คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงแรงงานรายงานเกี่ยวกับบริษัท ไทยศิลป์อาคเนย์อิมปอร์ต เอ็กซ์ปอร์ต จำกัด ปิดกิจการ ดังนี้
บริษัท ไทยศิลป์อาคเนย์อิมปอร์ต เอ็กซ์ปอร์ต จำกัด ในจังหวัดสมุทรปราการ ประกอบกิจการ ตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูปเพื่อการส่งออก (ไนกี้และอาดิดาส) มีนายพิพรรษ อุนโอภาส และนางเยาวลักษณ์ อุนโอภาส เป็นกรรมการผู้จัดการ ปัจจุบันมีลูกจ้าง 4,381 คน มีสำนักงาน 3 สาขา คือ สำนักงานใหญ่ (กิ่งแก้ว) สาขา 1 (สำโรง) และสาขา 2 (บางปลา) ได้ปิดกิจการเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2550 และได้ชุมนุมปิดถนนกิ่งแก้ว จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งกระทรวงแรงงานร่วมกับจังหวัดสมุทรปราการเข้าแก้ไขปัญหาการปิดกิจการดังกล่าวและสามารถตกลงกันได้และลูกจ้างกลับเข้าทำงาน แต่เนื่องจากบริษัทฯ ยังประสบปัญหาขาดสภาพคล่องและธนาคารไม่ปล่อยสินเชื่อ และได้รับผลกระทบจากภาวการณ์แข็งตัวของค่าเงินบาทจึงได้ประกาศปิดกิจการลงอีกในวันที่ 7 สิงหาคม 2550 โดยให้ลูกจ้างไม่ต้องเข้าทำงานตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 2550 ซึ่งบริษัทฯ ยังคงค้างจ่ายค่าจ้าง และค่าชดเชยลูกจ้าง
กระทรวงแรงงานได้รายงานการดำเนินการให้ทราบ ดังนี้
1. บริษัท ไทยศิลป์อาคเนย์อิมปอร์ต เอ็กซ์ปอร์ต จำกัด ค้างจ่ายค่าจ้างลูกจ้าง 4,381 คน เป็นจำนวนเงินรวม 34,267,000 บาท (สามสิบสี่ล้านสองแสนหกหมื่นเจ็ดพันบาทถ้วน) นอกจากนี้มีลูกจ้างที่ไม่เข้าทำงานและลาออกไปก่อนเกิดสถานการณ์ จำนวน 660 คน ยังไม่ได้รับค่าจ้างเป็นเงินจำนวน 1,135,000 บาท (หนึ่งล้านหนึ่งแสนสามหมื่นห้าพันบาทถ้วน) รวมเงินที่นายจ้างค้างจ่ายค่าจ้างจำนวน 35,402,000 บาท (สามสิบห้าล้านสี่แสนสองพันบาทถ้วน) แต่บริษัทฯ มีเงินสดเพียง 9,000,000 บาท (เก้าล้านบาทถ้วน) ดังนั้นเงินค่าจ้างที่เหลืออีก 26,402,000 บาท (ยี่สิบหกล้านสี่แสนสองพันบาทถ้วน) และค่าชดเชยที่เกิดหลังวันที่ 7 สิงหาคม 2550 จำนวน 126,000,000 บาท (หนึ่งร้อยยี่สิบหกล้านบาทถ้วน) บริษัทฯ แจ้งว่าจะนำเงินที่ได้จากการจำหน่ายทรัพย์สินมาจ่ายให้กับลูกจ้าง
2. กรณี บริษัท ไทยศิลป์อาคเนย์อิมปอร์ต เอ็กซ์ปอร์ต จำกัด ปิดกิจการ กระทรวงแรงงานได้ให้ความช่วยเหลือลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างให้ได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมาย ดังนี้
2.1 สิทธิประโยชน์ที่ลูกจ้างพึงได้รับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เช่น ค่าจ้างค้างจ่าย (มาตรา 70) ค่าชดเชย (มาตรา 118) วันหยุดพักผ่อนประจำปี (มาตรา 30) และเงินประกัน (มาตรา 10)
2.2 เงินกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างเพื่อสงเคราะห์ลูกจ้างที่ออกจากงาน หรือตายหรือในกรณีที่ลูกจ้างได้รับความเดือดร้อนเป็นการเฉพาะหน้า มี 2 กรณี คือ
(1) กรณีค่าชดเชย จะให้การสงเคราะห์เมื่อพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยแล้ว และนายจ้างไม่ฟ้องเพิกถอนคำสั่งโดยจะจ่ายเงินสงเคราะห์ในอัตรา ดังนี้
- จ่าย 30 เท่าของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายวันที่ลูกจ้างพึงได้รับตามกฎหมายในท้องที่ที่ลูกจ้างทำงาน สำหรับลูกจ้างที่ทำงานตั้งแต่ 120 วัน แต่ไม่ครบ 6 ปี (กรุงเทพฯ และจังหวัดปริมณฑล 191x 30 = 5,730 บาท)
- จ่าย 60 เท่าของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายวันที่ลูกจ้างพึงได้รับตามกฎหมายในท้องที่ที่ลูกจ้างทำงาน สำหรับลูกจ้างที่ทำงานตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป (กรุงเทพฯ และจังหวัดปริมณฑล 191x 60 = 11,460 บาท)
