คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม รายงานเหตุการณ์ปลาตายในแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณจังหวัดอ่างทอง-พระนครศรีอยุธยาว่า เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2550 เวลาประมาณ 19.00 น. ได้เกิดเหตุปลาในกระชังของราษฎร ตำบลโผงเผงและตำบลบางเสด็จ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง ซึ่งเลี้ยงตลอดริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาตายเป็นจำนวนมาก และได้ลุกลามไปถึงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในกระชังได้รับความเดือดร้อนเป็นจำนวนมาก และผลการจากประชุมของทุกคณะทำงานเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2550 ได้สรุปสาเหตุสำคัญหลักของการเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ดังนี้
1. สาเหตุหลักของการเกิดเหตุการณ์ปลาตายจำนวนมากในแม่น้ำเจ้าพระยาในครั้งนี้ เกิดจากเรือบรรทุกสินค้าน้ำตาลที่มีปริมาณถึง 650 ตัน ของบริษัทสยามส่งออก จำกัด ล่มเมื่อเวลาประมาณ 02.00 น. ของวันที่ 4 มีนาคม 2550 ณ บริเวณท่าเรือของบริษัท ยูไนเต็ดแสตนดาร์ด เทอร์มิเนิล จำกัด และได้มีการทำการกู้เรือโดยการดูดน้ำตาลที่ตกค้างในเรือปล่อยลงในแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้มีสารอินทรีย์จำนวนมากปนลงสู่แม่น้ำจนทำให้ออกซิเจนลดระดับอย่างรวดเร็ว เป็นเหตุให้สัตว์น้ำเสียชีวิต
2. ให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมดำเนินการตรวจสอบละเอียดต่อไปว่า โรงงานทั้ง 4 โรง มีส่วนในการทำให้เกิดเหตุการณ์นี้ด้วยหรือไม่ โดยทำการตรวจสอบทางวิชาการในเชิงลึก และหากมีโรงงานใดกระทำการไม่เป็นไปตามกฎหมาย ให้ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายทันที
ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรมและสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดร่วมกับคณะทำงานของจังหวัดและกรมควบคุมมลพิษ กำลังดำเนินการตรวจสอบโรงงาน โดยละเอียดซึ่งขณะนี้ยังไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนบ่งชี้ว่า โรงงานระบายน้ำเสียที่ไม่ผ่านการบำบัดลงในแม่น้ำเจ้าพระยา อันเป็นเหตุให้ปลาตายจากการขาดออกซิเจนโดยฉับพลัน และหากปรากฏหลักฐานเป็นที่แน่ชัดในภายหลังว่า โรงงานดำเนินการโดยผิดกฎหมาย ก็จะมีการฟ้องร้องดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 มีนาคม 2550--จบ--
1. สาเหตุหลักของการเกิดเหตุการณ์ปลาตายจำนวนมากในแม่น้ำเจ้าพระยาในครั้งนี้ เกิดจากเรือบรรทุกสินค้าน้ำตาลที่มีปริมาณถึง 650 ตัน ของบริษัทสยามส่งออก จำกัด ล่มเมื่อเวลาประมาณ 02.00 น. ของวันที่ 4 มีนาคม 2550 ณ บริเวณท่าเรือของบริษัท ยูไนเต็ดแสตนดาร์ด เทอร์มิเนิล จำกัด และได้มีการทำการกู้เรือโดยการดูดน้ำตาลที่ตกค้างในเรือปล่อยลงในแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้มีสารอินทรีย์จำนวนมากปนลงสู่แม่น้ำจนทำให้ออกซิเจนลดระดับอย่างรวดเร็ว เป็นเหตุให้สัตว์น้ำเสียชีวิต
2. ให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมดำเนินการตรวจสอบละเอียดต่อไปว่า โรงงานทั้ง 4 โรง มีส่วนในการทำให้เกิดเหตุการณ์นี้ด้วยหรือไม่ โดยทำการตรวจสอบทางวิชาการในเชิงลึก และหากมีโรงงานใดกระทำการไม่เป็นไปตามกฎหมาย ให้ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายทันที
ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรมและสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดร่วมกับคณะทำงานของจังหวัดและกรมควบคุมมลพิษ กำลังดำเนินการตรวจสอบโรงงาน โดยละเอียดซึ่งขณะนี้ยังไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนบ่งชี้ว่า โรงงานระบายน้ำเสียที่ไม่ผ่านการบำบัดลงในแม่น้ำเจ้าพระยา อันเป็นเหตุให้ปลาตายจากการขาดออกซิเจนโดยฉับพลัน และหากปรากฏหลักฐานเป็นที่แน่ชัดในภายหลังว่า โรงงานดำเนินการโดยผิดกฎหมาย ก็จะมีการฟ้องร้องดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 มีนาคม 2550--จบ--