คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงศึกษาธิการรายงานผลการดำเนินการโครงการแลกเปลี่ยนนักเรียนภายในประเทศ ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้ริเริ่มจัดทำโครงการแลกเปลี่ยนนักเรียนภายในประเทศขึ้นในปีการศึกษา 2547 และ 2548 โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะนำนักเรียนที่ยากจนแต่เรียนดีในต่างจังหวัดมาศึกษาในโรงเรียนที่มีชื่อเสียงในกรุงเทพมหานคร เป็นเวลา 1 เทอมการศึกษา เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนได้รับความรู้และประสบการณ์ และเรียนรู้วัฒนธรรมและความเป็นอยู่ของกันและกัน เป็นการเชื่อมโยงสังคมเมืองและชนบท ตลอดจนทำให้สถานศึกษาทั้งในต่างจังหวัดและกรุงเทพมหานครมีความตื่นตัวในการปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอน โดยมีผลการดำเนินการดังนี้
รุ่นที่หนึ่ง กระทรวงศึกษาธิการได้จัดให้นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นจากทุกอำเภอทั่วประเทศที่มีผลการเรียนดีและประพฤติดี มีฐานะยากจน และมีความสมัครใจเข้าร่วมโครงการ จำนวน 477 คน ในภาคเรียนที่ 2 ของปีการศึกษา 2547 (ระหว่างเดือนตุลาคม 2547 - กุมภาพันธ์ 2548) ได้เข้ามาศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีชื่อเสียงในกรุงเทพมหานคร จำนวน 11 โรง เป็นเวลา 1 เทอมการศึกษา โดยจัดเตรียมค่าใช้จ่ายให้แก่สถานศึกษาเพื่อจัดหาที่พัก อาหาร และอุปกรณ์การเรียน และเสื้อนักเรียนแก่นักเรียน 10,000 บาท จัดให้เป็นเงินค่าใช้จ่ายส่วนตัวแก่เด็ก 10,000 บาท และจัดเป็นค่าเดินทางและค่าใช้จ่ายในการประกันสุขภาพ และค่าเสื้อผ้า ค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ปกครองในการเดินทางมาเยี่ยมบุตรหลานอีก 10,000 บาท รวมค่าใช้จ่ายสำหรับเด็กคนละ 30,000 บาทต่อเทอมการศึกษา
รุ่นที่สอง กระทรวงศึกษาธิการได้ขยายจำนวนนักเรียนให้มากขึ้นอีกเท่าตัว รวมเป็นนักเรียนจำนวน 877 คน และได้จัดโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีชื่อเสียงในกรุงเทพมหานครรองรับเพิ่มขึ้นรวม 24 โรง การดำเนินงานเริ่มในภาคเรียนที่ 1 ของปีการศึกษา 2548 (ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงกันยายน 2548)
สำหรับโรงเรียนในกรุงเทพมหานครที่มีชื่อเสียง ได้ช่วยเหลือและร่วมมือในการรับนักเรียนที่ยากจนจากชนบทมาอยู่ ประกอบด้วยโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนสตรีวิทยา โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ โรงเรียนศึกษานารี โรงเรียนวัดสุทธิวราราม และโรงเรียนหอวัง เป็นต้น
ผลการดำเนินงานเป็นที่น่าพึงพอใจ นักเรียนจากชนบทที่เข้ามาศึกษาในกรุงเทพมหานครได้รับความรู้และประสบการณ์จากการศึกษาและการมาอยู่ร่วมกัน สร้างความเข้าใจอันดีในระหว่างนักเรียนในเมืองและชนบท มีโอกาสได้เรียนรู้เทคนิคใหม่ๆ และการเรียนการสอนของโรงเรียนที่มีคุณภาพในกรุงเทพมหานคร ได้เห็นถึงชีวิตของเมืองหลวง และมีโอกาสไปทัศนศึกษาในสถานที่สำคัญๆ ของกรุงเทพมหานคร นักเรียนมีพัฒนาการทางความรู้เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ สามารถเทียบโอนความรู้และพัฒนาตนเองกลับไปศึกษาต่อได้เป็นอย่างดี และเป็นการสร้างแรงจูงใจที่จะเรียนรู้มากขึ้น
สำหรับนักเรียนในกรุงเทพมหานครก็ได้มีความเข้าใจเรียนรู้ที่จะร่วมกับเด็กในชนบทมากขึ้น มีความเอื้ออาทร ช่วยเหลือเกื้อกูลกันและกัน เป็นการปูพื้นฐานของสังคมแห่งความสมานฉันท์และการสร้างมิตรภาพที่ถาวร และในอนาคตก็จะจัดให้นักเรียนจากในกรุงเทพมหานคร ได้ไปศึกษาในต่างจังหวัดบ้างเช่นกัน
