คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทย รายงานผลการตรวจสอบหาสาเหตุ กรณีสถานการณ์มลภาวะทางน้ำที่เกิดในพื้นที่จังหวัดอ่างทองและจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ดังนี้
กระทรวงมหาดไทยรายงานว่า คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงของจังหวัดอ่างทองและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับผู้แทนวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ว.ส.ท.) ได้ดำเนินการขุดรื้อท่อน้ำที่ฝังอยู่ใต้ดินตั้งแต่บริเวณ บริษัท เค ที เอ็มเอสจี จำกัด (โรงงานผงชูรส) ถึงแม่น้ำเจ้าพระยา รวมทั้งได้รับข้อมูลกระบวนการผลิตของบริษัทฯ พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องตามข้อตกลงจากการประชุมร่วมกัน เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2550 แล้ว จึงขอสรุปผลความคืบหน้าในการตรวจพิสูจน์หาสาเหตุ นำเรียนคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบเพิ่มเติม ดังนี้
1. การวิเคราะห์ข้อมูลกระบวนการผลิต ปริมาณน้ำเสีย และการบำบัด จากข้อมูลของบริษัท เค ที เอ็มเอสจี จำกัด
วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ว.ส.ท.) ได้ส่งรายงานผลสรุปการวิเคราะห์ข้อมูลการบำบัดน้ำเสียของบริษัท จากข้อมูลที่บริษัทฯ ส่งให้โดยผ่านการตรวจสอบจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมแล้ว ให้แก่กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2550 เพื่อใช้ประกอบการวิเคราะห์ข้อมูล และสรุปรายงานผลการตรวจสอบหาสาเหตุการตายของปลาที่แท้จริงต่อไป
2. การขุดตรวจสอบท่อน้ำของบริษัท เค ที เอ็มเอสจี จำกัด
2.1 บริษัทฯ ได้เริ่มดำเนินการขุดรื้อท่อตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน 2550 เวลา 14.15 น. โดยขุดลึก 1.50 เมตร ระยะทางประมาณ 200 เมตร และขุดตามแนวที่ราษฎรร้องขอจากริมแม่น้ำเจ้าพระยาถึงโรงสูบน้ำเก่า พบท่อ PE 10 นิ้ว จำนวน 3 ท่อ ได้แก่ ท่อที่ 1 เป็นท่อเก่าไม่มีการเชื่อมต่อแล้ว ท่อที่ 2 เป็นท่อที่มีการต่อเชื่อมเข้าโรงสูบน้ำ (คาดว่าเป็นท่อน้ำดี) ท่อที่ 3 ถูกพบฝังอยู่ลึกจากพื้นประมาณ 2.5-3 เมตร แนวท่อจากโรงสูบน้ำเก่าไปยังริมฝั่งแม่น้ำ จุดที่พบปากท่อในแม่น้ำ ซึ่งคณะกรรมการตรวจสอบฯ ของจังหวัดอ่างทอง ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า แต่ละท่อมีลักษณะการใช้งานอย่างไร จึงได้ยุติการรื้อท่อเวลาประมาณ 18.10 น. ไว้ก่อน และได้มีหนังสือขอความร่วมมือวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ ส่งผู้แทนเข้าไปสนับสนุนจังหวัดอ่างทอง ในวันที่ 5 เมษายน 2550 เพื่อร่วมตรวจสอบระหว่างการขุดรื้อท่อด้วย
2.2 เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2550 เวลา 10.00 น. ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง ผู้แทนวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ และผู้เกี่ยวข้อง ได้ร่วมประชุมกัน ณ ห้องทำงานผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง และในเวลา 11.30 น. คณะกรรมการตรวจสอบการขุดรื้อท่อน้ำฯ ของจังหวัด ผู้แทนกรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมควบคุมมลพิษ และผู้แทนวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ ได้เข้าไปในบริเวณพื้นที่ของบริษัทฯ เพื่อเตรียมการตรวจสอบการขุดรื้อท่อต่อจากที่ได้ขุดไว้แล้ว เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2550 จนถึงเวลาประมาณ 20.30 น. จึงได้เริ่มทำการขุด โดยใช้รถขุดดินขององค์การบริหารส่วนจังหวัดอ่างทอง โดยได้ทำการขุดตรวจพิสูจน์บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา ลึกประมาณ 5 เมตร ระยะทางประมาณ 50 เมตร ตามแนวที่ราษฎรสงสัย ผลปรากฏว่า ไม่พบท่อเพิ่มเติมจากการขุดเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2550 แต่อย่างใด ในการดำเนินการมีผู้แทนของบริษัทฯ เป็นผู้ยินยอมและร่วมดำเนินการ โดยมีนายสมชาย ชุ่มรัตน์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง คณะกรรมการตรวจสอบการขุดรื้อท่อน้ำฯ ของจังหวัด ตัวแทนราษฎร และราษฎรประมาณ 30 คน ร่วมสังเกตการณ์โดยตลอดและยุติการขุดเวลาประมาณ 24.00 น.
