คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ทั้ง 2 ฉบับ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนนำเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป
1. ร่างพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญดังนี้
1.1 แก้ไขเพิ่มเติมองค์ประกอบของคณะกรรมการปิโตรเลียม โดยเพิ่มผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้แทนกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นกรรมการ และกำหนดให้อธิบดีกรมเชื้อเพลิงเป็นกรรมการและเลขานุการ เพื่อให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น (ร่างมาตรา 3 ยกเลิกความในมาตรา 15)
1.2 แก้ไขเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรี อธิบดี และคณะกรรมการปิโตรเลียม ให้สัมพันธ์กัน ในแนวทางของการลดขั้นตอนการอนุมัติอนุญาตเกี่ยวกับกิจการปิโตรเลียมที่ต้องการให้อำนาจของรัฐมนตรีโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีมีเฉพาะในเรื่องที่สำคัญและเป็นนโยบายที่แท้จริง สำหรับเรื่องที่รองลงมาหรือเป็นเรื่องทางเทคนิค ให้เป็นอำนาจรัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการปิโตรเลียม อำนาจของอธิบดีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการปิโตรเลียม หรืออำนาจของอธิบดีโดยตรง (ร่างมาตรา 3 ยกเลิกความในมาตรา 16, ร่างมาตรา 6 ยกเลิกความในมาตรา 22, ร่างมาตรา 7 เพิ่มความเป็นมาตรา 22/1 , ร่างมาตรา 10 ยกเลิกความในมาตรา 33, ร่างมาตรา 11 ยกเลิกความในมาตรา 42 วรรคหนึ่ง , ร่างมาตรา 12 ยกเลิกความในมาตรา 42 ทวิ, ร่างมาตรา 21 ยกเลิกความในมาตรา 104)
1.3 กำหนดให้ผู้รับสัมปทานขอขยายอายุสัมปทานได้เพราะเหตุ ซึ่งมิใช่ความผิดของผู้รับสัมปทานแทนเหตุสุดวิสัย (ร่างมาตรา 8 ยกเลิกความในมาตรา 27)
1.4 ยกเลิกการจำกัดจำนวนแปลงสำรวจและพื้นที่รวมของแปลงสำรวจ (ร่างมาตรา 9 ยกเลิกความในมาตรา 28, ร่างมาตรา 13 ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา 50 และร่างมาตรา 20 ยกเลิกความในวรรคหนึ่งและวรรคสองในมาตรา 99 ตรี)
1.5 ยกเลิกการกำหนดห้ามโอนข้อผูกพันสำหรับการสำรวจปิโตรเลียมระหว่างแปลงสำรวจในทะเลที่มีน้ำลึกเกินสองร้อยเมตรกับอีกแปลงหนึ่งที่มิใช่แปลงสำรวจในทะเลที่มีน้ำลึกเกินสองร้อยเมตร เนื่องจากได้ยกเลิกการจำกัดจำนวนแปลงและพื้นที่รวมของแปลงสำรวจตามร่างมาตรา 9 จึงไม่จำเป็นต้องมีการบัญญัติห้ามโอนข้อผูกพันระหว่างกัน (ร่างมาตรา 10 ยกเลิกความในมาตรา 33)
1.6 เพิ่มบทบัญญัติเกี่ยวกับการบำบัดปัดป้องความโสโครกอันเนื่องมาจากประกอบกิจการปิโตรเลียมในกรณีที่ผู้รับสัมปทานไม่ดำเนินการบำบัดปัดป้องความโสโครกนั้นหรือดำเนินการล่าช้า หรือหากไม่ดำเนินการทันทีอาจก่อให้เกิดความเสียหายมากขึ้น โดยกำหนดให้ผู้รับสัมปทานเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย (ร่างมาตรา 15 เพิ่มความในวรรคสามของมาตรา 75)
1.7 กำหนดให้ผู้รับสัมปทานมีหน้าที่รับผิดชอบในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง วัสดุ อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกในการสำรวจ ผลิต เก็บรักษาหรือขนส่งปิโตรเลียม โดยให้ผู้รับสัมปทานยื่นแผนงานและประมาณการค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนเพื่อขอรับความเห็นชอบจากอธิบดี (ร่างมาตรา 18 เพิ่มความมาตรา 80/1)
