คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รายงานสถานการณ์ไฟป่าและแนวทาง การดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหามลพิษหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือ ระหว่างวันที่ 13 — 17 มีนาคม 2550 ดังนี้
1. สถานการณ์ไฟป่าและมลพิษหมอกควัน
1.1 สถานการณ์ไฟป่าในภาพรวมทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2549 ถึงวันที่ 17 มีนาคม 2550 ปฏิบัติงานดับไฟป่า จำนวน 5,609 ครั้ง พื้นที่ถูกไฟไหม้ 87,290.3 ไร่ โดยท้องที่ภาคเหนือ มีสถิติไฟไหม้มากที่สุด จำนวน 3,273 ครั้ง พื้นที่ถูกไฟไหม้ 36,626.8 ไร่ และจากการตรวจติดตาม Hotspot (จุดที่คาดว่าจะเกิดไฟ) จากดาวเทียม Terra และ Aqua ด้วยระบบ MODIS พบว่า ตั้งแต่วันที่ 4 - 9 มีนาคม 2550 เกิด Hotspot จำนวนมาก ในพื้นที่ประเทศไทย พม่า ลาว โดยมีแนวโน้มการเพิ่มสูงขึ้นของจำนวน Hotspot ในภูมิภาคอินโดจีนและประเทศพม่า โดยในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2550 จนถึงปัจจุบัน โดยพบค่าสูงสุดในวันที่ 6 มีนาคม 2550 รวม 1,668 จุด วันที่ 4 และ 8 มีนาคม 2550 รวม 1,477 จุด และ 1,112 จุด ตามลำดับ และจากการตรวจติดตาม Hotspot อย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่ 17 มีนาคม 2550 พบว่า Hotspot มีจำนวนเหลือเพียง 217 จุด สำหรับพื้นที่ภาคเหนือ จำนวน Hotspot มากที่สุดในวันที่ 6 มีนาคม 2550 จำนวน 944 จุด และในวันที่ 17 มีนาคม 2550 เหลือเพียง 59 จุด ในทางปฏิบัติเมื่อตรวจพบ Hotspot จะสั่งการให้หน่วยงานในพื้นที่เข้าดำเนินการตรวจสอบ หากเป็นพื้นที่ที่เกิดไฟไหม้จะต้องเร่งดำเนินการควบคุมโดยทันที เพื่อป้องกันมิให้เกิดเป็นไฟใหญ่ขึ้น
1.2 สถานการณ์ไฟป่าในจังหวัดภาคเหนือ ตั้งแต่วันที่ 13-17 มีนาคม 2550 ปฏิบัติการดับไฟป่า จำนวน 392 ครั้ง พื้นที่ถูกไฟไหม้ 4,592.6 ไร่ โดยจังหวัดที่มีพื้นที่ถูกไฟไหม้มากที่สุด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ 1,437 ไร่ รองลงมาได้แก่ จังหวัดอุทัยธานีและแม่ฮ่องสอน พื้นที่ถูกไฟไหม้ 980 และ 653 ไร่ ตามลำดับ และจากการตรวจติดตามสถานการณ์ไฟป่าอย่างใกล้ชิด ในวันที่ 17-18 มีนาคม 2550 ในท้องที่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีการบินสำรวจสภาพป่าเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2550 พบไฟไหม้ 26 จุด ได้ดำเนินการดับไฟเรียบร้อย และเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2550 บินตรวจสอบอีกครั้งพบไฟไหม้ 18 จุด ได้ส่งพนักงานดับไฟป่าเข้าไปทำการควบคุมแล้ว ท้องที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีไฟไหม้ 14 จุด ดับหมดแล้วทั้ง 14 จุด สำหรับจังหวัดเชียงราย มีไฟไหม้ 7 จุด ดับแล้วทั้ง 7 จุด และในท้องที่จังหวัดอุทัยธานี มีไฟไหม้ 5 จุด ดับแล้ว 4 จุด คงเหลือ 1 จุด และคาดว่าจะดับได้ในวันที่ 19 มีนาคม 2550
1.3 จากการบินสำรวจทางอากาศในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดจังหวัดเชียงราย และจังหวัดตาก พบว่ายังมีพื้นที่ทำกินของประชาชน เตรียมทำการเผาวัชพืชและเศษซากพืชที่เหลือ เพื่อเตรียมพื้นที่สำหรับการปลูกพืชทางการเกษตรอีกเป็นจำนวนมาก
