คณะรัฐมนตรีรับทราบสรุปความคิดเห็นของประชาชนต่อรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ โดยผ่าน 5 ช่องทางได้แก่ เว็บไซต์ www.1111.go.th ตู้ ปณ. 1111 สายด่วนของรัฐบาล 1111 จุดบริการประชาชน 1111 และเว็บไซต์การรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่ www.publicconsultation.opm.go.th ระหว่างวันที่ 27 เมษายน - 26 พฤษภาคม 2550 โดยมีประชาชนแสดงความคิดเห็นรวมทั้งหมด จำนวน 403 คน ประชาชนส่วนใหญ่ที่ตอบแบบสำรวจความคิดเห็น เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 25-34 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพรับราชการ/หน่วยงานราชการ และเป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ดังนี้
ประเด็นที่ 1 : เรื่อง “ควรมีคณะบุคคลเพื่อหาทางออกในยามวิกฤตของชาติ” มีผู้ตอบแบบสำรวจ จำนวน 336 คน
ความเห็น
- ส่วนใหญ่ เห็นด้วย 251 คน คิดเป็นร้อยละ 74.7 เพราะ ในเวลาเกิดความไม่สงบสุขนั้นจำเป็นต้องมีคนเข้าไปแก้ไขปัญหาของประเทศ โดยบุคคลที่เข้าไปแก้ปัญหานั้นควรเป็นที่ยอมรับของคนในสังคม และเป็นคนมีคุณธรรมโดยเห็นแก่ประโยชน์ของประเทศเป็นสำคัญ
- ส่วนน้อย ไม่เห็นด้วย 85 คน คิดเป็นร้อยละ 25.3 เพราะ ขัดต่อหลักสิทธิเสรีภาพ ไม่เป็นประชาธิปไตย ควรส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองให้ประชาชนเป็นการดีกว่า โดยปลูกจิตสำนึกรักชาติให้ประชาชน การที่จะตั้งคณะบุคคลขึ้นมานั้นอาจจะเป็นกลุ่มตัวแทนของผู้มีอำนาจที่มาจากเผด็จการ ความจริงมีรัฐบาลอยู่แล้วจึงไม่จำเป็นต้องมีกลุ่มบุคคลดังกล่าวขึ้นมา
ข้อเสนอแนะ คณะบุคคลที่ตั้งขึ้นจะต้องเป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือ มีคุณธรรม มีการกำหนดอำนาจหน้าที่ไว้ให้ชัดเจนด้วย ในเรื่องของวิกฤตชาตินั้นจำเป็นต้องมีการกำหนดระดับเอาไว้ด้วยว่าแค่ไหนถึงจำเป็นที่จะตั้งบุคคลดังกล่าวขึ้น และเมื่อมีการตั้งคณะบุคคลขึ้นมาแล้วจำเป็นต้องกำหนดระยะเวลาเอาไว้ด้วยไม่ควรตั้งเป็นการถาวรเพื่อป้องกันการใช้อำนาจในทางผิด
ประเด็นที่ 2 : เรื่อง “ควรมีการกำหนดคุณธรรม และจริยธรรมนักการเมือง” มีผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 343 คน
ความเห็น
- ส่วนใหญ่ เห็นด้วย 329 คน คิดเป็นร้อยละ 95.9 เพราะ เพื่อเป็นกรอบด้านคุณธรรมและจริยธรรมให้นักการเมืองปฏิบัติและสร้างให้เป็นประเพณีทางการเมือง เพื่อให้นักการเมืองมีคุณธรรมจริยธรรม โดยบรรจุไว้ให้มีการอบรมก่อนที่นักการเมืองเข้ารับตำแหน่งด้วย เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติงานด้วย
- ส่วนน้อย ไม่เห็นด้วย 14 คน คิดเป็นร้อยละ 4.1 เพราะ นักการเมืองเป็นคนที่สังคมยอมรับและการที่ประชาชนได้เลือกเข้ามานั้นแสดงได้ว่าประชาชนไว้วางใจให้เป็นตัวแทนของตนในสภาฯ ทุกๆ คนย่อมมีคุณธรรมและจริยธรรมกันดีอยู่แล้วจึงไม่จำเป็นต้องไปกำหนดกรอบเอาไว้ให้ยุ่งยาก
ข้อเสนอแนะ ควรกำหนดบทลงโทษทางจริยธรรมของนักการเมืองและต้องกำหนดมาตรฐานทางจริยธรรมไว้อย่างชัดเจน การตั้งอนุกรรมการทางจริยธรรมนั้นจะนำมาตรฐานใดมาวัด เรื่องของคุณธรรม และจริยธรรมนั้นควรจะปลูกฝังตั้งแต่ยังเด็ก หากการมากำหนดหลักเกณฑ์ขึ้นมาแล้วนักการเมืองไม่ปฏิบัติตาม ย่อมไม่เกิดผลอะไร
ประเด็นที่ 3 : เรื่อง “ควรกำหนดจำนวนและการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา” มีผู้ตอบแบบสำรวจ จำนวน 337 คน
ความเห็น
- ส่วนใหญ่ เห็นด้วย 286 คน คิดเป็นร้อยละ 84.9 เพราะ ควรกำหนดจำนวนที่ชัดเจน และกำหนดขอบเขตการใช้อำนาจไว้ด้วยว่ามีแค่ไหน ส.ว. ต้องไปเป็นคนของนักการเมือง ในการทำงานของ ส.ว. นั้นต้องตรวจสอบได้
- ส่วนน้อย ไม่เห็นด้วย 51 คน คิดเป็นร้อยละ 15.1 เพราะ การสรรหาอาจไม่โปร่งใส ส.ว. ควรมาจากการเลือกตั้ง เพื่อป้องกันกลุ่มผลประโยชน์แอบแฝง
ข้อเสนอแนะ จะต้องเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ มีความเป็นกลางทางการเมืองและควรกำหนดจำนวนไว้ให้แน่นอน เพราะหากมีจำนวนมากเกินไปอาจเกิดความล่าช้าในการปฏิบัติงานและการสรรหาได้ในกรณี ส.ว. กระทำความผิดนั้นไม่ควรให้การคุ้มครองต้องได้รับโทษเช่นเดียวกับประชาชน
ประเด็นที่ 4 : เรื่อง “ควรกำหนดจำนวนและการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร” มีผู้ตอบแบบสำรวจ จำนวน 334 คน
ความเห็น
- ส่วนใหญ่ เห็นด้วย 315 คน คิดเป็นร้อยละ 94.3 เพราะ ควรกำหนดจำนวน ส.ส. ให้เหมาะสมกับจำนวนประชากร เมื่อ ส.ส. มีจำนวนน้อยลงจะเป็นการประหยัดงบประมาณของประเทศ และ ส.ส. ควรมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด
- ส่วนน้อย ไม่เห็นด้วย 19 คน คิดเป็นร้อยละ 5.7 เพราะ ส.ส. ควรมาจากการเลือกตั้งทั้งหมดโดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องจัดการเลือกตั้งให้เป็นธรรม ต้องกำหนดบทลงโทษในกรณีซื้อสียงไว้ด้วย
ข้อเสนอแนะ ให้ความรู้กับประชาชน ส.ส. ต้องมาจากการเลือกตั้งแบบเดิม เป็นประชาธิปไตยที่สุด ไม่ควรมี ส.ส. เกิน 400 คน เพื่อให้การบริหารประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ประเด็นที่ 5 : เรื่อง “ควรกำหนดสิทธิ เสรีภาพ การมีส่วนร่วมของประชาชน และสิทธิชุมชน” มีผู้ตอบแบบสำรวจ จำนวน 336 คน
ความเห็น
- ส่วนใหญ่ เห็นด้วย 307 คน คิดเป็นร้อยละ 91.4 เพราะ สิทธิและเสรีภาพเป็นเรื่องดี ในการปกครองประเทศ ในการกำหนดสิทธินั้นควรมีความเสมอภาค รู้ขอบเขต โดยที่ประชาชนสามารถใช้สิทธิอย่างเต็มที่โดยไม่กระทบสิทธิของคนอื่น ประชาชนทุกคนมีสิทธิอย่างเท่าเทียมกัน การใช้สิทธิมากเกินขอบเขตอาจทำให้ประเทศวุ่นวายได้
- ส่วนน้อย ไม่เห็นด้วย 29 คน คิดเป็นร้อยละ 8.6 เพราะ การให้สิทธิเสรีภาพมากเกินไปอาจทำให้ประเทศชาติวุ่นวาย บางเรื่องรัฐควรจะกำหนดขอบเขตลงไปว่าประชาชนมีสิทธิแค่ไหน ควรเน้นที่การมีส่วนร่วมทางการเมืองแก่ประชาชนจักเป็นการดีกว่าให้สิทธิมากมาย
ข้อเสนอแนะ การชุมนุมควรอยู่ในความสงบอย่าเกินขอบเขต เช่นการปิดถนน จะทำให้คนส่วนใหญ่เดือดร้อน ตรงนี้เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง การใช้สิทธิใดๆนั้นต้องอย่าลืมว่าไปกระทบสิทธิ์ของผู้อื่นหรือไม่ ควรรับฟังความคิดเห็นของประชาชนก่อนดำเนินการ
ประเด็นที่ 6 : เรื่อง “ควรมีการกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” มีผู้ตอบแบบสำรวจ จำนวน 333 คน
ความเห็น
- ส่วนใหญ่ เห็นด้วย 301 คน คิดเป็นร้อยละ 90.4 เพราะ การกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น นั้นเป็นเรื่องดี เพราะท้องถิ่นย่อมรู้ปัญหาได้ดีกว่าส่วนกลาง การให้อำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นการบริหารสั่งการย่อมรวดเร็วขึ้นสามารถแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องปราศจากการแทรกแซงจากการเมืองระดับชาติ
- ส่วนน้อย ไม่เห็นด้วย 32 คน คิดเป็นร้อยละ 9.6 เพราะ ควรมีการควบคุมในเรื่องคอร์รัปชั่น ควรจะกำหนดในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ไม่ควรกำหนดในรัฐธรรมนูญโดยตรง การกระจายอำนาจต้องดูในแต่ละชุมชนว่าชุมชนใดมีความพร้อม จะดีกว่ากระจายอำนาจไปทั่วทั้งประเทศซึ่งยาก แก่การตรวจสอบดูแล
ข้อเสนอแนะ การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นนั้นเป็นสิ่งดี ต้องดูความพร้อมในหลายๆด้านประกอบกันด้วย เช่นท้องถิ่นเองมีความพร้อมมากน้อยเพียงใด แล้วส่วนกลางจะจัดการอย่างไรเมื่อกระจายอำนาจไปแล้ว
ประเด็นที่ 7 : เรื่อง “ควรมีแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ” มีผู้ตอบแบบสำรวจ จำนวน 320 คน
ความเห็น
- ส่วนใหญ่ เห็นด้วย 315 คน คิดเป็นร้อยละ 98.4 เพราะ ต้องกำหนดอย่างชัดเจน เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศในทุกๆ โดยกำหนดตัวชี้วัดความต้องการของสังคมอย่างสม่ำเสมอให้รู้ถึงปัญหาและอุปสรรคในด้านต่างๆ เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขต่อไป
- ส่วนน้อย ไม่เห็นด้วย 5 คน คิดเป็นร้อยละ 1.6 เพราะ การกำหนดแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐมากเกินไปจะเป็นเครื่องมือฝ่ายบริหารในการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดินเป็นจำนวนมาก
ข้อเสนอแนะ ให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ เพื่อก่อเกิดความร่วมมือในการพัฒนาประชากร และกำหนดตัวชี้วัดเพื่อเป็นเป้าหมายในการปฏิบัติงาน
ประเด็นที่ 8 : เรื่อง “ควรมีคณะกรรมการสรรหาองค์กรอิสระ” มีผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 320 คน
ความเห็น
- ส่วนใหญ่ เห็นด้วย 271 คน คิดเป็นร้อยละ 84.7 เพราะ ต้องเลือกบุคคลที่ซื่อสัตย์สุจริตอันเป็นที่ยอมรับของสังคมในแต่ละด้าน เพื่อเป็นตัวแทนในการสรรหาองค์กรอิสระ จะได้องค์กรอิสระที่มาจากหลากหลายอาชีพ และมีความเป็นกลางเกิดความโปรงใสในการดำเนินการ และสังคมยอมรับบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งนั้นๆ สามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงตามปัญหาในทุก ๆ ด้าน
- ส่วนน้อย ไม่เห็นด้วย 48 คน คิดเป็นร้อยละ 15.0 เพราะ เลือกจากเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์การทำงาน มาเป็นตัวแทนองค์กรอิสระก็เป็นการเพียงพอแล้ว
