทั่วไป และยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดพิจิตร ซึ่งเน้นในเรื่องการผลิตแปรรูป และส่งเสริมการค้าข้าว รวมทั้งได้ชี้แจงแนวทางขั้นตอนการดำเนินงานการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข และเกณฑ์การพิจารณาจัดสรรงบประมาณตามยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข จำนวน 73 ล้านบาท ดังนี้
1) จัดสรรให้หมู่บ้าน/ชุมชน ดังนี้
- จัดสรรให้หมู่บ้าน/ชุมชนในเขตเทศบาลเมือง จำนวน 929 หมู่บ้าน ร้อยละ 90
(1) จัดสรรให้เท่ากันทุกหมู่บ้าน/ชุมชน ร้อยละ 30
(2) จัดสรรตามจำนวนประชากร ร้อยละ 30
(3) จัดสรรให้ตามผลการประเมินผลการยกระดับคุณภาพแผนหมู่บ้าน/ชุมชน ร้อยละ 20
(4) จัดสรรตามจำนวนครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำกว่า 20,000 บาท/คน/ปี ร้อยละ 20
- จัดสรรไว้เพื่อสนับสนุนการยกระดับหมู่บ้าน/ชุมชน ร้อยละ 10
2) การนำเสนอโครงการ จังหวัดพิจิตรได้กำหนดให้หมู่บ้าน/ชุมชน ส่งโครงการภายในวันที่ 15 พฤษภาคม 2550 โดยมีโครงการที่นำเสนอมาแล้ว จำนวน 434 โครงการ จำแนกตามแผนงาน 5 ด้าน ได้ดังนี้ แผนงานด้านเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 115 โครงการ แผนงานพัฒนาและสร้างโอกาสให้ชุมชน จำนวน 14 โครงการ แผนงานการฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของชุมชน จำนวน 43 โครงการ แผนงานการสงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาสและผู้สูงอายุ จำนวน 62 โครงการ แผนงานการบริการขั้นพื้นฐานแก่ประชาชน จำนวน 200 โครงการ
1.1.2 การตรวจเยี่ยมโครงการนำร่อง
ได้ไปตรวจเยี่ยมโครงการนำร่องชุมชน 2 โครงการ คือ โครงการภูมิปัญญาชาวบ้านของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรสามัคคีโพธิ์ประทับช้าง หมู่ที่ 9 บ้านปากกระช่อง ตำบลโพธิ์ประทับช้าง อำเภอโพธิ์ประทับช้าง และโครงการวิสาหกิจชุมชน หมู่ 5 บ้านสระยายชี ตำบลเนินปอ อำเภอสามง่าม ซึ่งมีการนำเสนอการดำเนินงานในลักษณะคณะกรรมการที่มาจากชุมชน ร่วมกันคิดร่วมกันบริหาร และขายผลผลิตเป็นรายได้เข้าสู่ชุมชน
1.2 จังหวัดอุทัยธานี
1.2.1 การประชุมรับฟังข้อมูลและมอบนโยบาย ผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี (นายอุดม พัวสกุล) ได้ประชุมหัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และประชาชน จำนวนประมาณ 800 คน ณ โรงแรมไอยราปาร์ค ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานีได้บรรยายสภาพข้อมูลทั่วไป และสภาพปัญหาของจังหวัด คือ การขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค และประสบปัญหาภัยแล้งเป็นประจำ รวมทั้งได้ชี้แจงหลักเกณฑ์และการอนุมัติโครงการภายใต้ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข จำนวนเงิน 59 ล้านบาท ดังนี้
1) จัดสรรให้อำเภอเป็นหน่วยดำเนินการตามหลักเกณฑ์ คือ
- ร้อยละ 50 จัดสรรเท่ากันทุกอำเภอ
- ร้อยละ 10 จัดสรรตามสัดส่วนหมู่บ้าน/ชุมชน
- ร้อยละ 15 จัดสรรตามจำนวนประชากร
- ร้อยละ 15 จัดสรรตามจำนวนครัวเรือน
- ร้อยละ 10 จัดสรรตามแบบผกผัน(คิดจากรายได้ประชากรต่อหัว)
2) การอนุมัติโครงการ พิจารณากระจายใน 5 แผนงาน คือ
- แผนงานด้านเศรษฐกิจพอเพียง ร้อยละ 50
- แผนงานพัฒนาและสร้างโอกาสให้ชุมชน ร้อยละ 20
- แผนงานการฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของชุมชน ร้อยละ 10
- แผนงานการสงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาสและผู้สูงอายุ ร้อยละ 10
- แผนงานการบริการขั้นพื้นฐานแก่ประชาชน ร้อยละ 10
ทั้งนี้ ปัจจุบัน จังหวัดอุทัยธานี ได้ดำเนินการตามขั้นตอนและหลักเกณฑ์การจัดทำรายละเอียดโครงการและอนุมัติโครงการ โดยเน้นโครงการที่มาจากแผนชุมชน ที่เริ่มจากชาวบ้านร่วมกันคิด ร่วมกันทำ ร่วมกันวางแผน และร่วมกันรับผิดชอบ
1.2.2 การตรวจเยี่ยมโครงการนำร่อง
ได้ไปเยี่ยมชมโครงการตู้เย็นข้างบ้าน บ้านเพชรผาลาด หมู่ 17 ตำบลตลุกดู่ อำเภอทัพทัน ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันของชุมชนในการทำเกษตรผสมผสาน ได้แก่ เลี้ยงปลา เลี้ยงหมู เพาะเห็ด ปลูกผัก ในลักษณะพอมีพอกินและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน โดยมีผลการดำเนินงานก้าวหน้าเป็นอย่างดี จนมีผู้มาขอดูงานเป็นจำนวนมาก และได้พัฒนาเป็นศูนย์การเรียนรู้ชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง
2. การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ให้นโยบายแนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขแก่ผู้เข้าร่วมประชุม ณ จังหวัดพิจิตรและอุทัยธานี ดังนี้
2.1 ความสำคัญของนโยบายอยู่ดีมีสุข นโยบายนี้เน้นการดำเนินงานเพื่อให้เกิดการพึ่งตนเองให้ได้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยให้ประชาชนระดับชุมชนได้พิจารณากันเองว่า สิ่งที่ตนต้องการคืออะไร หรือการวิเคราะห์ปัญหา เริ่มโดยชุมชน ทำโดยชุมชน รัฐโดยจังหวัดเป็นพี่เลี้ยง ซึ่งจุดสำคัญที่สุดของชุมชน คือ ครอบครัว ทั้งนี้ นโยบายอยู่ดีมีสุขจะสำเร็จได้อยู่ที่การมีส่วนร่วมของประชาชน โดยขอให้ยึดหลักการ 3 ด้าน คือ การพัฒนาที่ยั่งยืน การบริหารจัดการที่ดี และต้องมีแผนในการทำงานที่ยั่งยืนและต่อเนื่อง นอกจากนี้ ขอให้ศึกษาต้นแบบการจัดการตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจากศูนย์การเรียนรู้ตามแนวพระราชดำริทั่วประเทศ
2.2 ลักษณะของแผนงาน 5 ด้าน ดังนี้
1) แผนงานด้านเศรษฐกิจพอเพียง เน้นการเริ่มจากครอบครัวไปสู่ชุมชน
2) แผนงานพัฒนาและสร้างโอกาสให้ชุมชน มี 3 ขั้นตอน คือ
- อุปโภคบริโภคให้พอเพียง
- จะถนอมผลผลิตและแปรรูปผลผลิตอย่างไร
- พัฒนาผลิตภัณฑ์ตามศักยภาพของแต่ละท้องถิ่นเพื่อสู่ตลาดระดับชุมชน
3) แผนงานการฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของชุมชน การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของชุมชน ควรมีการปลูกป่าหัวไร่ปลายนา การจัดการขยะและน้ำเสียชุมชน
4) แผนงานการสงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาสและผู้สูงอายุ จะต้องให้ความสำคัญกับผู้ด้อยโอกาสและผู้สูงอายุในแต่ละพื้นที่
5) แผนงานการบริการขั้นพื้นฐานแก่ประชาชน เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนทั้งด้านการศึกษา สาธารณสุข และการฝึกอาชีพ
2.3 การติดตามผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข
มอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตรและอุทัยธานี แต่งตั้งคณะกรรมการในระดับต่างๆ เพื่อติดตามแผนงานในแต่ละด้าน และสรุปรายงานผลให้ทราบเป็นระยะ รวมทั้งจะส่งคณะกรรมการส่วนกลางมาสนับสนุนและตรวจติดตามอย่างต่อเนื่อง
2.4 บทบาทของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สนับสนุนงานตามยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขระดับจังหวัด
