คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทย โดยสำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้สรุปสถานการณ์ภัยหนาวและภัยแล้งตลอดจนการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย จนถึงวันที่ 15 มกราคม 2550 และเหตุการณ์อุบัติเหตุเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2550 จากเหตุการณ์รถไฟชนกันที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก ดังนี้
1. สถานการณ์ภัยหนาว (ข้อมูล ณ วันที่ 15 มกราคม 2550)
1.1 พื้นที่ประสบภัยหนาว จำนวน 46 จังหวัด 332 อำเภอ 39 กิ่งอำเภอ 2,213 ตำบล 24,823 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 3,531,222 คน 1,243,456 ครัวเรือน แยกเป็น
- ภาคเหนือ 16 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพะเยา กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก น่าน พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์ และ อุทัยธานี
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 19 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา มุกดาหาร บุรีรัมย์ มหาสารคาม ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี อุบลราชธานี และอำนาจเจริญ
- ภาคกลาง 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี ชัยนาท ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี เพชรบุรี ลพบุรี
- ภาคตะวันออก 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดปราจีนบุรี และจันทบุรี
1.2 จังหวัดได้ประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินแล้ว จำนวน 42 จังหวัด
1.3 การให้ความช่วยเหลือราษฎรที่ประสบภัยหนาว
1.3.1 กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดหาเครื่องนุ่งห่มกันหนาวเพื่อดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยหนาวปีงบประมาณ 2550 ไว้ดังนี้
1) โอนเงินงบประมาณไปตั้งจ่ายที่คลังจังหวัด เพื่อจัดซื้อเครื่องกันหนาวจากกลุ่มอาชีพ/กลุ่มแม่บ้านในจังหวัด รวมจำนวน 54 จังหวัด ในวงเงินงบประมาณ 31,155,000 บาท
2) จัดส่งเครื่องกันหนาวไปให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 1-10 และจังหวัดในเขตพื้นที่รับผิดชอบ รวมทั้งเก็บสำรองไว้ที่ส่วนกลาง เพื่อสนับสนุนจังหวัดที่ประสบภัยหนาว ในวงเงินงบประมาณ 28,845,000 บาท
1.3.2 มูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ได้มอบเงินที่ได้รับบริจาคจากบริษัท คิง เพาเวอร์ แท๊กซ์ฟรี จำกัด ให้แก่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อนำไปจัดหาเครื่องกันหนาว 15,420 ผืน แจกจ่ายให้ผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ 16 อำเภอของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้มอบผ้าห่มฯ เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2549 แล้ว
1.3.3 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ประสานขอรับการสนับสนุนผ้าห่มกันหนาวจากบริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) จำนวน 200,000 ผืน มูลค่ากว่า 30 ล้านบาท เพื่อแจกจ่ายช่วยเหลือผู้ประสบภัยหนาว จำนวน 16 จังหวัด
1.3.4 สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เหล่ากาชาดจังหวัด มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์ สภากาชาดไทย มูลนิธิ ภาคเอกชน และอื่นๆ ได้แจกจ่ายเครื่องกันหนาวให้แก่ราษฎรผู้ประสบภัยหนาวไปแล้ว รวมทั้งสิ้น 460,932 ชิ้น (แยกเป็น ผ้าห่มนวม 369,872 ผืน เสื้อกันหนาว 41,696 ตัว ผ้าห่มไหมพรม 35,142 ผืน และอื่นๆ 14,222 ชิ้น)
