แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
ร่างพระราชบัญญัติ
กระทรวงมหาดไทย
นายกรัฐมนตรี
มหาวิทยาลัย
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี(นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) เป็นประธาน ที่มีมติดังนี้
1. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยในกำกับกรุงเทพมหานคร พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 และความเห็นของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปประกอบการพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป
2. ให้กระทรวงมหาดไทย (กรุงเทพมหานคร) รับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ไปประกอบการพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
กระทรวงมหาดไทยเสนอว่า กรุงเทพมหานครได้จัดทำโครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยในกำกับกรุงเทพมหานคร โดยยกวิทยฐานะของวิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล เป็นคณะแพทยศาสตร์ และวิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์ เป็นคณะพยาบาลศาสตร์ มีฐานะเป็นนิติบุคคล ที่ไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ แต่อยู่ในกำกับดูแลของกรุงเทพมหานคร โดยจัดให้มีการเรียนการสอนในสาขาวิชาต่าง ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการบริหารจัดการเมือง เพื่อตอบสนองต่อปัญหาและความจำเป็นของกรุงเทพมหานคร โดยเสนอเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ดังนั้น จึงสมควรจัดตั้งมหาวิทยาลัยในกำกับกรุงเทพมหานคร ขึ้นเป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ เพื่อให้มีการศึกษา ส่งเสริมวิชาการ การวิจัย และวิชาชีพชั้นสูง พัฒนาองค์ความรู้ด้านการแพทย์และสาธารณสุข โดยเน้นทางด้านเวชศาสตร์เขตเมือง เพื่อตอบสนองความต้องการด้านสุขภาพของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร พัฒนาองค์ความรู้ด้านการปกครองส่วนท้องถิ่นและพัฒนามหานคร รวมทั้งให้โอกาทางการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนเขตเมือง จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยในกำกับกรุงเทพมหานคร พ.ศ. .... มีสาระสำคัญดังนี้
1. กำหนดให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยในกำกับกรุงเทพมหานครเป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ มีฐานะเป็นนิติบุคคล ที่ไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการแต่อยู่ในกำกับดูแลของกรุงเทพมหานคร (ร่างมาตรา 4)
2. กำหนดวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นสถาบันทางวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง จัดแบ่งส่วนงานของมหาวิทยาลัย โดยกำหนดให้กิจการของมหาวิทยาลัยไม่อยู่ภายใต้กฎหมายบางฉบับ กำหนดอำนาจหน้าที่ของมหาวิทยาลัย ตลอดจนรายละเอียดเกี่ยวกับรายได้และทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย (ร่างมาตรา 6 — ร่างมาตรา 14)
3. กำหนดองค์ประกอบของสภามหาวิทยาลัย สภาวิชาการ และคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย ตลอดจนอำนาจหน้าที่ วาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง การประชุม ฯลฯ (ร่างมาตรา 15 — ร่างมาตรา 20)
4. กำหนดให้มีอธิการบดีเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดและรับผิดชอบการบริหารงานของมหาวิทยาลัย มีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนด โดยต้องมีคุณสมบัติ วาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง ของอธิการบดี รองอธิการบดี ผู้ช่วยอธิการบดี ตลอดจนการดำเนินงานของส่วนงานต่าง ๆ การรักษาราชการแทน การมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่แทนของผู้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย ฯลฯ (ร่างมาตรา 21 — ร่างมาตรา 31)
5. กำหนดให้มีการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย และการประเมินงานของอธิการบดีและ ส่วนงานต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย ตามที่กำหนด (ร่างมาตรา 32 — ร่างมาตรา 34)
6. กำหนดเกี่ยวกับการงบประมาณ การบัญชี และการตรวจสอบบัญชี (ร่างมาตรา 35 — ร่างมาตรา 41)
7. กำหนดให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีอำนาจและหน้าที่กำกับดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการของมหาวิทยาลัย และเรื่องที่มหาวิทยาลัยจะต้องเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ร่างมาตรา 42 — ร่างมาตรา 43)
8. กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับตำแหน่งทางวิชาการ การแต่งตั้ง การถอดถอน และการใช้คำนำหน้านามและการใช้อักษรย่อคำนำหน้านาม (ร่างมาตรา 44 — ร่างมาตรา 48)
9. กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับใบปริญญา เครื่องหมายวิทยฐานะและบทกำหนดโทษ (ร่างมาตรา 49 — ร่างมาตรา 56)
10. กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับบทเฉพาะกาลของร่างพระราชบัญญัติ (ร่างมาตรา 57 — ร่างมาตรา 70)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 12 มิถุนายน 2550--จบ--
1. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยในกำกับกรุงเทพมหานคร พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 และความเห็นของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปประกอบการพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป
2. ให้กระทรวงมหาดไทย (กรุงเทพมหานคร) รับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ไปประกอบการพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
กระทรวงมหาดไทยเสนอว่า กรุงเทพมหานครได้จัดทำโครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยในกำกับกรุงเทพมหานคร โดยยกวิทยฐานะของวิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล เป็นคณะแพทยศาสตร์ และวิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์ เป็นคณะพยาบาลศาสตร์ มีฐานะเป็นนิติบุคคล ที่ไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ แต่อยู่ในกำกับดูแลของกรุงเทพมหานคร โดยจัดให้มีการเรียนการสอนในสาขาวิชาต่าง ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการบริหารจัดการเมือง เพื่อตอบสนองต่อปัญหาและความจำเป็นของกรุงเทพมหานคร โดยเสนอเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ดังนั้น จึงสมควรจัดตั้งมหาวิทยาลัยในกำกับกรุงเทพมหานคร ขึ้นเป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ เพื่อให้มีการศึกษา ส่งเสริมวิชาการ การวิจัย และวิชาชีพชั้นสูง พัฒนาองค์ความรู้ด้านการแพทย์และสาธารณสุข โดยเน้นทางด้านเวชศาสตร์เขตเมือง เพื่อตอบสนองความต้องการด้านสุขภาพของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร พัฒนาองค์ความรู้ด้านการปกครองส่วนท้องถิ่นและพัฒนามหานคร รวมทั้งให้โอกาทางการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนเขตเมือง จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยในกำกับกรุงเทพมหานคร พ.ศ. .... มีสาระสำคัญดังนี้
1. กำหนดให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยในกำกับกรุงเทพมหานครเป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ มีฐานะเป็นนิติบุคคล ที่ไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการแต่อยู่ในกำกับดูแลของกรุงเทพมหานคร (ร่างมาตรา 4)
2. กำหนดวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นสถาบันทางวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง จัดแบ่งส่วนงานของมหาวิทยาลัย โดยกำหนดให้กิจการของมหาวิทยาลัยไม่อยู่ภายใต้กฎหมายบางฉบับ กำหนดอำนาจหน้าที่ของมหาวิทยาลัย ตลอดจนรายละเอียดเกี่ยวกับรายได้และทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย (ร่างมาตรา 6 — ร่างมาตรา 14)
3. กำหนดองค์ประกอบของสภามหาวิทยาลัย สภาวิชาการ และคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย ตลอดจนอำนาจหน้าที่ วาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง การประชุม ฯลฯ (ร่างมาตรา 15 — ร่างมาตรา 20)
4. กำหนดให้มีอธิการบดีเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดและรับผิดชอบการบริหารงานของมหาวิทยาลัย มีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนด โดยต้องมีคุณสมบัติ วาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง ของอธิการบดี รองอธิการบดี ผู้ช่วยอธิการบดี ตลอดจนการดำเนินงานของส่วนงานต่าง ๆ การรักษาราชการแทน การมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่แทนของผู้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย ฯลฯ (ร่างมาตรา 21 — ร่างมาตรา 31)
5. กำหนดให้มีการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย และการประเมินงานของอธิการบดีและ ส่วนงานต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย ตามที่กำหนด (ร่างมาตรา 32 — ร่างมาตรา 34)
6. กำหนดเกี่ยวกับการงบประมาณ การบัญชี และการตรวจสอบบัญชี (ร่างมาตรา 35 — ร่างมาตรา 41)
7. กำหนดให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีอำนาจและหน้าที่กำกับดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการของมหาวิทยาลัย และเรื่องที่มหาวิทยาลัยจะต้องเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ร่างมาตรา 42 — ร่างมาตรา 43)
8. กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับตำแหน่งทางวิชาการ การแต่งตั้ง การถอดถอน และการใช้คำนำหน้านามและการใช้อักษรย่อคำนำหน้านาม (ร่างมาตรา 44 — ร่างมาตรา 48)
9. กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับใบปริญญา เครื่องหมายวิทยฐานะและบทกำหนดโทษ (ร่างมาตรา 49 — ร่างมาตรา 56)
10. กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับบทเฉพาะกาลของร่างพระราชบัญญัติ (ร่างมาตรา 57 — ร่างมาตรา 70)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 12 มิถุนายน 2550--จบ--