2.4.1 จะส่งคณะทำงานไปประเมินสถานภาพทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดพิจิตร และอุทัยธานี เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปปรับปรุงและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นโดยเร่งด่วนต่อไป
2.4.2 จะส่งคณะกรรมการจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเข้าไปสนับสนุนการดำเนินงานของจังหวัด
2.4.3 ให้หน่วยงานของกระทรวงฯ ที่ตั้งในภูมิภาค ได้แก่ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค สำนักงานทรัพยากรน้ำภาค ศูนย์ทรัพยากรน้ำบาดาลภาค สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ และสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ ออกไปในพื้นที่ทั้ง 2 จังหวัด เพื่อให้คำแนะนำและความช่วยเหลือทางวิชาการในการบริหารจัดการและการฟื้นฟูด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตามลักษณะภูมิประเทศและภูมิสังคมในแต่ละท้องที่ เพื่อสนับสนุนให้ชุมชน จังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บริหารจัดการและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วยตนเองได้
2.4.4 กระทรวงฯ จะดำเนินโครงการที่สนับสนุนยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขระดับจังหวัด เช่น โครงการคลองสวย น้ำใส โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โครงการจัดหาน้ำอุปโภคบริโภค เป็นต้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 พฤษภาคม 2550--จบ--
1. สรุปผลการติดตามงาน
1.1 จังหวัดพิจิตร
1.1.1 การประชุมรับฟังข้อมูลและมอบนโยบาย ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร (นายปรีชา เรืองจันทร์) ได้จัดประชุมหัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และประชาชน จำนวนประมาณ 1,000 คน ณ โรงแรมพิจิตรพลาซ่า ในการนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตรได้นำเสนอสภาพข้อมูลทั่วไป และยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดพิจิตร ซึ่งเน้นในเรื่องการผลิตแปรรูป และส่งเสริมการค้าข้าว รวมทั้งได้ชี้แจงแนวทางขั้นตอนการดำเนินงานการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข และเกณฑ์การพิจารณาจัดสรรงบประมาณตามยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข จำนวน 73 ล้านบาท ดังนี้
1) จัดสรรให้หมู่บ้าน/ชุมชน ดังนี้
- จัดสรรให้หมู่บ้าน/ชุมชนในเขตเทศบาลเมือง จำนวน 929 หมู่บ้าน ร้อยละ 90
(1) จัดสรรให้เท่ากันทุกหมู่บ้าน/ชุมชน ร้อยละ 30
(2) จัดสรรตามจำนวนประชากร ร้อยละ 30
(3) จัดสรรให้ตามผลการประเมินผลการยกระดับคุณภาพแผนหมู่บ้าน/ชุมชน ร้อยละ 20
(4) จัดสรรตามจำนวนครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำกว่า 20,000 บาท/คน/ปี ร้อยละ 20
- จัดสรรไว้เพื่อสนับสนุนการยกระดับหมู่บ้าน/ชุมชน ร้อยละ 10
2) การนำเสนอโครงการ จังหวัดพิจิตรได้กำหนดให้หมู่บ้าน/ชุมชน ส่งโครงการภายในวันที่ 15 พฤษภาคม 2550 โดยมีโครงการที่นำเสนอมาแล้ว จำนวน 434 โครงการ จำแนกตามแผนงาน 5 ด้าน ได้ดังนี้ แผนงานด้านเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 115 โครงการ แผนงานพัฒนาและสร้างโอกาสให้ชุมชน จำนวน 14 โครงการ แผนงานการฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของชุมชน จำนวน 43 โครงการ แผนงานการสงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาสและผู้สูงอายุ จำนวน 62 โครงการ แผนงานการบริการขั้นพื้นฐานแก่ประชาชน จำนวน 200 โครงการ
