คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลังรายงานผลการดำเนินงานตามแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2550 ณ ไตรมาสที่ 3 ดังนี้
1. ภาพรวมของผลการดำเนินงานตามแผนการบริหารหนี้สาธารณะในไตรมาสที่ 3 กระทรวงการคลังสามารถดำเนินงานตามแผนฯ ได้ทั้งสิ้น 205,548.37 ล้านบาท ประกอบด้วยการก่อหนี้ใหม่ของรัฐบาลเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 38,400 ล้านบาท การบริหารหนี้ทั้งในประเทศและต่างประเทศของรัฐบาล ได้แก่ การ Roll-over ตั๋วเงินคลัง การออกพันธบัตรเพื่อชดใช้ความเสียหายให้ FIDF การชำระคืนหนี้เงินกู้ก่อนครบกำหนดให้ JBIC และการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าเพื่อบริหารหนี้เงินกู้ Samurai Bond จำนวน 147,356.08 ล้านบาท ส่วนที่เหลือเป็นการบริหารหนี้และการก่อหนี้ใหม่ของรัฐวิสาหกิจจำนวน 19,792.29 ล้านบาท ซึ่งผลจากการดำเนินงานดังกล่าวสามารถลดยอดหนี้คงค้างลงจำนวน 10,683.68 ล้านบาท และลดภาระดอกเบี้ยได้ 1,805 ล้านบาท
เมื่อรวมกับผลการดำเนินงานในไตรมาสที่ 1 และ 2 แล้วจะทำให้ ณ สิ้นไตรมาสที่ 3 กระทรวงการคลังสามารถดำเนินงานตามแผนฯ ได้ทั้งสิ้น 484,999.07 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 49.11 ของแผนฯ การดำเนินงานตามแผนฯ ในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมา ทำให้สามารถลดยอดหนี้คงค้างลงทั้งสิ้น 34,240.98 ล้านบาท ลดภาระดอกเบี้ยได้ 2,370 ล้านบาท และประหยัดดอกเบี้ยได้ 332 ล้านบาท
นอกจากผลการดำเนินงานตามแผนฯ ที่กล่าวมาแล้ว ในไตรมาสที่ 3 ยังมีรัฐวิสาหกิจที่มีสถานะเป็นบริษัทมหาชนจำกัด ซึ่งได้รับยกเว้นให้ไม่ต้องอยู่ภายใต้กรอบวงเงินกู้ของแผนการบริหารหนี้สาธารณะได้ดำเนินการกู้เงินจากต่างประเทศจำนวน 14,155.48 ล้านบาท และมีรัฐวิสาหกิจที่ดำเนินการกู้เงินระยะสั้นเพื่อเสริมสภาพคล่องในรูป Credit Line อีกจำนวน 50 ล้านบาท
2. รายละเอียดของผลการดำเนินงานในไตรมาสที่ 3
2.1 การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ
กระทรวงการคลังดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณจำนวน 38,400 ล้านบาท โดยเป็นการออกพันธบัตรรัฐบาล จำนวน 2 รุ่น วงเงินรวม 21,855 ล้านบาท ประกอบด้วย พันธบัตรรัฐบาลอายุ 7 ปี และ 10 ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5.25 และ 5.00 ต่อปี ตามลำดับ และออกตั๋วสัญญาใช้เงินกับธนาคารโตเกียว-มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ สาขากรุงเทพฯ ธนาคารออมสิน และธนาคารกรุงไทย วงเงินรวม 16,545 ล้านบาท อายุ 6 ปี อัตราดอกเบี้ยอยู่ระหว่างร้อยละ 3.64-3.69 ต่อปี
2.2 การ Roll-over ตั๋วเงินคลัง และการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล
กระทรวงการคลังออกตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในการบริหารเงินสดเพื่อรองรับการทำธุรกรรมการใช้จ่ายของรัฐบาลซึ่ง ณ สิ้นปีงบประมาณ 2549 มียอดวงเงินตั๋วเงินคลังหมุนเวียนในตลาด จำนวน 250,000 ล้านบาท ภายใต้กรอบวงเงินดังกล่าวได้รวมการกู้เงินในรูปตั๋วเงินคลังเพื่อชดเชยการขาดดุลซึ่งสะสมมาในช่วงปี 2542-2547 จำนวน 170,000 ล้านบาทด้วย กระทรวงการคลังจึงมีแผนที่จะปรับโครงสร้างตั๋วเงินคลังเพื่อชดเชยการขาดดุลให้เป็นพันธบัตรระยะยาว โดยจะทยอยดำเนินการตามความเหมาะสมให้แล้วเสร็จภายในปีงบประมาณ 2550 ซึ่งในไตรมาสที่ 1 กระทรวงการคลังได้แปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาลไปแล้วจำนวน 32,000 ล้านบาท และในไตรมาสที่ 3 สามารถดำเนินการอีกได้จำนวน 41,000 ล้านบาท ทำให้ตั๋วเงินคลังที่หมุนเวียนอยู่ในตลาด ณ สิ้นไตรมาสที่ 3 มีจำนวน 177,000 ล้านบาท