(2) กรณีอื่นนอกจากค่าชดเชย เช่น ค่าจ้าง ค่าบอกกล่าวล่วงหน้า ฯลฯ จะให้การสงเคราะห์เมื่อนายจ้างไม่มีเงินจ่ายตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน และได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างเป็นราย ๆ ไป โดยจ่ายในอัตรา ดังนี้
- จ่าย 60 เท่าของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายวันที่ลูกจ้างพึงได้รับตามกฎหมายในท้องที่ที่ลูกจ้างทำงาน (กรุงเทพฯ และจังหวัดปริมณฑล 191x 60 = 11,460 บาท)
2.3 ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงาน ปีละไม่เกิน 180 วัน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้าง และกรณีที่ลูกจ้างลาออกจากงานลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงาน ปีละไม่เกิน 90 วัน ในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้าง โดยลูกจ้างต้องขึ้นทะเบียนหางานที่สำนักงานจัดหางานของรัฐภายใน 30 วัน หลังจากวันที่ถูกเลิกจ้าง
2.4 ลูกจ้างสามารถยื่นคำขอเป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจตามมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างโดยต้องจ่ายเงินสมทบในอัตราร้อยละ 9
จากฐานเงินเดือน 4,800 บาท เป็นเงิน 432 บาทต่อเดือน
3. กระทรวงแรงงานได้เสนอเรื่อง กรณี บริษัท ไทยศิลป์อาคเนย์อิมปอร์ต เอ็กซ์ปอร์ต จำกัดปิดกิจการ เข้าที่ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจส่วนรวมเพื่อให้พิจารณาสนับสนุนทางการเงินโดยผ่านระบบธนาคารตามปกติ ซึ่งที่ประชุมเห็นว่า ค่าจ้างค้างจ่ายเป็นหน้าที่ของบริษัทฯ จะต้องจ่ายและเห็นว่าเงินของส่วนราชการไม่สามารถจ่ายให้กับนายจ้างได้ ส่วนการให้ความช่วยเหลือลูกจ้างให้ใช้ช่องทางที่กฎหมายได้ให้อำนาจไว้แล้ว เช่น กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง การประกันการว่างงาน การเรียกสิทธิประโยชน์จากนายจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 กรกฎาคม 2550--จบ--
บริษัท ไทยศิลป์อาคเนย์อิมปอร์ต เอ็กซ์ปอร์ต จำกัด ในจังหวัดสมุทรปราการ ประกอบกิจการ ตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูปเพื่อการส่งออก (ไนกี้และอาดิดาส) มีนายพิพรรษ อุนโอภาส และนางเยาวลักษณ์ อุนโอภาส เป็นกรรมการผู้จัดการ ปัจจุบันมีลูกจ้าง 4,381 คน มีสำนักงาน 3 สาขา คือ สำนักงานใหญ่ (กิ่งแก้ว) สาขา 1 (สำโรง) และสาขา 2 (บางปลา) ได้ปิดกิจการเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2550 และได้ชุมนุมปิดถนนกิ่งแก้ว จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งกระทรวงแรงงานร่วมกับจังหวัดสมุทรปราการเข้าแก้ไขปัญหาการปิดกิจการดังกล่าวและสามารถตกลงกันได้และลูกจ้างกลับเข้าทำงาน แต่เนื่องจากบริษัทฯ ยังประสบปัญหาขาดสภาพคล่องและธนาคารไม่ปล่อยสินเชื่อ และได้รับผลกระทบจากภาวการณ์แข็งตัวของค่าเงินบาทจึงได้ประกาศปิดกิจการลงอีกในวันที่ 7 สิงหาคม 2550 โดยให้ลูกจ้างไม่ต้องเข้าทำงานตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 2550 ซึ่งบริษัทฯ ยังคงค้างจ่ายค่าจ้าง และค่าชดเชยลูกจ้าง
กระทรวงแรงงานได้รายงานการดำเนินการให้ทราบ ดังนี้
1. บริษัท ไทยศิลป์อาคเนย์อิมปอร์ต เอ็กซ์ปอร์ต จำกัด ค้างจ่ายค่าจ้างลูกจ้าง 4,381 คน เป็นจำนวนเงินรวม 34,267,000 บาท (สามสิบสี่ล้านสองแสนหกหมื่นเจ็ดพันบาทถ้วน) นอกจากนี้มีลูกจ้างที่ไม่เข้าทำงานและลาออกไปก่อนเกิดสถานการณ์ จำนวน 660 คน ยังไม่ได้รับค่าจ้างเป็นเงินจำนวน 1,135,000 บาท (หนึ่งล้านหนึ่งแสนสามหมื่นห้าพันบาทถ้วน) รวมเงินที่นายจ้างค้างจ่ายค่าจ้างจำนวน 35,402,000 บาท (สามสิบห้าล้านสี่แสนสองพันบาทถ้วน) แต่บริษัทฯ มีเงินสดเพียง 9,000,000 บาท (เก้าล้านบาทถ้วน) ดังนั้นเงินค่าจ้างที่เหลืออีก 26,402,000 บาท (ยี่สิบหกล้านสี่แสนสองพันบาทถ้วน) และค่าชดเชยที่เกิดหลังวันที่ 7 สิงหาคม 2550 จำนวน 126,000,000 บาท (หนึ่งร้อยยี่สิบหกล้านบาทถ้วน) บริษัทฯ แจ้งว่าจะนำเงินที่ได้จากการจำหน่ายทรัพย์สินมาจ่ายให้กับลูกจ้าง
