คณะรัฐมนตรีเห็นชอบและรับทราบผลของมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นการสั่งการเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ ดังนี้
1. รับทราบการคงมติคณะรัฐมนตรี จำนวน 29 มติ
2. เห็นชอบปรับปรุงมติคณะรัฐมนตรี จำนวน 4 มติ เฉพาะในส่วนที่เป็นเนื้อหาที่ขัดแย้งหรือไม่สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีที่ได้สั่งการออกมาภายหลัง ทั้งนี้ เพื่อมิให้เกิดความสับสนแก่หน่วยปฏิบัติและเพื่อให้เกิดเอกภาพในการดำเนินการของผู้ที่เกี่ยวข้อง
3. เห็นชอบในการยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีทั้งฉบับ จำนวน 3 มติ เนื่องจากซ้ำซ้อน ไม่สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีที่ได้สั่งการออกมาภายหลัง ทั้งนี้เพื่อมิให้เกิดความสับสนแก่หน่วยปฏิบัติเช่นกัน
4. รับทราบการประมวลข้อมูลเกี่ยวกับผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าภาพในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และประเด็นการสั่งการของคณะรัฐมนตรีจากมติคณะรัฐมนตรีที่ยังคงถือปฏิบัติอยู่ ซึ่งสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้จัดทำขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่คณะรัฐมนตรีสำหรับการติดตามผลการดำเนินการของหน่วยงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีชี้แจงว่า จากกรณีที่ได้เกิดเหตุการณ์ไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (นราธิวาส ปัตตานี และยะลา) มาตั้งแต่ปี 2546 นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีได้มีคำสั่งและมติมอบหมายให้หน่วยงานและผู้ที่เกี่ยวข้องดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวมาโดยลำดับ จนในที่สุดได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2548 และได้มีคำสั่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน และคณะที่ปรึกษา รวมทั้ง แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายและอำนวยการการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากสถานการณ์ดังกล่าวด้วย
ทั้งนี้ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเห็นว่า โดยที่เหตุการณ์ดังกล่าวได้ยืดเยื้อมานาน และแต่ละช่วงเวลาได้มีคำสั่งการของนายกรัฐมนตรีและมติคณะรัฐมนตรีออกมาเพื่อแก้ไขปัญหาหลายครั้ง นอกจากนี้การปรับคณะรัฐมนตรีมีผลกระทบต่อผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นเจ้าภาพในแต่ละเรื่อง จึงได้ประมวลการสั่งการและภารกิจที่มอบหมายเป็นมติคณะรัฐมนตรีในเรื่องดังกล่าวทั้งหมด โดยกลั่นกรองให้เหลือเฉพาะภารกิจสำคัญ โดยอิงผลการประชุมร่วมระหว่างนายกรัฐ-มนตรีกับภาคเอกชน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2548 ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบและให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับประเด็นมติของที่ประชุมไปดำเนินการด้วยเป็นหลัก เนื่องจากเห็นว่ามติดังกล่าวได้มีการจัดกลุ่มภารกิจไว้ชัดเจน ทั้งนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กระทรวง หน่วยงาน และผู้ที่เกี่ยวข้องที่รับมอบหมายให้ไปดำเนินการ และเพื่อให้ ผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นเจ้าภาพในแต่ละเรื่องใช้ในการติดตามผลการดำเนินการด้วย
ในการดำเนินการประมวลการสั่งการและภารกิจที่คณะรัฐมนตรีมีมติมอบหมายให้บุคคลและหน่วยงานไปดำเนินการนั้น พบว่ามีมติคณะรัฐมนตรี 3 กลุ่ม ที่ควรดำเนินการ ดังนี้
1. มติคณะรัฐมนตรีที่เห็นควรคงไว้โดยไม่ต้องปรับปรุง จำนวน 25 มติ เนื่องจากเนื้อหาสาระไม่ขัดแย้งกับกฎหมาย มติคณะรัฐมนตรีและคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ออกมาภายหลัง
2. มติคณะรัฐมนตรีที่เห็นควรคงไว้แต่ต้องปรับปรุงบางส่วน จำนวน 4 มติ เฉพาะในส่วนของเนื้อหาที่ขัดแย้งหรือไม่สอดคล้องกับกฎหมาย มติคณะรัฐมนตรีและคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ออกมาภายหลัง ดังนี้
2.1 มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2546 ที่มอบหมายรองนายกรัฐมนตรี (ศาสตราจารย์ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์) รับผิดชอบแก้ไขปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า เห็นควรปรับปรุงเป็น มอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมซึ่งมีหน้าที่โดยตรงเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ
2.2 มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2547 ที่มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ) รับผิดชอบในการบูรณาการหน่วยงานด้านการข่าวของประเทศ เห็นควรปรับปรุงเป็น มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก ชิดชัย วรรณสถิตย์) เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการในฐานะรองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายให้กำกับดูแลหน่วยงานด้านความมั่นคง
2.3 มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2547 มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายวันมูหะมัดนอร์มะทา) รับผิดชอบร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรมในการเผยแพร่คัมภีร์อัลกุรอานฉบับภาษาไทยและภาษายาวีที่ถูกต้องให้แก่ประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลาม เห็นควรปรับปรุงเป็น มอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ
2.4 มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2548 ที่มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) รับผิดชอบในการจัดระเบียบ Sim Card เห็นควรปรับปรุงเป็น มอบหมายให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีที่สั่งการมาภายหลังเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2548
3. มติคณะรัฐมนตรีที่เห็นควรยกเลิกทั้งฉบับ จำนวน 3 มติ เนื่องจากผู้ที่ได้รับมอบหมายได้พ้นจากตำแหน่งไปแล้วบ้าง เป็นการสั่งการที่ซ้ำซ้อนกับมติคณะรัฐมนตรีที่ออกมาภายหลังบ้าง คือมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2547 เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2547 และเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2548
อนึ่ง สำหรับมติคณะรัฐมนตรีอื่น ๆ ที่มิใช่เป็นการสั่งการ แต่เป็นการอนุมัติแผน/โครงการตามที่หน่วยงานเสนอมาเพื่อขอความเห็นชอบหรือให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติซึ่งมีอีกหลายมตินั้นจะยังมีผลตามเดิม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 กันยายน 2548--จบ--
1. รับทราบการคงมติคณะรัฐมนตรี จำนวน 29 มติ
2. เห็นชอบปรับปรุงมติคณะรัฐมนตรี จำนวน 4 มติ เฉพาะในส่วนที่เป็นเนื้อหาที่ขัดแย้งหรือไม่สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีที่ได้สั่งการออกมาภายหลัง ทั้งนี้ เพื่อมิให้เกิดความสับสนแก่หน่วยปฏิบัติและเพื่อให้เกิดเอกภาพในการดำเนินการของผู้ที่เกี่ยวข้อง
3. เห็นชอบในการยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีทั้งฉบับ จำนวน 3 มติ เนื่องจากซ้ำซ้อน ไม่สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีที่ได้สั่งการออกมาภายหลัง ทั้งนี้เพื่อมิให้เกิดความสับสนแก่หน่วยปฏิบัติเช่นกัน
4. รับทราบการประมวลข้อมูลเกี่ยวกับผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าภาพในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และประเด็นการสั่งการของคณะรัฐมนตรีจากมติคณะรัฐมนตรีที่ยังคงถือปฏิบัติอยู่ ซึ่งสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้จัดทำขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่คณะรัฐมนตรีสำหรับการติดตามผลการดำเนินการของหน่วยงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีชี้แจงว่า จากกรณีที่ได้เกิดเหตุการณ์ไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (นราธิวาส ปัตตานี และยะลา) มาตั้งแต่ปี 2546 นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีได้มีคำสั่งและมติมอบหมายให้หน่วยงานและผู้ที่เกี่ยวข้องดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวมาโดยลำดับ จนในที่สุดได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2548 และได้มีคำสั่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน และคณะที่ปรึกษา รวมทั้ง แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายและอำนวยการการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากสถานการณ์ดังกล่าวด้วย