1.4 สถานการณ์มลพิษหมอกควัน ช่วงระหว่างวันที่ 13-17 มีนาคม 2550 ในภาพรวมปริมาณฝุ่นขนาดเล็กลดลงในช่วงวันที่ 14-16 มีนาคม 2550 และเพิ่มขึ้นในวันที่ 17 มีนาคม 2550 โดยส่วนใหญ่ยังคงมีฝุ่นขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM10) เฉลี่ย 24 ชั่วโมง (ณ เวลา 00.00 น.) อยู่ในระดับเกินเกณฑ์มาตรฐาน (มาตรฐานฝุ่นขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM10) เฉลี่ย 24 ชั่วโมง ไม่เกิน 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) จังหวัดเชียงใหม่ ตรวจพบปริมาณฝุ่นขนาดเล็กเฉลี่ย 24 ชั่วโมงสูงสุด ในวันที่ 13 มีนาคม 2550 มีค่าเท่ากับ 396 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ณ สถานีโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย โดยข้อมูลล่าสุดในวันที่ 17 มีนาคม 2550 ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง มีค่าเท่ากับ 197 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ณ สถานีตรวจวัดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดลำปาง มีแนวโน้มลดลงและอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานในวันที่ 16 มีนาคม 2550 มีค่าเท่ากับ 112 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ณ สถานีตรวจวัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง และกลับเพิ่มสูงขึ้นในวันที่ 17 มีนาคม 2550 ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง เท่ากับ 131 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ที่สถานีเดียวกัน จังหวัดเชียงรายและแม่ฮ่องสอน ยังคงอยู่ในระดับเกินเกณฑ์มาตรฐาน ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงสูงสุด ณ จังหวัดเชียงราย ตรวจพบในวันที่ 15 มีนาคม 2550 มีค่าเท่ากับ 207 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตรวจพบในวันที่ 17 มีนาคม 2550 มีค่าเท่ากับ 259 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
2. แนวทางแก้ไขปัญหาไฟป่าและมลพิษหมอกควัน
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหามลพิษหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือ โดยมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้
2.1 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช มีกำลังพนักงานดับไฟป่าในท้องที่ภาคเหนือตามแผนปกติ รวม 2,668 คน และได้ส่งกำลังไปสนับสนุนเพิ่มเติม จำนวน 580 คน ดังนี้
1) ชุดปฏิบัติการพิเศษดับไฟป่า (หน่วยเสือไฟ) จำนวน 135 คน
2) กำลังพนักงานดับไฟป่าจากสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 7-10 จำนวน 445 คน โดยสรุป ขณะนี้มีกำลังพนักงานดับไฟป่าในท้องที่ภาคเหนือ จำนวน 3,248 คน และยังมีกำลังจากส่วนป้องกันและปราบปรามที่ 3 (ภาคเหนือ) สำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า จำนวน 300 คน สนับสนุนการตรวจลาดตระเวนและจับกุมผู้ลักลอบจุดไฟเผาป่า
3) ได้รณรงค์ป้องกันไฟป่าทุกรูปแบบ โดยผ่านสื่อมวลชนทุกแขนง เพื่อสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนได้ตระหนักถึงภัยอันตรายจากการเกิดไฟป่าและผลกระทบที่เกิดขึ้น ซึ่งได้ดำเนินการจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์รณรงค์ให้ปลอดควันพิษไฟป่า (CUT OUT) จัดทำข่าวสรุปสถานการณ์ไฟป่าและการพยากรณ์ไฟป่า ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อมวลชน เช่น วิทยุ โทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ จัดทำข้อความด้วยอักษรตัววิ่งผ่านทางโทรทัศน์ทุกช่อง จัดระบบแจ้งเตือนภัยล่วงหน้า โดยจัดทำป้ายดัชนีวัดอันตรายจากไฟป่าติดตั้งบริเวณหน้าที่ทำการหน่วยงานควบคุมไฟป่า
