คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) เป็นประธาน ที่เห็นชอบหลักการของแผน 5 ปี รองรับการดำเนินงานการสำรวจภาวะสุขภาพและตรวจร่างกายประชาชนไทย ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ส่วนงบประมาณในการดำเนินการให้ใช้งบประมาณของสำนักงานกองทุนสนับสนุนและสร้างเสริมสุขภาพ หากงบประมาณดำเนินการไม่เพียงพอ กระทรวงสาธารณสุขขอแปรญัตติต่อคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2551 ตามขั้นตอนต่อไป
กระทรวงสาธารณสุข รายงานว่า โดยที่พระราชบัญญัติสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข พ.ศ. 2535 มาตรา 11(1) บัญญัติให้สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.) มีภารกิจสำคัญประการหนึ่งคือ ดำเนินการสำรวจ ศึกษาและวิเคราะห์ทางวิชาการต่างๆ เพื่อวางเป้าหมายจัดทำแผนโครงการและมาตรการต่างๆ ในการพัฒนาระบบสาธารณสุขของประเทศ สวรส. จึงได้จัดทำข้อเสนอแผน 5 ปี รองรับการดำเนินงานการสำรวจภาวะสุขภาพและตรวจร่างกายประชาชนขึ้น เพื่อให้การดำเนินงานการสำรวจภาวะสุขภาพและตรวจร่างกายประชาชนเกิดความต่อเนื่องและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการกำหนดนโยบายสุขภาพและการจัดระบบสาธารณสุข รวมทั้งให้เป็นที่ยอมรับในมาตรฐานข้อมูลสุขภาพทั้งในและต่างประเทศ สรุปสาระสำคัญของแผนดังกล่าวได้ดังนี้
1. วัตถุประสงค์
1.1 วัตถุประสงค์ทั่วไป เพื่อให้เกิดการดำเนินงานสำรวจและประเมินผลสุขภาพประชาชนไทย โดยการตรวจร่างกายเป็นไปอย่างมีระบบมีความต่อเนื่องเป็นที่ยอมรับในมาตรฐานและคุณภาพของข้อมูลสามารถรองรับการดำเนินงานตามนโยบายด้านสุขภาพของประเทศ
1.2 วัตถุประสงค์เฉพาะ
(1) เพื่อศึกษาความชุกของการเจ็บป่วย และพฤติกรรมทางสุขภาพบางภาวะที่สำคัญของประชาชนไทยในระดับประเทศและระดับภาคอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
(2) เพื่อศึกษาแนวโน้มความชุกของการเจ็บป่วย และพฤติกรรมทางสุขภาพที่สำคัญบางภาวะของประชาชนไทยในระยะยาว
(3) เพื่อจัดทำระบบข้อมูลสำหรับใช้ในการจัดทำนโยบายและการวางแผนแก้ไขและป้องกันปัญหาที่เกี่ยวกับสุขภาพของประชาชน
(4) เพื่อสร้างเครือข่ายนักวิจัยสหสาขาให้ทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง
(5) เพื่อพัฒนาและสร้างนักวิจัยให้มีสมรรถนะในการสำรวจระดับประเทศและท้องถิ่น
2. วิสัยทัศน์ เป็นกลไกที่เป็นแกนประสานและสร้างความเป็นเลิศด้านการสำรวจข้อมูลทางสุขภาพของประเทศอย่างมีส่วนร่วมของภาคีที่เกี่ยวข้อง
3. พันธกิจ
3.1 บริหารจัดการและดำเนินการให้มีการสำรวจ และประเมินสถานะทางสุขภาพและพฤติกรรมทางสุขภาพของประชาชนในรูปแบบของเครือข่ายพันธมิตร
3.2 บริหารจัดการข้อมูลทางสุขภาพที่ได้จากการสำรวจอย่างเป็นระบบ
3.3 วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลทางสุขภาพที่ได้จากการสำรวจ
3.4 พัฒนาองค์ความรู้ด้านการสำรวจสุขภาพและเครื่องมือให้มีประสิทธิภาพสูงและต้นทุนต่ำ
3.5 ประสานงานด้านการสำรวจทางสุขภาพกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3.6 เป็นกลไกทางวิชาการให้ความรู้และคำปรึกษาเกี่ยวกับด้านการสำรวจของประเทศ