1.1.2 การตรวจเยี่ยมโครงการนำร่อง
ได้ไปตรวจเยี่ยมโครงการนำร่องชุมชน 2 โครงการ คือ โครงการภูมิปัญญาชาวบ้านของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรสามัคคีโพธิ์ประทับช้าง หมู่ที่ 9 บ้านปากกระช่อง ตำบลโพธิ์ประทับช้าง อำเภอโพธิ์ประทับช้าง และโครงการวิสาหกิจชุมชน หมู่ 5 บ้านสระยายชี ตำบลเนินปอ อำเภอสามง่าม ซึ่งมีการนำเสนอการดำเนินงานในลักษณะคณะกรรมการที่มาจากชุมชน ร่วมกันคิดร่วมกันบริหาร และขายผลผลิตเป็นรายได้เข้าสู่ชุมชน
1.2 จังหวัดอุทัยธานี
1.2.1 การประชุมรับฟังข้อมูลและมอบนโยบาย ผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี (นายอุดม พัวสกุล) ได้ประชุมหัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และประชาชน จำนวนประมาณ 800 คน ณ โรงแรมไอยราปาร์ค ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานีได้บรรยายสภาพข้อมูลทั่วไป และสภาพปัญหาของจังหวัด คือ การขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค และประสบปัญหาภัยแล้งเป็นประจำ รวมทั้งได้ชี้แจงหลักเกณฑ์และการอนุมัติโครงการภายใต้ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข จำนวนเงิน 59 ล้านบาท ดังนี้
1) จัดสรรให้อำเภอเป็นหน่วยดำเนินการตามหลักเกณฑ์ คือ
- ร้อยละ 50 จัดสรรเท่ากันทุกอำเภอ
- ร้อยละ 10 จัดสรรตามสัดส่วนหมู่บ้าน/ชุมชน
- ร้อยละ 15 จัดสรรตามจำนวนประชากร
- ร้อยละ 15 จัดสรรตามจำนวนครัวเรือน
- ร้อยละ 10 จัดสรรตามแบบผกผัน(คิดจากรายได้ประชากรต่อหัว)
2) การอนุมัติโครงการ พิจารณากระจายใน 5 แผนงาน คือ
- แผนงานด้านเศรษฐกิจพอเพียง ร้อยละ 50
- แผนงานพัฒนาและสร้างโอกาสให้ชุมชน ร้อยละ 20
- แผนงานการฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของชุมชน ร้อยละ 10
- แผนงานการสงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาสและผู้สูงอายุ ร้อยละ 10
- แผนงานการบริการขั้นพื้นฐานแก่ประชาชน ร้อยละ 10
ทั้งนี้ ปัจจุบัน จังหวัดอุทัยธานี ได้ดำเนินการตามขั้นตอนและหลักเกณฑ์การจัดทำรายละเอียดโครงการและอนุมัติโครงการ โดยเน้นโครงการที่มาจากแผนชุมชน ที่เริ่มจากชาวบ้านร่วมกันคิด ร่วมกันทำ ร่วมกันวางแผน และร่วมกันรับผิดชอบ
1.2.2 การตรวจเยี่ยมโครงการนำร่อง
ได้ไปเยี่ยมชมโครงการตู้เย็นข้างบ้าน บ้านเพชรผาลาด หมู่ 17 ตำบลตลุกดู่ อำเภอทัพทัน ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันของชุมชนในการทำเกษตรผสมผสาน ได้แก่ เลี้ยงปลา เลี้ยงหมู เพาะเห็ด ปลูกผัก ในลักษณะพอมีพอกินและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน โดยมีผลการดำเนินงานก้าวหน้าเป็นอย่างดี จนมีผู้มาขอดูงานเป็นจำนวนมาก และได้พัฒนาเป็นศูนย์การเรียนรู้ชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง
2. การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ให้นโยบายแนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขแก่ผู้เข้าร่วมประชุม ณ จังหวัดพิจิตรและอุทัยธานี ดังนี้