2.2 กรมควบคุมมลพิษ ได้เพิ่มการเฝ้าระวังและเพิ่มการแจ้งเตือนสถานการณ์มลพิษหมอกควันอย่างต่อเนื่อง โดยจัดส่งข้อมูลปริมาณฝุ่นละอองและดัชนีคุณภาพอากาศไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับจังหวัดผ่านทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) วันละ 4 ครั้ง ในช่วงเวลา 09.00 12.00 15.00 และ 18.00 น. พร้อมเผยแพร่ลงในเว็บไซด์ www.pcd.go.th และส่งข้อความแจ้งเตือนสถานการณ์มลพิษหมอกควันผ่านโทรศัพท์มือถือ (Short Message Service) ไปยังเครือข่ายความร่วมมือการแก้ไขปัญหามลพิษในพื้นที่ภาคเหนือ จัดทำสรุปสถานการณ์มลพิษหมอกควันรายวันในเวลา 09.00 น. จัดส่งให้กับสื่อมวลชนและผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นประจำ ตลอดจนได้ติดตั้งหน่วยตรวจวัดคุณภาพอากาศเคลื่อนที่เพิ่มเติม บริเวณโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย และบริเวณสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2550 เป็นต้นมา เพื่อติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ได้ดำเนินการเพื่อแจ้งประสานเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านหมอกควันของประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ ประเทศพม่า ลาว เวียดนาม และกัมพูชา ขอความร่วมมือในการดำเนินมาตรการควบคุมการเผาในที่โล่งภายในประเทศ ตามข้อตกลงอาเซียน เรื่องมลพิษจากหมอกควันข้ามแดน
2.3 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีแผนที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ เช่น กองทัพภาคที่ 3 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัด ตลอดจนหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน รวมทั้งการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ขอความร่วมมือประชาชนงดการเผาในที่โล่งทุกชนิด ได้แก่ งดเผาขยะ หญ้า และเศษวัสดุการเกษตร งดเผาไร่นา งดเผาป่า และงดเผาริมทางหลวง ทั้งนี้ เพื่อให้สถานการณ์มลพิษหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือกลับสู่ภาวะปกติโดยเร็วที่สุด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 มีนาคม 2550--จบ--
1. สถานการณ์ไฟป่าและมลพิษหมอกควัน
1.1 สถานการณ์ไฟป่าในภาพรวมทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2549 ถึงวันที่ 17 มีนาคม 2550 ปฏิบัติงานดับไฟป่า จำนวน 5,609 ครั้ง พื้นที่ถูกไฟไหม้ 87,290.3 ไร่ โดยท้องที่ภาคเหนือ มีสถิติไฟไหม้มากที่สุด จำนวน 3,273 ครั้ง พื้นที่ถูกไฟไหม้ 36,626.8 ไร่ และจากการตรวจติดตาม Hotspot (จุดที่คาดว่าจะเกิดไฟ) จากดาวเทียม Terra และ Aqua ด้วยระบบ MODIS พบว่า ตั้งแต่วันที่ 4 - 9 มีนาคม 2550 เกิด Hotspot จำนวนมาก ในพื้นที่ประเทศไทย พม่า ลาว โดยมีแนวโน้มการเพิ่มสูงขึ้นของจำนวน Hotspot ในภูมิภาคอินโดจีนและประเทศพม่า โดยในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2550 จนถึงปัจจุบัน โดยพบค่าสูงสุดในวันที่ 6 มีนาคม 2550 รวม 1,668 จุด วันที่ 4 และ 8 มีนาคม 2550 รวม 1,477 จุด และ 1,112 จุด ตามลำดับ และจากการตรวจติดตาม Hotspot อย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่ 17 มีนาคม 2550 พบว่า Hotspot มีจำนวนเหลือเพียง 217 จุด สำหรับพื้นที่ภาคเหนือ จำนวน Hotspot มากที่สุดในวันที่ 6 มีนาคม 2550 จำนวน 944 จุด และในวันที่ 17 มีนาคม 2550 เหลือเพียง 59 จุด ในทางปฏิบัติเมื่อตรวจพบ Hotspot จะสั่งการให้หน่วยงานในพื้นที่เข้าดำเนินการตรวจสอบ หากเป็นพื้นที่ที่เกิดไฟไหม้จะต้องเร่งดำเนินการควบคุมโดยทันที เพื่อป้องกันมิให้เกิดเป็นไฟใหญ่ขึ้น