2. สถานการณ์ภัยแล้ง (ข้อมูล ณ วันที่ 15 มกราคม 2550) ได้รับรายงานจากจังหวัดว่าได้เกิดสถานการณ์ภัยแล้ง (ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2549 ถึงวันที่ 15 มกราคม 2550) ดังนี้
2.1 พื้นที่ประสบภัย รวม 5 จังหวัด 50 อำเภอ 11 กิ่งฯ 378 ตำบล 3,518 หมู่บ้าน ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร สุโขทัย ลำปาง ขอนแก่น และหนองคาย
2.2 ราษฎรเดือดร้อน จำนวน 1,362,079 คน 286,190 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบ จำนวน 86,933 ไร่
2.3 การให้ความช่วยเหลือ
1) การจัดหาน้ำเพื่อการเกษตร (1) กรมชลประทาน ได้สนับสนุนเครื่องสูบน้ำช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกแล้ว รวม 177 เครื่อง (2) สร้างทำนบ/ฝายเก็บกักน้ำ (ชั่วคราว) 12 แห่ง
2) การแจกจ่ายน้ำอุปโภค/บริโภค จำนวน 120,000 ลิตร
3) งบประมาณดำเนินการใช้จ่ายไปแล้ว 3,734,909 บาท (จากงบ 50 ล้านบาท)
2.4 การดำเนินการของกระทรวงมหาดไทย
สำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้กำหนดมาตรการและแจ้งให้จังหวัดทุกจังหวัดดำเนินการป้องกันและบรรเทาความเดือดร้อนจากปัญหาภัยแล้งไปแล้ว ดังนี้
1. ให้จังหวัดเตรียมความพร้อมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งปี 2550 ที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่ โดยให้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งระดับจังหวัด/อำเภอ/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พร้อมกับแต่งตั้งเจ้าหน้าที่รับผิดชอบประจำศูนย์ฯและแบ่งหน้าที่การปฏิบัติอย่างชัดเจนและเป็นระบบ จัดทำบัญชีหมู่บ้านและชุมชนที่มีความเสี่ยงต่อภัยแล้ง จัดทำแผนเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง จัดเตรียมความพร้อมด้านกำลังคน วัสดุอุปกรณ์และรถยนต์บรรทุกน้ำ และให้จังหวัดพิจารณาช่วยเหลือแก่ประชาชนผู้ประสบภัยโดยใช้จ่ายเงินทดรองราชการตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ พ.ศ. 2546 (งบ 50 ล้านบาท) และรายงานสถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้นและผลการให้ความช่วยเหลือเป็นประจำทุกสัปดาห์
2. แจ้งแผนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งปี 2549/50 ตลอดจนการใช้น้ำอย่างประหยัดและเหมาะสม ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อให้จังหวัดนำแผนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งปี 2549/50 จำนวน 12.71 ล้านไร่ แยกเป็นข้าวนาปรัง 9.88 ล้านไร่ พืชไร่-ผัก 2.83 ล้านไร่ ชี้แจงและประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อมวลชนต่างๆให้ประชาชนในจังหวัด/อำเภอ/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบได้ทราบ และขอความร่วมมือเกษตรกร ภาคอุตสาหกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้วางแผนกิจกรรมการใช้น้ำต่างๆให้เหมาะสมตามนโยบายที่กำหนด
3. อุบัติเหตุรถไฟชนกัน
