คณะรัฐมนตรีรับทราบกรณีที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยสามัญ (United Nations General Assembly — UNGA) สมัยที่ 61 ได้รับรองร่างข้อมติและร่างอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิของคนพิการแล้ว ซึ่งจะเปิดให้มีการลงนามวันแรกในวันที่ 30 มีนาคม 2550 และอนุมัติการลงนามอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิของคนพิการในวันที่ 30 มีนาคม 2550 ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยผู้แทนรัฐบาลที่ได้รับมอบอำนาจจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
กระทรวงการต่างประเทศรายงานว่า
1. ที่ประชุม UNGA สมัยที่ 61 ได้รับรองรายงานสุดท้ายของคณะกรรมการเฉพาะกิจ เพื่อรวบรวมและศึกษาแนวคิด เอกสาร ตลอดจนข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องประกอบการพิจารณายกร่างอนุสัญญาที่ครอบคลุมการคุ้มครองสิทธิและศักดิ์ศรีของคนพิการ (Ad Hoc Committee on a Comprehensive and Integral International Convention on the Protection and Promotion of the Rights of Persons with Disabilities — AHC) พร้อมเอกสารผนวก (1) (2) และ (3) โดยไม่มีการลงคะแนนเสียง ซึ่งไทยได้ร่วมสนับสนุนฉันทามติ ตลอดจนร่วมอุปถัมภ์ร่างข้อมติรับรองอนุสัญญาฯ ด้วย ข้อมติฯ กำหนดให้มีการลงนามอนุสัญญาฯ และพิธีสารเลือกรับฯ ได้ตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม 2550 เป็นต้นไป ที่สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก โดยอนุสัญญาฯ จะมีผลใช้บังคับในวันที่ 30 นับจากวัน ที่ได้รับสัตยาบันสารหรือภาคยานุวัตรสารครบ 20 ประเทศ ในส่วนของพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาฯ จะมีผลใช้บังคับในวันที่ 30 นับจากวันที่ได้รับสัตยาบันสารหรือภาคยานุวัตรสาร ครบ 10 ประเทศ และภายหลังอนุสัญญา ฯ มีผลใช้บังคับแล้ว
2. พันธกรณีภายใต้อนุสัญญาฯ
2.1 รัฐภาคีมีพันธกรณีที่จะต้องขจัดการเลือกประติบัติต่อคนพิการในทุกรูปแบบ ทั้งด้านกฎหมาย การปกครอง และการปฏิบัติต่าง ๆ
2.2 รัฐภาคีจะต้องกำหนดผู้ประสานงาน (focal points) และกลไกประสานงานในรัฐบาล เพื่อเป็นกลไกหลักในการผลัดกันและตรวจสอบการอนุวัติอนุสัญญาฯ โดยจะต้องเปิดโอกสให้ภาคประชาสังคมเข้ามีส่วนร่วมในกระบวนการอย่างเต็มที่ และรัฐภาคีมีพันธกรณีที่จะต้องเผยแพร่อนุสัญญาฯ ให้ประชาชนทั่วไปทราบอย่างทั่วถึง รวมถึงการเผยแพร่ในรูปแบบที่คนพิการด้านต่าง ๆ สามารถเข้าถึงได้
2.3 พิธีสารเลือกรับฯ มีสาระสำคัญ คือ การอนุญาตให้คณะกรรมการประจำอนุสัญญา ฯ สามารถรับข้อร้องเรียนจากปัจเจกบุคคลหรือกลุ่มบุคคลซึ่งอ้างว่ารัฐภาคีซึ่งตนอยู่ภายใต้เขตอำนาจได้ละเมิดพันธกรณีตามข้อบทภายใต้อนุสัญญาฯ อย่างไรก็ดี ประเทศที่จะเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับฯ ได้นั้นจะต้องเป็นภาคีอนุสัญญาฯ ก่อน นอกจากนั้น คณะกรรมการ ฯ ไม่สามารถรับข้อร้องเรียนจากปัจเจกบุคคลหรือกลุ่มบุคคลซึ่งร้องเรียนในกรณีของรัฐที่ไม่ได้เป็นภาคีอนุสัญญาฯ และพิธีสารเลือกรับฯ
