คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) เป็นประธาน ดังนี้
1. เห็นชอบเรื่องการพิจารณาเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือย่ำยีศักดิ์ศรีตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ ดังนี้
1.1 ให้ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี โดยทำคำแถลงตีความในการเข้าเป็นภาคีในข้อบทที่ 1,4 และ 5 และจัดทำข้อสงวนในข้อบทที่ 30 ของอนุสัญญาฯ
1.2 ให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำภาคยานุวัติสารการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ เพื่อมอบให้เลขาธิการสหประชาชาติต่อไป
1.3 มอบหมายให้กระทรวงยุติธรรม สำนักงานอัยการสูงสุด และกระทรวงการต่างประเทศเป็นหน่วยงานหลักซึ่งรับผิดชอบในการจัดทำรายงานประเทศตามพันธกรณีภายใต้อนุสัญญา
2. ให้กระทรวงยุติธรรมรับความเห็นของคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจในการรณรงค์เพื่อต่อต้านการทรมาน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
ประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ คณะที่ 2 มีดังนี้
1. การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือย่ำยีศักดิ์ศรีตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ จะเป็นการสร้างภาพลักษณ์ของไทยในการส่งเสริมและพิทักษ์สิทธิมนุษยชนให้เด่นชัดยิ่งขึ้น รวมทั้งสอดคล้องกับพันธกรณีของไทยตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนที่ไทยได้ให้การรับรอง
2. คณะกรรมการเพื่อพิจารณาความเหมาะสมในการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ เห็นควรให้ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ ได้โดยไม่ต้องมีการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง แต่ให้มีการทำคำแถลงในลักษณะตีความในเรื่องนั้น ๆ ในการภาคยานุวัติอนุสัญญา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 7 สิงหาคม 2550--จบ--
1. เห็นชอบเรื่องการพิจารณาเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือย่ำยีศักดิ์ศรีตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ ดังนี้
1.1 ให้ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี โดยทำคำแถลงตีความในการเข้าเป็นภาคีในข้อบทที่ 1,4 และ 5 และจัดทำข้อสงวนในข้อบทที่ 30 ของอนุสัญญาฯ
1.2 ให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำภาคยานุวัติสารการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ เพื่อมอบให้เลขาธิการสหประชาชาติต่อไป
1.3 มอบหมายให้กระทรวงยุติธรรม สำนักงานอัยการสูงสุด และกระทรวงการต่างประเทศเป็นหน่วยงานหลักซึ่งรับผิดชอบในการจัดทำรายงานประเทศตามพันธกรณีภายใต้อนุสัญญา
2. ให้กระทรวงยุติธรรมรับความเห็นของคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจในการรณรงค์เพื่อต่อต้านการทรมาน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
ประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ คณะที่ 2 มีดังนี้
1. การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือย่ำยีศักดิ์ศรีตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ จะเป็นการสร้างภาพลักษณ์ของไทยในการส่งเสริมและพิทักษ์สิทธิมนุษยชนให้เด่นชัดยิ่งขึ้น รวมทั้งสอดคล้องกับพันธกรณีของไทยตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนที่ไทยได้ให้การรับรอง
2. คณะกรรมการเพื่อพิจารณาความเหมาะสมในการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ เห็นควรให้ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ ได้โดยไม่ต้องมีการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง แต่ให้มีการทำคำแถลงในลักษณะตีความในเรื่องนั้น ๆ ในการภาคยานุวัติอนุสัญญา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 7 สิงหาคม 2550--จบ--