ข้อเสนอแนะ คณะกรรมการสรรหาองค์กรอิสระต้องมีคุณธรรม จริยธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความเป็นกลาง และมาจากหน่วยงานที่เป็นที่ยอมรับของสังคมส่วนรวม และปราศจากอำนาจครอบงำจากนักการเมือง และมีการกำหนดการประเมินผลงานขององค์กรอิสระ และสามารถตรวจสอบการดำเนินงานได้
ประเด็นที่ 9 : เรื่อง “ควรกำหนดให้ 20,000 รายชื่อถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้” มีผู้ตอบแบบสำรวจ จำนวน 318 คน
ความเห็น
- ส่วนใหญ่ ไม่เห็นด้วย 186 คน คิดเป็นร้อยละ 58.5 เพราะ จำนวนน้อยเกินไปขาดเสถียรภาพเกิดการกลั่นแกล้งทางการเมืองได้ และการลงชื่อถอดถอนไม่ใช่ตัวชี้วัดพฤติการณ์และการกระทำความผิดนั้น ๆ ได้อย่างชัดเจน เพราะการลงชื่อถอดถอนอาจมาจากกการรับค่าตอบแทนจากผู้เสียผลประโยชน์ฝ่ายตรงข้าม ชักจูงให้ลงชื่อถอดถอนได้ครบตามจำนวนที่กำหนด และสุดท้ายก็ไม่ได้มาจากความต้องการของประชาชนโดยตรง
- ส่วนน้อย เห็นด้วย 132 คน คิดเป็นร้อยละ 41.5 เพราะ สามารถตรวจสอบการดำเนินงานของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้โดยง่าย ทำให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเกรงกลัวต่อการกระทำอันเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ และเป็นการให้สิทธิแก่ประชาชนโดยตรงในการตรวจสอบนักการเมือง
ข้อเสนอแนะ ควรกำหนดจำนวนมากกว่านี้ และต้องตรวจสอบแหล่งข้อมูลที่มาของการลงลายมือชื่อ ถอดถอนว่าสัมพันธ์กับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือไม่ และต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงอย่างละเอียดรอบคอบเพื่อป้องกันความไม่เป็นธรรมและการกลั่นแล้งทางการเมือง
ประเด็นที่ 10 : เรื่อง “ควรกำหนดบทบาทใหม่ของผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา” มีผู้ตอบแบบสำรวจ จำนวน 294 คน
ความเห็น
- ส่วนใหญ่ เห็นด้วย 233 คน คิดเป็นร้อยละ 79.3 เพราะ ควรกำหนดบทบาทให้ชัดเจน และเน้นการตรวจสอบการทำงานของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในการดำเนินการต่างๆ ที่ก่อเกิดผลกระทบต่อประชาชนส่วนรวมเป็นหลัก และการดำเนินการเป็นระบบมากขึ้น
- ส่วนน้อย ไม่เห็นด้วย 61 คน คิดเป็นร้อยละ 20.7 เพราะ หน้าที่ซ้ำซ้อนกับหน่วยงานอื่นๆ ที่มีอยู่เดิม และอำนาจเดิมที่มีอยู่แล้วก็มากเพียงพอ
ข้อเสนอแนะ กำหนดหน้าที่ให้ชัดเจนเป็นรูปธรรมทำหน้าที่ในการตรวจสอบผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐรวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาต้องซื่อสัตย์สุจริตและมีความเป็นกลาง เมื่อพบการกระทำความผิดต้องมีการลงโทษบุคคลนั้นๆ ได้
ประเด็นที่ 11 : เรื่อง “ควรมีการเพิ่มอำนาจและลดจำนวนคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ” มีผู้ตอบแบบสำรวจ จำนวน 294 คน
ความเห็น
- ส่วนใหญ่ เห็นด้วย 179 คน คิดเป็นร้อยละ 60.9 เพราะ ควรลดจำนวนให้น้อยลง เพื่อป้องกันกลุ่มบุคคลเข้ามาหวังผลประโยชน์ขององค์กร และควรเพิ่มอำนาจให้มากขึ้น เพื่อการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำหน้าที่เป็นตัวแทนประชาชนในการเรียกร้องสิทธิมนุษยชนและการเสนอสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม เพื่อการพัฒนาสังคมต่อไป
- ส่วนน้อย ไม่เห็นด้วย 115 คน คิดเป็นร้อยละ 39.1 เพราะ จำนวนเหมาะสมแล้วและอำนาจเดิมก็มีบทบาทมาก การลดจำนวนจะทำให้ประสิทธิภาพการดำเนินงานลดลง ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งเป้าหมายไว้ และการแก้ไขปัญหาของสังคมเกิดการล่าช้า และการพัฒนาสังคมไม่ต่อเนื่อง
ข้อเสนอแนะ กำหนดบทบาทที่ชัดเจน และเน้นปัญหาของสังคมเป็นหลักเพื่อให้สังคมพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง และรับรู้ปัญหาของสังคม เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขต่อไป
ประเด็นที่ 12 : เรื่อง “ควรมีการคานและดุลยอำนาจใบแดงคณะกรรมการการเลือกตั้ง” มีผู้ตอบแบบสำรวจ จำนวน 308 คน
ความเห็น
- ส่วนใหญ่ เห็นด้วย 259 คน คิดเป็นร้อยละ 84.1 เพราะ เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกใบแดง ในการป้องการใช้อำนาจโดยมิชอบ และไม่เป็นการผูกขาดและใช้อำนาจเกินความจำเป็น ทำให้การตัดสินใจของคณะกรรมการการเลือกตั้งมีความเป็นกลาง และเป็นอิสระปราศจากการแทรกแซงของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
- ส่วนน้อย ไม่เห็นด้วย 49 คน คิดเป็นร้อยละ 15.9 เพราะ ควรให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจเด็ดขาดในการตัดสินใจ เพราะมีฐานะเป็นองค์กรอิสระที่มาจากบุคคลที่มีความรู้ความสามารถของสังคม