2.1 ความสำคัญของนโยบายอยู่ดีมีสุข นโยบายนี้เน้นการดำเนินงานเพื่อให้เกิดการพึ่งตนเองให้ได้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยให้ประชาชนระดับชุมชนได้พิจารณากันเองว่า สิ่งที่ตนต้องการคืออะไร หรือการวิเคราะห์ปัญหา เริ่มโดยชุมชน ทำโดยชุมชน รัฐโดยจังหวัดเป็นพี่เลี้ยง ซึ่งจุดสำคัญที่สุดของชุมชน คือ ครอบครัว ทั้งนี้ นโยบายอยู่ดีมีสุขจะสำเร็จได้อยู่ที่การมีส่วนร่วมของประชาชน โดยขอให้ยึดหลักการ 3 ด้าน คือ การพัฒนาที่ยั่งยืน การบริหารจัดการที่ดี และต้องมีแผนในการทำงานที่ยั่งยืนและต่อเนื่อง นอกจากนี้ ขอให้ศึกษาต้นแบบการจัดการตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจากศูนย์การเรียนรู้ตามแนวพระราชดำริทั่วประเทศ
2.2 ลักษณะของแผนงาน 5 ด้าน ดังนี้
1) แผนงานด้านเศรษฐกิจพอเพียง เน้นการเริ่มจากครอบครัวไปสู่ชุมชน
2) แผนงานพัฒนาและสร้างโอกาสให้ชุมชน มี 3 ขั้นตอน คือ
- อุปโภคบริโภคให้พอเพียง
- จะถนอมผลผลิตและแปรรูปผลผลิตอย่างไร
- พัฒนาผลิตภัณฑ์ตามศักยภาพของแต่ละท้องถิ่นเพื่อสู่ตลาดระดับชุมชน
3) แผนงานการฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของชุมชน การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของชุมชน ควรมีการปลูกป่าหัวไร่ปลายนา การจัดการขยะและน้ำเสียชุมชน
4) แผนงานการสงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาสและผู้สูงอายุ จะต้องให้ความสำคัญกับผู้ด้อยโอกาสและผู้สูงอายุในแต่ละพื้นที่
5) แผนงานการบริการขั้นพื้นฐานแก่ประชาชน เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนทั้งด้านการศึกษา สาธารณสุข และการฝึกอาชีพ
2.3 การติดตามผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข
มอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตรและอุทัยธานี แต่งตั้งคณะกรรมการในระดับต่างๆ เพื่อติดตามแผนงานในแต่ละด้าน และสรุปรายงานผลให้ทราบเป็นระยะ รวมทั้งจะส่งคณะกรรมการส่วนกลางมาสนับสนุนและตรวจติดตามอย่างต่อเนื่อง
2.4 บทบาทของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สนับสนุนงานตามยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขระดับจังหวัด
2.4.1 จะส่งคณะทำงานไปประเมินสถานภาพทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดพิจิตร และอุทัยธานี เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปปรับปรุงและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นโดยเร่งด่วนต่อไป
2.4.2 จะส่งคณะกรรมการจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเข้าไปสนับสนุนการดำเนินงานของจังหวัด
2.4.3 ให้หน่วยงานของกระทรวงฯ ที่ตั้งในภูมิภาค ได้แก่ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค สำนักงานทรัพยากรน้ำภาค ศูนย์ทรัพยากรน้ำบาดาลภาค สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ และสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ ออกไปในพื้นที่ทั้ง 2 จังหวัด เพื่อให้คำแนะนำและความช่วยเหลือทางวิชาการในการบริหารจัดการและการฟื้นฟูด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตามลักษณะภูมิประเทศและภูมิสังคมในแต่ละท้องที่ เพื่อสนับสนุนให้ชุมชน จังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บริหารจัดการและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วยตนเองได้
2.4.4 กระทรวงฯ จะดำเนินโครงการที่สนับสนุนยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขระดับจังหวัด เช่น โครงการคลองสวย น้ำใส โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โครงการจัดหาน้ำอุปโภคบริโภค เป็นต้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 พฤษภาคม 2550--จบ--