2.3 การบริหารและจัดการเงินกู้เพื่อชดใช้ความเสียหายให้ FIDF กระทรวงการคลังดำเนินการออกพันธบัตร FIDF3 จำนวน 1,500 ล้านบาท โดยเป็นพันธบัตรออมทรัพย์ อายุ 3 ปี จำนวน 3 รุ่น รุ่นละ 500 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยอยู่ระหว่างร้อยละ 3.00-3.90 ต่อปี
2.4 การกู้เงินในประเทศของรัฐวิสาหกิจ
(1) รัฐวิสาหกิจ 3 แห่ง ทำสัญญาเพื่อกู้เงินและออกพันธบัตรวงเงินรวม 4,500 ล้านบาท เพื่อใช้ลงทุนในโครงการต่างๆ ได้แก่
1) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ทำสัญญาเพื่อกู้เงินกับธนาคารกรุงไทย วงเงิน 500 ล้านบาท
2) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ออกพันธบัตรวงเงิน 2,000 ล้านบาท
3) การไฟฟ้านครหลวง ออกพันธบัตรวงเงิน 2,000 ล้านบาท
(2) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ดำเนินการออกพันธบัตรวงเงิน 11,556 ล้านบาท เพื่อนำเงินที่ได้ไปชำระหนี้ค่าน้ำมันและค่าเหมาซ่อม
2.5 การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจ
รัฐวิสาหกิจ 3 แห่ง ดำเนินการ Roll-over หนี้ที่ครบกำหนดชำระให้สอดคล้องกับระยะคืนทุนของโครงการ โดยออกพันธบัตรวงเงินรวม 3,736.29 ล้านบาท ได้แก่
(1) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย วงเงิน 2,000 ล้านบาท
(2) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค วงเงิน 900 ล้านบาท
(3) การรถไฟแห่งประเทศไทย วงเงิน 836.29 ล้านบาท
2.6 การบริหารหนี้ต่างประเทศของรัฐบาล
(1) กระทรวงการคลังชำระคืนหนี้เงินกู้ JBIC ก่อนครบกำหนด (Prepayment) จำนวน 9 สัญญา วงเงิน 10,183.68 ล้านบาท เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2550 โดยใช้งบประมาณเพื่อการชำระหนี้
(2) กระทรวงการคลังทำสัญญาซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าระยะยาว (Long Dated Forward) เมื่อวันที่ 3-12 เมษายน 2550 เพื่อเตรียมไว้ชำระคืนหนี้เงินกู้ Samurai Bond รุ่นที่ 21 วงเงิน 14,672.64 ล้านบาท ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 30 มิถุนายน 2551
2.7 การกู้เงินและการบริหารหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่มีสถานะเป็นบริษัทมหาชนจำกัด
(1) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ดำเนินการกู้เงินระยะสั้นในรูปเงินกู้ Euro Commercial Paper (ECP) เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2550 จำนวน 4,155.48 ล้านบาท เพื่อนำไปชำระค่าเครื่องบินแอร์บัส A340-500 ลำที่ 4 ก่อนจะจัดหาเงินกู้ระยะยาวต่อไป
(2) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ดำเนินการออกพันธบัตร Samurai Bond จำนวน 10,000 ล้านบาท เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2550 เพื่อใช้จ่ายตามแผนการจัดหาเงินเพื่อลงทุน
2.8 การกู้เงินระยะสั้นในรูป Credit Line ของรัฐวิสาหกิจ
องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ดำเนินการกู้เงินระยะสั้นในรูป Credit Line วงเงิน 50 ล้านบาท กับธนาคารกรุงไทย ในวันที่ 6 มิถุนายน 2550 เพื่อใช้ในการเสริมสภาพคล่องของกิจการ
3. การปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2550 ครั้งที่ 3
เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2550 คณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะได้พิจารณาให้ความเห็นชอบการปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2550 ครั้งที่ 3 โดยปรับวงเงินการบริหารหนี้ในประเทศและต่างประเทศของรัฐบาลให้เหมาะสมกับฐานะการเงิน และสภาวะตลาด รวมทั้งสอดคล้องกับเงื่อนไขของแหล่งเงินกู้ และได้ปรับวงเงินกู้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าของโครงการลงทุนของรัฐวิสาหกิจและการบริหารหนี้ที่สามารถดำเนินการได้ภายในปีงบประมาณนี้ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติการปรับปรุงแผนฯ เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2550 ทำให้วงเงินของแผนฯ ที่ได้ปรับปรุงเพิ่มขึ้นเป็น 1,054,559.75 ล้านบาท ประกอบด้วย
หน่วย : ล้านบาท
แผนงาน วงเงิน
1. การบริหารและจัดการเงินกู้ในประเทศของรัฐบาล 433,200.00
2. การบริหารและจัดการเงินกู้เพื่อชดใช้ความเสียหายให้ FIDF 109,731.02
3. การบริหารและจัดการเงินกู้เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของ
ระบบสถาบันการเงิน ไม่มี
4. การบริหารและจัดการเงินกู้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจ 375,160.77
5. การกู้เงินตามแผนการก่อหนี้จากต่างประเทศ 10,696.00
6. การบริหารหนี้ต่างประเทศ 125,771.96
รวม 1,054,559.75
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 28 สิงหาคม 2550--จบ--
1. ภาพรวมของผลการดำเนินงานตามแผนการบริหารหนี้สาธารณะในไตรมาสที่ 3 กระทรวงการคลังสามารถดำเนินงานตามแผนฯ ได้ทั้งสิ้น 205,548.37 ล้านบาท ประกอบด้วยการก่อหนี้ใหม่ของรัฐบาลเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 38,400 ล้านบาท การบริหารหนี้ทั้งในประเทศและต่างประเทศของรัฐบาล ได้แก่ การ Roll-over ตั๋วเงินคลัง การออกพันธบัตรเพื่อชดใช้ความเสียหายให้ FIDF การชำระคืนหนี้เงินกู้ก่อนครบกำหนดให้ JBIC และการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าเพื่อบริหารหนี้เงินกู้ Samurai Bond จำนวน 147,356.08 ล้านบาท ส่วนที่เหลือเป็นการบริหารหนี้และการก่อหนี้ใหม่ของรัฐวิสาหกิจจำนวน 19,792.29 ล้านบาท ซึ่งผลจากการดำเนินงานดังกล่าวสามารถลดยอดหนี้คงค้างลงจำนวน 10,683.68 ล้านบาท และลดภาระดอกเบี้ยได้ 1,805 ล้านบาท
เมื่อรวมกับผลการดำเนินงานในไตรมาสที่ 1 และ 2 แล้วจะทำให้ ณ สิ้นไตรมาสที่ 3 กระทรวงการคลังสามารถดำเนินงานตามแผนฯ ได้ทั้งสิ้น 484,999.07 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 49.11 ของแผนฯ การดำเนินงานตามแผนฯ ในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมา ทำให้สามารถลดยอดหนี้คงค้างลงทั้งสิ้น 34,240.98 ล้านบาท ลดภาระดอกเบี้ยได้ 2,370 ล้านบาท และประหยัดดอกเบี้ยได้ 332 ล้านบาท
นอกจากผลการดำเนินงานตามแผนฯ ที่กล่าวมาแล้ว ในไตรมาสที่ 3 ยังมีรัฐวิสาหกิจที่มีสถานะเป็นบริษัทมหาชนจำกัด ซึ่งได้รับยกเว้นให้ไม่ต้องอยู่ภายใต้กรอบวงเงินกู้ของแผนการบริหารหนี้สาธารณะได้ดำเนินการกู้เงินจากต่างประเทศจำนวน 14,155.48 ล้านบาท และมีรัฐวิสาหกิจที่ดำเนินการกู้เงินระยะสั้นเพื่อเสริมสภาพคล่องในรูป Credit Line อีกจำนวน 50 ล้านบาท