3. คณะผู้แทนไทยได้มีบทบาทนำและสำคัญในการเจรจายกร่างอนุสัญญาฯ ในกรอบคณะกรรมการเฉพาะกิจฯ มาโดยตลอด โดยประเทศไทยได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งใน 27 ประเทศในคณะทำงานเพื่อยกร่างเอกสารพื้นฐานในการเจรจาร่างอนุสัญญา ฯ นอกจากนี้ความก้าวหน้าในการดำเนินการภายในประเทศและบทบาทนำในระดับภูมิภาคของไทยได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ โดยเฉพาะ (1) การที่ไทยมีบทบาทนำในการประชุม Regional Workshop towards a Comprehensive International Convention on Protection and Promotion of Rights and Dignity of Persons with Disabilities ซึ่งจัดขึ้นที่สำนักงานคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียแปซิฟิก (Economic and Social Commission for Asia Pacific-ESCAP) กรุงเทพฯ โดยประเด็นสำคัญส่วนใหญ่ที่ระบุในอนุสัญญาฯ มาจากเอกสาร Bangkok Draft ซึ่งเป็นผลของการประชุมดังกล่าว และ (2) การที่ไทยเป็นที่ตั้งของศูนย์พัฒนาเพื่อคนพิการแห่งเอเชียแปซิฟิก (Asia Pacific Center for Disabillity-APCD) ซึ่งดำเนินการภายใต้ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่น และได้รับรองสถานะจาก ESCAP
4. กระทรวงการต่างประเทศ พิจารณาแล้วเห็นว่า อนุสัญญาฯ เป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิและศักดิ์ศรีของคนพิการทั่วโลก รวมทั้งเป็นการยืนยันความสำคัญที่ไทยให้กับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้ อนุสัญญาฯ มิได้กำหนดสิทธิใหม่ที่มากไปกว่าอนุสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ไทยเข้าเป็นภาคีแล้ว การลงนามในอนุสัญญา ฯ ยังจะช่วยเสริมสร้างบทบาทนำของไทยในภูมิภาคในฐานะที่ตั้งศูนย์ APCD ซึ่งมีแนวโน้มที่จะพัฒนาไปสู่การเป็นองค์กรมหาชน (public organization) อีกด้วย สำหรับพิธีสารเลือกรับ ฯ ซึ่งเป็นเรื่องการยอมรับอำนาจของคณะกรรมการประจำอนุสัญญาฯ ที่จะรับและพิจารณาข้อร้องเรียนจากปัจเจกหรือกลุ่มบุคคลนั้น อาจพิจารณาความเหมาะสมเกี่ยวกับการลงนามภายหลังจากที่ไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ แล้ว และโดยที่ขั้นตอนการให้สัตยาบันอนุสัญญาฯ ดังกล่าวจำเป็นต้องใช้เวลา ไทยจึงควรลงนามอนุสัญญาฯ ในวันที่ 30 มีนาคม 2550 ซึ่งเป็นวันแรกที่เปิดให้มีการลงนามโดยผู้แทนรัฐบาลที่ได้รับมอบอำนาจจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แล้วจึงให้สัตยาบันต่อไปในภายหลังเมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการที่จำเป็นภายในประเทศแล้ว ทั้งนี้ ตามกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ การลงนามอนุสัญญาฯ โดยยังไม่ให้สัตยาบันนั้นมิได้มีผลผูกพันกับไทยในฐานะรัฐภาคี เพียงแต่กำหนดให้รัฐที่ทำการลงนามความตกลงระหว่างประเทศ โดยยังมิได้ให้สัตยาบันความตกลงระหว่างประเทศนั้น ๆ จะต้องละเว้นจากการกระทำที่จะขัดต่อ วัตถุประสงค์และจุดมุ่งหมายของความตกลงฯ ฉบับนั้น
ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศได้มีหนังสือถึงกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบหลักในเรื่องคนพิการ เพื่อแจ้งความคืบหน้าเกี่ยวกับการรับรองอนุสัญญาฯ และพิธีสารเลือกรับฯ รวมทั้งเพื่อเสนอให้จัดประชุมส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาการดำเนินการของไทยในเรื่องนี้ต่อไปด้วยแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--
กระทรวงการต่างประเทศรายงานว่า
1. ที่ประชุม UNGA สมัยที่ 61 ได้รับรองรายงานสุดท้ายของคณะกรรมการเฉพาะกิจ เพื่อรวบรวมและศึกษาแนวคิด เอกสาร ตลอดจนข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องประกอบการพิจารณายกร่างอนุสัญญาที่ครอบคลุมการคุ้มครองสิทธิและศักดิ์ศรีของคนพิการ (Ad Hoc Committee on a Comprehensive and Integral International Convention on the Protection and Promotion of the Rights of Persons with Disabilities — AHC) พร้อมเอกสารผนวก (1) (2) และ (3) โดยไม่มีการลงคะแนนเสียง ซึ่งไทยได้ร่วมสนับสนุนฉันทามติ ตลอดจนร่วมอุปถัมภ์ร่างข้อมติรับรองอนุสัญญาฯ ด้วย ข้อมติฯ กำหนดให้มีการลงนามอนุสัญญาฯ และพิธีสารเลือกรับฯ ได้ตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม 2550 เป็นต้นไป ที่สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก โดยอนุสัญญาฯ จะมีผลใช้บังคับในวันที่ 30 นับจากวัน ที่ได้รับสัตยาบันสารหรือภาคยานุวัตรสารครบ 20 ประเทศ ในส่วนของพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาฯ จะมีผลใช้บังคับในวันที่ 30 นับจากวันที่ได้รับสัตยาบันสารหรือภาคยานุวัตรสาร ครบ 10 ประเทศ และภายหลังอนุสัญญา ฯ มีผลใช้บังคับแล้ว
2. พันธกรณีภายใต้อนุสัญญาฯ
2.1 รัฐภาคีมีพันธกรณีที่จะต้องขจัดการเลือกประติบัติต่อคนพิการในทุกรูปแบบ ทั้งด้านกฎหมาย การปกครอง และการปฏิบัติต่าง ๆ
2.2 รัฐภาคีจะต้องกำหนดผู้ประสานงาน (focal points) และกลไกประสานงานในรัฐบาล เพื่อเป็นกลไกหลักในการผลัดกันและตรวจสอบการอนุวัติอนุสัญญาฯ โดยจะต้องเปิดโอกสให้ภาคประชาสังคมเข้ามีส่วนร่วมในกระบวนการอย่างเต็มที่ และรัฐภาคีมีพันธกรณีที่จะต้องเผยแพร่อนุสัญญาฯ ให้ประชาชนทั่วไปทราบอย่างทั่วถึง รวมถึงการเผยแพร่ในรูปแบบที่คนพิการด้านต่าง ๆ สามารถเข้าถึงได้
2.3 พิธีสารเลือกรับฯ มีสาระสำคัญ คือ การอนุญาตให้คณะกรรมการประจำอนุสัญญา ฯ สามารถรับข้อร้องเรียนจากปัจเจกบุคคลหรือกลุ่มบุคคลซึ่งอ้างว่ารัฐภาคีซึ่งตนอยู่ภายใต้เขตอำนาจได้ละเมิดพันธกรณีตามข้อบทภายใต้อนุสัญญาฯ อย่างไรก็ดี ประเทศที่จะเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับฯ ได้นั้นจะต้องเป็นภาคีอนุสัญญาฯ ก่อน นอกจากนั้น คณะกรรมการ ฯ ไม่สามารถรับข้อร้องเรียนจากปัจเจกบุคคลหรือกลุ่มบุคคลซึ่งร้องเรียนในกรณีของรัฐที่ไม่ได้เป็นภาคีอนุสัญญาฯ และพิธีสารเลือกรับฯ