2.3 ในระหว่างการดำเนินงาน ตั้งแต่เวลา 11.30 น. ได้มีการชุมนุมของราษฎรประมาณ 60 คน นำเต็นท์มาติดตั้งปิดกั้นทางเข้า-ออกของบริษัทฯ เพื่อเร่งรัดให้บริษัทฯ ขุดรื้อท่อ ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทองและผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดอ่างทอง และคณะ ได้เดินทางไปพบกลุ่มผู้ชุมนุมเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจถึงขั้นตอน การดำเนินการตามข้อตกลง การตรวจหาสาเหตุของน้ำเสีย รวมทั้งแนวทางการช่วยเหลือชดเชยความเสียหายให้แก่ราษฎร ต่อมาเวลาประมาณ 17.30 น. นายสมชาย ชุ่มรัตน์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้มาพบและชี้แจงทำความเข้าใจกับกลุ่มผู้ชุมนุม และร่วมดำเนินการติดตาม ตรวจสอบ การขุดรื้อท่อของบริษัทฯ
และเมื่อเวลาประมาณ 00.30 น. ของวันที่ 6 เมษายน 2550 นายสมชาย ชุ่มรัตน์ รองปลัด กระทรวงมหาดไทย และผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง ได้ไปชี้แจงทำความเข้าใจการดำเนินการกับกลุ่มผู้ชุมนุมที่ทำการชุมนุมอยู่บริเวณด้านหน้าบริษัทฯ อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งกลุ่มผู้ชุมนุมเข้าใจและได้ทำการย้ายเต็นท์ที่ปิดกั้นทางเข้า-ออกบริษัทฯ ออกไปไม่ให้กีดขวางทางเข้า-ออก และได้แยกย้ายกลับ โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจคอยดูแลความสงบเรียบร้อยตลอดเวลา
3. สรุปผลการประชุมผู้เชี่ยวชาญเพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุและข้อสันนิษฐานสาเหตุของปลาตาย
3.1 กรมควบคุมมลพิษ ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญหารือเกี่ยวกับการวิเคราะห์สาเหตุกรณีปลาตายในแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อวันที่ 5 และ 9 เมษายน 2550 ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ได้แก่ ดร.มั่นสิน ตัณฑุลเวศน์ นายไสว อมรวงศ์ ดร.มั่นรักษ์ ตัณฑุลเวศน์ นายชุมพล ชีวะประภานันท์ นางสาวพะเยาว์ คำมุข นายยุทธนา มหัจฉริยะวงศ์ ดร.ศรัณย์ เตชะเสน เป็นต้น โดยในที่ประชุมมีความคิดเห็นสอดคล้องกัน กล่าวคือ เมื่อวิเคราะห์ข้อมูล ข้อเท็จจริงเชิงวิทยาศาสตร์แล้วสรุปได้ว่า เรือบรรทุกน้ำตาลเป็นสาเหตุหลักทำให้เกิดเหตุการณ์ปลาตาย เนื่องจากตรวจพบปริมาณน้ำตาลในมวลน้ำเสียในแม่น้ำเจ้าพระยาสูงกว่าในสภาวะปกติ และผลจากการคาดการณ์โดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ พบว่าเมื่อมีน้ำตาลละลายในน้ำเป็นจำนวนมาก ทำให้ค่าออกซิเจนละลายในน้ำลดลงต่ำสุด ในบริเวณที่เกิดเหตุการณ์ปลาตายพอดี ส่วนกรณีโรงงานผลิตผงชูรส ไม่พบความเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ปลาตายที่เกิดขึ้น เนื่องจากพบค่าโปแตสเซียมและฟอสฟอรัสสูงในบ่อเก็บกักน้ำปุ๋ยที่มีผ้าใบคลุม