2. กรณี บริษัท ไทยศิลป์อาคเนย์อิมปอร์ต เอ็กซ์ปอร์ต จำกัด ปิดกิจการ กระทรวงแรงงานได้ให้ความช่วยเหลือลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างให้ได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมาย ดังนี้
2.1 สิทธิประโยชน์ที่ลูกจ้างพึงได้รับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เช่น ค่าจ้างค้างจ่าย (มาตรา 70) ค่าชดเชย (มาตรา 118) วันหยุดพักผ่อนประจำปี (มาตรา 30) และเงินประกัน (มาตรา 10)
2.2 เงินกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างเพื่อสงเคราะห์ลูกจ้างที่ออกจากงาน หรือตายหรือในกรณีที่ลูกจ้างได้รับความเดือดร้อนเป็นการเฉพาะหน้า มี 2 กรณี คือ
(1) กรณีค่าชดเชย จะให้การสงเคราะห์เมื่อพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยแล้ว และนายจ้างไม่ฟ้องเพิกถอนคำสั่งโดยจะจ่ายเงินสงเคราะห์ในอัตรา ดังนี้
- จ่าย 30 เท่าของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายวันที่ลูกจ้างพึงได้รับตามกฎหมายในท้องที่ที่ลูกจ้างทำงาน สำหรับลูกจ้างที่ทำงานตั้งแต่ 120 วัน แต่ไม่ครบ 6 ปี (กรุงเทพฯ และจังหวัดปริมณฑล 191x 30 = 5,730 บาท)
- จ่าย 60 เท่าของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายวันที่ลูกจ้างพึงได้รับตามกฎหมายในท้องที่ที่ลูกจ้างทำงาน สำหรับลูกจ้างที่ทำงานตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป (กรุงเทพฯ และจังหวัดปริมณฑล 191x 60 = 11,460 บาท)
(2) กรณีอื่นนอกจากค่าชดเชย เช่น ค่าจ้าง ค่าบอกกล่าวล่วงหน้า ฯลฯ จะให้การสงเคราะห์เมื่อนายจ้างไม่มีเงินจ่ายตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน และได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างเป็นราย ๆ ไป โดยจ่ายในอัตรา ดังนี้
- จ่าย 60 เท่าของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายวันที่ลูกจ้างพึงได้รับตามกฎหมายในท้องที่ที่ลูกจ้างทำงาน (กรุงเทพฯ และจังหวัดปริมณฑล 191x 60 = 11,460 บาท)
2.3 ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงาน ปีละไม่เกิน 180 วัน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้าง และกรณีที่ลูกจ้างลาออกจากงานลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงาน ปีละไม่เกิน 90 วัน ในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้าง โดยลูกจ้างต้องขึ้นทะเบียนหางานที่สำนักงานจัดหางานของรัฐภายใน 30 วัน หลังจากวันที่ถูกเลิกจ้าง
2.4 ลูกจ้างสามารถยื่นคำขอเป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจตามมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างโดยต้องจ่ายเงินสมทบในอัตราร้อยละ 9
จากฐานเงินเดือน 4,800 บาท เป็นเงิน 432 บาทต่อเดือน
3. กระทรวงแรงงานได้เสนอเรื่อง กรณี บริษัท ไทยศิลป์อาคเนย์อิมปอร์ต เอ็กซ์ปอร์ต จำกัดปิดกิจการ เข้าที่ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจส่วนรวมเพื่อให้พิจารณาสนับสนุนทางการเงินโดยผ่านระบบธนาคารตามปกติ ซึ่งที่ประชุมเห็นว่า ค่าจ้างค้างจ่ายเป็นหน้าที่ของบริษัทฯ จะต้องจ่ายและเห็นว่าเงินของส่วนราชการไม่สามารถจ่ายให้กับนายจ้างได้ ส่วนการให้ความช่วยเหลือลูกจ้างให้ใช้ช่องทางที่กฎหมายได้ให้อำนาจไว้แล้ว เช่น กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง การประกันการว่างงาน การเรียกสิทธิประโยชน์จากนายจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 กรกฎาคม 2550--จบ--