คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงพาณิชย์รายงานดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปและดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนมีนาคมและไตรมาสแรกของปี 2550 โดยสรุปดังนี้
จากการสำรวจราคาสินค้าและบริการทั่วประเทศจำนวน 373 รายการ ครอบคลุมหมวดอาหารและเครื่องดื่ม เครื่องนุ่งห่ม เคหสถาน การตรวจรักษา บริการส่วนบุคคล ยานพาหนะ การขนส่ง การสื่อสาร การบันเทิง การอ่าน การศึกษา ฯลฯ เพื่อนำมาคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปได้ผลดังนี้
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนมีนาคม 2550
ในปี 2545 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ เท่ากับ 100 และเดือนมีนาคม 2550 เท่ากับ 115.3 สำหรับเดือนกุมภาพันธ์ 2550 เท่ากับ 114.5
2. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนมีนาคม 2550 เมื่อเทียบกับ
2.1 เดือนกุมภาพันธ์ 2550 สูงขึ้นร้อยละ 0.7
2.2 เดือนมีนาคม 2549 สูงขึ้นร้อยละ 2.0
2.3 ไตรมาสแรกของปี 2550 (มกราคม-มีนาคม 2550 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2549) สูงขึ้นร้อยละ 2.4
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนมีนาคม 2550 เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2550 สูงขึ้นร้อยละ 0.7 สูงขึ้นเป็นเดือนแรกหลังจากที่ดัชนีลดลงอย่างต่อเนื่องติดต่อกัน 4 เดือน นับจากเดือนพฤศจิกายน 2549 (กุมภาพันธ์ 2550 ลดลงร้อยละ 0.4) สาเหตุสำคัญมาจากดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่ม และหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นในอัตราที่เท่ากัน คือร้อยละ 0.7 โดยเป็นการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นปัจจัยหลัก นอกจากนี้ราคาสินค้าอาหารสดสำคัญที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่ ผักและผลไม้ เนื้อสุกร และไก่สด เป็นต้น
3.1 ดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 0.7 (กุมภาพันธ์ 2550 ลดลงร้อยละ 1.0 ปัจจัยหลักมาจากการสูงขึ้นของดัชนีราคาผักและผลไม้ร้อยละ 2.3 ได้แก่ มะนาว ผักกาดขาว ต้นหอม และส้มเขียวหวาน เนื่องจากสภาพอากาศเริ่มร้อนจัด นอกจากนี้ดัชนีหมวดเนื้อสัตว์สูงขึ้นร้อยละ 1.6 จากการสูงขึ้นของดัชนีราคาเนื้อสุกรร้อยละ 2.6 เป็นผลจากมาตรการแทรกแซงตลาดสุกรโดยนำลูกสุกรทำหมูหันเพื่อตัดวงจรของสุกรมีชีวิต
3.2 ดัชนีหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 0.7 สาเหตุหลักมาจากการสูงขึ้นของดัชนีราคาน้ำมันเชื้อเพลิงร้อยละ 5.2 โดยราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน สูงขึ้น 5 ครั้ง น้ำมันดีเซลสูงขึ้น 3 ครั้ง รวมทั้งดัชนีราคายางรถยนต์ปรับสูงขึ้นร้อยละ 0.7 และรถยนต์นั่งร้อยละ 0.4
4. ถ้าพิจารณาเทียบกับเดือนมีนาคม 2549 ดัชนีราคาสูงขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลงร้อยละ 2.0 (เดือนกุมภาพันธ์ 2550 สูงขึ้นร้อยละ 2.3) จากการสูงขึ้นของดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 3.8 สินค้าสำคัญที่มีราคาสูงขึ้น ได้แก่ ราคาข้าวสารเหนียว ร้อยละ 44.6 ผักและผลไม้ร้อยละ 13.3 เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ร้อยละ 6.0 (น้ำอัดลมร้อยละ 17.3) เครื่องประกอบอาหารร้อยละ 2.9
สินค้าหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 1.0 ปัจจัยหลักมาจากการสูงขึ้นของดัชนีหมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสารร้อยละ 1.3 (ค่าโดยสารสาธารณะสูงขึ้นร้อยละ 7.7) ค่ากระแสไฟฟ้าร้อยละ 1.8 เป็นต้น
5. ช่วงไตรมาสแรกของปี 2550 ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 2.4 สาเหตุหลักมาจากการสูงขึ้นของดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 5.1 สำหรับหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 0.9
6. ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศ (คำนวณจากรายการสินค้าและบริการ 266 รายการ) คือ ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศที่หักรายการสินค้ากลุ่มอาหารสดและสินค้ากลุ่มพลังงานจำนวน 107 รายการ ซึ่งคิดเป็นประมาณร้อยละ 24 ของสัดส่วนค่าใช้จ่ายทั้งหมด
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนมีนาคม 2550 เท่ากับ 105.2 เมื่อเทียบกับ
6.1 เดือนกุมภาพันธ์ 2550 สูงขึ้นร้อยละ 0.1
6.2 เดือนมีนาคม 2549 สูงขึ้นร้อยละ 1.3
6.3 ไตรมาสแรกของปี 2550 (มกราคม-มีนาคม 2550 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2549) สูงขึ้นร้อยละ 1.4
