แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ร่างพระราชบัญญัติ
กระทรวงยุติธรรม
บางกอกแร้นช์
คณะรัฐมนตรี
รัฐธรรมนูญ
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้เสนอคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาเป็นเรื่องด่วนต่อไป
กระทรวงยุติธรรมเสนอว่า บทบัญญัติของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 เกี่ยวกับการดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะกรรมการ ป.ป.ช. กรณีผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดยังมีข้อจำกัดบางประการ เนื่องจากกฎหมายได้บัญญัติให้ต้องมีผู้เสียหายมายื่นคำร้องต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงจะสามารถดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงต่อไปได้ ทำให้ในบางกรณีแม้มีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลนั้นมีพฤติการณ์หรือได้กระทำผิดคณะกรรมการ ป.ป.ช. ก็ไม่สามารถดำเนินการเพื่อให้ผู้นั้นได้รับการลงโทษ ดังนั้น คณะอนุกรรมการศึกษาวิเคราะห์เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และพิจารณาเสนอความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ตามคำสั่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่ 68/2550 ลงวันที่ 30 มกราคม 2550 ซึ่งมีนายวิชา มหาคุณ เป็นประธาน ได้มีมติเห็นควรให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมในประเด็นดังกล่าวและเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาเป็นเรื่องเร่งด่วนต่อไป จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติ ดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... กำหนดให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต หรือตามกฎหมายอื่นโดยเร็ว และกำหนดให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอำนาจไต่สวนข้อเท็จจริงกรณีมีเหตุอันควรสงสัยว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดต่อตำแหน่งราชการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--
กระทรวงยุติธรรมเสนอว่า บทบัญญัติของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 เกี่ยวกับการดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะกรรมการ ป.ป.ช. กรณีผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดยังมีข้อจำกัดบางประการ เนื่องจากกฎหมายได้บัญญัติให้ต้องมีผู้เสียหายมายื่นคำร้องต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงจะสามารถดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงต่อไปได้ ทำให้ในบางกรณีแม้มีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลนั้นมีพฤติการณ์หรือได้กระทำผิดคณะกรรมการ ป.ป.ช. ก็ไม่สามารถดำเนินการเพื่อให้ผู้นั้นได้รับการลงโทษ ดังนั้น คณะอนุกรรมการศึกษาวิเคราะห์เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และพิจารณาเสนอความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ตามคำสั่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่ 68/2550 ลงวันที่ 30 มกราคม 2550 ซึ่งมีนายวิชา มหาคุณ เป็นประธาน ได้มีมติเห็นควรให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมในประเด็นดังกล่าวและเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาเป็นเรื่องเร่งด่วนต่อไป จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติ ดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... กำหนดให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต หรือตามกฎหมายอื่นโดยเร็ว และกำหนดให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอำนาจไต่สวนข้อเท็จจริงกรณีมีเหตุอันควรสงสัยว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดต่อตำแหน่งราชการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--