1.8 กำหนดให้ผู้รับสัมปทานต้องวางหลักประกันการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง และกรณีผู้รับสัมปทานไม่วางหลักประกันหรือวางหลักประกันไม่ครบถ้วน ผู้รับสัมปทานต้องเสียเงินเพิ่ม (ร่างมาตรา 18 เพิ่มความมาตรา 80/2) ตลอดจนให้อำนาจรัฐมนตรีเพิกถอนสัมปทานได้หากยังไม่มีการวางหลักประกันและเงินเพิ่มให้ถูกต้อง (ร่างมาตรา 14 ยกเลิกความในมาตรา 51)
1.9 เพิ่มเหตุในการลดหย่อนค่าภาคหลวง และปรับเพดานอัตราและระยะเวลาที่ได้รับการลดหย่อนค่าภาคหลวง เพื่อส่งเสริมให้มีการพัฒนาและผลิตปิโตรเลียมจากแหล่งปิโตรเลียมที่พลังผลิตของพื้นที่ลดลงและในพื้นที่ที่ไม่อาจดำเนินการในเชิงพาณิชย์ได้ (ร่างมาตรา 19 ยกเลิกความในมาตรา 99 ทวิ และร่างมาตรา 20 ยกเลิกความในมาตรา 99 ตรี)
1.10 เพิ่มบทเฉพาะกาลรองรับคณะกรรมการปิโตรเลียมซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้ยังคงอยู่ในตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการปิโตรเลียมขึ้นใหม่ตามพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยร่างพระราชบัญญัตินี้ เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง (ร่างมาตรา 22)
2. ร่างพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ คือ แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 ในเรื่องการขอขยายอายุสัมปทานในส่วนที่เกี่ยวกับการผลิตปิโตรเลียม โดยแก้ไขเหตุในการขอขยายอายุสัมปทานจาก “เหตุสุดวิสัย” มาเป็น “เหตุซึ่งมิใช่ความผิดของผู้รับสัมปทาน” เพื่อให้สอดคล้องกับการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 (ร่างมาตรา 3 ยกเลิกความในวรรคสามของมาตรา 18)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 26 มิถุนายน 2550--จบ--
1. ร่างพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญดังนี้
1.1 แก้ไขเพิ่มเติมองค์ประกอบของคณะกรรมการปิโตรเลียม โดยเพิ่มผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้แทนกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นกรรมการ และกำหนดให้อธิบดีกรมเชื้อเพลิงเป็นกรรมการและเลขานุการ เพื่อให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น (ร่างมาตรา 3 ยกเลิกความในมาตรา 15)
1.2 แก้ไขเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรี อธิบดี และคณะกรรมการปิโตรเลียม ให้สัมพันธ์กัน ในแนวทางของการลดขั้นตอนการอนุมัติอนุญาตเกี่ยวกับกิจการปิโตรเลียมที่ต้องการให้อำนาจของรัฐมนตรีโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีมีเฉพาะในเรื่องที่สำคัญและเป็นนโยบายที่แท้จริง สำหรับเรื่องที่รองลงมาหรือเป็นเรื่องทางเทคนิค ให้เป็นอำนาจรัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการปิโตรเลียม อำนาจของอธิบดีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการปิโตรเลียม หรืออำนาจของอธิบดีโดยตรง (ร่างมาตรา 3 ยกเลิกความในมาตรา 16, ร่างมาตรา 6 ยกเลิกความในมาตรา 22, ร่างมาตรา 7 เพิ่มความเป็นมาตรา 22/1 , ร่างมาตรา 10 ยกเลิกความในมาตรา 33, ร่างมาตรา 11 ยกเลิกความในมาตรา 42 วรรคหนึ่ง , ร่างมาตรา 12 ยกเลิกความในมาตรา 42 ทวิ, ร่างมาตรา 21 ยกเลิกความในมาตรา 104)
1.3 กำหนดให้ผู้รับสัมปทานขอขยายอายุสัมปทานได้เพราะเหตุ ซึ่งมิใช่ความผิดของผู้รับสัมปทานแทนเหตุสุดวิสัย (ร่างมาตรา 8 ยกเลิกความในมาตรา 27)