และบ่อรวบรวมน้ำปุ๋ย แต่จากการวิเคราะห์ค่าโปแตสเซียมและฟอสฟอรัสในมวลน้ำเสียในแม่น้ำเจ้าพระยา พบว่า มีค่าไม่สูง (เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2550 ตรวจวัดค่าโปแตสเซียมได้เท่ากับ 2.9 มิลลิกรัมต่อลิตร และค่าฟอสฟอรัส เท่ากับ 0.08 มิลลิกรัมต่อลิตร) ซึ่งไม่แตกต่างจากสภาวะปกติในแม่น้ำเจ้าพระยา (ตรวจวัดเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2550 มีค่าโปแตสเซียมอยู่ในช่วง 3.1 — 3.8 มิลลิกรัมต่อลิตร และฟอสฟอรัสอยู่ในช่วง 0.07 — 0.13 มิลลิกรัมต่อลิตร)
3.2 ข้อสันนิษฐานสาเหตุของปลาตาย
3.2.1 เรือบรรทุกน้ำตาลล่ม เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ปลาในกระชังตาย เนื่องจาก
1) ตรวจพบน้ำตาลปนเปื้อนในแม่น้ำ โดยตรวจพบน้ำตาลในมวลน้ำเสียในแม่น้ำเจ้าพระยา ในปริมาณที่สูงกว่าในสภาวะปกติ (สภาวะปกติ พบน้ำตาลประมาณ 1.1 — 2.5 มิลลิกรัมต่อลิตร ภายหลังเกิดเหตุพบน้ำตาลสูงขึ้นประมาณ 5 มิลลิกรัมต่อลิตร)
2) ผลการทำแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ สามารถบ่งบอกถึงการละลายของน้ำตาลในแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้ออกซิเจนละลายในน้ำลดต่ำลง ตามลำดับ และลดลงต่ำสุดบริเวณเกิดเหตุปลาตาย คือ ที่ระยะทางห่างจากจุดเกิดเรือล่ม ประมาณ 12 กิโลเมตร สอดคล้องกับข้อมูลการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำในช่วงที่เกิดเหตุปลาตาย
3.2.2 โรงงานผลิตผงชูรส บริษัท เค ที เอ็มเอสจี จำกัด ไม่พบความเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ปลาในกระชังตายในช่วงเวลาดังกล่าว เนื่องจาก
1) ตรวจพบค่าโปแตสเซียมสูง ในบ่อเก็บกักน้ำปุ๋ยที่มีผ้าใบคลุม 6,738 มิลลิกรัมต่อลิตร บ่อรวบรวมน้ำปุ๋ย 6,238 มิลลิกรัมต่อลิตร บ่อบำบัดน้ำเสียบ่อที่ห้า 441 มิลลิกรัมต่อลิตร และท่อน้ำขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 18 นิ้ว 10,646 มิลลิกรัมต่อลิตร และตรวจพบฟอสฟอรัสในปุ๋ยน้ำสูง 1,903 มิลลิกรัมต่อลิตร และในบ่อรวบรวมปุ๋ยน้ำ 172 มิลลิกรัมต่อลิตร
2) ตรวจพบค่าโปแตสเซียม (K) ในมวลน้ำเสียในแม่น้ำเจ้าพระยาในระดับที่ต่ำประมาณ 2.9 มิลลิกรัมต่อลิตร (ตรวจวัดเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2550) ซึ่งไม่แตกต่างจากคุณภาพน้ำในแม่น้ำในสภาวะปกติ (ตรวจวัดเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2550) พบในช่วง 3.1 - 3.8 มิลลิกรัมต่อลิตร
3) ตรวจพบค่าฟอสฟอรัส (P) ในมวลน้ำเสียในแม่น้ำเจ้าพระยา ในระดับที่ต่ำประมาณ 0.08 มิลลิกรัมต่อลิตร (ตรวจวัดเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2550) ซึ่งไม่แตกต่างจากคุณภาพน้ำในแม่น้ำในสภาวะปกติ (ตรวจวัดเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2550) พบในช่วง 0.07 - 0.13 มิลลิกรัมต่อลิตร