2. รายละเอียดของผลการดำเนินงานในไตรมาสที่ 3
2.1 การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ
กระทรวงการคลังดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณจำนวน 38,400 ล้านบาท โดยเป็นการออกพันธบัตรรัฐบาล จำนวน 2 รุ่น วงเงินรวม 21,855 ล้านบาท ประกอบด้วย พันธบัตรรัฐบาลอายุ 7 ปี และ 10 ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5.25 และ 5.00 ต่อปี ตามลำดับ และออกตั๋วสัญญาใช้เงินกับธนาคารโตเกียว-มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ สาขากรุงเทพฯ ธนาคารออมสิน และธนาคารกรุงไทย วงเงินรวม 16,545 ล้านบาท อายุ 6 ปี อัตราดอกเบี้ยอยู่ระหว่างร้อยละ 3.64-3.69 ต่อปี
2.2 การ Roll-over ตั๋วเงินคลัง และการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล
กระทรวงการคลังออกตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในการบริหารเงินสดเพื่อรองรับการทำธุรกรรมการใช้จ่ายของรัฐบาลซึ่ง ณ สิ้นปีงบประมาณ 2549 มียอดวงเงินตั๋วเงินคลังหมุนเวียนในตลาด จำนวน 250,000 ล้านบาท ภายใต้กรอบวงเงินดังกล่าวได้รวมการกู้เงินในรูปตั๋วเงินคลังเพื่อชดเชยการขาดดุลซึ่งสะสมมาในช่วงปี 2542-2547 จำนวน 170,000 ล้านบาทด้วย กระทรวงการคลังจึงมีแผนที่จะปรับโครงสร้างตั๋วเงินคลังเพื่อชดเชยการขาดดุลให้เป็นพันธบัตรระยะยาว โดยจะทยอยดำเนินการตามความเหมาะสมให้แล้วเสร็จภายในปีงบประมาณ 2550 ซึ่งในไตรมาสที่ 1 กระทรวงการคลังได้แปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาลไปแล้วจำนวน 32,000 ล้านบาท และในไตรมาสที่ 3 สามารถดำเนินการอีกได้จำนวน 41,000 ล้านบาท ทำให้ตั๋วเงินคลังที่หมุนเวียนอยู่ในตลาด ณ สิ้นไตรมาสที่ 3 มีจำนวน 177,000 ล้านบาท
2.3 การบริหารและจัดการเงินกู้เพื่อชดใช้ความเสียหายให้ FIDF กระทรวงการคลังดำเนินการออกพันธบัตร FIDF3 จำนวน 1,500 ล้านบาท โดยเป็นพันธบัตรออมทรัพย์ อายุ 3 ปี จำนวน 3 รุ่น รุ่นละ 500 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยอยู่ระหว่างร้อยละ 3.00-3.90 ต่อปี
2.4 การกู้เงินในประเทศของรัฐวิสาหกิจ
(1) รัฐวิสาหกิจ 3 แห่ง ทำสัญญาเพื่อกู้เงินและออกพันธบัตรวงเงินรวม 4,500 ล้านบาท เพื่อใช้ลงทุนในโครงการต่างๆ ได้แก่
1) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ทำสัญญาเพื่อกู้เงินกับธนาคารกรุงไทย วงเงิน 500 ล้านบาท
2) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ออกพันธบัตรวงเงิน 2,000 ล้านบาท
3) การไฟฟ้านครหลวง ออกพันธบัตรวงเงิน 2,000 ล้านบาท
(2) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ดำเนินการออกพันธบัตรวงเงิน 11,556 ล้านบาท เพื่อนำเงินที่ได้ไปชำระหนี้ค่าน้ำมันและค่าเหมาซ่อม
2.5 การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจ
รัฐวิสาหกิจ 3 แห่ง ดำเนินการ Roll-over หนี้ที่ครบกำหนดชำระให้สอดคล้องกับระยะคืนทุนของโครงการ โดยออกพันธบัตรวงเงินรวม 3,736.29 ล้านบาท ได้แก่
(1) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย วงเงิน 2,000 ล้านบาท
(2) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค วงเงิน 900 ล้านบาท