ทั้งนี้ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเห็นว่า โดยที่เหตุการณ์ดังกล่าวได้ยืดเยื้อมานาน และแต่ละช่วงเวลาได้มีคำสั่งการของนายกรัฐมนตรีและมติคณะรัฐมนตรีออกมาเพื่อแก้ไขปัญหาหลายครั้ง นอกจากนี้การปรับคณะรัฐมนตรีมีผลกระทบต่อผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นเจ้าภาพในแต่ละเรื่อง จึงได้ประมวลการสั่งการและภารกิจที่มอบหมายเป็นมติคณะรัฐมนตรีในเรื่องดังกล่าวทั้งหมด โดยกลั่นกรองให้เหลือเฉพาะภารกิจสำคัญ โดยอิงผลการประชุมร่วมระหว่างนายกรัฐ-มนตรีกับภาคเอกชน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2548 ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบและให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับประเด็นมติของที่ประชุมไปดำเนินการด้วยเป็นหลัก เนื่องจากเห็นว่ามติดังกล่าวได้มีการจัดกลุ่มภารกิจไว้ชัดเจน ทั้งนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กระทรวง หน่วยงาน และผู้ที่เกี่ยวข้องที่รับมอบหมายให้ไปดำเนินการ และเพื่อให้ ผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นเจ้าภาพในแต่ละเรื่องใช้ในการติดตามผลการดำเนินการด้วย
ในการดำเนินการประมวลการสั่งการและภารกิจที่คณะรัฐมนตรีมีมติมอบหมายให้บุคคลและหน่วยงานไปดำเนินการนั้น พบว่ามีมติคณะรัฐมนตรี 3 กลุ่ม ที่ควรดำเนินการ ดังนี้
1. มติคณะรัฐมนตรีที่เห็นควรคงไว้โดยไม่ต้องปรับปรุง จำนวน 25 มติ เนื่องจากเนื้อหาสาระไม่ขัดแย้งกับกฎหมาย มติคณะรัฐมนตรีและคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ออกมาภายหลัง
2. มติคณะรัฐมนตรีที่เห็นควรคงไว้แต่ต้องปรับปรุงบางส่วน จำนวน 4 มติ เฉพาะในส่วนของเนื้อหาที่ขัดแย้งหรือไม่สอดคล้องกับกฎหมาย มติคณะรัฐมนตรีและคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ออกมาภายหลัง ดังนี้
2.1 มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2546 ที่มอบหมายรองนายกรัฐมนตรี (ศาสตราจารย์ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์) รับผิดชอบแก้ไขปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า เห็นควรปรับปรุงเป็น มอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมซึ่งมีหน้าที่โดยตรงเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ
2.2 มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2547 ที่มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ) รับผิดชอบในการบูรณาการหน่วยงานด้านการข่าวของประเทศ เห็นควรปรับปรุงเป็น มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก ชิดชัย วรรณสถิตย์) เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการในฐานะรองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายให้กำกับดูแลหน่วยงานด้านความมั่นคง
2.3 มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2547 มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายวันมูหะมัดนอร์มะทา) รับผิดชอบร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรมในการเผยแพร่คัมภีร์อัลกุรอานฉบับภาษาไทยและภาษายาวีที่ถูกต้องให้แก่ประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลาม เห็นควรปรับปรุงเป็น มอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ
2.4 มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2548 ที่มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) รับผิดชอบในการจัดระเบียบ Sim Card เห็นควรปรับปรุงเป็น มอบหมายให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีที่สั่งการมาภายหลังเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2548
3. มติคณะรัฐมนตรีที่เห็นควรยกเลิกทั้งฉบับ จำนวน 3 มติ เนื่องจากผู้ที่ได้รับมอบหมายได้พ้นจากตำแหน่งไปแล้วบ้าง เป็นการสั่งการที่ซ้ำซ้อนกับมติคณะรัฐมนตรีที่ออกมาภายหลังบ้าง คือมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2547 เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2547 และเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2548
อนึ่ง สำหรับมติคณะรัฐมนตรีอื่น ๆ ที่มิใช่เป็นการสั่งการ แต่เป็นการอนุมัติแผน/โครงการตามที่หน่วยงานเสนอมาเพื่อขอความเห็นชอบหรือให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติซึ่งมีอีกหลายมตินั้นจะยังมีผลตามเดิม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 กันยายน 2548--จบ--