4) ในการตรวจสอบข้อมูลของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2550 มีข้อสรุปว่า โรงงานผลิตผงชูรส บริษัท เค ที เอ็มเอสจี จำกัด มีน้ำปุ๋ยเกิดขึ้นในช่วง 6 เดือนย้อนหลัง ประมาณ 21,600 ลูกบาศก์เมตร และขายไป 1,000 ลูกบาศก์เมตร และบ่อเก็บกักปุ๋ยน้ำมีขนาดประมาณ 118,800 - 237,600 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ สรุปว่ามีพื้นที่เพียงพอที่จะเก็บกักน้ำปุ๋ยเอาไว้
4. การช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในกระชังเพิ่มเติม
กระทรวงมหาดไทย ได้ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง และผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ร่วมกับนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดทั้งสองจังหวัด พิจารณาแนวทางให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในกระชังที่ได้รับความเดือดร้อน ดังนี้
4.1 ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดทั้งสองจังหวัด พิจารณาจ่ายขาดเงินสะสม ช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในกระชัง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน
4.2 ให้จังหวัดประสานกรมประมงขอรับการสนับสนุนพันธุ์สัตว์น้ำให้แก่เกษตรกร และสนับสนุนให้จัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจผู้เลี้ยงสัตว์น้ำ หรือเข้าเป็นสมาชิก ธกส. เพื่อใช้สิทธิ์ขอสินเชื่อต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 10 เมษายน 2550--จบ--
กระทรวงมหาดไทยรายงานว่า คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงของจังหวัดอ่างทองและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับผู้แทนวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ว.ส.ท.) ได้ดำเนินการขุดรื้อท่อน้ำที่ฝังอยู่ใต้ดินตั้งแต่บริเวณ บริษัท เค ที เอ็มเอสจี จำกัด (โรงงานผงชูรส) ถึงแม่น้ำเจ้าพระยา รวมทั้งได้รับข้อมูลกระบวนการผลิตของบริษัทฯ พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องตามข้อตกลงจากการประชุมร่วมกัน เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2550 แล้ว จึงขอสรุปผลความคืบหน้าในการตรวจพิสูจน์หาสาเหตุ นำเรียนคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบเพิ่มเติม ดังนี้
1. การวิเคราะห์ข้อมูลกระบวนการผลิต ปริมาณน้ำเสีย และการบำบัด จากข้อมูลของบริษัท เค ที เอ็มเอสจี จำกัด
วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ว.ส.ท.) ได้ส่งรายงานผลสรุปการวิเคราะห์ข้อมูลการบำบัดน้ำเสียของบริษัท จากข้อมูลที่บริษัทฯ ส่งให้โดยผ่านการตรวจสอบจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมแล้ว ให้แก่กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2550 เพื่อใช้ประกอบการวิเคราะห์ข้อมูล และสรุปรายงานผลการตรวจสอบหาสาเหตุการตายของปลาที่แท้จริงต่อไป