(3) การรถไฟแห่งประเทศไทย วงเงิน 836.29 ล้านบาท
2.6 การบริหารหนี้ต่างประเทศของรัฐบาล
(1) กระทรวงการคลังชำระคืนหนี้เงินกู้ JBIC ก่อนครบกำหนด (Prepayment) จำนวน 9 สัญญา วงเงิน 10,183.68 ล้านบาท เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2550 โดยใช้งบประมาณเพื่อการชำระหนี้
(2) กระทรวงการคลังทำสัญญาซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าระยะยาว (Long Dated Forward) เมื่อวันที่ 3-12 เมษายน 2550 เพื่อเตรียมไว้ชำระคืนหนี้เงินกู้ Samurai Bond รุ่นที่ 21 วงเงิน 14,672.64 ล้านบาท ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 30 มิถุนายน 2551
2.7 การกู้เงินและการบริหารหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่มีสถานะเป็นบริษัทมหาชนจำกัด
(1) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ดำเนินการกู้เงินระยะสั้นในรูปเงินกู้ Euro Commercial Paper (ECP) เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2550 จำนวน 4,155.48 ล้านบาท เพื่อนำไปชำระค่าเครื่องบินแอร์บัส A340-500 ลำที่ 4 ก่อนจะจัดหาเงินกู้ระยะยาวต่อไป
(2) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ดำเนินการออกพันธบัตร Samurai Bond จำนวน 10,000 ล้านบาท เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2550 เพื่อใช้จ่ายตามแผนการจัดหาเงินเพื่อลงทุน
2.8 การกู้เงินระยะสั้นในรูป Credit Line ของรัฐวิสาหกิจ
องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ดำเนินการกู้เงินระยะสั้นในรูป Credit Line วงเงิน 50 ล้านบาท กับธนาคารกรุงไทย ในวันที่ 6 มิถุนายน 2550 เพื่อใช้ในการเสริมสภาพคล่องของกิจการ
3. การปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2550 ครั้งที่ 3
เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2550 คณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะได้พิจารณาให้ความเห็นชอบการปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2550 ครั้งที่ 3 โดยปรับวงเงินการบริหารหนี้ในประเทศและต่างประเทศของรัฐบาลให้เหมาะสมกับฐานะการเงิน และสภาวะตลาด รวมทั้งสอดคล้องกับเงื่อนไขของแหล่งเงินกู้ และได้ปรับวงเงินกู้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าของโครงการลงทุนของรัฐวิสาหกิจและการบริหารหนี้ที่สามารถดำเนินการได้ภายในปีงบประมาณนี้ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติการปรับปรุงแผนฯ เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2550 ทำให้วงเงินของแผนฯ ที่ได้ปรับปรุงเพิ่มขึ้นเป็น 1,054,559.75 ล้านบาท ประกอบด้วย
หน่วย : ล้านบาท
แผนงาน วงเงิน
1. การบริหารและจัดการเงินกู้ในประเทศของรัฐบาล 433,200.00
2. การบริหารและจัดการเงินกู้เพื่อชดใช้ความเสียหายให้ FIDF 109,731.02
3. การบริหารและจัดการเงินกู้เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของ
ระบบสถาบันการเงิน ไม่มี
4. การบริหารและจัดการเงินกู้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจ 375,160.77
5. การกู้เงินตามแผนการก่อหนี้จากต่างประเทศ 10,696.00
6. การบริหารหนี้ต่างประเทศ 125,771.96
รวม 1,054,559.75
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 28 สิงหาคม 2550--จบ--