3. คณะผู้แทนไทยได้มีบทบาทนำและสำคัญในการเจรจายกร่างอนุสัญญาฯ ในกรอบคณะกรรมการเฉพาะกิจฯ มาโดยตลอด โดยประเทศไทยได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งใน 27 ประเทศในคณะทำงานเพื่อยกร่างเอกสารพื้นฐานในการเจรจาร่างอนุสัญญา ฯ นอกจากนี้ความก้าวหน้าในการดำเนินการภายในประเทศและบทบาทนำในระดับภูมิภาคของไทยได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ โดยเฉพาะ (1) การที่ไทยมีบทบาทนำในการประชุม Regional Workshop towards a Comprehensive International Convention on Protection and Promotion of Rights and Dignity of Persons with Disabilities ซึ่งจัดขึ้นที่สำนักงานคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียแปซิฟิก (Economic and Social Commission for Asia Pacific-ESCAP) กรุงเทพฯ โดยประเด็นสำคัญส่วนใหญ่ที่ระบุในอนุสัญญาฯ มาจากเอกสาร Bangkok Draft ซึ่งเป็นผลของการประชุมดังกล่าว และ (2) การที่ไทยเป็นที่ตั้งของศูนย์พัฒนาเพื่อคนพิการแห่งเอเชียแปซิฟิก (Asia Pacific Center for Disabillity-APCD) ซึ่งดำเนินการภายใต้ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่น และได้รับรองสถานะจาก ESCAP
4. กระทรวงการต่างประเทศ พิจารณาแล้วเห็นว่า อนุสัญญาฯ เป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิและศักดิ์ศรีของคนพิการทั่วโลก รวมทั้งเป็นการยืนยันความสำคัญที่ไทยให้กับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้ อนุสัญญาฯ มิได้กำหนดสิทธิใหม่ที่มากไปกว่าอนุสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ไทยเข้าเป็นภาคีแล้ว การลงนามในอนุสัญญา ฯ ยังจะช่วยเสริมสร้างบทบาทนำของไทยในภูมิภาคในฐานะที่ตั้งศูนย์ APCD ซึ่งมีแนวโน้มที่จะพัฒนาไปสู่การเป็นองค์กรมหาชน (public organization) อีกด้วย สำหรับพิธีสารเลือกรับ ฯ ซึ่งเป็นเรื่องการยอมรับอำนาจของคณะกรรมการประจำอนุสัญญาฯ ที่จะรับและพิจารณาข้อร้องเรียนจากปัจเจกหรือกลุ่มบุคคลนั้น อาจพิจารณาความเหมาะสมเกี่ยวกับการลงนามภายหลังจากที่ไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ แล้ว และโดยที่ขั้นตอนการให้สัตยาบันอนุสัญญาฯ ดังกล่าวจำเป็นต้องใช้เวลา ไทยจึงควรลงนามอนุสัญญาฯ ในวันที่ 30 มีนาคม 2550 ซึ่งเป็นวันแรกที่เปิดให้มีการลงนามโดยผู้แทนรัฐบาลที่ได้รับมอบอำนาจจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แล้วจึงให้สัตยาบันต่อไปในภายหลังเมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการที่จำเป็นภายในประเทศแล้ว ทั้งนี้ ตามกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ การลงนามอนุสัญญาฯ โดยยังไม่ให้สัตยาบันนั้นมิได้มีผลผูกพันกับไทยในฐานะรัฐภาคี เพียงแต่กำหนดให้รัฐที่ทำการลงนามความตกลงระหว่างประเทศ โดยยังมิได้ให้สัตยาบันความตกลงระหว่างประเทศนั้น ๆ จะต้องละเว้นจากการกระทำที่จะขัดต่อ วัตถุประสงค์และจุดมุ่งหมายของความตกลงฯ ฉบับนั้น
ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศได้มีหนังสือถึงกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบหลักในเรื่องคนพิการ เพื่อแจ้งความคืบหน้าเกี่ยวกับการรับรองอนุสัญญาฯ และพิธีสารเลือกรับฯ รวมทั้งเพื่อเสนอให้จัดประชุมส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาการดำเนินการของไทยในเรื่องนี้ต่อไปด้วยแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--