3.1 เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2550 เวลาประมาณ 02.42 น. ได้เกิดอุบัติเหตุรถไฟขบวนรถเร็วที่ 178 เดินระหว่างสถานีหลังสวน-ธนบุรี ชนขบวนรถด่วนพิเศษ ดีเซลรางที่ 41 เดินระหว่างกรุงเทพ-ยะลา ที่สถานีรถไฟหนองแก ตำบลหนองแก อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ก่อนเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว พนักงานควบคุมการเดินรถหัวหินได้สั่งการให้ขบวน 178 หลีกกับขบวน 41 ที่สถานีหนองแก ขณะที่ ขบวน 41 เข้าสถานีหนองแกในทางหลีก (ทาง 2) หยุดนิ่ง นายสถานีหนองแกจะมาทำการกลับประแจให้เป็นท่าทางประธาน (ทาง 1) เพื่ออนุญาตให้ขบวน 178 ผ่านทางประธานแต่ปรากฏว่าขบวน 178 ไม่หยุดที่เสาสัญญาณเข้าเขตสถานีซึ่งแสดงท่าห้าม (ไฟแดง) วิ่งผ่านเข้ามาถึงประแจซึ่งอยู่ในท่าทางหลีก ทำให้ไม่สามารถกลับประแจได้ นายสถานีได้ออกไปเพื่อแสดงสัญญาณไฟท่าห้ามให้ขบวนรถ 178 แต่ไม่เป็นผลขบวนรถได้วิ่งเข้าชนขบวน 41 ที่จอดอยู่เป็นเหตุให้รถดีเซลรางของขบวน 41 ชำรุดเสียหายทั้ง 5 คัน รถจักรดีเซลและรถพ่วงขบวน 178 ตกรางเสียหาย จำนวน 4 โบกี้
3.2 ความเสียหาย
1) ผู้เสียชีวิต 3 ราย ได้แก่ นายไพจิตร ชูยอด อายุ 59 ปี (พขร.ขบวนที่ 41) นายธีระพล บุญใช้ อายุ 44 ปี ช่างเครื่อง และนางสาววนิดา โพธิพันธ์ อายุ 27 ปี พนักงานต้อนรับของบริษัท จิตรมาส
2) ผู้บาดเจ็บ ทั้งหมด 106 คน แยกเป็น อาการสาหัส 9 คน (นอนพักรักษาตัวอยู่ รพ.หัวหิน 6 คน และ รพ.ซานเปาโลหัวหิน 3 คน ) บาดเจ็บเล็กน้อย 97 คน (แพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้แล้ว)
3.3 การสอบสวนหาสาเหตุที่เกิดขึ้น
3.3.1 จากการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ตามบันทึกการตรวจและพิจารณาวินิจฉัยกรณี รถตกราง สันนิษฐานว่าเหตุที่เกิดขึ้นเนื่องจากขบวน 178 ฝ่าสัญญาณในท่าห้ามเข้าไปชน ขบวน 41 ในทาง 2
3.3.2 การรถไฟฯ ได้สั่งการให้คณะกรรมการพิจารณาเหตุอันตรายในด้านการเดินรถ ซึ่งมีผู้ช่วยผู้ว่าการรถไฟเป็นประธาน ทำการสอบหาสาเหตุแท้จริงที่ขบวนไม่หยุดที่เสาสัญญาณเข้าสถานีที่แสดงท่าห้าม (ไฟแดง) นำขบวนรถผ่านเข้ามาในทาง 2 ที่ขบวน 41 จอดรถหลีกอยู่จนเกิดเหตุขบวนรถชนกันดังกล่าว
3.4 การให้ความช่วยเหลือ
3.4.1 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายบัญญัติ จันทน์เสนะ) พร้อมด้วยอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (นายอนุชา โมกขะเวส) ประธานกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทย (นายศิวะ แสงมณี) รองผู้ว่าการด้านปฏิบัติการ 2 รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (นายถวิล สามนคร) ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (นายประสงค์ พิทูรกิจจา) รองผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (นายสนิท บุญก่อสกุล) นายอำเภอหัวหิน ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรอำเภอหัวหิน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ไปอำนวยการช่วยเหลือ ณ จุดเกิดเหตุฯ และเดินทางไปเยี่ยมผู้บาดเจ็บกับได้มอบเงินปลอบขวัญแก่ผู้บาดเจ็บ รายละ 2,000 บาท พร้อมสิ่งของช่วยเหลือที่โรงพยาบาลหัวหินและโรงพยาบาลซานเปาโล
3.4.2 การดำเนินการให้ความช่วยเหลือของการรถไฟแห่งประเทศไทย
1) ได้ประสานบริษัท บขส. จัดรถยนต์นำผู้โดยสารทั้งหมดส่งสถานีปลายทาง
2) ผู้ได้รับบาดเจ็บการรถไฟแห่งประเทศไทยจะรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลทั้งหมด สำหรับผู้เสียชีวิตในเบื้องต้นมอบเงินค่าจัดการศพ รายละ 40,000 บาท รวมทั้งจะได้จ่ายเงินช่วยเหลือผู้เสียชีวิตเพิ่มเติมตามระเบียบที่กำหนดไว้ต่อไป