1.4 ยกเลิกการจำกัดจำนวนแปลงสำรวจและพื้นที่รวมของแปลงสำรวจ (ร่างมาตรา 9 ยกเลิกความในมาตรา 28, ร่างมาตรา 13 ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา 50 และร่างมาตรา 20 ยกเลิกความในวรรคหนึ่งและวรรคสองในมาตรา 99 ตรี)
1.5 ยกเลิกการกำหนดห้ามโอนข้อผูกพันสำหรับการสำรวจปิโตรเลียมระหว่างแปลงสำรวจในทะเลที่มีน้ำลึกเกินสองร้อยเมตรกับอีกแปลงหนึ่งที่มิใช่แปลงสำรวจในทะเลที่มีน้ำลึกเกินสองร้อยเมตร เนื่องจากได้ยกเลิกการจำกัดจำนวนแปลงและพื้นที่รวมของแปลงสำรวจตามร่างมาตรา 9 จึงไม่จำเป็นต้องมีการบัญญัติห้ามโอนข้อผูกพันระหว่างกัน (ร่างมาตรา 10 ยกเลิกความในมาตรา 33)
1.6 เพิ่มบทบัญญัติเกี่ยวกับการบำบัดปัดป้องความโสโครกอันเนื่องมาจากประกอบกิจการปิโตรเลียมในกรณีที่ผู้รับสัมปทานไม่ดำเนินการบำบัดปัดป้องความโสโครกนั้นหรือดำเนินการล่าช้า หรือหากไม่ดำเนินการทันทีอาจก่อให้เกิดความเสียหายมากขึ้น โดยกำหนดให้ผู้รับสัมปทานเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย (ร่างมาตรา 15 เพิ่มความในวรรคสามของมาตรา 75)
1.7 กำหนดให้ผู้รับสัมปทานมีหน้าที่รับผิดชอบในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง วัสดุ อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกในการสำรวจ ผลิต เก็บรักษาหรือขนส่งปิโตรเลียม โดยให้ผู้รับสัมปทานยื่นแผนงานและประมาณการค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนเพื่อขอรับความเห็นชอบจากอธิบดี (ร่างมาตรา 18 เพิ่มความมาตรา 80/1)
1.8 กำหนดให้ผู้รับสัมปทานต้องวางหลักประกันการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง และกรณีผู้รับสัมปทานไม่วางหลักประกันหรือวางหลักประกันไม่ครบถ้วน ผู้รับสัมปทานต้องเสียเงินเพิ่ม (ร่างมาตรา 18 เพิ่มความมาตรา 80/2) ตลอดจนให้อำนาจรัฐมนตรีเพิกถอนสัมปทานได้หากยังไม่มีการวางหลักประกันและเงินเพิ่มให้ถูกต้อง (ร่างมาตรา 14 ยกเลิกความในมาตรา 51)
1.9 เพิ่มเหตุในการลดหย่อนค่าภาคหลวง และปรับเพดานอัตราและระยะเวลาที่ได้รับการลดหย่อนค่าภาคหลวง เพื่อส่งเสริมให้มีการพัฒนาและผลิตปิโตรเลียมจากแหล่งปิโตรเลียมที่พลังผลิตของพื้นที่ลดลงและในพื้นที่ที่ไม่อาจดำเนินการในเชิงพาณิชย์ได้ (ร่างมาตรา 19 ยกเลิกความในมาตรา 99 ทวิ และร่างมาตรา 20 ยกเลิกความในมาตรา 99 ตรี)
1.10 เพิ่มบทเฉพาะกาลรองรับคณะกรรมการปิโตรเลียมซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้ยังคงอยู่ในตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการปิโตรเลียมขึ้นใหม่ตามพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยร่างพระราชบัญญัตินี้ เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง (ร่างมาตรา 22)
2. ร่างพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ คือ แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 ในเรื่องการขอขยายอายุสัมปทานในส่วนที่เกี่ยวกับการผลิตปิโตรเลียม โดยแก้ไขเหตุในการขอขยายอายุสัมปทานจาก “เหตุสุดวิสัย” มาเป็น “เหตุซึ่งมิใช่ความผิดของผู้รับสัมปทาน” เพื่อให้สอดคล้องกับการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 (ร่างมาตรา 3 ยกเลิกความในวรรคสามของมาตรา 18)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 26 มิถุนายน 2550--จบ--