แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
ร่างพระราชบัญญัติ
กระทรวงศึกษาธิการ
นายกรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) เป็นประธานกรรมการ ที่อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 และข้อสังเกตของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนนำเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป ทั้งนี้ ให้กระทรวงศึกษาธิการรับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ที่ว่าควรมีการวางแผนการดำเนินงานเพื่อรองรับเมื่อร่างพระราชบัญญัติฯ นี้ มีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายแล้ว ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
กระทรวงศึกษาธิการรายงานว่า
1. เดิมการจัดการอาชีวศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพ ได้ดำเนินการจัดการศึกษาโดยกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ โดยจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ประกาศนียบัตรเทคนิคชั้นสูง หลักสูตรระยะสั้นและหลักสูตรพิเศษอื่น ๆ ในสถานศึกษาสังกัดกรมอาชีวศึกษา ต่อมาเมื่อมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 อำนาจหน้าที่ของกรมอาชีวศึกษาเดิม ได้โอนมาเป็นของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา แต่โดยที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 16 ได้แบ่งการจัดการศึกษาออกเป็นสองระดับคือ การศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาระดับ อุดมศึกษา และได้แบ่งการศึกษาระดับอุดมศึกษาออกเป็น ระดับปริญญาและรับต่ำกว่าปริญญา แต่การอาชีวศึกษามี การจัดการศึกษาทั้งการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาระดับอุดมศึกษา และยังมีการจัดการศึกษาหลักสูตรระยะสั้นและหลักสูตรพิเศษอื่น ๆ อีก
2. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมมีหลักการให้จัดระบบการศึกษา โดยให้มีการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา การจัดการอาชีวศึกษาจึงมีความจำเป็นต้องมีการกระจายอำนาจ แต่การจัดการอาชีวศึกษาของสถานศึกษา ไม่อยู่ในความดูแลของเขตพื้นที่การศึกษาตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 ประกอบกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 20 บัญญัติว่าการจัดการอาชีวศึกษา การฝึกอบรมวิชาชีพ ให้จัดในสถานศึกษาของรัฐ สถานศึกษาของเอกชน สถานประกอบการ หรือโดยความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับสถานประกอบการ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการอาชีวศึกษาและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น การจัดการอาชีวศึกษาจึงยังไม่มีหน่วยงานอื่นที่มีฐานะเหนือกว่าสถานศึกษาเพื่อรองรับการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา
3. การจัดการอาชีวศึกษาในปัจจุบันได้จัดการเรียนเพื่อมุ่งผลิตและพัฒนากำลังคนระดับกึ่งฝีมือ ระดับฝีมือ ระดับเทคนิค ผู้ที่สำเร็จการศึกษาด้านอาชีวศึกษา หากไม่เข้าสู่ตลาดแรงงานจะไปศึกษาต่อระดับปริญญาซึ่งเป็นสายวิชาการ เป็นเหตุให้ประเทศขาดผู้สำเร็จการศึกษาระดับเทคโนโลยีที่มีคุณภาพ เกิดความสูญเสียในการลงทุนด้านการจัดการศึกษา ดังนั้น เพื่อเป็นการยกระดับการศึกษาวิชาชีพให้สูงขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและการประกอบวิชาชีพอิสระเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและความสามารถในการแข่งขันของประเทศ จึงควรมีการจัดการอาชีวศึกษาในระดับปริญญาที่มุ่งเน้นด้านการปฏิบัติการโดยเฉพาะ
4. จึงได้นำร่างพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. ....มาพิจารณาแก้ไขปรับปรุงเฉพาะบางประเด็นให้มีความสมบูรณ์ และชัดเจนในการบังคับใช้กฎหมายยิ่งขึ้น จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
ร่างพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการให้มีกฎหมายว่าด้วยการอาชีวศึกษา ดังนี้
1. กำหนดให้มีสถาบันพัฒนาคุณวุฒิวิชาชีพ โดยการจัดตั้งและอำนาจหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยองค์การมหาชน (ร่างมาตรา 11)
2. กำหนดให้มี “คณะกรรมการการอาชีวศึกษา” (กอศ.) และกำหนดอำนาจหน้าที่ (ร่างมาตรา 13 และร่างมาตรา 14)