ข้อเสนอแนะ ควรกำหนดคุณสมบัติเรื่องคุณธรรมจริยธรรมเพิ่มมากขึ้นเป็นพิเศษ เพื่อได้บุคคลที่มีความเป็นกลางและซื่อสัตย์สุจริตมาทำหน้าที่ตัดสินแทนประชาน และควรกำหนดจำนวนมากขึ้นกว่าเดิมเล็กน้อย เพื่อเป็นการคานและดุลยอำนาจซึ่งกันและกัน และเมื่อมีปัญหาในประเด็นสำคัญที่เป็นข้อเท็จจริงที่ไม่อาจวินิจฉัยได้ ควรส่งประเด็นให้ศาลพิจารณาต่อไป และกำหนดให้อุทธรณ์ใบแดงไปยังศาลฎีกาเพื่อวินิจฉัยชี้ขาดต่อไปได้
ประเด็นที่ 13 : เรื่อง “ควรปรับอำนาจบทบาทตุลาการ อัยการให้เป็นอิสระมากขึ้น” มีผู้ตอบแบบสำรวจ จำนวน 311 คน
ความเห็น
- ส่วนใหญ่ เห็นด้วย 243 คน คิดเป็นร้อยละ 78.1 เพราะ เพื่อความยุติธรรมในการตัดสินคดีต่าง ๆ ควรให้ตุลาการ อัยการ มีความเป็นอิสระในการดำเนินงานมากขึ้น ไม่เกิดปัญหาการแทรกแซงจากกลุ่มนักการเมือง หรือผู้มีอิทธิพลที่สามารถกดดันการทำหน้าที่ของตุลาการ อัยการ ซึ่งการทำหน้าที่ของตุลาการ อัยการ ต้องสามารถถ่วงดุลยอำนาจองค์กรอิสระอื่นๆ ได้ด้วย
- ส่วนน้อย ไม่เห็นด้วย 68 คน คิดเป็นร้อยละ 21.9 เพราะ ปัจจุบันอำนาจตุลาการ อัยการ มีอิสระในการดำเนินงานอยู่แล้ว และการปฏิบัติงานตามหน้าที่ก็ไม่เกิดปัญหาแก่การดำเนินงานแต่อย่างใด จึงไม่มีความจำเป็นต้องเพิ่มความเป็นอิสระมากขึ้น
ข้อเสนอแนะ ตุลาการควรมาจากบุคคลที่เป็นนักกฎหมาย เพราะต้องเป็นผู้มีความรู้ด้านกฎหมายอย่างถ่องแท้ และควรมีการตรวจสอบอำนาจตุลาการ อัยการ เพื่อป้องกันการแทรกแซงจากกลุ่มผู้มีอิทธิพลทางการเมือง
ประเด็นที่ 14 : เรื่อง“ควรกำหนดการกระทำที่ขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวและผลประโยชน์ของรัฐ” มีผู้ตอบแบบสำรวจ จำนวน 314 คน
ความเห็น
- ส่วนใหญ่ เห็นด้วย 296 คน คิดเป็นร้อยละ 94.3 เพราะ เพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศควรกำหนดการกระทำทั้งหลายที่เป็นพฤติการณ์การกระทำที่ขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตัวและผลประโยชน์ของรัฐอย่างชัดเจน เพื่อป้องกันการเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน หรือทุจริตเชิงนโยบาย
- ส่วนน้อย ไม่เห็นด้วย 18 คน คิดเป็นร้อยละ 5.7 เพราะ อาจเกิดปัญหายุ่งยากตามมาเนื่องจากการใช้การตรวจสอบที่ไม่สุจริต และปัญหาเดิมๆ ก็ยังมีอยู่
ข้อเสนอแนะ ต้องกำหนดพฤติการณ์การกระทำที่ก่อเกิดความเสียหายต่อรัฐอย่างชัดเจน และต้องปฏิบัติอย่างจริงจังและต่อเนื่องในการตรวจสอบพฤติการณ์การกระทำที่ไม่สุจริต และต้องกำหนดบทลงโทษอย่างเด็ดขาด เพื่อให้เกิดการเกรงกลัวต่อการกระทำที่ก่อเกิดความเสียหายต่อรัฐอย่างเป็นรูปธรรม
ประเด็นที่ 15 : เรื่อง “ปัญหาการบัญญัติให้พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ” มีผู้ตอบแบบสำรวจ จำนวน 316 คน
ความเห็น
- ส่วนใหญ่ ไม่เห็นด้วย 173 คน คิดเป็นร้อยละ 54.7 เพราะ การนับถือศาสนาเป็นความเชื่อ ความศรัทธาของแต่ละบุคคล จะกำหนดกฎเกณฑ์หรือบังคับกันไม่ได้ และพุทธศาสนาไม่ได้เป็นสิ่งกำหนดเอกลักษณ์ความเป็นคนไทยแต่อย่างไร ซึ่งศาสนาพุทธนั้นสอนให้ทุกคนเดินสายกลาง และเป็นคนดี ซึ่งควรยึดหลักธรรมนี้ เป็นการยึดเหนี่ยวจิตใจมากกว่าจะบังคับให้คนนับถือศาสนาใดศาสนาหนึ่ง และอาจเกิดความแตกแยกของสังคมในชาติ และเกิดการเกลียดชังจากศาสนาอื่นๆ ที่เคยมีในประเทศไทยได้
- ส่วนน้อย เห็นด้วย 143 คน คิดเป็นร้อยละ 45.3 เพราะ คนส่วนใหญ่ของประเทศนับถือศาสนาพุทธกว่าร้อยละ 95 และพุทธศาสนาอยู่คู่สังคมไทยมานาน เกิดความคารพนับถือ เกิดความเชื่อความศรัทธาแก่สังคมไทยและมีการใช้ประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ทางศาสนาเป็นปกติ และเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตของคนในสังคมไทย เกิดความสงบสุขแก่ประเทศชาติเรื่อยมา
ข้อเสนอแนะ ควรส่งเสริมจุดเด่น และข้อดีของพุทธศาสนา มาเป็นแนวทางปฏิบัติในการดำเนินชีวิตในแต่ละวัน และส่งเสริมความเข้าใจในคำสอนของพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง จึงจะเป็นผลดีแก่สังคมไทยและควรปลูกฝังให้เยาวชนรักศาสนาและเป็นคนดีของสังคมทำให้สังคมสงบสุขต่อไป
ประเด็น 16 ประเด็นอื่น ๆ (ถ้ามี)
- ให้ประชาชน 100,000 คน ลงชื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญได้
- ให้ยกเลิกมาตรา 299
- ควรมีการออกกฎหมายที่ดิน ภาษี มรดก และสิ่งแวดล้อมในรัฐธรรมนูญด้วย
- ลงโทษสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ซื้อเสียงและขายตัวให้พรรคการเมือง
ประเด็นที่ 17 : เรื่อง “ท่านจะรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับรับฟังความคิดเห็นหรือไม่” มีผู้ตอบแบบสำรวจ จำนวน 49 คน