1.2 สถานการณ์ไฟป่าในจังหวัดภาคเหนือ ตั้งแต่วันที่ 13-17 มีนาคม 2550 ปฏิบัติการดับไฟป่า จำนวน 392 ครั้ง พื้นที่ถูกไฟไหม้ 4,592.6 ไร่ โดยจังหวัดที่มีพื้นที่ถูกไฟไหม้มากที่สุด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ 1,437 ไร่ รองลงมาได้แก่ จังหวัดอุทัยธานีและแม่ฮ่องสอน พื้นที่ถูกไฟไหม้ 980 และ 653 ไร่ ตามลำดับ และจากการตรวจติดตามสถานการณ์ไฟป่าอย่างใกล้ชิด ในวันที่ 17-18 มีนาคม 2550 ในท้องที่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีการบินสำรวจสภาพป่าเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2550 พบไฟไหม้ 26 จุด ได้ดำเนินการดับไฟเรียบร้อย และเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2550 บินตรวจสอบอีกครั้งพบไฟไหม้ 18 จุด ได้ส่งพนักงานดับไฟป่าเข้าไปทำการควบคุมแล้ว ท้องที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีไฟไหม้ 14 จุด ดับหมดแล้วทั้ง 14 จุด สำหรับจังหวัดเชียงราย มีไฟไหม้ 7 จุด ดับแล้วทั้ง 7 จุด และในท้องที่จังหวัดอุทัยธานี มีไฟไหม้ 5 จุด ดับแล้ว 4 จุด คงเหลือ 1 จุด และคาดว่าจะดับได้ในวันที่ 19 มีนาคม 2550
1.3 จากการบินสำรวจทางอากาศในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดจังหวัดเชียงราย และจังหวัดตาก พบว่ายังมีพื้นที่ทำกินของประชาชน เตรียมทำการเผาวัชพืชและเศษซากพืชที่เหลือ เพื่อเตรียมพื้นที่สำหรับการปลูกพืชทางการเกษตรอีกเป็นจำนวนมาก
1.4 สถานการณ์มลพิษหมอกควัน ช่วงระหว่างวันที่ 13-17 มีนาคม 2550 ในภาพรวมปริมาณฝุ่นขนาดเล็กลดลงในช่วงวันที่ 14-16 มีนาคม 2550 และเพิ่มขึ้นในวันที่ 17 มีนาคม 2550 โดยส่วนใหญ่ยังคงมีฝุ่นขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM10) เฉลี่ย 24 ชั่วโมง (ณ เวลา 00.00 น.) อยู่ในระดับเกินเกณฑ์มาตรฐาน (มาตรฐานฝุ่นขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM10) เฉลี่ย 24 ชั่วโมง ไม่เกิน 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) จังหวัดเชียงใหม่ ตรวจพบปริมาณฝุ่นขนาดเล็กเฉลี่ย 24 ชั่วโมงสูงสุด ในวันที่ 13 มีนาคม 2550 มีค่าเท่ากับ 396 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ณ สถานีโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย โดยข้อมูลล่าสุดในวันที่ 17 มีนาคม 2550 ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง มีค่าเท่ากับ 197 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ณ สถานีตรวจวัดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดลำปาง มีแนวโน้มลดลงและอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานในวันที่ 16 มีนาคม 2550 มีค่าเท่ากับ 112 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ณ สถานีตรวจวัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง และกลับเพิ่มสูงขึ้นในวันที่ 17 มีนาคม 2550 ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง เท่ากับ 131 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ที่สถานีเดียวกัน จังหวัดเชียงรายและแม่ฮ่องสอน ยังคงอยู่ในระดับเกินเกณฑ์มาตรฐาน ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงสูงสุด ณ จังหวัดเชียงราย ตรวจพบในวันที่ 15 มีนาคม 2550 มีค่าเท่ากับ 207 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตรวจพบในวันที่ 17 มีนาคม 2550 มีค่าเท่ากับ 259 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
2. แนวทางแก้ไขปัญหาไฟป่าและมลพิษหมอกควัน
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหามลพิษหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือ โดยมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้
