คณะรัฐมนตรีรับทราบสรุปการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยด้านการเกษตร ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ดังนี้
ตามที่คณะกรรมการอำนวยการกำกับ ติดตามการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (คชอ.) โดยมีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือเกษตรกร ซึ่งคณะอนุกรรมการดังกล่าวได้มีการประชุมเพื่อกำหนดแนวทางและเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยด้านการเกษตรปี 2549 และดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยด้านการเกษตรปี 2549 สรุปได้ดังนี้
1. การกำหนดแนวทางและเกณฑ์การช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยด้านการเกษตรปี 2549 ดังนี้
1.1 การช่วยเหลือในพื้นที่ทั่วประเทศ จะใช้หลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติปลีกย่อยเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร ผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2549 ประกาศ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2549
1.2 พื้นที่การเกษตรเสียหายรุนแรงในพื้นที่น้ำท่วมขังเป็นเวลานานจะให้ช่วยเหลือตามเกณฑ์นี้ เฉพาะด้านพืช โดยให้ช่วยเหลือร้อยละ 50 ของรายได้เกษตรกรที่ควรจะได้รับ โดยมีเกณฑ์การพิจารณาความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่เสียหายรุนแรง ดังนี้
1) ต้องเป็นพื้นที่การเกษตรที่มีน้ำท่วมขังติดต่อกันไม่น้อยกว่า 30 วัน และ
2) เกษตรกรไม่สามารถเข้าไปแก้ปัญหาพืชผลการเกษตรของตนเองได้เพราะต้องอพยพ และ/หรือขนย้ายทรัพย์สินที่เสียหายจากอุทกภัย และ/หรือ
3) พืชผลการเกษตรเสียหายโดยสิ้นเชิงไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ และไม่สามารถฟื้นฟูพื้นที่การเกษตรของตนเองหลังเข้าสู่ภาวะปกติในระยะเวลาสั้นๆ หรือ ระยะเวลาปกติได้
ทั้งนี้ จังหวัดต้องตรวจสอบและรับรองความเสียหายของเกษตรกรตามเกณฑ์ข้างต้นเป็นรายๆ ไป และเกษตรกรที่จะได้รับความช่วยเหลือต้องเป็นผู้ที่เข้าเกณฑ์ข้อ 1) และต้องเข้าเกณฑ์ข้อ 2) หรือ 3) อย่างน้อย 1 ข้อ
1.3 การให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการรายใหญ่
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ออกประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง การแจ้งความเสียหายผู้ประกอบการรายใหญ่ด้านการเกษตรจากอุทกภัยปี 2549 จนถึงวันที่ 29 ธันวาคม 2549 และได้ลงประกาศในหนังสือพิมพ์ด้วยแล้ว รวมทั้งได้มีการประชุมคณะทำงานให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการรายใหญ่ด้านการเกษตรที่ประสบอุทกภัยปี 2549 ครั้งที่ 1/2549 เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2549 กำหนดเกณฑ์และวิธีการพิจารณา ดังนี้
เกณฑ์การพิจารณา
1) เป็นผู้ประสบอุทกภัยระหว่าง 1 สิงหาคม — 30 พฤศจิกายน 2549
2) เป็นผู้เสียหายที่ได้แจ้งความเสียหายไว้แล้วตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ “เรื่องการแจ้งความเสียหายผู้ประกอบการรายใหญ่ด้านการเกษตรจากอุทกภัยปี 2549” ลงวันที่ 7 ธันวาคม 2549
3) เป็นผู้ที่มีทะเบียนการค้าหรือเอกสารอื่นที่ทางราชการรับรองว่าเป็นผู้ประกอบการเกษตรที่ได้รับความเสียหาย
4) คณะทำงานให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการรายใหญ่ระดับจังหวัด รับรองว่าเป็นผู้เสียหายรายใหญ่สมควรให้ความช่วยเหลือ
การให้ความช่วยเหลือ
1) ให้พักชำระหนี้อันเกิดจากการประกอบการเกษตร เป็นเวลา 3 ปี
2) ให้สิทธิในการกู้เงินลงทุนในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0 เป็นเวลา 3 ปี
3) ให้ใช้หลักทรัพย์ที่ผู้ประกอบการเกษตรดำเนินการเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้ โดยให้สถาบันการเงินของรัฐและเอกชน เป็นผู้สนับสนุนเงินกู้ และผ่อนปรนเงื่อนไขในกรณีหลักทรัพย์นั้น ยังใช้ค้ำประกันหนี้เดิม
วิธีพิจารณาดำเนินการ
1) แต่งตั้งคณะทำงานให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการรายใหญ่ด้านการเกษตรที่ประสบอุทกภัยปี 2549 ระดับจังหวัดประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัด เกษตรจังหวัด ประมงจังหวัด ปศุสัตว์จังหวัด และเกษตรและสหกรณ์จังหวัด เป็นเลขานุการ โดยให้คณะทำงานระดับจังหวัดมีหน้าที่รับแจ้งความเสียหายและพิจารณากลั่นกรองความเสียหายเบื้องต้นในการให้ความช่วยเหลือผู้เสียหาย
2) ให้คณะทำงานให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการรายใหญ่ด้านการเกษตรที่ประสบอุทกภัยปี 2549 ระดับจังหวัด พิจารณาผู้เสียหายเพื่อให้ความช่วยเหลือตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยให้ผู้เสียหายกรอกแบบรับแจ้งและวิเคราะห์ความเสียหายรายบุคคล (แบบ อทญ 01) ตลอดจนรวบรวมสรุปตามแบบสรุปความช่วยเหลือผู้ประกอบการรายใหญ่ (แบบ อทญ 02)