นักเรียนและผู้ปกครองที่เข้าร่วมโครงการได้แสดงความขอบคุณนายกรัฐมนตรีและรัฐบาล ที่ได้ให้ความกรุณาสนับสนุนโครงการแลกเปลี่ยนนักเรียนภายในประเทศครั้งนี้ และถือว่าเป็นการเปิดโลกทัศน์ของเด็กในชนบทที่
ด้อยโอกาส ทำให้หลายคนมีความหวังในการศึกษา และความก้าวหน้าในอนาคต
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 มิถุนายน 2548--จบ--
รุ่นที่หนึ่ง กระทรวงศึกษาธิการได้จัดให้นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นจากทุกอำเภอทั่วประเทศที่มีผลการเรียนดีและประพฤติดี มีฐานะยากจน และมีความสมัครใจเข้าร่วมโครงการ จำนวน 477 คน ในภาคเรียนที่ 2 ของปีการศึกษา 2547 (ระหว่างเดือนตุลาคม 2547 - กุมภาพันธ์ 2548) ได้เข้ามาศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีชื่อเสียงในกรุงเทพมหานคร จำนวน 11 โรง เป็นเวลา 1 เทอมการศึกษา โดยจัดเตรียมค่าใช้จ่ายให้แก่สถานศึกษาเพื่อจัดหาที่พัก อาหาร และอุปกรณ์การเรียน และเสื้อนักเรียนแก่นักเรียน 10,000 บาท จัดให้เป็นเงินค่าใช้จ่ายส่วนตัวแก่เด็ก 10,000 บาท และจัดเป็นค่าเดินทางและค่าใช้จ่ายในการประกันสุขภาพ และค่าเสื้อผ้า ค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ปกครองในการเดินทางมาเยี่ยมบุตรหลานอีก 10,000 บาท รวมค่าใช้จ่ายสำหรับเด็กคนละ 30,000 บาทต่อเทอมการศึกษา
รุ่นที่สอง กระทรวงศึกษาธิการได้ขยายจำนวนนักเรียนให้มากขึ้นอีกเท่าตัว รวมเป็นนักเรียนจำนวน 877 คน และได้จัดโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีชื่อเสียงในกรุงเทพมหานครรองรับเพิ่มขึ้นรวม 24 โรง การดำเนินงานเริ่มในภาคเรียนที่ 1 ของปีการศึกษา 2548 (ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงกันยายน 2548)
สำหรับโรงเรียนในกรุงเทพมหานครที่มีชื่อเสียง ได้ช่วยเหลือและร่วมมือในการรับนักเรียนที่ยากจนจากชนบทมาอยู่ ประกอบด้วยโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนสตรีวิทยา โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ โรงเรียนศึกษานารี โรงเรียนวัดสุทธิวราราม และโรงเรียนหอวัง เป็นต้น
ผลการดำเนินงานเป็นที่น่าพึงพอใจ นักเรียนจากชนบทที่เข้ามาศึกษาในกรุงเทพมหานครได้รับความรู้และประสบการณ์จากการศึกษาและการมาอยู่ร่วมกัน สร้างความเข้าใจอันดีในระหว่างนักเรียนในเมืองและชนบท มีโอกาสได้เรียนรู้เทคนิคใหม่ๆ และการเรียนการสอนของโรงเรียนที่มีคุณภาพในกรุงเทพมหานคร ได้เห็นถึงชีวิตของเมืองหลวง และมีโอกาสไปทัศนศึกษาในสถานที่สำคัญๆ ของกรุงเทพมหานคร นักเรียนมีพัฒนาการทางความรู้เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ สามารถเทียบโอนความรู้และพัฒนาตนเองกลับไปศึกษาต่อได้เป็นอย่างดี และเป็นการสร้างแรงจูงใจที่จะเรียนรู้มากขึ้น
สำหรับนักเรียนในกรุงเทพมหานครก็ได้มีความเข้าใจเรียนรู้ที่จะร่วมกับเด็กในชนบทมากขึ้น มีความเอื้ออาทร ช่วยเหลือเกื้อกูลกันและกัน เป็นการปูพื้นฐานของสังคมแห่งความสมานฉันท์และการสร้างมิตรภาพที่ถาวร และในอนาคตก็จะจัดให้นักเรียนจากในกรุงเทพมหานคร ได้ไปศึกษาในต่างจังหวัดบ้างเช่นกัน
นักเรียนและผู้ปกครองที่เข้าร่วมโครงการได้แสดงความขอบคุณนายกรัฐมนตรีและรัฐบาล ที่ได้ให้ความกรุณาสนับสนุนโครงการแลกเปลี่ยนนักเรียนภายในประเทศครั้งนี้ และถือว่าเป็นการเปิดโลกทัศน์ของเด็กในชนบทที่
ด้อยโอกาส ทำให้หลายคนมีความหวังในการศึกษา และความก้าวหน้าในอนาคต
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 มิถุนายน 2548--จบ--