2.1 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช มีกำลังพนักงานดับไฟป่าในท้องที่ภาคเหนือตามแผนปกติ รวม 2,668 คน และได้ส่งกำลังไปสนับสนุนเพิ่มเติม จำนวน 580 คน ดังนี้
1) ชุดปฏิบัติการพิเศษดับไฟป่า (หน่วยเสือไฟ) จำนวน 135 คน
2) กำลังพนักงานดับไฟป่าจากสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 7-10 จำนวน 445 คน โดยสรุป ขณะนี้มีกำลังพนักงานดับไฟป่าในท้องที่ภาคเหนือ จำนวน 3,248 คน และยังมีกำลังจากส่วนป้องกันและปราบปรามที่ 3 (ภาคเหนือ) สำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า จำนวน 300 คน สนับสนุนการตรวจลาดตระเวนและจับกุมผู้ลักลอบจุดไฟเผาป่า
3) ได้รณรงค์ป้องกันไฟป่าทุกรูปแบบ โดยผ่านสื่อมวลชนทุกแขนง เพื่อสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนได้ตระหนักถึงภัยอันตรายจากการเกิดไฟป่าและผลกระทบที่เกิดขึ้น ซึ่งได้ดำเนินการจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์รณรงค์ให้ปลอดควันพิษไฟป่า (CUT OUT) จัดทำข่าวสรุปสถานการณ์ไฟป่าและการพยากรณ์ไฟป่า ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อมวลชน เช่น วิทยุ โทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ จัดทำข้อความด้วยอักษรตัววิ่งผ่านทางโทรทัศน์ทุกช่อง จัดระบบแจ้งเตือนภัยล่วงหน้า โดยจัดทำป้ายดัชนีวัดอันตรายจากไฟป่าติดตั้งบริเวณหน้าที่ทำการหน่วยงานควบคุมไฟป่า
2.2 กรมควบคุมมลพิษ ได้เพิ่มการเฝ้าระวังและเพิ่มการแจ้งเตือนสถานการณ์มลพิษหมอกควันอย่างต่อเนื่อง โดยจัดส่งข้อมูลปริมาณฝุ่นละอองและดัชนีคุณภาพอากาศไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับจังหวัดผ่านทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) วันละ 4 ครั้ง ในช่วงเวลา 09.00 12.00 15.00 และ 18.00 น. พร้อมเผยแพร่ลงในเว็บไซด์ www.pcd.go.th และส่งข้อความแจ้งเตือนสถานการณ์มลพิษหมอกควันผ่านโทรศัพท์มือถือ (Short Message Service) ไปยังเครือข่ายความร่วมมือการแก้ไขปัญหามลพิษในพื้นที่ภาคเหนือ จัดทำสรุปสถานการณ์มลพิษหมอกควันรายวันในเวลา 09.00 น. จัดส่งให้กับสื่อมวลชนและผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นประจำ ตลอดจนได้ติดตั้งหน่วยตรวจวัดคุณภาพอากาศเคลื่อนที่เพิ่มเติม บริเวณโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย และบริเวณสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2550 เป็นต้นมา เพื่อติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ได้ดำเนินการเพื่อแจ้งประสานเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านหมอกควันของประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ ประเทศพม่า ลาว เวียดนาม และกัมพูชา ขอความร่วมมือในการดำเนินมาตรการควบคุมการเผาในที่โล่งภายในประเทศ ตามข้อตกลงอาเซียน เรื่องมลพิษจากหมอกควันข้ามแดน
2.3 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีแผนที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ เช่น กองทัพภาคที่ 3 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัด ตลอดจนหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน รวมทั้งการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ขอความร่วมมือประชาชนงดการเผาในที่โล่งทุกชนิด ได้แก่ งดเผาขยะ หญ้า และเศษวัสดุการเกษตร งดเผาไร่นา งดเผาป่า และงดเผาริมทางหลวง ทั้งนี้ เพื่อให้สถานการณ์มลพิษหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือกลับสู่ภาวะปกติโดยเร็วที่สุด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 มีนาคม 2550--จบ--