2. การขุดตรวจสอบท่อน้ำของบริษัท เค ที เอ็มเอสจี จำกัด
2.1 บริษัทฯ ได้เริ่มดำเนินการขุดรื้อท่อตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน 2550 เวลา 14.15 น. โดยขุดลึก 1.50 เมตร ระยะทางประมาณ 200 เมตร และขุดตามแนวที่ราษฎรร้องขอจากริมแม่น้ำเจ้าพระยาถึงโรงสูบน้ำเก่า พบท่อ PE 10 นิ้ว จำนวน 3 ท่อ ได้แก่ ท่อที่ 1 เป็นท่อเก่าไม่มีการเชื่อมต่อแล้ว ท่อที่ 2 เป็นท่อที่มีการต่อเชื่อมเข้าโรงสูบน้ำ (คาดว่าเป็นท่อน้ำดี) ท่อที่ 3 ถูกพบฝังอยู่ลึกจากพื้นประมาณ 2.5-3 เมตร แนวท่อจากโรงสูบน้ำเก่าไปยังริมฝั่งแม่น้ำ จุดที่พบปากท่อในแม่น้ำ ซึ่งคณะกรรมการตรวจสอบฯ ของจังหวัดอ่างทอง ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า แต่ละท่อมีลักษณะการใช้งานอย่างไร จึงได้ยุติการรื้อท่อเวลาประมาณ 18.10 น. ไว้ก่อน และได้มีหนังสือขอความร่วมมือวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ ส่งผู้แทนเข้าไปสนับสนุนจังหวัดอ่างทอง ในวันที่ 5 เมษายน 2550 เพื่อร่วมตรวจสอบระหว่างการขุดรื้อท่อด้วย
2.2 เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2550 เวลา 10.00 น. ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง ผู้แทนวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ และผู้เกี่ยวข้อง ได้ร่วมประชุมกัน ณ ห้องทำงานผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง และในเวลา 11.30 น. คณะกรรมการตรวจสอบการขุดรื้อท่อน้ำฯ ของจังหวัด ผู้แทนกรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมควบคุมมลพิษ และผู้แทนวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ ได้เข้าไปในบริเวณพื้นที่ของบริษัทฯ เพื่อเตรียมการตรวจสอบการขุดรื้อท่อต่อจากที่ได้ขุดไว้แล้ว เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2550 จนถึงเวลาประมาณ 20.30 น. จึงได้เริ่มทำการขุด โดยใช้รถขุดดินขององค์การบริหารส่วนจังหวัดอ่างทอง โดยได้ทำการขุดตรวจพิสูจน์บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา ลึกประมาณ 5 เมตร ระยะทางประมาณ 50 เมตร ตามแนวที่ราษฎรสงสัย ผลปรากฏว่า ไม่พบท่อเพิ่มเติมจากการขุดเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2550 แต่อย่างใด ในการดำเนินการมีผู้แทนของบริษัทฯ เป็นผู้ยินยอมและร่วมดำเนินการ โดยมีนายสมชาย ชุ่มรัตน์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง คณะกรรมการตรวจสอบการขุดรื้อท่อน้ำฯ ของจังหวัด ตัวแทนราษฎร และราษฎรประมาณ 30 คน ร่วมสังเกตการณ์โดยตลอดและยุติการขุดเวลาประมาณ 24.00 น.