3. กำหนดให้การจัดการอาชีวศึกษาในสถานศึกษาอาชีวศึกษาของรัฐ ให้ดำเนินการโดยรวมกลุ่มสถานศึกษาอาชีวศึกษาของรัฐในรูปแบบของสถาบันการอาชีวศึกษา การจัดตั้ง การรวมกลุ่มและการยุบเลิกสถานศึกษาอาชีวศึกษาเพื่อจัดตั้งเป็นสถาบันการอาชีวศึกษาตามวรรคหนึ่ง ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ทั้งนี้ โดยตราเป็นประกาศกระทรวงศึกษาธิการ (ร่างมาตรา 18)
4. กำหนดให้จัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษาขึ้นใหม่ได้เมื่อมีความเหมาะสม โดยตราเป็นประกาศกระทรวงศึกษาธิการ (ร่างมาตรา 19)
5. กำหนดให้สถานศึกษาที่เป็นส่วนหนึ่งของสถาบันการอาชีวศึกษาที่มีความพร้อมและเหมาะสม อาจจัดตั้งขึ้นเป็นสถาบันการอาชีวศึกษาแห่งใหม่ได้โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ และตราเป็นประกาศกระทรวงศึกษาธิการ (ร่างมาตรา 20)
6.กำหนดให้สถาบันการอาชีวศึกษามีฐานะเป็นนิติบุคคลสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (ร่างมาตรา 21)
7. กำหนดให้การแบ่งส่วนราชการของสถาบันการอาชีวศึกษาให้ตราเป็นประกาศกระทรวงศึกษาธิการ (ร่างมาตรา 24)
8. กำหนดที่มาของรายได้ของสถาบันการอาชีวศึกษา (ร่างมาตรา 26)
9. กำหนดให้อสังหาริมทรัพย์ที่สถาบันการอาชีวศึกษาได้มาตกเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบัน (ร่างมาตรา 27)
10. กำหนดให้สถานศึกษาอาชีวศึกษาที่ดำเนินการโดยเอกชน ต้องจัดการศึกษาให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และมาตรฐานการศึกษาอาชีวศึกษาที่คณะกรรมการฯ เป็นผู้กำหนด (ร่างมาตรา 48)
11. กำหนดให้รัฐต้องสนับสนุนให้มีความร่วมมือในการจัดการอาชีวศึกษา และฝึกอบรมวิชาชีพระหว่างหน่วยงานของรัฐ เอกชน สถานประกอบการ และสถาบันทางสังคมอื่น (ร่างมาตรา 50)
12. กำหนดให้สถานประกอบการที่ประสงค์จะดำเนินการจัดการอาชีวศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพยื่นคำขอจดทะเบียน (ร่างมาตรา 55)
13. กำหนดให้รายได้และทรัพย์สินที่เกิดจากการดำเนินของสถานประกอบการให้เป็นรายได้ของสถาบันการอาชีวศึกษาแห่งนั้น (ร่างมาตรา 56)
14. กำหนดให้รัฐจัดสิทธิประโยชน์ให้แก่สถานประกอบการ สมาคมวิชาชีพ องค์กรและสถาบันทางสังคมอื่น (ร่างมาตรา 57)
15. กำหนดให้มีกองทุนเพื่อพัฒนาการอาชีวศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพ (ร่างมาตรา 61)
16. กำหนดเกี่ยวกับการเก็บรักษาและการจ่ายเงินกองทุน ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด (ร่างมาตรา 62)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 15 พฤษภาคม 2550--จบ--
กระทรวงศึกษาธิการรายงานว่า
1. เดิมการจัดการอาชีวศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพ ได้ดำเนินการจัดการศึกษาโดยกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ โดยจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ประกาศนียบัตรเทคนิคชั้นสูง หลักสูตรระยะสั้นและหลักสูตรพิเศษอื่น ๆ ในสถานศึกษาสังกัดกรมอาชีวศึกษา ต่อมาเมื่อมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 อำนาจหน้าที่ของกรมอาชีวศึกษาเดิม ได้โอนมาเป็นของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา แต่โดยที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 16 ได้แบ่งการจัดการศึกษาออกเป็นสองระดับคือ การศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาระดับ อุดมศึกษา และได้แบ่งการศึกษาระดับอุดมศึกษาออกเป็น ระดับปริญญาและรับต่ำกว่าปริญญา แต่การอาชีวศึกษามี การจัดการศึกษาทั้งการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาระดับอุดมศึกษา และยังมีการจัดการศึกษาหลักสูตรระยะสั้นและหลักสูตรพิเศษอื่น ๆ อีก
2. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมมีหลักการให้จัดระบบการศึกษา โดยให้มีการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา การจัดการอาชีวศึกษาจึงมีความจำเป็นต้องมีการกระจายอำนาจ แต่การจัดการอาชีวศึกษาของสถานศึกษา ไม่อยู่ในความดูแลของเขตพื้นที่การศึกษาตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 ประกอบกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 20 บัญญัติว่าการจัดการอาชีวศึกษา การฝึกอบรมวิชาชีพ ให้จัดในสถานศึกษาของรัฐ สถานศึกษาของเอกชน สถานประกอบการ หรือโดยความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับสถานประกอบการ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการอาชีวศึกษาและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น การจัดการอาชีวศึกษาจึงยังไม่มีหน่วยงานอื่นที่มีฐานะเหนือกว่าสถานศึกษาเพื่อรองรับการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา
3. การจัดการอาชีวศึกษาในปัจจุบันได้จัดการเรียนเพื่อมุ่งผลิตและพัฒนากำลังคนระดับกึ่งฝีมือ ระดับฝีมือ ระดับเทคนิค ผู้ที่สำเร็จการศึกษาด้านอาชีวศึกษา หากไม่เข้าสู่ตลาดแรงงานจะไปศึกษาต่อระดับปริญญาซึ่งเป็นสายวิชาการ เป็นเหตุให้ประเทศขาดผู้สำเร็จการศึกษาระดับเทคโนโลยีที่มีคุณภาพ เกิดความสูญเสียในการลงทุนด้านการจัดการศึกษา ดังนั้น เพื่อเป็นการยกระดับการศึกษาวิชาชีพให้สูงขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและการประกอบวิชาชีพอิสระเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและความสามารถในการแข่งขันของประเทศ จึงควรมีการจัดการอาชีวศึกษาในระดับปริญญาที่มุ่งเน้นด้านการปฏิบัติการโดยเฉพาะ
4. จึงได้นำร่างพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. ....มาพิจารณาแก้ไขปรับปรุงเฉพาะบางประเด็นให้มีความสมบูรณ์ และชัดเจนในการบังคับใช้กฎหมายยิ่งขึ้น จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
ร่างพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการให้มีกฎหมายว่าด้วยการอาชีวศึกษา ดังนี้
1. กำหนดให้มีสถาบันพัฒนาคุณวุฒิวิชาชีพ โดยการจัดตั้งและอำนาจหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยองค์การมหาชน (ร่างมาตรา 11)
2. กำหนดให้มี “คณะกรรมการการอาชีวศึกษา” (กอศ.) และกำหนดอำนาจหน้าที่ (ร่างมาตรา 13 และร่างมาตรา 14)
3. กำหนดให้การจัดการอาชีวศึกษาในสถานศึกษาอาชีวศึกษาของรัฐ ให้ดำเนินการโดยรวมกลุ่มสถานศึกษาอาชีวศึกษาของรัฐในรูปแบบของสถาบันการอาชีวศึกษา การจัดตั้ง การรวมกลุ่มและการยุบเลิกสถานศึกษาอาชีวศึกษาเพื่อจัดตั้งเป็นสถาบันการอาชีวศึกษาตามวรรคหนึ่ง ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ทั้งนี้ โดยตราเป็นประกาศกระทรวงศึกษาธิการ (ร่างมาตรา 18)
4. กำหนดให้จัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษาขึ้นใหม่ได้เมื่อมีความเหมาะสม โดยตราเป็นประกาศกระทรวงศึกษาธิการ (ร่างมาตรา 19)
5. กำหนดให้สถานศึกษาที่เป็นส่วนหนึ่งของสถาบันการอาชีวศึกษาที่มีความพร้อมและเหมาะสม อาจจัดตั้งขึ้นเป็นสถาบันการอาชีวศึกษาแห่งใหม่ได้โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ และตราเป็นประกาศกระทรวงศึกษาธิการ (ร่างมาตรา 20)
6.กำหนดให้สถาบันการอาชีวศึกษามีฐานะเป็นนิติบุคคลสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (ร่างมาตรา 21)
7. กำหนดให้การแบ่งส่วนราชการของสถาบันการอาชีวศึกษาให้ตราเป็นประกาศกระทรวงศึกษาธิการ (ร่างมาตรา 24)
8. กำหนดที่มาของรายได้ของสถาบันการอาชีวศึกษา (ร่างมาตรา 26)
9. กำหนดให้อสังหาริมทรัพย์ที่สถาบันการอาชีวศึกษาได้มาตกเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบัน (ร่างมาตรา 27)
10. กำหนดให้สถานศึกษาอาชีวศึกษาที่ดำเนินการโดยเอกชน ต้องจัดการศึกษาให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และมาตรฐานการศึกษาอาชีวศึกษาที่คณะกรรมการฯ เป็นผู้กำหนด (ร่างมาตรา 48)
11. กำหนดให้รัฐต้องสนับสนุนให้มีความร่วมมือในการจัดการอาชีวศึกษา และฝึกอบรมวิชาชีพระหว่างหน่วยงานของรัฐ เอกชน สถานประกอบการ และสถาบันทางสังคมอื่น (ร่างมาตรา 50)
12. กำหนดให้สถานประกอบการที่ประสงค์จะดำเนินการจัดการอาชีวศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพยื่นคำขอจดทะเบียน (ร่างมาตรา 55)
13. กำหนดให้รายได้และทรัพย์สินที่เกิดจากการดำเนินของสถานประกอบการให้เป็นรายได้ของสถาบันการอาชีวศึกษาแห่งนั้น (ร่างมาตรา 56)
14. กำหนดให้รัฐจัดสิทธิประโยชน์ให้แก่สถานประกอบการ สมาคมวิชาชีพ องค์กรและสถาบันทางสังคมอื่น (ร่างมาตรา 57)
15. กำหนดให้มีกองทุนเพื่อพัฒนาการอาชีวศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพ (ร่างมาตรา 61)
16. กำหนดเกี่ยวกับการเก็บรักษาและการจ่ายเงินกองทุน ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด (ร่างมาตรา 62)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 15 พฤษภาคม 2550--จบ--