3) ได้ติดต่อบริษัทเอกชนนำรถยกเคลื่อนย้ายขบวนรถที่ตกรางขวางทางประธานออกจากเส้นทางสามารถเปิดทางให้ขบวนรถไฟผ่านได้ตามปกติ ตั้งแต่เวลา 07.15 น. ของวันที่ 14 มกราคม 2550 แล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 16 มกราคม 2550--จบ--
1. สถานการณ์ภัยหนาว (ข้อมูล ณ วันที่ 15 มกราคม 2550)
1.1 พื้นที่ประสบภัยหนาว จำนวน 46 จังหวัด 332 อำเภอ 39 กิ่งอำเภอ 2,213 ตำบล 24,823 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 3,531,222 คน 1,243,456 ครัวเรือน แยกเป็น
- ภาคเหนือ 16 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพะเยา กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก น่าน พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์ และ อุทัยธานี
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 19 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา มุกดาหาร บุรีรัมย์ มหาสารคาม ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี อุบลราชธานี และอำนาจเจริญ
- ภาคกลาง 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี ชัยนาท ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี เพชรบุรี ลพบุรี
- ภาคตะวันออก 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดปราจีนบุรี และจันทบุรี
1.2 จังหวัดได้ประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินแล้ว จำนวน 42 จังหวัด
1.3 การให้ความช่วยเหลือราษฎรที่ประสบภัยหนาว
1.3.1 กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดหาเครื่องนุ่งห่มกันหนาวเพื่อดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยหนาวปีงบประมาณ 2550 ไว้ดังนี้
1) โอนเงินงบประมาณไปตั้งจ่ายที่คลังจังหวัด เพื่อจัดซื้อเครื่องกันหนาวจากกลุ่มอาชีพ/กลุ่มแม่บ้านในจังหวัด รวมจำนวน 54 จังหวัด ในวงเงินงบประมาณ 31,155,000 บาท
2) จัดส่งเครื่องกันหนาวไปให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 1-10 และจังหวัดในเขตพื้นที่รับผิดชอบ รวมทั้งเก็บสำรองไว้ที่ส่วนกลาง เพื่อสนับสนุนจังหวัดที่ประสบภัยหนาว ในวงเงินงบประมาณ 28,845,000 บาท
1.3.2 มูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ได้มอบเงินที่ได้รับบริจาคจากบริษัท คิง เพาเวอร์ แท๊กซ์ฟรี จำกัด ให้แก่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อนำไปจัดหาเครื่องกันหนาว 15,420 ผืน แจกจ่ายให้ผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ 16 อำเภอของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้มอบผ้าห่มฯ เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2549 แล้ว
1.3.3 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ประสานขอรับการสนับสนุนผ้าห่มกันหนาวจากบริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) จำนวน 200,000 ผืน มูลค่ากว่า 30 ล้านบาท เพื่อแจกจ่ายช่วยเหลือผู้ประสบภัยหนาว จำนวน 16 จังหวัด
1.3.4 สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เหล่ากาชาดจังหวัด มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์ สภากาชาดไทย มูลนิธิ ภาคเอกชน และอื่นๆ ได้แจกจ่ายเครื่องกันหนาวให้แก่ราษฎรผู้ประสบภัยหนาวไปแล้ว รวมทั้งสิ้น 460,932 ชิ้น (แยกเป็น ผ้าห่มนวม 369,872 ผืน เสื้อกันหนาว 41,696 ตัว ผ้าห่มไหมพรม 35,142 ผืน และอื่นๆ 14,222 ชิ้น)