3.7 บริหารจัดการให้มีการใช้ประโยชน์ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้ เพื่อการพัฒนาและจัดระบบสุขภาพที่ดีขึ้นและเหมาะสมเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน
4. เป้าหมาย
4.1 มีการสำรวจภาวะสุขภาพและตรวจร่างกายประชาชนไทยอย่างต่อเนื่องเป็นระยะๆ
4.2 ทราบความชุกและแนวโน้มของปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพและโรคที่สำคัญในประชาชนไทย
4.3 เกิดองค์กรที่มีความรู้และดำเนินการสำรวจและเครือข่ายความร่วมมือในเชิงสถาบันและเครือข่ายของนักวิชาการสหสาขา
4.4 มีฐานข้อมูลจากการสำรวจทางสุขภาพที่มีคุณภาพและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อการดำเนินงานทางสุขภาพและการศึกษาวิจัยต่อไป
4.5 เกิดเครือข่ายนักระบาดวิทยา นักสถิติที่ร่วมกันพัฒนาศาสตร์ด้านการสำรวจอย่างมีคุณภาพอย่างกว้างขวาง ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
5. ยุทธศาสตร์ และการดำเนินงาน ประกอบด้วย 4 กลุ่มยุทธศาสตร์ คือ
5.1 ยุทธศาสตร์การสร้างศักยภาพองค์กรและบุคลากร เป็นการทำงานเพื่อรองรับการสำรวจฯ อย่างต่อเนื่อง โดยมีการพัฒนาศักยภาพองค์กรและบุคลากรให้มีองค์ความรู้ด้านการสำรวจอย่างถูกต้องและเหมาะสมกับบริบทของประเทศ รวมทั้งพัฒนาความสามารถในการใช้ประโยชน์จากข้อมูลเหล่านี้เพื่อการพัฒนาระบบสุขภาพ
5.2 ยุทธศาสตร์การสำรวจและวิจัย เป็นการสำรวจข้อมูลสุขภาพสำคัญที่เป็นปัญหาของประเทศ โดยการสัมภาษณ์ การตรวจร่างกาย การตรวจพิเศษ ทั้งในมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ พฤติกรรมทางสุขภาพ ทั้งนี้ เพื่อทราบสถานภาพทางสุขภาพและเป็นการประเมินมาตรการควบคุมและป้องกันโรคของหน่วยงานทางสุขภาพที่มีการหาความชุกของโรคเรื้อรังที่สำคัญ ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด โรคทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้อรัง โรคมะเร็ง การบาดเจ็บและอุบัติเหตุ ภาวะสุขภาพของคนสูงอายุ พฤติกรรมทางสุขภาพ รวมทั้งการวิเคราะห์ข้อมูลและการศึกษาติดตามกลุ่มตัวอย่างระยะยาว
5.3 ยุทธศาสตร์การสร้างองค์ความรู้และการใช้ประโยชน์จากข้อมูล เป็นการดำเนินงานที่รองรับข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ โดยการประมวลเก็บอย่างเป็นระบบ มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ ถูกต้อง สามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์และเกิดประโยชน์ ทั้งนี้ ข้อมูลที่เป็นตัวอย่างชีวภาพ เช่น ตัวอย่างเลือด ต้องมีการจัดเก็บที่เหมาะสมอย่างเป็นระบบ สามารถนำมาตรวจเพิ่มเติมในภายหลังได้
5.4 ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเชิงบูรณาการ เป็นการดำเนินงานในรูปแบบของเครือข่ายด้านสุขภาพ เพื่อลดความทับซ้อนและมีการบูรณาการความรู้ ลดภาระการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งบูรณาการความร่วมมือและกิจกรรม เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ภายใต้งบประมาณที่ประหยัดและใช้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
6. หน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักงานสำรวจภาวะสุขภาพประชาชนไทย (สสท.) สวรส.