ความเห็น
- ส่วนใหญ่ รับร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 35 คน คิดเป็นร้อยละ 71.4
- ส่วนน้อย ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 6.1
- ไม่มีความคิดเห็น จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 22.4
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 19 มิถุนายน 2550--จบ--
ประเด็นที่ 1 : เรื่อง “ควรมีคณะบุคคลเพื่อหาทางออกในยามวิกฤตของชาติ” มีผู้ตอบแบบสำรวจ จำนวน 336 คน
ความเห็น
- ส่วนใหญ่ เห็นด้วย 251 คน คิดเป็นร้อยละ 74.7 เพราะ ในเวลาเกิดความไม่สงบสุขนั้นจำเป็นต้องมีคนเข้าไปแก้ไขปัญหาของประเทศ โดยบุคคลที่เข้าไปแก้ปัญหานั้นควรเป็นที่ยอมรับของคนในสังคม และเป็นคนมีคุณธรรมโดยเห็นแก่ประโยชน์ของประเทศเป็นสำคัญ
- ส่วนน้อย ไม่เห็นด้วย 85 คน คิดเป็นร้อยละ 25.3 เพราะ ขัดต่อหลักสิทธิเสรีภาพ ไม่เป็นประชาธิปไตย ควรส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองให้ประชาชนเป็นการดีกว่า โดยปลูกจิตสำนึกรักชาติให้ประชาชน การที่จะตั้งคณะบุคคลขึ้นมานั้นอาจจะเป็นกลุ่มตัวแทนของผู้มีอำนาจที่มาจากเผด็จการ ความจริงมีรัฐบาลอยู่แล้วจึงไม่จำเป็นต้องมีกลุ่มบุคคลดังกล่าวขึ้นมา
ข้อเสนอแนะ คณะบุคคลที่ตั้งขึ้นจะต้องเป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือ มีคุณธรรม มีการกำหนดอำนาจหน้าที่ไว้ให้ชัดเจนด้วย ในเรื่องของวิกฤตชาตินั้นจำเป็นต้องมีการกำหนดระดับเอาไว้ด้วยว่าแค่ไหนถึงจำเป็นที่จะตั้งบุคคลดังกล่าวขึ้น และเมื่อมีการตั้งคณะบุคคลขึ้นมาแล้วจำเป็นต้องกำหนดระยะเวลาเอาไว้ด้วยไม่ควรตั้งเป็นการถาวรเพื่อป้องกันการใช้อำนาจในทางผิด
ประเด็นที่ 2 : เรื่อง “ควรมีการกำหนดคุณธรรม และจริยธรรมนักการเมือง” มีผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 343 คน
ความเห็น
- ส่วนใหญ่ เห็นด้วย 329 คน คิดเป็นร้อยละ 95.9 เพราะ เพื่อเป็นกรอบด้านคุณธรรมและจริยธรรมให้นักการเมืองปฏิบัติและสร้างให้เป็นประเพณีทางการเมือง เพื่อให้นักการเมืองมีคุณธรรมจริยธรรม โดยบรรจุไว้ให้มีการอบรมก่อนที่นักการเมืองเข้ารับตำแหน่งด้วย เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติงานด้วย
- ส่วนน้อย ไม่เห็นด้วย 14 คน คิดเป็นร้อยละ 4.1 เพราะ นักการเมืองเป็นคนที่สังคมยอมรับและการที่ประชาชนได้เลือกเข้ามานั้นแสดงได้ว่าประชาชนไว้วางใจให้เป็นตัวแทนของตนในสภาฯ ทุกๆ คนย่อมมีคุณธรรมและจริยธรรมกันดีอยู่แล้วจึงไม่จำเป็นต้องไปกำหนดกรอบเอาไว้ให้ยุ่งยาก
ข้อเสนอแนะ ควรกำหนดบทลงโทษทางจริยธรรมของนักการเมืองและต้องกำหนดมาตรฐานทางจริยธรรมไว้อย่างชัดเจน การตั้งอนุกรรมการทางจริยธรรมนั้นจะนำมาตรฐานใดมาวัด เรื่องของคุณธรรม และจริยธรรมนั้นควรจะปลูกฝังตั้งแต่ยังเด็ก หากการมากำหนดหลักเกณฑ์ขึ้นมาแล้วนักการเมืองไม่ปฏิบัติตาม ย่อมไม่เกิดผลอะไร
ประเด็นที่ 3 : เรื่อง “ควรกำหนดจำนวนและการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา” มีผู้ตอบแบบสำรวจ จำนวน 337 คน
ความเห็น
- ส่วนใหญ่ เห็นด้วย 286 คน คิดเป็นร้อยละ 84.9 เพราะ ควรกำหนดจำนวนที่ชัดเจน และกำหนดขอบเขตการใช้อำนาจไว้ด้วยว่ามีแค่ไหน ส.ว. ต้องไปเป็นคนของนักการเมือง ในการทำงานของ ส.ว. นั้นต้องตรวจสอบได้
- ส่วนน้อย ไม่เห็นด้วย 51 คน คิดเป็นร้อยละ 15.1 เพราะ การสรรหาอาจไม่โปร่งใส ส.ว. ควรมาจากการเลือกตั้ง เพื่อป้องกันกลุ่มผลประโยชน์แอบแฝง
ข้อเสนอแนะ จะต้องเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ มีความเป็นกลางทางการเมืองและควรกำหนดจำนวนไว้ให้แน่นอน เพราะหากมีจำนวนมากเกินไปอาจเกิดความล่าช้าในการปฏิบัติงานและการสรรหาได้ในกรณี ส.ว. กระทำความผิดนั้นไม่ควรให้การคุ้มครองต้องได้รับโทษเช่นเดียวกับประชาชน
ประเด็นที่ 4 : เรื่อง “ควรกำหนดจำนวนและการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร” มีผู้ตอบแบบสำรวจ จำนวน 334 คน
ความเห็น
- ส่วนใหญ่ เห็นด้วย 315 คน คิดเป็นร้อยละ 94.3 เพราะ ควรกำหนดจำนวน ส.ส. ให้เหมาะสมกับจำนวนประชากร เมื่อ ส.ส. มีจำนวนน้อยลงจะเป็นการประหยัดงบประมาณของประเทศ และ ส.ส. ควรมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด
- ส่วนน้อย ไม่เห็นด้วย 19 คน คิดเป็นร้อยละ 5.7 เพราะ ส.ส. ควรมาจากการเลือกตั้งทั้งหมดโดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องจัดการเลือกตั้งให้เป็นธรรม ต้องกำหนดบทลงโทษในกรณีซื้อสียงไว้ด้วย