2.3 ในระหว่างการดำเนินงาน ตั้งแต่เวลา 11.30 น. ได้มีการชุมนุมของราษฎรประมาณ 60 คน นำเต็นท์มาติดตั้งปิดกั้นทางเข้า-ออกของบริษัทฯ เพื่อเร่งรัดให้บริษัทฯ ขุดรื้อท่อ ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทองและผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดอ่างทอง และคณะ ได้เดินทางไปพบกลุ่มผู้ชุมนุมเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจถึงขั้นตอน การดำเนินการตามข้อตกลง การตรวจหาสาเหตุของน้ำเสีย รวมทั้งแนวทางการช่วยเหลือชดเชยความเสียหายให้แก่ราษฎร ต่อมาเวลาประมาณ 17.30 น. นายสมชาย ชุ่มรัตน์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้มาพบและชี้แจงทำความเข้าใจกับกลุ่มผู้ชุมนุม และร่วมดำเนินการติดตาม ตรวจสอบ การขุดรื้อท่อของบริษัทฯ
และเมื่อเวลาประมาณ 00.30 น. ของวันที่ 6 เมษายน 2550 นายสมชาย ชุ่มรัตน์ รองปลัด กระทรวงมหาดไทย และผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง ได้ไปชี้แจงทำความเข้าใจการดำเนินการกับกลุ่มผู้ชุมนุมที่ทำการชุมนุมอยู่บริเวณด้านหน้าบริษัทฯ อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งกลุ่มผู้ชุมนุมเข้าใจและได้ทำการย้ายเต็นท์ที่ปิดกั้นทางเข้า-ออกบริษัทฯ ออกไปไม่ให้กีดขวางทางเข้า-ออก และได้แยกย้ายกลับ โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจคอยดูแลความสงบเรียบร้อยตลอดเวลา
3. สรุปผลการประชุมผู้เชี่ยวชาญเพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุและข้อสันนิษฐานสาเหตุของปลาตาย
3.1 กรมควบคุมมลพิษ ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญหารือเกี่ยวกับการวิเคราะห์สาเหตุกรณีปลาตายในแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อวันที่ 5 และ 9 เมษายน 2550 ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ได้แก่ ดร.มั่นสิน ตัณฑุลเวศน์ นายไสว อมรวงศ์ ดร.มั่นรักษ์ ตัณฑุลเวศน์ นายชุมพล ชีวะประภานันท์ นางสาวพะเยาว์ คำมุข นายยุทธนา มหัจฉริยะวงศ์ ดร.ศรัณย์ เตชะเสน เป็นต้น โดยในที่ประชุมมีความคิดเห็นสอดคล้องกัน กล่าวคือ เมื่อวิเคราะห์ข้อมูล ข้อเท็จจริงเชิงวิทยาศาสตร์แล้วสรุปได้ว่า เรือบรรทุกน้ำตาลเป็นสาเหตุหลักทำให้เกิดเหตุการณ์ปลาตาย เนื่องจากตรวจพบปริมาณน้ำตาลในมวลน้ำเสียในแม่น้ำเจ้าพระยาสูงกว่าในสภาวะปกติ และผลจากการคาดการณ์โดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ พบว่าเมื่อมีน้ำตาลละลายในน้ำเป็นจำนวนมาก ทำให้ค่าออกซิเจนละลายในน้ำลดลงต่ำสุด ในบริเวณที่เกิดเหตุการณ์ปลาตายพอดี ส่วนกรณีโรงงานผลิตผงชูรส ไม่พบความเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ปลาตายที่เกิดขึ้น เนื่องจากพบค่าโปแตสเซียมและฟอสฟอรัสสูงในบ่อเก็บกักน้ำปุ๋ยที่มีผ้าใบคลุม และบ่อรวบรวมน้ำปุ๋ย แต่จากการวิเคราะห์ค่าโปแตสเซียมและฟอสฟอรัสในมวลน้ำเสียในแม่น้ำเจ้าพระยา พบว่า มีค่าไม่สูง (เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2550 ตรวจวัดค่าโปแตสเซียมได้เท่ากับ 2.9 มิลลิกรัมต่อลิตร และค่าฟอสฟอรัส เท่ากับ 0.08 มิลลิกรัมต่อลิตร) ซึ่งไม่แตกต่างจากสภาวะปกติในแม่น้ำเจ้าพระยา (ตรวจวัดเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2550 มีค่าโปแตสเซียมอยู่ในช่วง 3.1 — 3.8 มิลลิกรัมต่อลิตร และฟอสฟอรัสอยู่ในช่วง 0.07 — 0.13 มิลลิกรัมต่อลิตร)
3.2 ข้อสันนิษฐานสาเหตุของปลาตาย
3.2.1 เรือบรรทุกน้ำตาลล่ม เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ปลาในกระชังตาย เนื่องจาก