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 3 กรกฎาคม 2550--จบ--
กระทรวงสาธารณสุข รายงานว่า โดยที่พระราชบัญญัติสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข พ.ศ. 2535 มาตรา 11(1) บัญญัติให้สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.) มีภารกิจสำคัญประการหนึ่งคือ ดำเนินการสำรวจ ศึกษาและวิเคราะห์ทางวิชาการต่างๆ เพื่อวางเป้าหมายจัดทำแผนโครงการและมาตรการต่างๆ ในการพัฒนาระบบสาธารณสุขของประเทศ สวรส. จึงได้จัดทำข้อเสนอแผน 5 ปี รองรับการดำเนินงานการสำรวจภาวะสุขภาพและตรวจร่างกายประชาชนขึ้น เพื่อให้การดำเนินงานการสำรวจภาวะสุขภาพและตรวจร่างกายประชาชนเกิดความต่อเนื่องและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการกำหนดนโยบายสุขภาพและการจัดระบบสาธารณสุข รวมทั้งให้เป็นที่ยอมรับในมาตรฐานข้อมูลสุขภาพทั้งในและต่างประเทศ สรุปสาระสำคัญของแผนดังกล่าวได้ดังนี้
1. วัตถุประสงค์
1.1 วัตถุประสงค์ทั่วไป เพื่อให้เกิดการดำเนินงานสำรวจและประเมินผลสุขภาพประชาชนไทย โดยการตรวจร่างกายเป็นไปอย่างมีระบบมีความต่อเนื่องเป็นที่ยอมรับในมาตรฐานและคุณภาพของข้อมูลสามารถรองรับการดำเนินงานตามนโยบายด้านสุขภาพของประเทศ
1.2 วัตถุประสงค์เฉพาะ
(1) เพื่อศึกษาความชุกของการเจ็บป่วย และพฤติกรรมทางสุขภาพบางภาวะที่สำคัญของประชาชนไทยในระดับประเทศและระดับภาคอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
(2) เพื่อศึกษาแนวโน้มความชุกของการเจ็บป่วย และพฤติกรรมทางสุขภาพที่สำคัญบางภาวะของประชาชนไทยในระยะยาว
(3) เพื่อจัดทำระบบข้อมูลสำหรับใช้ในการจัดทำนโยบายและการวางแผนแก้ไขและป้องกันปัญหาที่เกี่ยวกับสุขภาพของประชาชน
(4) เพื่อสร้างเครือข่ายนักวิจัยสหสาขาให้ทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง
(5) เพื่อพัฒนาและสร้างนักวิจัยให้มีสมรรถนะในการสำรวจระดับประเทศและท้องถิ่น
2. วิสัยทัศน์ เป็นกลไกที่เป็นแกนประสานและสร้างความเป็นเลิศด้านการสำรวจข้อมูลทางสุขภาพของประเทศอย่างมีส่วนร่วมของภาคีที่เกี่ยวข้อง
3. พันธกิจ
3.1 บริหารจัดการและดำเนินการให้มีการสำรวจ และประเมินสถานะทางสุขภาพและพฤติกรรมทางสุขภาพของประชาชนในรูปแบบของเครือข่ายพันธมิตร
3.2 บริหารจัดการข้อมูลทางสุขภาพที่ได้จากการสำรวจอย่างเป็นระบบ
3.3 วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลทางสุขภาพที่ได้จากการสำรวจ
3.4 พัฒนาองค์ความรู้ด้านการสำรวจสุขภาพและเครื่องมือให้มีประสิทธิภาพสูงและต้นทุนต่ำ
3.5 ประสานงานด้านการสำรวจทางสุขภาพกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3.6 เป็นกลไกทางวิชาการให้ความรู้และคำปรึกษาเกี่ยวกับด้านการสำรวจของประเทศ
3.7 บริหารจัดการให้มีการใช้ประโยชน์ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้ เพื่อการพัฒนาและจัดระบบสุขภาพที่ดีขึ้นและเหมาะสมเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน
4. เป้าหมาย