ข้อเสนอแนะ ให้ความรู้กับประชาชน ส.ส. ต้องมาจากการเลือกตั้งแบบเดิม เป็นประชาธิปไตยที่สุด ไม่ควรมี ส.ส. เกิน 400 คน เพื่อให้การบริหารประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ประเด็นที่ 5 : เรื่อง “ควรกำหนดสิทธิ เสรีภาพ การมีส่วนร่วมของประชาชน และสิทธิชุมชน” มีผู้ตอบแบบสำรวจ จำนวน 336 คน
ความเห็น
- ส่วนใหญ่ เห็นด้วย 307 คน คิดเป็นร้อยละ 91.4 เพราะ สิทธิและเสรีภาพเป็นเรื่องดี ในการปกครองประเทศ ในการกำหนดสิทธินั้นควรมีความเสมอภาค รู้ขอบเขต โดยที่ประชาชนสามารถใช้สิทธิอย่างเต็มที่โดยไม่กระทบสิทธิของคนอื่น ประชาชนทุกคนมีสิทธิอย่างเท่าเทียมกัน การใช้สิทธิมากเกินขอบเขตอาจทำให้ประเทศวุ่นวายได้
- ส่วนน้อย ไม่เห็นด้วย 29 คน คิดเป็นร้อยละ 8.6 เพราะ การให้สิทธิเสรีภาพมากเกินไปอาจทำให้ประเทศชาติวุ่นวาย บางเรื่องรัฐควรจะกำหนดขอบเขตลงไปว่าประชาชนมีสิทธิแค่ไหน ควรเน้นที่การมีส่วนร่วมทางการเมืองแก่ประชาชนจักเป็นการดีกว่าให้สิทธิมากมาย
ข้อเสนอแนะ การชุมนุมควรอยู่ในความสงบอย่าเกินขอบเขต เช่นการปิดถนน จะทำให้คนส่วนใหญ่เดือดร้อน ตรงนี้เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง การใช้สิทธิใดๆนั้นต้องอย่าลืมว่าไปกระทบสิทธิ์ของผู้อื่นหรือไม่ ควรรับฟังความคิดเห็นของประชาชนก่อนดำเนินการ
ประเด็นที่ 6 : เรื่อง “ควรมีการกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” มีผู้ตอบแบบสำรวจ จำนวน 333 คน
ความเห็น
- ส่วนใหญ่ เห็นด้วย 301 คน คิดเป็นร้อยละ 90.4 เพราะ การกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น นั้นเป็นเรื่องดี เพราะท้องถิ่นย่อมรู้ปัญหาได้ดีกว่าส่วนกลาง การให้อำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นการบริหารสั่งการย่อมรวดเร็วขึ้นสามารถแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องปราศจากการแทรกแซงจากการเมืองระดับชาติ
- ส่วนน้อย ไม่เห็นด้วย 32 คน คิดเป็นร้อยละ 9.6 เพราะ ควรมีการควบคุมในเรื่องคอร์รัปชั่น ควรจะกำหนดในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ไม่ควรกำหนดในรัฐธรรมนูญโดยตรง การกระจายอำนาจต้องดูในแต่ละชุมชนว่าชุมชนใดมีความพร้อม จะดีกว่ากระจายอำนาจไปทั่วทั้งประเทศซึ่งยาก แก่การตรวจสอบดูแล
ข้อเสนอแนะ การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นนั้นเป็นสิ่งดี ต้องดูความพร้อมในหลายๆด้านประกอบกันด้วย เช่นท้องถิ่นเองมีความพร้อมมากน้อยเพียงใด แล้วส่วนกลางจะจัดการอย่างไรเมื่อกระจายอำนาจไปแล้ว
ประเด็นที่ 7 : เรื่อง “ควรมีแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ” มีผู้ตอบแบบสำรวจ จำนวน 320 คน
ความเห็น
- ส่วนใหญ่ เห็นด้วย 315 คน คิดเป็นร้อยละ 98.4 เพราะ ต้องกำหนดอย่างชัดเจน เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศในทุกๆ โดยกำหนดตัวชี้วัดความต้องการของสังคมอย่างสม่ำเสมอให้รู้ถึงปัญหาและอุปสรรคในด้านต่างๆ เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขต่อไป
- ส่วนน้อย ไม่เห็นด้วย 5 คน คิดเป็นร้อยละ 1.6 เพราะ การกำหนดแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐมากเกินไปจะเป็นเครื่องมือฝ่ายบริหารในการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดินเป็นจำนวนมาก
ข้อเสนอแนะ ให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ เพื่อก่อเกิดความร่วมมือในการพัฒนาประชากร และกำหนดตัวชี้วัดเพื่อเป็นเป้าหมายในการปฏิบัติงาน
ประเด็นที่ 8 : เรื่อง “ควรมีคณะกรรมการสรรหาองค์กรอิสระ” มีผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 320 คน
ความเห็น
- ส่วนใหญ่ เห็นด้วย 271 คน คิดเป็นร้อยละ 84.7 เพราะ ต้องเลือกบุคคลที่ซื่อสัตย์สุจริตอันเป็นที่ยอมรับของสังคมในแต่ละด้าน เพื่อเป็นตัวแทนในการสรรหาองค์กรอิสระ จะได้องค์กรอิสระที่มาจากหลากหลายอาชีพ และมีความเป็นกลางเกิดความโปรงใสในการดำเนินการ และสังคมยอมรับบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งนั้นๆ สามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงตามปัญหาในทุก ๆ ด้าน
- ส่วนน้อย ไม่เห็นด้วย 48 คน คิดเป็นร้อยละ 15.0 เพราะ เลือกจากเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์การทำงาน มาเป็นตัวแทนองค์กรอิสระก็เป็นการเพียงพอแล้ว
ข้อเสนอแนะ คณะกรรมการสรรหาองค์กรอิสระต้องมีคุณธรรม จริยธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความเป็นกลาง และมาจากหน่วยงานที่เป็นที่ยอมรับของสังคมส่วนรวม และปราศจากอำนาจครอบงำจากนักการเมือง และมีการกำหนดการประเมินผลงานขององค์กรอิสระ และสามารถตรวจสอบการดำเนินงานได้
ประเด็นที่ 9 : เรื่อง “ควรกำหนดให้ 20,000 รายชื่อถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้” มีผู้ตอบแบบสำรวจ จำนวน 318 คน