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 10 เมษายน 2550--จบ--
จากการสำรวจราคาสินค้าและบริการทั่วประเทศจำนวน 373 รายการ ครอบคลุมหมวดอาหารและเครื่องดื่ม เครื่องนุ่งห่ม เคหสถาน การตรวจรักษา บริการส่วนบุคคล ยานพาหนะ การขนส่ง การสื่อสาร การบันเทิง การอ่าน การศึกษา ฯลฯ เพื่อนำมาคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปได้ผลดังนี้
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนมีนาคม 2550
ในปี 2545 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ เท่ากับ 100 และเดือนมีนาคม 2550 เท่ากับ 115.3 สำหรับเดือนกุมภาพันธ์ 2550 เท่ากับ 114.5
2. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนมีนาคม 2550 เมื่อเทียบกับ
2.1 เดือนกุมภาพันธ์ 2550 สูงขึ้นร้อยละ 0.7
2.2 เดือนมีนาคม 2549 สูงขึ้นร้อยละ 2.0
2.3 ไตรมาสแรกของปี 2550 (มกราคม-มีนาคม 2550 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2549) สูงขึ้นร้อยละ 2.4
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนมีนาคม 2550 เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2550 สูงขึ้นร้อยละ 0.7 สูงขึ้นเป็นเดือนแรกหลังจากที่ดัชนีลดลงอย่างต่อเนื่องติดต่อกัน 4 เดือน นับจากเดือนพฤศจิกายน 2549 (กุมภาพันธ์ 2550 ลดลงร้อยละ 0.4) สาเหตุสำคัญมาจากดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่ม และหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นในอัตราที่เท่ากัน คือร้อยละ 0.7 โดยเป็นการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นปัจจัยหลัก นอกจากนี้ราคาสินค้าอาหารสดสำคัญที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่ ผักและผลไม้ เนื้อสุกร และไก่สด เป็นต้น
3.1 ดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 0.7 (กุมภาพันธ์ 2550 ลดลงร้อยละ 1.0 ปัจจัยหลักมาจากการสูงขึ้นของดัชนีราคาผักและผลไม้ร้อยละ 2.3 ได้แก่ มะนาว ผักกาดขาว ต้นหอม และส้มเขียวหวาน เนื่องจากสภาพอากาศเริ่มร้อนจัด นอกจากนี้ดัชนีหมวดเนื้อสัตว์สูงขึ้นร้อยละ 1.6 จากการสูงขึ้นของดัชนีราคาเนื้อสุกรร้อยละ 2.6 เป็นผลจากมาตรการแทรกแซงตลาดสุกรโดยนำลูกสุกรทำหมูหันเพื่อตัดวงจรของสุกรมีชีวิต
3.2 ดัชนีหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 0.7 สาเหตุหลักมาจากการสูงขึ้นของดัชนีราคาน้ำมันเชื้อเพลิงร้อยละ 5.2 โดยราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน สูงขึ้น 5 ครั้ง น้ำมันดีเซลสูงขึ้น 3 ครั้ง รวมทั้งดัชนีราคายางรถยนต์ปรับสูงขึ้นร้อยละ 0.7 และรถยนต์นั่งร้อยละ 0.4
4. ถ้าพิจารณาเทียบกับเดือนมีนาคม 2549 ดัชนีราคาสูงขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลงร้อยละ 2.0 (เดือนกุมภาพันธ์ 2550 สูงขึ้นร้อยละ 2.3) จากการสูงขึ้นของดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 3.8 สินค้าสำคัญที่มีราคาสูงขึ้น ได้แก่ ราคาข้าวสารเหนียว ร้อยละ 44.6 ผักและผลไม้ร้อยละ 13.3 เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ร้อยละ 6.0 (น้ำอัดลมร้อยละ 17.3) เครื่องประกอบอาหารร้อยละ 2.9
สินค้าหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 1.0 ปัจจัยหลักมาจากการสูงขึ้นของดัชนีหมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสารร้อยละ 1.3 (ค่าโดยสารสาธารณะสูงขึ้นร้อยละ 7.7) ค่ากระแสไฟฟ้าร้อยละ 1.8 เป็นต้น
5. ช่วงไตรมาสแรกของปี 2550 ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 2.4 สาเหตุหลักมาจากการสูงขึ้นของดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 5.1 สำหรับหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 0.9
6. ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศ (คำนวณจากรายการสินค้าและบริการ 266 รายการ) คือ ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศที่หักรายการสินค้ากลุ่มอาหารสดและสินค้ากลุ่มพลังงานจำนวน 107 รายการ ซึ่งคิดเป็นประมาณร้อยละ 24 ของสัดส่วนค่าใช้จ่ายทั้งหมด
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนมีนาคม 2550 เท่ากับ 105.2 เมื่อเทียบกับ
6.1 เดือนกุมภาพันธ์ 2550 สูงขึ้นร้อยละ 0.1
6.2 เดือนมีนาคม 2549 สูงขึ้นร้อยละ 1.3
6.3 ไตรมาสแรกของปี 2550 (มกราคม-มีนาคม 2550 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2549) สูงขึ้นร้อยละ 1.4
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 10 เมษายน 2550--จบ--