4.1 มีการสำรวจภาวะสุขภาพและตรวจร่างกายประชาชนไทยอย่างต่อเนื่องเป็นระยะๆ
4.2 ทราบความชุกและแนวโน้มของปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพและโรคที่สำคัญในประชาชนไทย
4.3 เกิดองค์กรที่มีความรู้และดำเนินการสำรวจและเครือข่ายความร่วมมือในเชิงสถาบันและเครือข่ายของนักวิชาการสหสาขา
4.4 มีฐานข้อมูลจากการสำรวจทางสุขภาพที่มีคุณภาพและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อการดำเนินงานทางสุขภาพและการศึกษาวิจัยต่อไป
4.5 เกิดเครือข่ายนักระบาดวิทยา นักสถิติที่ร่วมกันพัฒนาศาสตร์ด้านการสำรวจอย่างมีคุณภาพอย่างกว้างขวาง ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
5. ยุทธศาสตร์ และการดำเนินงาน ประกอบด้วย 4 กลุ่มยุทธศาสตร์ คือ
5.1 ยุทธศาสตร์การสร้างศักยภาพองค์กรและบุคลากร เป็นการทำงานเพื่อรองรับการสำรวจฯ อย่างต่อเนื่อง โดยมีการพัฒนาศักยภาพองค์กรและบุคลากรให้มีองค์ความรู้ด้านการสำรวจอย่างถูกต้องและเหมาะสมกับบริบทของประเทศ รวมทั้งพัฒนาความสามารถในการใช้ประโยชน์จากข้อมูลเหล่านี้เพื่อการพัฒนาระบบสุขภาพ
5.2 ยุทธศาสตร์การสำรวจและวิจัย เป็นการสำรวจข้อมูลสุขภาพสำคัญที่เป็นปัญหาของประเทศ โดยการสัมภาษณ์ การตรวจร่างกาย การตรวจพิเศษ ทั้งในมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ พฤติกรรมทางสุขภาพ ทั้งนี้ เพื่อทราบสถานภาพทางสุขภาพและเป็นการประเมินมาตรการควบคุมและป้องกันโรคของหน่วยงานทางสุขภาพที่มีการหาความชุกของโรคเรื้อรังที่สำคัญ ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด โรคทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้อรัง โรคมะเร็ง การบาดเจ็บและอุบัติเหตุ ภาวะสุขภาพของคนสูงอายุ พฤติกรรมทางสุขภาพ รวมทั้งการวิเคราะห์ข้อมูลและการศึกษาติดตามกลุ่มตัวอย่างระยะยาว
5.3 ยุทธศาสตร์การสร้างองค์ความรู้และการใช้ประโยชน์จากข้อมูล เป็นการดำเนินงานที่รองรับข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ โดยการประมวลเก็บอย่างเป็นระบบ มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ ถูกต้อง สามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์และเกิดประโยชน์ ทั้งนี้ ข้อมูลที่เป็นตัวอย่างชีวภาพ เช่น ตัวอย่างเลือด ต้องมีการจัดเก็บที่เหมาะสมอย่างเป็นระบบ สามารถนำมาตรวจเพิ่มเติมในภายหลังได้
5.4 ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเชิงบูรณาการ เป็นการดำเนินงานในรูปแบบของเครือข่ายด้านสุขภาพ เพื่อลดความทับซ้อนและมีการบูรณาการความรู้ ลดภาระการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งบูรณาการความร่วมมือและกิจกรรม เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ภายใต้งบประมาณที่ประหยัดและใช้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
6. หน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักงานสำรวจภาวะสุขภาพประชาชนไทย (สสท.) สวรส.
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 3 กรกฎาคม 2550--จบ--