ความเห็น
- ส่วนใหญ่ ไม่เห็นด้วย 186 คน คิดเป็นร้อยละ 58.5 เพราะ จำนวนน้อยเกินไปขาดเสถียรภาพเกิดการกลั่นแกล้งทางการเมืองได้ และการลงชื่อถอดถอนไม่ใช่ตัวชี้วัดพฤติการณ์และการกระทำความผิดนั้น ๆ ได้อย่างชัดเจน เพราะการลงชื่อถอดถอนอาจมาจากกการรับค่าตอบแทนจากผู้เสียผลประโยชน์ฝ่ายตรงข้าม ชักจูงให้ลงชื่อถอดถอนได้ครบตามจำนวนที่กำหนด และสุดท้ายก็ไม่ได้มาจากความต้องการของประชาชนโดยตรง
- ส่วนน้อย เห็นด้วย 132 คน คิดเป็นร้อยละ 41.5 เพราะ สามารถตรวจสอบการดำเนินงานของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้โดยง่าย ทำให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเกรงกลัวต่อการกระทำอันเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ และเป็นการให้สิทธิแก่ประชาชนโดยตรงในการตรวจสอบนักการเมือง
ข้อเสนอแนะ ควรกำหนดจำนวนมากกว่านี้ และต้องตรวจสอบแหล่งข้อมูลที่มาของการลงลายมือชื่อ ถอดถอนว่าสัมพันธ์กับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือไม่ และต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงอย่างละเอียดรอบคอบเพื่อป้องกันความไม่เป็นธรรมและการกลั่นแล้งทางการเมือง
ประเด็นที่ 10 : เรื่อง “ควรกำหนดบทบาทใหม่ของผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา” มีผู้ตอบแบบสำรวจ จำนวน 294 คน
ความเห็น
- ส่วนใหญ่ เห็นด้วย 233 คน คิดเป็นร้อยละ 79.3 เพราะ ควรกำหนดบทบาทให้ชัดเจน และเน้นการตรวจสอบการทำงานของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในการดำเนินการต่างๆ ที่ก่อเกิดผลกระทบต่อประชาชนส่วนรวมเป็นหลัก และการดำเนินการเป็นระบบมากขึ้น
- ส่วนน้อย ไม่เห็นด้วย 61 คน คิดเป็นร้อยละ 20.7 เพราะ หน้าที่ซ้ำซ้อนกับหน่วยงานอื่นๆ ที่มีอยู่เดิม และอำนาจเดิมที่มีอยู่แล้วก็มากเพียงพอ
ข้อเสนอแนะ กำหนดหน้าที่ให้ชัดเจนเป็นรูปธรรมทำหน้าที่ในการตรวจสอบผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐรวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาต้องซื่อสัตย์สุจริตและมีความเป็นกลาง เมื่อพบการกระทำความผิดต้องมีการลงโทษบุคคลนั้นๆ ได้
ประเด็นที่ 11 : เรื่อง “ควรมีการเพิ่มอำนาจและลดจำนวนคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ” มีผู้ตอบแบบสำรวจ จำนวน 294 คน
ความเห็น
- ส่วนใหญ่ เห็นด้วย 179 คน คิดเป็นร้อยละ 60.9 เพราะ ควรลดจำนวนให้น้อยลง เพื่อป้องกันกลุ่มบุคคลเข้ามาหวังผลประโยชน์ขององค์กร และควรเพิ่มอำนาจให้มากขึ้น เพื่อการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำหน้าที่เป็นตัวแทนประชาชนในการเรียกร้องสิทธิมนุษยชนและการเสนอสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม เพื่อการพัฒนาสังคมต่อไป
- ส่วนน้อย ไม่เห็นด้วย 115 คน คิดเป็นร้อยละ 39.1 เพราะ จำนวนเหมาะสมแล้วและอำนาจเดิมก็มีบทบาทมาก การลดจำนวนจะทำให้ประสิทธิภาพการดำเนินงานลดลง ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งเป้าหมายไว้ และการแก้ไขปัญหาของสังคมเกิดการล่าช้า และการพัฒนาสังคมไม่ต่อเนื่อง
ข้อเสนอแนะ กำหนดบทบาทที่ชัดเจน และเน้นปัญหาของสังคมเป็นหลักเพื่อให้สังคมพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง และรับรู้ปัญหาของสังคม เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขต่อไป
ประเด็นที่ 12 : เรื่อง “ควรมีการคานและดุลยอำนาจใบแดงคณะกรรมการการเลือกตั้ง” มีผู้ตอบแบบสำรวจ จำนวน 308 คน
ความเห็น
- ส่วนใหญ่ เห็นด้วย 259 คน คิดเป็นร้อยละ 84.1 เพราะ เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกใบแดง ในการป้องการใช้อำนาจโดยมิชอบ และไม่เป็นการผูกขาดและใช้อำนาจเกินความจำเป็น ทำให้การตัดสินใจของคณะกรรมการการเลือกตั้งมีความเป็นกลาง และเป็นอิสระปราศจากการแทรกแซงของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
- ส่วนน้อย ไม่เห็นด้วย 49 คน คิดเป็นร้อยละ 15.9 เพราะ ควรให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจเด็ดขาดในการตัดสินใจ เพราะมีฐานะเป็นองค์กรอิสระที่มาจากบุคคลที่มีความรู้ความสามารถของสังคม
ข้อเสนอแนะ ควรกำหนดคุณสมบัติเรื่องคุณธรรมจริยธรรมเพิ่มมากขึ้นเป็นพิเศษ เพื่อได้บุคคลที่มีความเป็นกลางและซื่อสัตย์สุจริตมาทำหน้าที่ตัดสินแทนประชาน และควรกำหนดจำนวนมากขึ้นกว่าเดิมเล็กน้อย เพื่อเป็นการคานและดุลยอำนาจซึ่งกันและกัน และเมื่อมีปัญหาในประเด็นสำคัญที่เป็นข้อเท็จจริงที่ไม่อาจวินิจฉัยได้ ควรส่งประเด็นให้ศาลพิจารณาต่อไป และกำหนดให้อุทธรณ์ใบแดงไปยังศาลฎีกาเพื่อวินิจฉัยชี้ขาดต่อไปได้