2. สถานการณ์ภัยแล้ง (ข้อมูล ณ วันที่ 15 มกราคม 2550) ได้รับรายงานจากจังหวัดว่าได้เกิดสถานการณ์ภัยแล้ง (ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2549 ถึงวันที่ 15 มกราคม 2550) ดังนี้
2.1 พื้นที่ประสบภัย รวม 5 จังหวัด 50 อำเภอ 11 กิ่งฯ 378 ตำบล 3,518 หมู่บ้าน ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร สุโขทัย ลำปาง ขอนแก่น และหนองคาย
2.2 ราษฎรเดือดร้อน จำนวน 1,362,079 คน 286,190 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบ จำนวน 86,933 ไร่
2.3 การให้ความช่วยเหลือ
1) การจัดหาน้ำเพื่อการเกษตร (1) กรมชลประทาน ได้สนับสนุนเครื่องสูบน้ำช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกแล้ว รวม 177 เครื่อง (2) สร้างทำนบ/ฝายเก็บกักน้ำ (ชั่วคราว) 12 แห่ง
2) การแจกจ่ายน้ำอุปโภค/บริโภค จำนวน 120,000 ลิตร
3) งบประมาณดำเนินการใช้จ่ายไปแล้ว 3,734,909 บาท (จากงบ 50 ล้านบาท)
2.4 การดำเนินการของกระทรวงมหาดไทย
สำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้กำหนดมาตรการและแจ้งให้จังหวัดทุกจังหวัดดำเนินการป้องกันและบรรเทาความเดือดร้อนจากปัญหาภัยแล้งไปแล้ว ดังนี้
1. ให้จังหวัดเตรียมความพร้อมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งปี 2550 ที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่ โดยให้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งระดับจังหวัด/อำเภอ/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พร้อมกับแต่งตั้งเจ้าหน้าที่รับผิดชอบประจำศูนย์ฯและแบ่งหน้าที่การปฏิบัติอย่างชัดเจนและเป็นระบบ จัดทำบัญชีหมู่บ้านและชุมชนที่มีความเสี่ยงต่อภัยแล้ง จัดทำแผนเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง จัดเตรียมความพร้อมด้านกำลังคน วัสดุอุปกรณ์และรถยนต์บรรทุกน้ำ และให้จังหวัดพิจารณาช่วยเหลือแก่ประชาชนผู้ประสบภัยโดยใช้จ่ายเงินทดรองราชการตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ พ.ศ. 2546 (งบ 50 ล้านบาท) และรายงานสถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้นและผลการให้ความช่วยเหลือเป็นประจำทุกสัปดาห์
2. แจ้งแผนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งปี 2549/50 ตลอดจนการใช้น้ำอย่างประหยัดและเหมาะสม ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อให้จังหวัดนำแผนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งปี 2549/50 จำนวน 12.71 ล้านไร่ แยกเป็นข้าวนาปรัง 9.88 ล้านไร่ พืชไร่-ผัก 2.83 ล้านไร่ ชี้แจงและประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อมวลชนต่างๆให้ประชาชนในจังหวัด/อำเภอ/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบได้ทราบ และขอความร่วมมือเกษตรกร ภาคอุตสาหกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้วางแผนกิจกรรมการใช้น้ำต่างๆให้เหมาะสมตามนโยบายที่กำหนด
3. อุบัติเหตุรถไฟชนกัน
3.1 เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2550 เวลาประมาณ 02.42 น. ได้เกิดอุบัติเหตุรถไฟขบวนรถเร็วที่ 178 เดินระหว่างสถานีหลังสวน-ธนบุรี ชนขบวนรถด่วนพิเศษ ดีเซลรางที่ 41 เดินระหว่างกรุงเทพ-ยะลา ที่สถานีรถไฟหนองแก ตำบลหนองแก อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ก่อนเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว พนักงานควบคุมการเดินรถหัวหินได้สั่งการให้ขบวน 178 หลีกกับขบวน 41 ที่สถานีหนองแก