3) ให้คณะทำงานให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการรายใหญ่ด้านการเกษตรที่ประสบอุทกภัยปี 2549 ระดับจังหวัด พิจารณากลั่นกรองเบื้องต้น ภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2549 และจัดส่งแบบ แบบ อทญ 01และ แบบ อทญ 02 ให้คณะทำงานฯ กลั่นกรองส่วนกลาง โดยมีอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นประธาน และสรุปผลการพิจารณาเสนอคณะทำงานให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการรายใหญ่ด้านการเกษตรที่ประสบอุทกภัยปี 2549 ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 9 มกราคม 2550
2. การดำเนินการรับการสนับสนุนงบประมาณ เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ดังนี้
2.1 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2549 อนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม และงบประมาณในการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย และบูรณะฟื้นฟูความเสียหายในพื้นที่ 47 จังหวัด ในส่วนของคณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรได้รับอนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณ 6,737.71 ล้านบาท แบ่งเป็น
1) การช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเป็นเงิน วงเงิน 6,305.75 ล้านบาท แบ่งเป็น กรมส่งเสริมการเกษตร 5,305.45 ล้านบาท กรมประมง 944.15 ล้านบาท และกรมปศุสัตว์ 56.15 ล้านบาท ซึ่งทั้ง 3 หน่วยงาน ได้ดำเนินการโอนเงินให้จังหวัดแล้ว 4,526 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 72 ของวงเงินที่ได้รับอนุมัติ โดยกำหนดเริ่มจ่ายเงินช่วยเหลือวันที่ 5 มกราคม 2550 และแล้วเสร็จวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2549
ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรได้กำหนดการตรวจสอบการช่วยเหลือเป็นเงิน โดยผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีร่วมกับผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ลงพื้นที่ตรวจสอบความถูกต้องก่อนจะเริ่มมีการจ่ายเงิน
2) การฟื้นฟูการเกษตรหลังน้ำลด วงเงิน 431.97 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างหน่วยงานขออนุมัติเงินงวดจากสำนักงบประมาณ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 9 มกราคม 2550--จบ--
ตามที่คณะกรรมการอำนวยการกำกับ ติดตามการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (คชอ.) โดยมีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือเกษตรกร ซึ่งคณะอนุกรรมการดังกล่าวได้มีการประชุมเพื่อกำหนดแนวทางและเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยด้านการเกษตรปี 2549 และดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยด้านการเกษตรปี 2549 สรุปได้ดังนี้
1. การกำหนดแนวทางและเกณฑ์การช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยด้านการเกษตรปี 2549 ดังนี้
1.1 การช่วยเหลือในพื้นที่ทั่วประเทศ จะใช้หลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติปลีกย่อยเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร ผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2549 ประกาศ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2549
1.2 พื้นที่การเกษตรเสียหายรุนแรงในพื้นที่น้ำท่วมขังเป็นเวลานานจะให้ช่วยเหลือตามเกณฑ์นี้ เฉพาะด้านพืช โดยให้ช่วยเหลือร้อยละ 50 ของรายได้เกษตรกรที่ควรจะได้รับ โดยมีเกณฑ์การพิจารณาความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่เสียหายรุนแรง ดังนี้
1) ต้องเป็นพื้นที่การเกษตรที่มีน้ำท่วมขังติดต่อกันไม่น้อยกว่า 30 วัน และ
2) เกษตรกรไม่สามารถเข้าไปแก้ปัญหาพืชผลการเกษตรของตนเองได้เพราะต้องอพยพ และ/หรือขนย้ายทรัพย์สินที่เสียหายจากอุทกภัย และ/หรือ
3) พืชผลการเกษตรเสียหายโดยสิ้นเชิงไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ และไม่สามารถฟื้นฟูพื้นที่การเกษตรของตนเองหลังเข้าสู่ภาวะปกติในระยะเวลาสั้นๆ หรือ ระยะเวลาปกติได้
ทั้งนี้ จังหวัดต้องตรวจสอบและรับรองความเสียหายของเกษตรกรตามเกณฑ์ข้างต้นเป็นรายๆ ไป และเกษตรกรที่จะได้รับความช่วยเหลือต้องเป็นผู้ที่เข้าเกณฑ์ข้อ 1) และต้องเข้าเกณฑ์ข้อ 2) หรือ 3) อย่างน้อย 1 ข้อ
1.3 การให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการรายใหญ่