ประเด็นที่ 13 : เรื่อง “ควรปรับอำนาจบทบาทตุลาการ อัยการให้เป็นอิสระมากขึ้น” มีผู้ตอบแบบสำรวจ จำนวน 311 คน
ความเห็น
- ส่วนใหญ่ เห็นด้วย 243 คน คิดเป็นร้อยละ 78.1 เพราะ เพื่อความยุติธรรมในการตัดสินคดีต่าง ๆ ควรให้ตุลาการ อัยการ มีความเป็นอิสระในการดำเนินงานมากขึ้น ไม่เกิดปัญหาการแทรกแซงจากกลุ่มนักการเมือง หรือผู้มีอิทธิพลที่สามารถกดดันการทำหน้าที่ของตุลาการ อัยการ ซึ่งการทำหน้าที่ของตุลาการ อัยการ ต้องสามารถถ่วงดุลยอำนาจองค์กรอิสระอื่นๆ ได้ด้วย
- ส่วนน้อย ไม่เห็นด้วย 68 คน คิดเป็นร้อยละ 21.9 เพราะ ปัจจุบันอำนาจตุลาการ อัยการ มีอิสระในการดำเนินงานอยู่แล้ว และการปฏิบัติงานตามหน้าที่ก็ไม่เกิดปัญหาแก่การดำเนินงานแต่อย่างใด จึงไม่มีความจำเป็นต้องเพิ่มความเป็นอิสระมากขึ้น
ข้อเสนอแนะ ตุลาการควรมาจากบุคคลที่เป็นนักกฎหมาย เพราะต้องเป็นผู้มีความรู้ด้านกฎหมายอย่างถ่องแท้ และควรมีการตรวจสอบอำนาจตุลาการ อัยการ เพื่อป้องกันการแทรกแซงจากกลุ่มผู้มีอิทธิพลทางการเมือง
ประเด็นที่ 14 : เรื่อง“ควรกำหนดการกระทำที่ขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวและผลประโยชน์ของรัฐ” มีผู้ตอบแบบสำรวจ จำนวน 314 คน
ความเห็น
- ส่วนใหญ่ เห็นด้วย 296 คน คิดเป็นร้อยละ 94.3 เพราะ เพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศควรกำหนดการกระทำทั้งหลายที่เป็นพฤติการณ์การกระทำที่ขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตัวและผลประโยชน์ของรัฐอย่างชัดเจน เพื่อป้องกันการเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน หรือทุจริตเชิงนโยบาย
- ส่วนน้อย ไม่เห็นด้วย 18 คน คิดเป็นร้อยละ 5.7 เพราะ อาจเกิดปัญหายุ่งยากตามมาเนื่องจากการใช้การตรวจสอบที่ไม่สุจริต และปัญหาเดิมๆ ก็ยังมีอยู่
ข้อเสนอแนะ ต้องกำหนดพฤติการณ์การกระทำที่ก่อเกิดความเสียหายต่อรัฐอย่างชัดเจน และต้องปฏิบัติอย่างจริงจังและต่อเนื่องในการตรวจสอบพฤติการณ์การกระทำที่ไม่สุจริต และต้องกำหนดบทลงโทษอย่างเด็ดขาด เพื่อให้เกิดการเกรงกลัวต่อการกระทำที่ก่อเกิดความเสียหายต่อรัฐอย่างเป็นรูปธรรม
ประเด็นที่ 15 : เรื่อง “ปัญหาการบัญญัติให้พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ” มีผู้ตอบแบบสำรวจ จำนวน 316 คน
ความเห็น
- ส่วนใหญ่ ไม่เห็นด้วย 173 คน คิดเป็นร้อยละ 54.7 เพราะ การนับถือศาสนาเป็นความเชื่อ ความศรัทธาของแต่ละบุคคล จะกำหนดกฎเกณฑ์หรือบังคับกันไม่ได้ และพุทธศาสนาไม่ได้เป็นสิ่งกำหนดเอกลักษณ์ความเป็นคนไทยแต่อย่างไร ซึ่งศาสนาพุทธนั้นสอนให้ทุกคนเดินสายกลาง และเป็นคนดี ซึ่งควรยึดหลักธรรมนี้ เป็นการยึดเหนี่ยวจิตใจมากกว่าจะบังคับให้คนนับถือศาสนาใดศาสนาหนึ่ง และอาจเกิดความแตกแยกของสังคมในชาติ และเกิดการเกลียดชังจากศาสนาอื่นๆ ที่เคยมีในประเทศไทยได้
- ส่วนน้อย เห็นด้วย 143 คน คิดเป็นร้อยละ 45.3 เพราะ คนส่วนใหญ่ของประเทศนับถือศาสนาพุทธกว่าร้อยละ 95 และพุทธศาสนาอยู่คู่สังคมไทยมานาน เกิดความคารพนับถือ เกิดความเชื่อความศรัทธาแก่สังคมไทยและมีการใช้ประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ทางศาสนาเป็นปกติ และเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตของคนในสังคมไทย เกิดความสงบสุขแก่ประเทศชาติเรื่อยมา
ข้อเสนอแนะ ควรส่งเสริมจุดเด่น และข้อดีของพุทธศาสนา มาเป็นแนวทางปฏิบัติในการดำเนินชีวิตในแต่ละวัน และส่งเสริมความเข้าใจในคำสอนของพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง จึงจะเป็นผลดีแก่สังคมไทยและควรปลูกฝังให้เยาวชนรักศาสนาและเป็นคนดีของสังคมทำให้สังคมสงบสุขต่อไป
ประเด็น 16 ประเด็นอื่น ๆ (ถ้ามี)
- ให้ประชาชน 100,000 คน ลงชื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญได้
- ให้ยกเลิกมาตรา 299
- ควรมีการออกกฎหมายที่ดิน ภาษี มรดก และสิ่งแวดล้อมในรัฐธรรมนูญด้วย
- ลงโทษสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ซื้อเสียงและขายตัวให้พรรคการเมือง
ประเด็นที่ 17 : เรื่อง “ท่านจะรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับรับฟังความคิดเห็นหรือไม่” มีผู้ตอบแบบสำรวจ จำนวน 49 คน
ความเห็น
- ส่วนใหญ่ รับร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 35 คน คิดเป็นร้อยละ 71.4
- ส่วนน้อย ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 6.1
- ไม่มีความคิดเห็น จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 22.4
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 19 มิถุนายน 2550--จบ--