1) ตรวจพบน้ำตาลปนเปื้อนในแม่น้ำ โดยตรวจพบน้ำตาลในมวลน้ำเสียในแม่น้ำเจ้าพระยา ในปริมาณที่สูงกว่าในสภาวะปกติ (สภาวะปกติ พบน้ำตาลประมาณ 1.1 — 2.5 มิลลิกรัมต่อลิตร ภายหลังเกิดเหตุพบน้ำตาลสูงขึ้นประมาณ 5 มิลลิกรัมต่อลิตร)
2) ผลการทำแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ สามารถบ่งบอกถึงการละลายของน้ำตาลในแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้ออกซิเจนละลายในน้ำลดต่ำลง ตามลำดับ และลดลงต่ำสุดบริเวณเกิดเหตุปลาตาย คือ ที่ระยะทางห่างจากจุดเกิดเรือล่ม ประมาณ 12 กิโลเมตร สอดคล้องกับข้อมูลการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำในช่วงที่เกิดเหตุปลาตาย
3.2.2 โรงงานผลิตผงชูรส บริษัท เค ที เอ็มเอสจี จำกัด ไม่พบความเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ปลาในกระชังตายในช่วงเวลาดังกล่าว เนื่องจาก
1) ตรวจพบค่าโปแตสเซียมสูง ในบ่อเก็บกักน้ำปุ๋ยที่มีผ้าใบคลุม 6,738 มิลลิกรัมต่อลิตร บ่อรวบรวมน้ำปุ๋ย 6,238 มิลลิกรัมต่อลิตร บ่อบำบัดน้ำเสียบ่อที่ห้า 441 มิลลิกรัมต่อลิตร และท่อน้ำขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 18 นิ้ว 10,646 มิลลิกรัมต่อลิตร และตรวจพบฟอสฟอรัสในปุ๋ยน้ำสูง 1,903 มิลลิกรัมต่อลิตร และในบ่อรวบรวมปุ๋ยน้ำ 172 มิลลิกรัมต่อลิตร
2) ตรวจพบค่าโปแตสเซียม (K) ในมวลน้ำเสียในแม่น้ำเจ้าพระยาในระดับที่ต่ำประมาณ 2.9 มิลลิกรัมต่อลิตร (ตรวจวัดเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2550) ซึ่งไม่แตกต่างจากคุณภาพน้ำในแม่น้ำในสภาวะปกติ (ตรวจวัดเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2550) พบในช่วง 3.1 - 3.8 มิลลิกรัมต่อลิตร
3) ตรวจพบค่าฟอสฟอรัส (P) ในมวลน้ำเสียในแม่น้ำเจ้าพระยา ในระดับที่ต่ำประมาณ 0.08 มิลลิกรัมต่อลิตร (ตรวจวัดเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2550) ซึ่งไม่แตกต่างจากคุณภาพน้ำในแม่น้ำในสภาวะปกติ (ตรวจวัดเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2550) พบในช่วง 0.07 - 0.13 มิลลิกรัมต่อลิตร
4) ในการตรวจสอบข้อมูลของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2550 มีข้อสรุปว่า โรงงานผลิตผงชูรส บริษัท เค ที เอ็มเอสจี จำกัด มีน้ำปุ๋ยเกิดขึ้นในช่วง 6 เดือนย้อนหลัง ประมาณ 21,600 ลูกบาศก์เมตร และขายไป 1,000 ลูกบาศก์เมตร และบ่อเก็บกักปุ๋ยน้ำมีขนาดประมาณ 118,800 - 237,600 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ สรุปว่ามีพื้นที่เพียงพอที่จะเก็บกักน้ำปุ๋ยเอาไว้
4. การช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในกระชังเพิ่มเติม
กระทรวงมหาดไทย ได้ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง และผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ร่วมกับนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดทั้งสองจังหวัด พิจารณาแนวทางให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในกระชังที่ได้รับความเดือดร้อน ดังนี้
4.1 ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดทั้งสองจังหวัด พิจารณาจ่ายขาดเงินสะสม ช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในกระชัง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน
4.2 ให้จังหวัดประสานกรมประมงขอรับการสนับสนุนพันธุ์สัตว์น้ำให้แก่เกษตรกร และสนับสนุนให้จัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจผู้เลี้ยงสัตว์น้ำ หรือเข้าเป็นสมาชิก ธกส. เพื่อใช้สิทธิ์ขอสินเชื่อต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 10 เมษายน 2550--จบ--