ขณะที่ ขบวน 41 เข้าสถานีหนองแกในทางหลีก (ทาง 2) หยุดนิ่ง นายสถานีหนองแกจะมาทำการกลับประแจให้เป็นท่าทางประธาน (ทาง 1) เพื่ออนุญาตให้ขบวน 178 ผ่านทางประธานแต่ปรากฏว่าขบวน 178 ไม่หยุดที่เสาสัญญาณเข้าเขตสถานีซึ่งแสดงท่าห้าม (ไฟแดง) วิ่งผ่านเข้ามาถึงประแจซึ่งอยู่ในท่าทางหลีก ทำให้ไม่สามารถกลับประแจได้ นายสถานีได้ออกไปเพื่อแสดงสัญญาณไฟท่าห้ามให้ขบวนรถ 178 แต่ไม่เป็นผลขบวนรถได้วิ่งเข้าชนขบวน 41 ที่จอดอยู่เป็นเหตุให้รถดีเซลรางของขบวน 41 ชำรุดเสียหายทั้ง 5 คัน รถจักรดีเซลและรถพ่วงขบวน 178 ตกรางเสียหาย จำนวน 4 โบกี้
3.2 ความเสียหาย
1) ผู้เสียชีวิต 3 ราย ได้แก่ นายไพจิตร ชูยอด อายุ 59 ปี (พขร.ขบวนที่ 41) นายธีระพล บุญใช้ อายุ 44 ปี ช่างเครื่อง และนางสาววนิดา โพธิพันธ์ อายุ 27 ปี พนักงานต้อนรับของบริษัท จิตรมาส
2) ผู้บาดเจ็บ ทั้งหมด 106 คน แยกเป็น อาการสาหัส 9 คน (นอนพักรักษาตัวอยู่ รพ.หัวหิน 6 คน และ รพ.ซานเปาโลหัวหิน 3 คน ) บาดเจ็บเล็กน้อย 97 คน (แพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้แล้ว)
3.3 การสอบสวนหาสาเหตุที่เกิดขึ้น
3.3.1 จากการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ตามบันทึกการตรวจและพิจารณาวินิจฉัยกรณี รถตกราง สันนิษฐานว่าเหตุที่เกิดขึ้นเนื่องจากขบวน 178 ฝ่าสัญญาณในท่าห้ามเข้าไปชน ขบวน 41 ในทาง 2
3.3.2 การรถไฟฯ ได้สั่งการให้คณะกรรมการพิจารณาเหตุอันตรายในด้านการเดินรถ ซึ่งมีผู้ช่วยผู้ว่าการรถไฟเป็นประธาน ทำการสอบหาสาเหตุแท้จริงที่ขบวนไม่หยุดที่เสาสัญญาณเข้าสถานีที่แสดงท่าห้าม (ไฟแดง) นำขบวนรถผ่านเข้ามาในทาง 2 ที่ขบวน 41 จอดรถหลีกอยู่จนเกิดเหตุขบวนรถชนกันดังกล่าว
3.4 การให้ความช่วยเหลือ
3.4.1 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายบัญญัติ จันทน์เสนะ) พร้อมด้วยอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (นายอนุชา โมกขะเวส) ประธานกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทย (นายศิวะ แสงมณี) รองผู้ว่าการด้านปฏิบัติการ 2 รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (นายถวิล สามนคร) ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (นายประสงค์ พิทูรกิจจา) รองผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (นายสนิท บุญก่อสกุล) นายอำเภอหัวหิน ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรอำเภอหัวหิน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ไปอำนวยการช่วยเหลือ ณ จุดเกิดเหตุฯ และเดินทางไปเยี่ยมผู้บาดเจ็บกับได้มอบเงินปลอบขวัญแก่ผู้บาดเจ็บ รายละ 2,000 บาท พร้อมสิ่งของช่วยเหลือที่โรงพยาบาลหัวหินและโรงพยาบาลซานเปาโล
3.4.2 การดำเนินการให้ความช่วยเหลือของการรถไฟแห่งประเทศไทย
1) ได้ประสานบริษัท บขส. จัดรถยนต์นำผู้โดยสารทั้งหมดส่งสถานีปลายทาง
2) ผู้ได้รับบาดเจ็บการรถไฟแห่งประเทศไทยจะรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลทั้งหมด สำหรับผู้เสียชีวิตในเบื้องต้นมอบเงินค่าจัดการศพ รายละ 40,000 บาท รวมทั้งจะได้จ่ายเงินช่วยเหลือผู้เสียชีวิตเพิ่มเติมตามระเบียบที่กำหนดไว้ต่อไป
3) ได้ติดต่อบริษัทเอกชนนำรถยกเคลื่อนย้ายขบวนรถที่ตกรางขวางทางประธานออกจากเส้นทางสามารถเปิดทางให้ขบวนรถไฟผ่านได้ตามปกติ ตั้งแต่เวลา 07.15 น. ของวันที่ 14 มกราคม 2550 แล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 16 มกราคม 2550--จบ--