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ออกประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง การแจ้งความเสียหายผู้ประกอบการรายใหญ่ด้านการเกษตรจากอุทกภัยปี 2549 จนถึงวันที่ 29 ธันวาคม 2549 และได้ลงประกาศในหนังสือพิมพ์ด้วยแล้ว รวมทั้งได้มีการประชุมคณะทำงานให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการรายใหญ่ด้านการเกษตรที่ประสบอุทกภัยปี 2549 ครั้งที่ 1/2549 เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2549 กำหนดเกณฑ์และวิธีการพิจารณา ดังนี้
เกณฑ์การพิจารณา
1) เป็นผู้ประสบอุทกภัยระหว่าง 1 สิงหาคม — 30 พฤศจิกายน 2549
2) เป็นผู้เสียหายที่ได้แจ้งความเสียหายไว้แล้วตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ “เรื่องการแจ้งความเสียหายผู้ประกอบการรายใหญ่ด้านการเกษตรจากอุทกภัยปี 2549” ลงวันที่ 7 ธันวาคม 2549
3) เป็นผู้ที่มีทะเบียนการค้าหรือเอกสารอื่นที่ทางราชการรับรองว่าเป็นผู้ประกอบการเกษตรที่ได้รับความเสียหาย
4) คณะทำงานให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการรายใหญ่ระดับจังหวัด รับรองว่าเป็นผู้เสียหายรายใหญ่สมควรให้ความช่วยเหลือ
การให้ความช่วยเหลือ
1) ให้พักชำระหนี้อันเกิดจากการประกอบการเกษตร เป็นเวลา 3 ปี
2) ให้สิทธิในการกู้เงินลงทุนในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0 เป็นเวลา 3 ปี
3) ให้ใช้หลักทรัพย์ที่ผู้ประกอบการเกษตรดำเนินการเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้ โดยให้สถาบันการเงินของรัฐและเอกชน เป็นผู้สนับสนุนเงินกู้ และผ่อนปรนเงื่อนไขในกรณีหลักทรัพย์นั้น ยังใช้ค้ำประกันหนี้เดิม
วิธีพิจารณาดำเนินการ
1) แต่งตั้งคณะทำงานให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการรายใหญ่ด้านการเกษตรที่ประสบอุทกภัยปี 2549 ระดับจังหวัดประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัด เกษตรจังหวัด ประมงจังหวัด ปศุสัตว์จังหวัด และเกษตรและสหกรณ์จังหวัด เป็นเลขานุการ โดยให้คณะทำงานระดับจังหวัดมีหน้าที่รับแจ้งความเสียหายและพิจารณากลั่นกรองความเสียหายเบื้องต้นในการให้ความช่วยเหลือผู้เสียหาย
2) ให้คณะทำงานให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการรายใหญ่ด้านการเกษตรที่ประสบอุทกภัยปี 2549 ระดับจังหวัด พิจารณาผู้เสียหายเพื่อให้ความช่วยเหลือตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยให้ผู้เสียหายกรอกแบบรับแจ้งและวิเคราะห์ความเสียหายรายบุคคล (แบบ อทญ 01) ตลอดจนรวบรวมสรุปตามแบบสรุปความช่วยเหลือผู้ประกอบการรายใหญ่ (แบบ อทญ 02)
3) ให้คณะทำงานให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการรายใหญ่ด้านการเกษตรที่ประสบอุทกภัยปี 2549 ระดับจังหวัด พิจารณากลั่นกรองเบื้องต้น ภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2549 และจัดส่งแบบ แบบ อทญ 01และ แบบ อทญ 02 ให้คณะทำงานฯ กลั่นกรองส่วนกลาง โดยมีอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นประธาน และสรุปผลการพิจารณาเสนอคณะทำงานให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการรายใหญ่ด้านการเกษตรที่ประสบอุทกภัยปี 2549 ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 9 มกราคม 2550
2. การดำเนินการรับการสนับสนุนงบประมาณ เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ดังนี้
2.1 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2549 อนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม และงบประมาณในการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย และบูรณะฟื้นฟูความเสียหายในพื้นที่ 47 จังหวัด ในส่วนของคณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรได้รับอนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณ 6,737.71 ล้านบาท แบ่งเป็น
1) การช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเป็นเงิน วงเงิน 6,305.75 ล้านบาท แบ่งเป็น กรมส่งเสริมการเกษตร 5,305.45 ล้านบาท กรมประมง 944.15 ล้านบาท และกรมปศุสัตว์ 56.15 ล้านบาท ซึ่งทั้ง 3 หน่วยงาน ได้ดำเนินการโอนเงินให้จังหวัดแล้ว 4,526 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 72 ของวงเงินที่ได้รับอนุมัติ โดยกำหนดเริ่มจ่ายเงินช่วยเหลือวันที่ 5 มกราคม 2550 และแล้วเสร็จวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2549
ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรได้กำหนดการตรวจสอบการช่วยเหลือเป็นเงิน โดยผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีร่วมกับผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ลงพื้นที่ตรวจสอบความถูกต้องก่อนจะเริ่มมีการจ่ายเงิน
2) การฟื้นฟูการเกษตรหลังน้ำลด วงเงิน 431.97 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างหน่วยงานขออนุมัติเงินงวดจากสำนักงบประมาณ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 9 มกราคม 2550--จบ--